fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคเกาต์ยิ่งทรุด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคเกาต์ยิ่งทรุด

  เป็นอีกหนึ่งโรคกระดูกและข้อที่พบได้บ่อย สำหรับ โรคเกาต์ ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเกาต์หรือทำให้โรคกำเริบหนักจะมีเพียงการรับประทานอาหารประเภทเป็ดไก่บ่อยๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคเกาต์มีอีกหลายปัจจัยกระตุ้นที่ทำอาการกำเริบเร็วว่าการรับประทานสัตว์ปีก โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ปัจจัยที่ทำให้โรคเกาต์ทรุด โรคเกาต์เป็นคือโรคข้ออักเสบชนิดที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริก โดยกรดยูริกนี้เป็นกรดที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ โดยปกติร่างกายจะสร้างขึ้นเองประมาณ 80 % อีก 20% จะมาจากอาหารที่มีสารพิวรีนสูงที่เรารับประทานเข้าไป โดยสารพิวรีนจะพบได้มากใน สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ผักบางชนิดและอาหารทะเลบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะขับกรดยูนิกออกทางปัสสาวะในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับกรดยูริกมากเกินไปร่างกายก็จะขับกรดยูริกออกไม่หมดและสะสมอยู่ตามข้อ กระดูก ไตและผนังหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งใช้เวลานานเป็น 10 ปีกรดยูริกเหล่านี้จะตกผลึกทำให้เกิดอาการอักเสบและกลายเป็นโรคเกาต์ในที่สุด โดยอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดอยู่ริกในร่างกายสูง ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดยูริในเลือดสูงและกลายเป็นโรคเกาต์ โดยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีผลต่อระดับยูริกต่างกัน เบียร์จะมีผลต่อระดับกรดยูริกมากที่สุด รองลงมาคือเหล้าและที่น้อยที่สุดคือไวน์ ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเกาต์อยู่แล้วจึงควรงดดื่มเหล้าเบียร์อย่างเด็ดขาด น้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง เครื่องดื่มเหล่านี้มีน้ำตาลฟรุคโตสสูง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเกิดกรดยูริกในเลือดสูงเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังทำให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งก็มีอีกหนึ่งความเสี่ยงในหลายๆ โรคโดยเฉพาะโรคเกาต์ สัตว์ปีกและเครื่องใน อาทิ เป็ด, ไก่ และเครื่องในต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มีสารพิวรีนสูงและสารพิวรีนนี้เองที่เป็นสารตั้งต้นของกรดยูริก หากรับประทานเป็นประจำทุกวันก็จะทำกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ได้ จะเห็นได้ว่าตัวกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์เป็นแหล่งอาหารใกล้ตัวที่เรารักจะรับประทานกันเป็นประจำ ดังนั้นหากไม่อยากให้โรคเกาต์มาเยือนหรืออาการโรคเกาต์กำเริบควรงดของต้องห้ามดังกล่าว และควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม […]

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม?

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม คำถามนี้ยังคงเป็นคำถามที่มีคนสงสัยอยู่ไม่น้อย เพราะจากประสบการณ์จากที่คนคนรอบตัวเป็นโรคเก๊าท์ จะสร้างความรู้สึกว่า คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกำเริบเป็นระยะๆ เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย เดี๋ยวก็กลับมาเป็นอีก เหมือนเป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ความจริงเป็นอย่างไร เรามาดูกัน   โรคเก๊าท์คืออะไร โรคเก๊าท์คือโรคข้ออักเสบ ที่มีสาเหตุจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง พอนานไปกรดยูริกก็จะตกตะกอนแล้วสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย นานวันเข้าก็จะแสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ยูริกนั้นสะสมอยู่ที่ใด   อาการของโรคเก๊าท์        อาการที่เป็นที่รู้จักกันส่วนใหญ่คือ อาการปวดตามข้อ ปวดทรมาน แต่ความจริงแล้วยังมีอาการแบบอื่นขึ้นอยู่กับว่า กรดยูริกไปตกตะกอนสะสมอยู่ที่ใด ผิวหนัง ถ้ายูริกตกตะกอนบริเวณผิวหนัง จะปรากฏอาการคือ ผิวหนังจะมีปู่มนูนขึ้นมา ข้อต่างๆ จะมีอาการปวดตามข้อ เนื่องจากฤทธิ์ของอาการอักเสบที่เกิดขึ้น ไต จะทำให้เป็นนิ่วในไต และไตเสื่อมในที่สุด    สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์        ดังกล่าวแล้วว่า เกิดจากกรดยูริกสูง ซึ่งการที่จะมีกรดยูริกในเลือดสูงนั้น ส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ความจริงคือในร่างกายของคนเราจะมีกรดยูริกที่สร้างขึ้นมาเองอยู่แล้วถึง 80% ถ้ามีการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูงขึ้นไปอีก จะมีกรดยูริกที่เพิ่มสูงขึ้น   อาหารประเภทไหนบ้างที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง สัตว์ปีกและเครื่องในสัตว์ น้ำต้มกระดูก ธัญพืช […]

