fbpx

Author Archives: drsutt

โรคเก๊าท์มีโอกาสหายหรือไม่?

1. คำนำ: ทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์ 2. โรคเก๊าท์คืออะไร? 3. สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ 4. อาการของโรคเก๊าท์ 5. การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ 6. การรักษาและการจัดการโรคเก๊าท์ การใช้ยาในการรักษาโรคเก๊าท์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก 7. โรคเก๊าท์มีโอกาสหายหรือไม่? 8. เคล็ดลับในการจัดการโรคเก๊าท์ในชีวิตประจำวัน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงและอาหารที่แนะนำ การดูแลสุขภาพจิตใจ การตรวจสุขภาพและการพบแพทย์เป็นประจำ 9. คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเก๊าท์ 10. สรุป: การจัดการโรคเก๊าท์เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ________________________________________   1. ทำความรู้จักกับโรคเก๊าท์              โรคเก๊าท์เป็นโรคที่หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อเสียงกันมาบ้าง โรคนี้ส่งผลกระทบต่อข้อต่อในร่างกาย ทำให้เกิดอาการปวด บวม และแดงอย่างรุนแรง บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงโรคเก๊าท์อย่างลึกซึ้ง รวมถึงการรักษาและการจัดการโรคนี้ เพื่อให้คุณมีชีวิตที่ดีขึ้นและคำถามที่หลายคนสงสัยคือ “โรคเก๊าท์มีโอกาสหายหรือไม่?” เราจะมาตอบคำถามนี้ในบทความนี้   2. โรคเก๊าท์คืออะไร?          […]

อาการทั่วไปของโรคเก๊าท์: รู้จักและป้องกันเพื่อสุขภาพที่ดี

  1. [คำนำ] 2. [โรคเก๊าท์คืออะไร?] 3. [ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์] 4. [อาการทั่วไปของโรคเก๊าท์]     – [อาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ]     – [อาการบวมแดงที่ข้อต่อ]     – [การเคลื่อนไหวที่จำกัด] 5. [วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์] 6. [วิธีการรักษาโรคเก๊าท์]     – [การรักษาด้วยยา]     – [การรักษาแบบไม่ใช้ยา] 7. [วิธีการป้องกันโรคเก๊าท์] 8. [บทสรุป] 9. [คำแนะนำเพิ่มเติม]                 คำนำ โรคเก๊าท์ (Gout) เป็นหนึ่งในโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อย และมักเกิดจากการสะสมของกรดยูริก (Uric acid) ในร่างกายที่มากเกินไป […]

พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่ออาการปวดร้าวลงขา

      อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) คืออาการปวดเริ่มต้นตรงบริเวณช่วงเอวหรือตรงสะโพก และจะมีอาการปวดร้าวไปจนถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางท่านอาจจะร้าวไปจนถึงน่องหรือปลายเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้วินิจฉัยได้เลยว่ามีความเกี่ยวข้องกับการถูกกดทับที่บริเวณเส้นประสาท โดยอาจจะเป็นเรื่องของหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับ หรืออาจจะเป็นลักษณะของกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาทในผู้สูงอายุ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือจากสาเหตุอื่น ๆ และอีกหลายพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain)ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนี้   1. การยกสิ่งของหนัก ๆ การยกสิ่งของหนักมาก ๆ การยกของผิดท่าอาจจะทำให้เราใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บจึงส่งผลกระทบต่อกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง   2. การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อย หรือการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน อย่างเช่น การกวาดบ้าน, ถูบ้าน, ขัดห้องน้ำ และการนั่งในท่าเดิม ๆ โดยที่ไม่ปรับเปลี่ยนท่านั่ง อาทิเช่น การนั่งงอหลัง หรือแม้แต่การนั่งก้มคอ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานออฟฟิศหรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องคอยแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อแนวกระดูกสันหลังได้อีกด้วย   3. การนอนผิดท่า […]

