fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

ปวดแบบ “เกาต์” ปวดอย่างไร ?

ปวดแบบ "เกาต์" ปวดอย่างไร

โรคเกาต์เกิดมาจากร่างกายมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง ซึ่งเป็นผลมาจากในร่างกายมีการสะสมของกรดยูริกเป็นจำนวนมาก โดยจะเฉลี่ยแล้วกรดยูริกจะตกผลึก เมื่อมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดมากเกินกว่า 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  กรดยูริกคือสารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในเลือดเกิดมาจากการย่อยสลายของสารพิวรีน ในเนื้อเยื่อที่มีอยู่ทั่วร่างกายและอาหารที่เรากินเข้าไป โดยที่ร่างกายจะทำการปรับสมดุลของกรดยูริกด้วยวิธีการกรองจากไตก่อนที่จะขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่เมื่อมีกรดยูริกในปริมาณมากขึ้นจากการสร้างของร่างกาย และการกินทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง หรือว่าไตเกิดความผิดปกติในการกรองสารพิวรีน ก็จะนำไปสู่ภาวะของกรดยูริกในเลือดสูงได้ง่าย  ทำให้ร่างกายมีกรดยูริกสะสมมากกว่าปกติมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ตะกอนไปตกอยู่บริเวณรอบ ๆ ของข้อ หรือว่าภายในข้อ หรือ เกิดความผิดปกติของกรดยูริกทำให้การขับสารพิวรีนออกจากร่างกายได้ช้า การวินิจฉัยโรคเกาต์แพทย์จะต้องซักถามประวัติของอาการโดยละเอียด การตรวจหาค่าระดับของกรดยูริกในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็มักจะมีระดับของกรดยูริกอยู่ในกระแสเลือดสูงมากกว่าคนปกติ การตรวจสารน้ำในข้อเพื่อหาผลึกของกรดยูริก อาการปวดโรคเกาต์ คนป่วยโรคเกาต์จะมีอาการปวด, บวมแดง และร้อนตรงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันทันทีทันใด โดยมักจะเริ่มจากข้อตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการเกาต์สามารถเกิดขึ้นกับข้ออื่น ๆ ได้ อย่างเช่น บริเวณข้อเท้า, ข้อเข่า และข้อมือ ซึ่งอาการที่เป็นก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงระยะแรก โรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือดูแลได้อย่างถูกต้อง ยิ่งจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นทำให้คนป่วยมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไม่สะดวกจากที่ภาวะข้อติด ซึ่งนั่นหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าอาการของโรคมีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจจะนำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรังและสามารถสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้   […]

อันตรายของ “โรคเกาต์”

อันตรายของโรคเกาต์

         “โรคเกาต์” เป็น โรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกสูงในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผลึกเกลือยูเรตเกิดการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของส่วนร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกเกลือยูเรตมีการตกตะกอนตามข้อ ก็จะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ ถ้าผลึกเกลือยูเรตไปตกตะกอนที่บริเวณผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดกลุ่มก้อนหรือว่าเป็นปุ่มที่บริเวณใต้ผิวหนัง ที่แพทย์เรียกกันว่าก้อนโทฟัส และถ้าผลึกเกลือยูเรตไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วหรืออาจจะทำให้ไตวายได้ สาเหตุของโรคเกาต์ มีหลายสาเหตุ ดังนี้          สาเหตุเกิดมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าการขับออก กรดยูริกเป็นผลจากการสลายของสารพิวรีนที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่ทางการแพทย์เรียกว่า กรดนิวคลีอิก โดยที่กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นมาจากกระบวนการนี้ โดยที่ร่างกายมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการในการย่อยสลายของสารพิวรีนทำงานเกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นกรดยูริกที่สูงตามมา อาการของโรคเกาต์          อาการที่สำคัญของคนที่เป็นโรคเกาต์ คือ ข้อเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม และแดงร้อนตรงบริเวณที่ข้อได้อย่างชัดเจน หรือในบางรายก็อาจจะมีไข้ และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย โดยประมาณร้อยละ 80 จะพบว่าเกิดข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันในครั้งแรกจากเกาต์มักจะเป็นข้ออักเสบข้อเดียว และข้อที่พบได้บ่อยคือ ตรงบิเวณข้อโคนนิ้วหัวแม่โป้งเท้า, ข้อเท้า […]