โรคเก๊าท์ มีโอกาสไตวาย หรือไม่ ?

      โดยทั่วไปแล้ว โรคไต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ แต่อย่างไรก็ตาม โรคเก๊าท์ ก็อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคไตได้เช่นกัน เพราะไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการกรองกรดยูริค โรคทั้งสองนี้ จึงมีความเกี่ยวข้องกัน       1 ใน 10 ของผู้ที่เป็นโรคไต จะเป็นโรคเก๊าท์ด้วย ในขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคเก๊าท์ก็มีโอกาสเป็นโรคไตมากขึ้น และผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ แต่ไม่ควบคุมให้เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อไต ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น และอาจจะนำไปสู่อาการไตวาย และอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก โรคไต นำไปสู่การเป็นโรคเก๊าท์       ผู้ที่เป็นโรคไตนั้น การทำงานของไตจะไม่ดีเท่ากับคนปกติ ไตจะไม่สามารถกรองของเสียออกจากร่างกายได้ดีพอ กรดยูริคก็นับว่าเป็นของเสียที่มีอยู่ในเลือด แต่เมื่อไตทำงานได้ไม่เต็มที่ก็ไม่สามารถกรองกรดยูริคออกไปได้เท่าที่ควร เมื่อร่างกายมีกรดยูริคสะสมอยู่มากเป็นเวลานาน ก็จตะเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น       ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ในระยะแรกนั้น ส่วนมากจะไม่รู้ตัว แต่เมื่อเป็นขึ้นมา นั่นก็นับเป็นสัณญาณเตือนของการเป็นโรคไตด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการักษา โรคเก๊าท์ นำไปสู่การเป็นโรคไตวายได้       เป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มแพทย์และผู้เเชี่ยวชาญว่า […]

เป็นเก๊าท์หลีกเลี่ยงไตวายอย่างไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบ ที่ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง เป็นโรคที่มีมานานแล้ว และผู้คนก็เจ็บป่วยด้วยโรคนี้กันมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากการรับประทานอาหารที่เกินพอดี อาหารหลายชนิด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่นอาหารที่มีสารพิวรีน พืชผัก ผลไม้บางชนิด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้น จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริค ทำให้เกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเกินปกติ            หากปล่อยให้กรดยูริคในเลือดสูงเกินปกติเป็นเวลานาน ต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งโรคนี้เป็นในเพศชายวัยกลางคน และเพศหญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน เป็นส่วนมาก โรคเก๊าท์นั้น นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยปวดทรมาณ เมื่ออาการกำเริบแล้ว ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีก ทั้งข้ออักเสบ โรคผิวหนัง และโรคไต             หากเป็นโรคเก๊าท์แล้ว ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ นับตั้งแต่ข้ออักเสบ ข้อพิการผิดรูป เกิดก้อนที่ผิวหนัง เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไปจนถึงโรคไตวายเรืองรังเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ […]

