fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

ควบคุมอาหารอย่างไรไม่ให้เกาต์กำเริบ

  โรคเกาต์ คือโรคปวดตามข้อชนิดหนึ่ง สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเรากำลังเป็นโรคเกาต์หรือไม่ โดยให้ดูจากที่อยู่ดี ๆ ก็เกิดอาการปวด ร้อนที่บริเวณข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า หรือบริเวณข้อเข่าอย่างฉับพลันและเจ็บมากขึ้นจนไม่สามารถเดินได้ และจะปวดที่บริเวณข้ออื่น ๆ ตามมา อาจจะมีอาการไข้หนาวสั่นร่วมด้วย และมักจะเป็นช่วงเวลากลางคืน แต่อาการก็อาจจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ถ้าหากใครที่มีอาการตามนี้ก็คงไม่ต้องสงสัยเลยคุณเป็นโรคเกาต์แน่นอน  และในทุกวันนี้คนส่วนมากก็หันมาใส่ใจในเรื่องของการทานอาหารกันมากขึ้น เพราะว่าการทานอาหารไม่ดีก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างการทานอาหารอย่างไรไม่ให้โรคเกาต์กำเริบ และวันนี้เราได้นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เมื่อเป็นโรคเกาต์จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร คนที่เป็นโรคเกาต์เป็นเพราะว่ามีกรดยูริกเกิดการสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก  ฉะนั้นการที่จะระวังไม่ให้มีกรดยูริกเกิดการสะสมในร่างกายมากจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเราสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการเลือกทานอาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ หรือสารพิวรีนปานกลางก็จะทำให้ร่างกายได้รับกรดยูริกได้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดี หรือคนที่มีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ควรจะงดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงโดยเด็ดขาด เช่น กลุ่มที่มีสารพิวรีนสูง คนป่วยโรคเกาต์ในระยะที่โรคกำเริบควรจะงดอย่างเด็ดขาด เช่น เนื้อไก่ หัวใจไก่ ปลาอินทรีย์ มันสมองวัว ตับไก่ กึ่นไก่ ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน เซ่งจี๊หมู ตับหมู กุ้งชีแฮ้ หอย ไข่ปลา หัวใจ […]

สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกาต์กำเริบ

สาเหตุโรคเกาต์

              เกาต์ หรือ เก๊าท์ เป็นโรคปวดบริเวณข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่จะพบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง จัดว่าเป็นโรคของคนในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยอายุ 30-60 ปี จะพบโรคข้ออักเสบนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สามารถสังเกตได้ว่าคนที่อายุมากขึ้นยิ่งจะมีโอกาสจะเป็นโรคข้ออักเสบก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนผู้หญิงก็จะสามารถพบได้น้อย หรือถ้าหากพบก็มักจะพบหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว โดยทั่วไปมักจะเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว หรือในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ข้อพร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุดก็คือ นิ้วหัวแม่เท้า สาเหตุของโรคเกาต์             โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรต ตามบริเวณส่วนต่าง ๆของเนื้อเยื่อ เช่น ตรงบริเวณข้อ จะทำให้เกิดข้ออักเสบ บริเวณไต จะทำให้เกิดนิ่วในไต และไตวายได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกที่มีในเลือดสูงนั้น ก็เนื่องมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปริมาณที่ขับออกจากร่างกาย  นอกจากนี้การที่กรดยูริกอยู่ในเลือดสูงก็เป็นผลมาจากที่ร่างกายขาดยีนในการที่จะช่วยสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบอีกว่าอาจจะเป็นผลมาจากอาหารที่เราทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกที่มีสารพิวรีนสูง และขบวนการของการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนแต่ได้   สารพิวรีนออกมา ซึ่งกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากกระบวนการนี้   หรืออาจจะเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณในการขับออกจากร่างกายนั้นมีน้อยกว่า  กรดยูริกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะมีการขับออกจากร่างกายโดยการขับออกระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะสามารถขับออกมาได้ประมาณ 1 […]

อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์สังเกตได้จากอะไรบ้าง

อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์

           โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุดในคนไทย ซึ่งจะทำให้ส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ทั้งนี้โรคเกาต์เกิดมาจากร่างกายมีการสะสมกรดยูริกในปริมาณมากเกินไป และไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกที่เป็นส่วนเกินออกได้ จึงทำให้ตกผลึกตามบริเวณข้อและอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เจ็บปวดส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, นิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า อาการปวดจะปวดแค่ข้อเดียวไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ จะปวดข้างใดข้างหนึ่ง และถ้ามีปุ่มกระดูกปรากฏที่ข้อ หากเกิดอาการข้ออักเสบอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อนเพราะจะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการจะปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ อาการปวดบริเวณข้อนี้อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ เราควรสังเกตตนเอง ถ้าหากอาการปวดเริ่มรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ผู้ที่ชำนาญการเพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโดยเร็วที่สุด  ซึ่งแนวทางในการรักษาก็มีทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่าตัด เพื่อที่จะได้กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติดังเดิม อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์ อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์ จะเริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงที่สะสมเป็นระยะเวลา 10 ปี การอักเสบของข้อในครั้งแรกมักจะพบในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40-60 ปี แต่ผู้หญิงมักจะพบหลังจากวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ และจะมีการอักเสบรุนแรงอย่างเฉียบพลัน จากระยะที่ค่อย ๆ เริ่มปวดจนถึงระยะอักเสบเต็มที่ภายใน 24 […]

ผักชนิดใดบ้างที่ผู้ป่วยเกาต์สามารถทานได้

ผักชนิดใดบ้างที่ผู้ป่วยเกาต์สามารถทานได้

  เกาต์  เป็นโรคข้ออักเสบที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนและโปรตีนเข้าไปในปริมาณมาก สาร“พิวรีน” เป็นสารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต จะพบอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ไว เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา สัตว์ตัวเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องในสัตว์ รวมไปถึงในพืชที่กำลังเติบโต อย่างเช่น ยอดผัก และถั่ว ถ้าหากคนที่เป็นโรคเกาต์โดยพันธุ์กรรมอยู่ก่อนแล้วก็สามารถที่จะรับประทานอาหาร และผักที่คนป่วยโรคเกาต์สามารถทานได้ แต่ควรทานอย่างรู้ปริมาณที่พอเหมาะ คือผักที่มีสารพิวรีนต่ำมีอยู่ 3 กลุ่มผักดังต่อไปนี้ กลุ่มผักที่มีสารพิวรีนต่ำ  ผักในกลุ่มที่สารพิวรีนต่ำ ได้แก่ บีทรูท, แตงกวา, ผักกาดหอม, มันฝรั่ง และพืชตระกูลน้ำเต้า เป็นต้น ผักเหล่านี้จะสามารถช่วยทำให้กรดยูริกลดลงได้ประมาณ  50 มิลลิกรัมต่อผัก 100 กรัม กลุ่มผักที่มีสารพิวรีนต่ำและมีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง ผักในกลุ่มนี้ก็จะมี กะหล่ำปลีม่วง และพริกแดง มีสารพิวรีนต่ำ และยังมีช่วยสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สารไลโคปีน, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน สารเหล่านี้จะไปทำลายสารอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่เป็นตัวทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราส่งผลทำให้เป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ ฉะนั้นผักกลุ่มนี้นอกจากจะไม่ทำให้เกิดโรคเกาต์แล้ว ยังจะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันไปพร้อม ๆ […]

กินไก่เป็นโรคเกาต์?