วิธีการ บรรเทาอาการเกาต์ด้วยตัวเองที่บ้าน

บรรเทาอาการเกาต์ด้วยตัวเองที่บ้าน

        อาการของโรคเกาต์กำเริบเป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจนอาจจะทำให้เราตื่นขึ้นมากลางดึก โรคเกาต์เกิดมาจากการสะสมของผลึกยูเรตตรงบริเวณข้อต่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่บางครั้งอาจจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อบริเวณอื่น ๆ บนเท้าและมือก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถที่จะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการเจ็บปวดและเกิดการอักเสบขึ้นได้ การรักษาโรคเกาต์ที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งคนไข้สามารถส่งเสริมแนวทางการรักษากับแพทย์ได้ด้วยวิธีทำการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน เพื่อเป็นการจัดการกับอาการเจ็บปวด และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสที่โรคเกาต์จะกำเริบขึ้นมาใหม่อีกครั้งในอนาคต วิธีการบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน ให้ยกส่วนที่มีอาการบวมให้สูงขึ้น วิธีนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดี หากอาการเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเท้า ให้คนไข้เอนตัวลงนอนบนเตียง และให้ใช้หมอนหนุนเพื่อเป็นการพยุงเท้าขึ้นมา และถ้าหากเกิดการอักเสบมาก อาจจะส่งผลทำให้คนไข้เจ็บปวดมากจนไม่สามารถที่จะวางผ้าไว้บนเท้าได้ ให้บรรเทาอาการเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยการประคบเย็น วิธีนี้จะเป็นการช่วยลดอาการอักเสบและอาการเจ็บปวดได้ โดยการนำน้ำแข็งมาประคบไว้ 20 นาที แล้วปล่อยเอาไว้สักพักจะทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังถูกความเย็นทำลาย สามารถทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปยาต้านการอักเสบ จะช่วยทำให้ลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ดี ยาต้านอักเสบที่แพทย์แนะนำให้ทาน ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (เช่น Advil, Motrin IB) และนาพรอกเซนโซเดียม (naproxen sodium) (เช่น Aleve) โดยจะต้องทานยาทันทีถ้าหากเกิดอาการกำเริบขึ้น และสามารถทานยาซ้ำได้อีกครั้งหลังจากที่ผ่านไป 2 วัน ยาต้านอักเสบเหล่านี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่มีแผลหรือว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือว่ามีความดันโลหิตสูง ไม่ควรที่จะทานยาแอสไพริน เพราะว่าจะทำให้ระดับของกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากอาการของโรคเกาต์ไม่รุนแรงมากก็สามารถที่จะบรรเทาอาการได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น […]

ปวดเกาต์เฉียบพลันดูแลรักษาอย่างไร?

ปวดเกาต์เฉียบพลัน

เกาต์ (Gout) คือโรคข้ออักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน, บวม และแดงตามข้อต่อเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเป็นระยะ ๆ อาจจะเกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อพร้อม ๆ กัน อาการของโรคเกาต์ อาการปวดตรงบริเวณข้อต่ออย่างรุนแรงเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะข้อตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่อาจจะสามารถเกิดขึ้นกับข้อต่อหลาย ๆ ส่วนตามร่างกายได้ อย่างเช่น ตรงข้อเท้า, ข้อศอก, หัวเข่า, ข้อต่อของกระดูกมือ หรือว่าตรงบริเวณข้อมือ อาการที่ปวดจะเริ่มรุนแรงในช่วงระยะเวลา 4-12 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะเริ่มปวดน้อยลงและอาการก็จะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในบางคนอาจจะมีอาการปวดอยู่นานหลายวันจนอาจจะรวมไปถึงหลายสัปดาห์เลย และนอกจากนี้เกาต์ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ตรงบริเวณข้อต่ออาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อ จนทำให้เกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรืออาจจะหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณที่อักเสบเป็นสีแดง, บวมแดง และแสบร้อน การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ไม่สะดวกเนื่องจากภาวะที่ข้อติด นั่นคือสัญญาณบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคที่กำลังเป็นอยู่ว่ามีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวหนังตรงบริเวณของข้อต่อเกิดการคันหรือลอกหลังจากที่อาการของโรคเกาต์ดีขึ้น อาการของโรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะเป็น ๆ หาย ๆ จนกว่าจะได้ทำการรักษา โดยอาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนได้บ่อยมากกว่าช่วงเวลากางวัน แต่จะอย่างไรก็ตามควรที่จะรีบไปพบแพทย์หากว่าคนป่วยเกิดมีไข้ ปวดข้ออย่างรุนแรง จนผิวหนังเกิดบวมแดงและแสบร้อนขึ้น เพราะว่าอาการปวดที่ข้ออาจจะทำให้คนป่วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสัญญาณของโรคข้ออักเสบอื่น ๆ การที่จะปล่อยให้โรคนี้พัฒนาความรุนแรงขึ้นโดยที่ไม่รีบไปทำการรักษาให้ถูกต้อง อาจจะนำไปสู่การเรื้อรังและยังสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อนั้น ๆ ได้ การดูแลรักษาโรคเกาต์ […]