โรคเก๊าท์ไม่ควบคุมอันตรายแค่ไหน

​เป็นเก๊าท์แล้วไม่ควบคุมจะอันตรายแค่ไหน

          ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ คือผู้ที่มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงมากเกินไป โดยกรดยูริคนี้ร่างกายของเราได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้อาหารแตกตัว แต่ถ้าหากร่างกายของเราผลิตกรดดังกล่าวนี้มากจนเกินไป ต่อเนื่องเป็นเวลานาน กรดยูริคก็จะจับตัวกันเป็นก่อนผลึก แล้วไปจับตัวรวมกันที่รอบ ๆ ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น แต่เมื่อบริเวณข้อต่อที่กรดยูริคไปจับตัวเป็นก่อนผลึกนั้นเกิดการอักเสบขึ้นมา ผู้ป่วยจะมีความเจ็บปวดในบริเวณข้อต่อนั้นมาก นอกจากจะปวดตึงมากแล้ว จะสังเกตเห็นได้ว่าบริเวณนั้น ทั้งบวม และแดง อาการที่ปรากฏขึ้นมานี้ เรียกว่า โรคเก๊าท์กำเริบ             โรคเก๊าท์นี้ หากไม่ได้รับการรักษา และควบคุมโรค ก็จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวได้ เพราะหากปล่อยให้ดับกรดยูริคในเลือดสูงไปเรื่อย ๆ ก้อนผลึกก็จะจับตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นปัญหาระยะยางของผู้ป่วย นำไปสู่อาการเจ็บปวด ทุกข์ทรมาณ และถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปผิดร่าง กลายเป็นความเสียหาย หรือพิการในระยะยาวได้โรคเก๊าท์ จะกำเริบและอาจจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย อาการปวด บวม อาจจะเกิดในจุดที่ต่างกัน บางคนก็เกิดอาการหลายจุด ความรุนแรงของอาการก็อาจจะแตกต่างกัน ระยะเวลาในการกำเริบ […]

เก๊าท์ กับกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

กิจกรรมใดบ้างที่คนเป็นเก๊าท์ควรหลีกเลี่ยง

          แม้ว่าผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าอาการโรคเก๊าท์กำเริบนั้นจะเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันอาการกำเริบนั้นได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ และปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม           การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะไม่เพียงป้องกันอาการกำเริบเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างเช่นโรคไตและโรคหัวใจตามมา พฤติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะต้องหลีกเลี่ยง   การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่่วยโรคเก๊าท์ควรจะกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งอาหารที่มีพิวรีนสูง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง อย่างเช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก เครื่องในสัตว์ และสัตว์ทะเลที่มีเปลือก นอกจากนั้น ควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบียร์ เพราะเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น จะไปเพิ่มระดับกรดยูริคในร่างกาย ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถจะบริโภคได้ จะเป็นอาหารที่มีวิตามินซีสูง และอาหารพวก เชอร์รี่ กาแฟ สามารุลดความเสียงต่อการกำเริบของโรคเก๊าท์ได้ นอกจากนั้น การควบคุมน้ำหนัก ก็เป็นสิ่งสำคัญ และการดื่มน้ำสะอาดในปรีิมาณมาก ก็จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและช่วยชะล้างยูริคออกจากร่างกาย ป้องกันไม่ให้ปริมาณยูริคมาเกิน จนเกิดการสะสมเป็นผลึกไปเกาะติดตามข้อต่อร่างกายจนเจ็บปวด ทุกข์ทรมาณ พยายามอย่าให้เกิดความเครียด เพราะความเครียด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ ยิ่งหากผู้ป่วยรายได้ มีอาการโรคเก๊าท์กำเริบบ่อย […]

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์

           เก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้ข้ออักเสบ อาการข้ออักเสบที่เกิดจากโรคเก๊าท์นี้ เกิดจากการมีก้อนผลึกไปจับตัวอยู่ที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ และเจ็บปวด โรคเก๊าท์นี้ผู้ชายส่วนใหญ่จะเป็นเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน และโดยมากผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง            โรคเก๊าท์นี้เมื่อกำเริบขึ้น ผู้ป่วยจะปวดมาก แต่ก็มีวิธีทั้งการบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้อาการกำเริบขึ้น            ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเกีาท์ จนกระทั่งมีอาการกฎขึ้นที่ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เข่า ศอก นิ้วมือ ดังนี้   อาการจะเกิดขึ้นตามข้อต่อมากกว่าจุดเดียว ผู้ป่วยจะรู้ปวดร้อน และตึงบริเวณข้อต่อมาก มีอาการบวมรอบ ๆ ข้อต่อ สังเกตเห็นได้ว่าผิวหนังตึง และแดงในจุดที่เป็น อาการของโรคจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากปวดแค่ไม่กี่ชั่วโมง ไปเป็น 3วันถึง 10 วันได้ […]