กินไก่เป็นโรคเกาต์

            โรคเกาต์  เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าคนที่จะเป็นโรคเกาต์ คือจะต้องเป็นคนที่กินไก่เยอะมาก ๆ แน่นอนเลย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากกระบวนการของร่างกายที่เกิดความผิดปกตินั่นเอง            โรคเกาต์มีต้นเหตุมาจากการที่ร่างกายมีสารพิวรีน ที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราสลายตัวต่ออีกทีได้กรดยูริก ซึ่งปกติแล้วกรดยูริกนี้ 2 ใน 3 จะถูกขับออกผ่านทางไต และ 1 ใน 3 ก็จะถูกสลายด้วยแบคทีเรียในลำไส้นั่นก็แสดงว่าถ้าหากไตของเราไม่มีปัญหาร่างกายของเราก็สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้ตามปกติ  จึงไม่มีการสะสมของกรดยูริกที่บริเวณไขข้อ แต่ถ้าคนไหนที่มีภาวะไตเสื่อม หรือว่าอาจจะได้รับผลข้างเคียงจากยาบางชนิด  กรดยูริกก็จะถูกขับออกทางไตได้น้อยลง ทำให้กรดยูริกสะสมในเลือดสูงขึ้น และทำให้เกิดการสะสมที่บริเวณข้อ จนกายเป็นโรคเกาต์ในที่สุด แต่ทั้งนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมก็ยังมีส่วนเร่งทำให้เกิดโรคเกาต์ได้อีกด้วย  ซึ่งถ้าพูดถึงการกินไก่ ที่ตกเป็นจำเลยทางสังคมมานมนาน ก็ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จริง!” การกินไก่ไม่ได้ทำให้เป็นโรคเกาต์เสมอไป แล้วถ้าหากจะบอกว่าการกินอาหารที่มีค่าพิวรีนสูงทำให้เป็นโรคเกาต์ ก็ควรที่จะพิจารณาปริมาณของค่าพิวรีนในเนื้อไก่ก่อนว่ามันมีอยู่เท่าไหร่ สูงมากแค่ไหน ก็จะพบว่าเนื้อไก่จัดอยู่ในกลุ่ม moderate หรือมีค่าพิวรีนระดับปานกลาง  แต่กลุ่มที่ค่าพิวรีนสูง คือ พวกที่มีแอลกอฮอลล์ อย่างเช่น เหล้า เบียร์ สารที่ให้ความหวาน ที่อยู่ในน้ำอัดลม รวมไปถึงน้ำตาลทรายขาว และพวกเครื่องในสัตว์  เช่น […]

สัญญาณเตือนที่ต้องระวัง! “โรคเกาต์”

สัญญาณเตือนโรคเกาต์

             โรคเกาต์ เป็น โรคที่เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ผลึกยูเรตตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกยูเรตมีการตกตะกอนตามบริเวณข้อ ก็สามารถจะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบได้อย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ สาเหตุเกิดมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าในการขับออก กรดยูริกเป็นผลจากการสลายของสารพิวรีนที่มีสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสารที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่ทางการแพทย์จะเรียกว่า กรดนิวคลีอิก โดยที่กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่นั้นจะเกิดมาจากกระบวนการนี้ โดยที่ร่างกายของเรามีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการในการย่อยสลายของสารพิวรีนทำงานเกิดความผิดปกติขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นกรดยูริกที่สูงตามมา โรคเกาต์จะมีอาการปวด, บวมแดง และร้อนตรงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันทันทีทันใด โดยมักจะเริ่มจากข้อตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการเกาต์สามารถเกิดขึ้นกับข้ออื่น ๆ ได้ อย่างเช่น บริเวณข้อเท้า, ข้อเข่า และข้อมือ ซึ่งอาการที่เป็นก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงระยะแรก โรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือดูแลได้อย่างถูกต้อง ยิ่งจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นทำให้คนป่วยมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง  รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไม่สะดวกจากที่ภาวะข้อติด ซึ่งนั่นหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าอาการของโรคมีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจจะนำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรังและสามารถสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น […]