โรคเกาต์ และโรคไต เกี่ยวข้องกันยังไง

โรคเกาต์ และโรคไต

  โรคเกาต์  เป็นโรคที่เกิดจากกรดยูริกที่สะสมอยู่ในเลือดเป็นจำนวนมากจนทำให้กรดยูริกเกิดการตกตะกอนกลายเป็นผลึกที่มีลักษณะรูปร่างเป็นเข็มอยู่ตามบริเวณข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน อย่างฉับพลัน ซึ่งระดับของกรดยูริกในเลือดสูงจะบ่งบอกถึงปัจจัยในการเสี่ยงของการเกิดโรคเกาต์, ความดันสูง, เส้นเลือดเสื่อมสภาพ, นิ่วในไต และไตวาย การที่เรารู้ระดับของกรดยูริกในเลือด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการวินิจฉัยโรคหลาย ๆ ชนิด โรคไตจากผลึกเกลือยูเรต คนป่วยโรคเกาต์ส่วนมากร้อยละ30 จะเป็นนิ่ว ส่งผลจากการที่มีระดับของกรดยูริกที่สูงมาก ๆ มาเป็นระยะเวลาที่นานจนสามารถก่อให้เกิดภาวะไตอักเสบเรื้อรัง (chronic interstitial nephritis) ซึ่งคนป่วยในระยะแรกจะไม่มีอาการ หรือว่าความสมารถในการที่จะควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะจะเสียไป ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยมากขึ้น จากการตรวจร่างกายก็จะไม่พบความผิดปกติใด ๆ แต่ถ้าการตรวจทางห้องปฏิบัติการก็จะพบว่ามีไข่ขาว หรือว่าโปรตีนในปัสสาวะในช่วงระยะแรก และอาจจะพบเม็ดเลือดขาวร่วมด้วย และหากเป็นระยะเวลานานจะค่อย ๆ เกิดภาวะไตวายตามมา ถึงแม้ว่าโรคไตจากผลึกเกลือยูเรตจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายได้ก็ตาม การศึกษาในอดีตพบว่าภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายจากผลึกเกลือยูเรต ยกเว้นแต่ในรายที่เป็นโรคเกาต์ และอาจจะมีโรคอื่นร่วมด้วย อย่างเช่น มีโรคเบาหวาน, โรคเส้นโลหิตแข็ง, ความดันโลหิตสูง หรือว่ามีระดับของกรดยูริกในเลือดมากกว่า 13 มก./ดล. เป็นต้น แต่จะอย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ว่าภาวะของกรดยูริกที่อยู่ในเลือดสูงเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อทางไตได้เปลี่ยนไป เนื่องจากว่ามีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่สามารถทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในไตที่ทำให้ความดันโลหิตสูง […]