โรคเก๊าท์เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือไม่

โรคเก๊าท์เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือไม่

          โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้ออักเสบอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยโรคจะมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงเกิดขึ้น เมื่อโรคกำเริบ เมื่อก่อนเคยมีการเรียกโรคนี้ว่า the disease of kings หรือโรคของคนกินดีอยู่ดีมากจนเกินไป กินมากไป ดื่มมากไป แต่ปัจจุบัน พบว่า มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย โดยเฉพาะพันธุกรรม           มีการสำรวจพบว่า กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ มีเรื่องของพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นไม่ได้ชัดเจนขนาดที่ว่า ถ้าพ่อแม่ป่วย ลูกหลานก็จะป่วยได้ด้วย แต่การถ่ายทอดจะเป็นไปในลักษณะที่มีการเว้นช่วงในบางรุ่น หรือบางคนได้           โรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเพราะกรดยูริคในร่างกายมีปริมาณมากเกินไป เมื่อระดับกรดยูริคสูงเกินมาตรฐาน ก็จะมีการจับตัวกันเป็นก้อนผลึกที่แข็งและคม ก้อนผลึกนี้จะไปอยู่ตามข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความแข็งและคมเหมือนเข็มนี้ ทำให้เกิดการอักเสบและสร้างความเจ็บปวด ซึ่งผู้ป่วยจะรู้ว่า นี่คืออาการของโรคเก๊าท์กำเริบ บริเวณข้อต่อที่เกิดการอักเสบ จะตึง บวม […]

โรคเก๊าท์เกิดขึ้นได้อย่างไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานกับอาการปวดข้อ เพราะเมื่อร่างกายของเรามีปริมาณกรดยูริคมากเกินไป กรดเหล่านั้นก็จะไปจับตัวกันเป็นผลึกตามข้อต่อของร่างกาย ทั้งข้อต่อเล็กอย่างข้อนิ้วเท้า นิ้วมือ และข้อต่อส่วนอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ ผู้ป่วยจะเจ็บปวด อาการแบบนี้เรียกว่า โรคเก๊าท์กำเริบ ทำให้ต้องรับการรักษา ทั้งด้วยการใช้ยา การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตประจำวันบางอย่างเมื่ออาการของโรคกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมตามข้อ ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะมากกว่าหนึ่งจุด ส่วนมากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีอาการที่ข้อต่อนิ้วโป้งเท้า และที่อื่น ๆ อีก ได้แก่ เข่า ข้อเท้า เท้่า มือ เอว และข้อศอก โรคเก๊าท์กำเริบสามารถเกิดกับใครได้บ้าง          แน่นอนว่า โรคเก๊าท์นี้ สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ในผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เร็วกว่าผู้หญิง โดยมักจะเกิดกับผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน และผู้ชายก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงมากถึง 3 เท่า เพราะผู้ชายจะมีระดับกรดยูริคในร่างกายสูง แต่ผู้หญิงนั้นระดับกรดยูริคจะสูงขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน         นอกจากนี้ […]

เมื่อรักษาโรคเก๊าท์หายแล้วต้องกินยาต่อเนื่องหรือไม่

เมื่อรักษาโรคเก๊าท์หายแล้วต้องกินยาต่อเนื่องหรือไม่

          โรคเก๊าท์ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้สามารถควบคุมโรคได้ ด้วยการปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตและการเลือกรับประทานอาหาร ส่วนจะต้องรับประทานยาต่อเนื่องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง           โรคเก๊าท์สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในขณะที่การรักษาด้วยยา ก็เป็นทางเลือกในการลดระดับกรดยูริกในร่างกาย อีกทั้งการรักษาด้วยการรับประทานยาในระยะยาวก็เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบบ่อย หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆโรคเก๊าท์ เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับกรดยูริคสูงมากเกินไป หากระดับกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกต กรดยูริคนั้นจะกลายเป็นผลึก แล้วไปจับตัวอยู่ที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดการอักเสบ และมีอาการปวด หากปล่อยไว้นานเป็นปีข้อต่อจะเกิดความเสียหาย           อาการของโรคเก๊าท์ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย ดังนั้น การรักษาด้วยยาเพื่อลดระดับกรดยูริคในร่างกายลง จึงอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ตามสถานการณ์ของคนไข้แต่ละรายว่าจะเริ่มให้ยาเมื่อไหร่ และต้องใช้ยาต่อเนื่องไปนานแค่ไหน เพราะยาอาจจะมีผลข้างเคียง หากมีการใช้ต่อเนื่องยาวนานหลายปี เมื่อต้องใช้ยาในการรักษาอาการผู้ป่วยโรคเก๊าท์           โดยทั่วไปแล้ว […]