ความอ้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกาต์หรือไม่

ความอ้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกาต์

  โรคเกาต์เป็น โรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในเพศชายที่อายุ 30 ปีขึ้นไป อาการที่แสดงส่วนใหญ่จะมีอาการปวด บวมตรงบริเวณเท้าโดยเฉพาะที่ตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนเพศหญิงก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเกาต์ได้หลังมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 3 – 5 ปี การเกิดโรคเกาต์จะพบสูงเพิ่มมากขึ้นกับคนทั่วไป ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การที่ร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดเพิ่มขึ้นมักจะมีความสัมพันธ์กันกับโรคที่มีความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายที่เรียกว่า และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการทานอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารที่มีแคลอรีสูงและจะพบในคนอ้วน การใช้ยาขับปัสสาวะที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน การที่เราทานผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีความหวานมาก ๆ เพราะจะมีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่มาก   ปัจจุบันการเกิดของโรคเกาต์เพิ่มมากขึ้นนั่นก็เพราะว่ามาจากความอ้วน และขึ้นอยู่การบริโภคของเรานั่นเอง ฉะนั้นเราจึงควรที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับปัจจัยในการเสี่ยงต่าง ๆ การทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงจะทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ เช่น หน่อไม้ เครื่องในสัตว์  สัตว์ปีก ยอดผักต่าง ๆ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต คนป่วยที่โรคเกาต์ฉับพลันมักจะมีอาการปวดบวม แดงร้อน ตรงบริเวณที่เป็น อาการจะเป็นอย่างรวดเร็ว และอาการจะปวดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนป่วยเป็นอย่างมาก  เนื่องจากจะทำให้มีอาการปวดตามข้อ ยังทำให้การเคลื่อนไหวลำบากได้อีกด้วย นอกจากนี้ในระยะยาวโรคเกาต์ที่เป็นตามข้อต่าง ๆ ก็จะทำลายกระดูกอ่อนของผิวข้อจึงทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมตามมา โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้า การเกิดของก้อนโทฟัสเกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกในเนื้อเยื่ออ่อน การตรวจค่าของกรดยูริกในกระแสเลือดก็จะเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัย […]

ปวดเกาต์ ซื้อยาเองได้หรือไม่?

ปวดเกาต์ ซื้อยาเองได้หรือไม่

    โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบที่มีอาการปวดเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นโรคเก่าแก่ที่สุดอีกโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ และยังเป็นโรคข้ออักเสบที่เป็นปัญหาสำคัญในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งการเกิดของโรคเกาต์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานของอาหาร และสภาวะทางโภชนาการที่เกินความพอดีในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น อย่างเช่น การทานอาหารที่มีจำพวกสารพิวรีนสูงมาก หรือว่าพืชผัก ผลไม้หรือแม้แต่น้ำผลไม้บางชนิด หรือ ว่าพวกแอลกอฮอล์ ก็จะมีส่วนไปกระตุ้นการสร้างกรดยูริกขึ้นในร่างกาย ซึ่งถ้าหากกินเข้าไปมาก ๆ ก็ทำให้มีกรดยูริกอยู่ในร่างกายสูงได้เช่นกัน และสิ่งที่น่ากลัวของโรคเกาต์ ก็คือ เกิดภาวะแทรกซ้อน คนป่วยโรคเกาต์ที่ไม่ทำการดูแลรักษาอย่างให้ถูกต้องในระยะแรกจะทำให้เข้าสู่ระยะข้ออักเสบชนิดเรื้อรังหลายข้อ มีการไปทำลายข้อทำให้เกิดความผิดรูปและพิการ นอกจากนี้ยังพบก้อนโทฟัสที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผลึกเกลือยูเรต อาจจะทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และโรคไตวายเรื้อรัง ฉะนั้นการรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบชนิดเฉียบพลันต้องใช้ยาต้านการอักเสบจนกว่าข้ออักเสบจะหายสนิทแล้วถึงจะพิจารณาให้ทำการรักษาในระยะยาว คือ การลดหรือแก้ไขปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเกาต์และการใช้ยาช่วยลดกรดยูริกในเลือดของคนป่วยโรคเกาต์มักจะมีโรคร่วมด้วย เช่น มีภาวะอ้วนลงพุง, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นคนป่วยโรคเกาต์จึงควรจะได้รับการตรวจหาโรคเพื่อที่จะได้แก้ไขและให้การรักษาไปพร้อม ๆ กันคนป่วยโรคเกาต์ควรจะมีความรู้ถึงการปฏิบัติตัวให้อย่างถูกต้อง และรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประเภทของอาหารที่จะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการกำเริบของโรคเกาต์   ดังนั้นอาการของโรคเกาต์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดสามารถที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทุกเมื่อ เช่น เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะและท้ายที่สุด ก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง  ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน คือ การใช้ยาต้านการอักเสบ จนกว่าข้ออักเสบจะหายสนิทแล้วถึงจะพิจารณาการรักษาในระยะยาว เช่น การลดหรือแก้ไขปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเกาต์และการจะใช้ยาช่วยลดกรดยูริกในเลือดของคนป่วย […]