โรคเกาต์สามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่

โรคเกาต์สามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่

  โรคเกาต์ (gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับการตกผลึกของกรดยูริกในข้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ข้อทำให้เกิดการอักเสบอย่างฉับพลันของข้อหรือว่าเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ การเกิดของโรคเกาต์ที่มักจะพบต้องมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงสะสมมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากระดับของกรดยูริกยิ่งสูง โอกาสในการเป็นโรคเกาต์ก็จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้น และอาการจะเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงอยู่ประมาณ 2 เท่า แต่หลังหมดประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะมีความชุกของโรคเกาต์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย อาการของโรคเกาต์ เริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงและเกิดการสะสมมาเป็นเวลานานก่อน โดยจะเฉลี่ยมักไม่น้อยกว่า 10 ปี การอักเสบของข้อพบในครั้งแรกเป็นผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักจะพบหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงชนิดเฉียบพลัน จากระยะแรกเริ่มปวดจนถึงอักเสบแบบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง มักจะเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, หรือว่าข้อเข่า อาการจะเป็นในเวลากลางคืนหรือขณะที่หลับบ่อยครั้ง ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นอยู่ไม่นาน 2-3 วันก็หาย แต่บางรายอาจจะมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจจะมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อม ๆ กันโดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรค ซึ่งประวัติอาจจะได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนมากมักจะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน […]

โรคเกาต์ในผู้หญิงกับผู้ชายต่างกันหรือไม่

โรคเกาต์ในผู้หญิงกับผู้ชาย

  โรคเกาต์ (gout) เกิดจากร่างกายมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก และสะสมมาเป็นเวลานาน จนทำให้กรดยูริกนั้นตกตระกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวด บวม แดงร้อนตรงบริเวณข้อ ถ้าหากกรดยูริกไปสะสมตามบริเวณผิวหนังก็จะทำให้มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนังได้ แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วในไต และทำให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด กรดยูริก คืออะไร กรดยูริก เกิดมาจากร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเอง จะอยู่ที่ประมาณ 80 % และอีก 20 % ที่เหลือเกิดมาจากการที่เราทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนสูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนนี้เราจะพบในสัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง โดยปกติแล้วร่างกายของเราสามารถขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะ แต่ในบางคนที่ร่างกายไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้หมด จึงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, กระดูก, ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเกาต์นั่นเอง อาการของโรคเกาต์ อาการของโรเกาต์ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการปวด แดง ร้อนอย่างฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมงแรกจะปวดมากที่สุด อาการจะไม่มีเตือนล่วงหน้า อยู่ดี ๆ ก็จะปวดขึ้นมาทันที โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วโป้งเท้า และตรงบริเวณข้อเท้า เข่า หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วอาการก็จะเริ่มดีขึ้น […]

โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร

โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร

   โรคเกาต์ (gout) กับเกาต์เทียม (pseudogout) เป็นอีกชนิดหนึ่งของโรคข้ออักเสบ (inflammatory arthritis diseases) ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนมากจะพบได้บ่อยที่สุดกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุจากผลึกเกลือ (crystal-induced arthritis) ที่ก่อให้เกิดอาการปวด, บวม, ร้อนแดง ที่ตรงบริเวณข้อของร่างกาย โดยเมื่อหากพิจารณาจากอาการปวดแล้วอาจจะไม่สามารถแยกชนิดของโรคได้เลย แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองโรคมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นหากวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้การรักษาไม่ถูกต้องตามไปด้วย ซึ่งโรคเกาต์ และเกาต์เทียม เป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อ ส่งผลทำให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งในผู้สูงอายุบางท่าน เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว อาจจะปวดจนไม่สามารถเดินได้อีกด้วย ด้วยความห่วงใยเราจึงอยากจะเชิญชวนท่านผู้อ่านให้มาทำความรู้จักกับโรคเกาต์กับเกาต์เทียมว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  และยังเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้โรคที่แสนทรมานนี้มาเกิดขึ้นกับตัวคุณ และคนที่คุณรักได้อีกด้วย โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร หลายคนอาจจะสับสนระหว่างโรคเกาต์กับเกาต์เทียม ว่าเป็นโรคเดียวกันหรือไม่  มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  มีวิธีสังเกตดังนี้ค่ะ โรคเกาต์กับเกาต์เทียม มีสาเหตุมาจากการเกิดที่แตกต่างกัน โดยโรคเกาต์จะเกิดมาจากการสะสมของยูริกจนกลายเป็นตะกอนตรงบริเวณข้อและตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนเกาต์เทียมจะเกิดมาจากการสะสมตะกอนของแคลเซียมไพโรฟอสเฟตดีไฮเดรท (calcium pyrophosphate dehydrate : CPPD) ตรงบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อใหญ่ ๆ อย่างเช่น หัวเข่า เป็นต้น อาการของโรค […]

วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์

วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์

       โรคเกาต์บางครั้งหลาย ๆ คนก็คงคิดว่าเป็นโรคที่ตกยุคไปแล้วหรือไม่ก็ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร  ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมันสามารถที่จะกระจายตัวกันออกไปและยังทำให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างแสนสาหัส ถ้าหากว่าเรายังเพิกเฉยไม่รีบไปรับการรักษา สาเหตุโดยตรงของการเกิดโรคเกาต์ คือการที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง  นอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์,โรคนิ่ว และโรคไตอักเสบแล้ว อาจจะส่งผลต่อคนป่วยที่มีปัญหาหูอื้อ, เสียงดังในหู และบ้านหมุนได้ โดยอาจจะทำให้เส้นเลือดหดตัว, เลือดไปเลี้ยงประสาทหู และอวัยวะที่ทรงตัวได้น้อย จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว  โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคนเรานั้นสามารถสร้างและจัดการกับกรดยูริกได้โดยใช้สารประกอบที่หลากหลายชนิด แม้แต่การควบคุมอาหารที่เราทานสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ได้ผลดีที่สุด หรือป้องกันไม่ให้โรคเกาต์นั้นไปสร้างความเจ็บปวดหรือทำให้เกิดขึ้นได้บ่อย การลดน้ำหนักหรือว่าการใช้ยารักษาก็เป็นทางเลือกเพิ่มเติมที่แพทย์มักจะแนะนำให้ทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร           โรคเกาต์มีอาการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ ตรงบริเวณข้อเกิดการอักเสบ มักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการเริ่มแรกมักเป็นเพียงข้อเดียว โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนข้อนิ้วหัวแม่เท้า, บริเวณข้อเท้า หรือบริเวณข้อเข่า โดยจะแสดงอาการปวด, บวมแดง, ร้อน และจะเกิดอาการเจ็บเมื่อกดตรงข้อ รวมทั้งอาจจะมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายอาจจะพบก้อนโทฟัส ซึ่งจะเกิดมาจากการสะสมของผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่ออ่อน, ข้อต่อ, กระดูก และกระดูกอ่อน มักจะพบตรงบริเวณศอก, ตาตุ่ม, นิ้วมือ และนิ้วเท้า ส่วนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะตรวจพบประมาณร้อยละ 10-25 ของคนป่วยโรคเกาต์  และเราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเกาต์ได้ถ้าหากเราปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้ วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์  แนะนำให้งดทานอาหารดังต่อไปนี้ […]

เกาต์ vs รูมาตอยด์ ต่างกันอย่างไร

เกาต์ ต่างกันอย่างไร รูมาตอยด์

เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์ กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมาก การที่จะแยกความอาการป่วยของทั้งสองโรคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ถึงความแตกต่างของอาการระหว่างโรคเกาต์ และโรครูมาตอยด์จะทำให้ช่วยรับมือได้ทัน และสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี โรคเกาต์ และโรครูมาตอยด์ปวดข้อเหมือนกัน แต่จะมีรูปแบบการปวดที่ต่างกัน โรคเกาต์ (Gout)        โรคเกาต์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งของโรคข้ออักเสบเหมือนกัน จะพบได้ในประมาณร้อยละ 5 ของบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนป่วยโรคเกาต์อยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านคน โดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้วจะพบคนป่วยโรคเกาต์ 300 คนต่อประชากร 100,000 คน อาการของโรคเกาต์  เกิดจากร่างกายสะสมกรดยูริกที่มากเกินไป และไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกได้  จึงทำให้ตกผลึกตามบริเวณข้อ และอวัยวะต่าง ๆ มีอาการปวดตามส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, โคนนิ้วหัวแม่เท้า, นิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า จะเกิดอาการปวดที่ข้อ ๆ เดียวจะไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ จะมีอาการปวดข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีปุ่มกระดูกปรากฏขึ้นตรงบริเวณข้อ สามารถทำให้ปวดได้ทุกช่วงเวลา ถ้าหากข้ออักเสบอย่างรุนแรงแล้วไปประคบร้อนอาจจะเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการปวดจะเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ โรครูมาตอยด์ […]