อาการปวดร้าวลงขา เป็นโรคอะไรได้บ้าง

อาการปวดหลังร้าวลงขา เป็นอาการปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงมาตรงบริเวณสะโพก และจะปวดร้าวลงมาที่ขา ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายจากกระดูกสันหลัง อย่างเช่น การเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท, ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ, กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือว่าการเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณกระดูกสันหลัง อีกทั้งการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การก้ม, การบิดเอว และการยกของที่หนัก ๆ เป็นต้น คนป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงมาที่ขา ก็มักจะเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ถ้าหากมีอาการแบบนี้แล้ว คนไข้ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เป็นอาการที่จะพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มของผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา เพราะว่ากระดูกสันหลังบริเวณนี้จะรับน้ำหนักมาก และทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ จึงทำให้หมอนรองกระดูกอาจจะเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาท โดยจะมีอาการปวดที่บริเวณหลังช่วงเอวต่อกันกับสะโพก ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะมีอาการชาหรือว่าอ่อนแรงร่วมของขา หรือว่าบริเวณปลายเท้าร่วมด้วยได้ โรคนี้มักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-50 ปี โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็คือการทำงานที่ต้องยกของหนัก,คนที่มีน้ำหนักตัวมาก, การสูบบุหรี่, การบิดตัวหรือก้มหลังอย่างรวดเร็ว และรุนแรง เป็นต้น   2. โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือโรคช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ในกรณีนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในผู้สูงอายุ หรือที่เราเรียกกันว่า ‘กระดูกทับเส้นประสาท’ โดยอาจจะมากับอาการปวดหลังร้าวลงที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือจะอาจเป็นทั้งสองข้างก็เป็นได้ ร่วมกันกับมีอาการชาหรือว่าอ่อนแรงที่ขา โดยจะมีอาการมากขึ้นในเวลาที่ยืนหรือว่าเดินไปสักระยะหนึ่ง […]

หมอนรองกระดูกปลิ้น คืออะไร

            หมอนรองกระดูกปลิ้น เป็นอาการปวดด้านหลังร้าวลงไปที่ขา หรือร้าวลงไปจนถึงปลายเท้า หรืออาจจะมีอาการชาและอ่อนแรงร่วมด้วย  เป็นอาการที่อาจจะบ่งชี้ของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ซึ่งจะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น แต่คนที่อายุน้อยก็สามารถที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นนี้ได้เช่นกัน หมอนรองกระดูก เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างข้อของกระดูกสันหลัง โดยปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย และเป็นตัวให้ความยืดหยุ่น ในขณะที่มีการก้มเงย บิดตัว ของตัวกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของมันค่อนข้างมีความสำคัญและมันต้องทำงานทุกวันแบบไม่มีเวลาพักนั่นเอง พอมันทำงานทุกวัน ก็เลยเกิดความเสื่อมขึ้น ประจวบกับกิจกรรมเสี่ยงที่ทำอยู่ ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นได้ในที่สุดหมอนรองกระดูกโดยปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย และเป็นตัวให้ความยืดหยุ่น ในขณะที่มีการก้มเงย บิดตัว ของตัวกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของมันค่อนข้างมีความสำคัญและมันต้องทำงานทุกวันแบบไม่มีเวลาพักนั่นเอง พอมันทำงานทุกวัน ก็เลยเกิดความเสื่อมขึ้น ประจวบกับกิจกรรมเสี่ยงที่ทำอยู่ ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นได้ในที่สุด ฉะนั้นเมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้นหมอนรองกระดูกก็จะเริ่มเสื่อมและอาจจะทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น และนอกจากนี้ในคนที่มีอายุน้อยก็สามารถที่จะเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ถ้าหากได้รับอุบัติเหตุท่ามารถส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง หรือแม้แต่เกิดการลื่นล้ม ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือปลิ้นไปทับเส้นประสาทได้ การรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น ก็จะมีตั้งแต่การทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าไปในโพรงเส้นประสาทสันหลังเพื่อช่วยลดอาการปวดร้าวลงขา และการผ่าตัด แต่ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงอาการที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา สำหรับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกปลิ้นนั้น ก็มักจะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ๆ ด้วยกล้อง Endoscope ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ, ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด, ช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และยีงสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ ถ้าหากมีอาการปวดหลังมากผิดปกติ จนชาลงขาและเกิดการอ่อนแรงจนไม่สามารถจะทำกิจวัตรประจำวันได้ คนไข้ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนในการรักษาอาการที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นท่านที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรจะไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจและวินิจฉัยอาการว่ามีรุ่นแรงแค่ไหน มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกหรือไม่ เพื่อจะได้ให้แพทย์ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล […]

พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น

หลายท่านอาจจะคิดว่าโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น เกิดมาจากพฤติกรรมในการนั่งนาน ๆ, ก้ม ๆ, เงย ๆ, ก้มยกของ หรือว่าการแบกของหนักเป็นเวลานาน ๆ ซ้ำไปซ้ำมา และการประสบอุบัติเหตุเพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพฤติกรรมการไอ หรือ จามแรง ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาเกิดขึ้นได้ ทำไมแค่ไอ หรือจาม แล้วหมอนรองกระดูกปลิ้นได้ การไอหรือว่าการจามแรง ๆ ในแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอด และช่องท้องเพิ่มมากขึ้นจากการหดตัวกันอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ลำตัวของเรา จึงทำให้หมอนรองกระดูกที่มีหน้าที่คอยรับแรงกระแทกต้องทำงานหนักมากขึ้น และทำให้เกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบเฉียบพลัน รวมไปถึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบขึ้นได้ในคนที่มีกล้ามเนื้อที่แกนกลางลำตัวที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว และความดันที่เพิ่มขึ้นก็จะไปดันให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาจากรอยแยกของเปลือกหุ้มหมอนกระดูกไปกระทบกับเส้นประสาทได้ พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น มีหลายพฤติกรรมที่เราทำเป็นประจำ อาจจะก่อให้เกิดอาการโรคหมอนรองกระดูกทับปลิ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังต่อไปนี้ แบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไปเพราะว่าการแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป โดยเฉพาะการแบกสิ่งของที่ผิดท่าอาจจะทำให้เราใช้กล้ามเนื้อหลังจนมากเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง การก้มเงยบ่อยหรือว่านั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำอย่าง เช่น การกวาดบ้าน, ถูบ้าน, ขัดห้องน้ำ, เล่นสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการนั่งในท่าเดิม […]

ออฟฟิศซินโดรม ควรปรึกษาหมอเฉพาะทาง เพื่อรักษาให้ตรงจุด

โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคของคนวัยทำงานที่เป็นกันมากที่สุดในขณะนี้ ซึ่งนับวันยิ่งจะมีจำนวนของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกันอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ใช่ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นแล้วจะไม่หายเลย เพราะว่าทางการแพทย์สมัยนี้มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ให้ผู้ป่วยได้เลือกทำการรักษาตัวได้ตามความเหมาะสม อาทิเช่น การฝังเข็ม, การทานยา, การทำกายภาพบำบัด และวิธีอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายสภาพเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมชนิดเรื้อรังนั่นเอง แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม หลาย ๆ ท่านก็อาจจะลองค้นหาวิธีรักษา อาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเองกันมาบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะก็พบว่า แนะนำให้เราเริ่มจากการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ตามมาด้วยการบริหารร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกันหรือช่วยทำให้ทุเลาอาการปวดลง แต่ถ้าหากอาการปวดไม่ดีขึ้นจริง ๆ จึงค่อยไปปรึกษาแพทย์ และสามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ วิธีแก้โรคออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลในระยะสั้น ส่วนใหญ่และจะเป็นการรักษาหรือให้บริหารร่างกายอย่างง่าย ๆ จะช่วยให้อาการทุเลาลง ไม่เป็นหนักขึ้น มักจะใช้ในการช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ, บ่า,ไหล่, หน้าอก,สะบัก, แขน และหน้าท้อง เช่น การยืดกล้ามเนื้อในขณะทำงานทำเป็นระยะ ๆ เพื่อคลายกล้ามเนื้อส่วนบน และกล้ามเนื้อส่วนล่าง โดยจะเน้นบริเวณกล้ามเนื้อที่เกิดอาการปวดบ่อย ๆ การนวดเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือใช้แผ่นเจลประคบ หรือทานยาแก้ปวด การออกกำลังการกายก็เป็นการรักษาอาการปวด การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม […]

อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

เมื่อคุณรู้สึกปวดเมื่อยที่คอ, บ่า และไหล่ เวลาเป็นมาก ๆ ก็มักจะถูกทักว่า สงสัยจะเป็น “โรคออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งที่จริงแล้ว จะต้องมีอาการปวดขนาดไหน หรือว่ามีอาการที่สามารถบ่งบอกอย่างไรถึงจะแน่ใจได้ว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม เรามาดูกันว่าถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้ นี่ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรม เรามาสังเกตกันดูว่า คุณมีอาการเหมือนสัญญาณที่เตือนเหล่านี้หรือไม่ ปวดหัวเรื้อรัง หรือบางทีก็จะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดมาจากความเครียดในการทำงาน หรือว่าการที่เราใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน อย่างเช่น การจ้องอ่านเอกสาร การจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แสงที่บริเวณโต๊ะทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่วุ่นวายก็สามารถทำให้คุณเกิดความเครียดสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว  ตึงที่บริเวณต้นคอ, บ่า และไหล่แบบเรื้อรัง สาเหตุของอาการนี้เราสังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าคุณเป็นคนที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง และอยู่กับเอกสารทั้งวัน แล้วเกิดอาการปวดตึงที่บริเวณต้นคอ, มีอาการปวดบ่าและปวดไหล่อยู่บ่อย ๆ หรือว่าบางทีก็ปวดจนหันคอลำบาก ก้มลงก็ปวด พอเงยขึ้นก็ร้องโอย นั่นแหละเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ปวดที่บริเวณด้านหลัง อาการปวดหลังนั้น คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลย เพราะว่าเป็นอาการอันดับต้น ๆ ของโรคออฟิศซินโดรมเลยก็ว่าได้ สาเหตุของโรคนี้เกิดมาจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือว่าเป็นงานที่จะต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงเป็นประจำทุกวัน อาการของการปวดหลังนั้นไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้แน่นอน ปวดแขน, […]

สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

ชีวิตของคน วัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่หน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ นอกจากจะใช้สายตาจ้องคอมและสมองในการคิดงานแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมเพิ่มอีกด้วย เพราะว่าวัยทำงานที่จะต้องพบเจอกับภาวะกดดันในหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งการนั่งทำงานเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลทำให้ร่างกายไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถมากนักหรือการนั่งท่าไม่ถูกลักษณะ อาทิ เช่น การนั่งหลังงอ ไม่ได้ยืดตัวเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย และล้าตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจนทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรังได้ โรคออฟฟิศซินโดรมมักจะเกิดกับพนักงานที่ใช้เวลาทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน หรือแม้แต่การ Work From Home อยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ แต่เพราะการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหลัง, ต้นคอ, สะโพก และบริเวณไหล่ได้ ซึ่งอาการเจ็บปวดเหล่านี้มีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายกายและใจ แถมยังมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอีกด้วย การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องใส่ใจ เพราะว่ามีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของตังพนักงานเอง รวมถึงความสำเร็จขององค์กรด้วยเช่นกัน สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม ถ้าหากคุณยังไม่แน่ใจว่าความไม่สบายกายและใจที่เกิดขึ้นในขณะที่นั่งทำงานอยู่เสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ ให้คุณลองพิจารณาจากอาการดังต่อไปนี้ ถ้าหากมีตรงกับคุณหลายข้อและเกิดขึ้นเป็นประจำ นั่นแสดงว่าโรคออฟฟิศซินโดรมอาจจะกำลังเกิดขึ้นกับคุณอยู่ก็ได้ ปวดที่บริเวณต้นคอ, บริเวณไหล่ และบริเวณด้านหลัง จะรู้สึกตึงและเมื่อยอยู่ตลอดเวลา มีอาการสายตาพร่ามัว เวลามองอะไรก็จะไม่ชัดเจน มีอาการเบลอไปหมด เกิดอาการชาที่บริเวณมือ และเท้าชา รู้สึกแปลบ ๆ […]

ออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่

          หลาย ๆ คนเข้าใจว่า โรคออฟฟิศซินโดรม จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะกับคนที่ทำงานออฟฟิศ แต่หลักความเป็นจริง แล้วสามารถพบได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ที่มีการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กันเป็นระยะเวลานาน และในยุคปัจจุบันนี้เราจะพบกลุ่มคนที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ในเด็ก ๆ ที่มีการเรียนหนังสือผ่านออนไลน์กันได้มากขึ้น หรือแม้แต่กับผู้สูงอายุก็เช่นกัน ที่ยุคนี้มีการเล่นสมาร์ทโฟน ส่งไลน์สวัสดี และยังมีการแชร์ข่าวสารในเฟสบุ๊คด้วยเช่นกัน การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม           อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุเกิดมาจากการที่เรานั่งทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง และระยะเวลาที่ยาวนานจนเกินไป การใช้งานอวัยวะต่าง ๆ มากจนเกินไป จนส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ อาการปวดหัว, ปวดต้นคอ, ปวดที่บริเวณเบ้าตา, ปวดบริเวณบ่า, ปวดที่บริเวณไหล่, ปวดที่บริเวณข้อศอก, ปวดตรงบริเวณข้อมือ, ปวดหลัง, ปวดสะโพก หรือแม้กระทั่งมีอาการมือชา เนื่องจากมีพังผืดที่บริเวณข้อมือ เกิดจากการใช้งานบ่อย ๆ     […]