วิธีดูแลโรคเกาต์ในผู้สูงอายุ

วิธีดูแลโรคเกาต์ในผู้สูงอายุ

โรคเกาต์ เป็นหนึ่งในโรคกระดูก และโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยกับผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดมาจากการที่กินโปรตีนบางชนิดมากจนเกินไป ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะย่อยสลายไปเป็นกรดยูริกและไปตกตะกอนบริเวณข้อ ทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันการเกิดโรคเกาต์คนป่วยมักจะมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากว่าระดับของกรดยูริกยิ่งสูง อัตราของการเกิดโรคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจะเกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในผู้ชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าผู้หญิงอยู่ประมาณ 10 เท่า แต่หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว ผู้หญิงจะพบโรคเกาต์สูงขึ้นถ้าเทียบกับผู้ชาย ข้อที่ควรระวังโรคเกาต์ในผู้สูงอายุ โรคเกาต์ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อย เนื่องจากผลึกยูเรตมีการสะสมทีละนิดในข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ มาเป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากรดยูริกที่มีในเลือดอยู่มีมากน้อยแค่ไหนจนกว่าอาการของโรคจะแสดงออกมา และสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกมีเพิ่มขึ้นก็มาจากหลายสาเหตุและยังไม่สามรถสรุปได้ชัดเจน ข้อควรระวัง จึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวกับการปฏิบัติตัวของคนป่วยที่เป็นโรคเกาต์ เพื่อจะได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ลง เช่น ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยเฉพาะ พวกอาหารทะเล แต่สามารถทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนต่ำได้โดยไม่จำกัด เช่น นม ไข่ ธัญพืช  ต่าง ๆ ผักสดต่าง ๆ และผลไม้ ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อช่วยทำให้ร่างกายได้ขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และจะไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจจะนำไปสู่การเป็นนิ่วในไต ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ห้ามอดอาหารหรือว่าลดน้ำหนักอย่างหักโหม ต้องค่อย ๆ ลดลงจะเป็นการดีต่อสุขภาพที่สุด ควรงดดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่ให้ความหวานมากเกินไป งดกินถั่วต่างๆ […]

ปวดเกาต์นอนไม่หลับ ทำอย่างไรได้บ้าง

ปวดเกาต์นอนไม่หลับ

โรคเกาต์ คือโรคข้ออักเสบ ที่เกิดจากร่างกายที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดมีปริมาณสูงมาก และเกิดการสะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนกรดยูริกเกิดการตกตระกอนอยู่ตามบริเวณข้อต่าง ๆ ของร่างกาย การสะสมองกรดยูริกอาจจะใช้เวลาในการสะสมนานถึง 10 ปี กว่าอาการข้ออักเสบจะแสดงออกมา ทำให้ปวด, แดง และร้อนที่บริเวณข้อ อาการของโรคเกาต์กำเริบทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจนทำให้เราต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตที่บริเวณข้อต่อหรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่ในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อบริเวณอื่น ๆ บนเท้าและมือก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการเจ็บปวดและเกิดการอักเสบขึ้นได้ คนไข้สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน วิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยตัวเอง ให้ยกส่วนที่มีอาการบวมให้สูงขึ้น วิธีนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น หากอาการเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเท้า ให้คนไข้เอนตัวลงนอนบนเตียง และให้ใช้หมอนหนุนเพื่อเป็นการพยุงเท้าขึ้นมา เพราะถ้าหากเกิดการอักเสบมาก อาจจะส่งผลทำให้เราเจ็บปวดมากจนไม่สามารถที่จะนอนหลับได้ ให้บรรเทาอาการปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยการประคบเย็น วิธีนี้จะเป็นการช่วยทำให้ลดการอักเสบและอาการปวดได้ โดยการเอาน้ำแข็งห่อใส่ผ่ามาประคบไว้ประมาณ 20 นาที แล้วปล่อยเอาไว้สักพักจะช่วยทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น ให้ทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาต้านการอักเสบ จะช่วยทำให้ลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ดี ยาต้านอักเสบที่แพทย์แนะนำให้ทาน ได้แก่ ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซนโซเดียม โดยจะต้องทานยาทันทีถ้าหากเกิดอาการกำเริบขึ้น และสามารถทานยาซ้ำได้อีกครั้งหลังจากที่ผ่านไป 2 วัน ยาต้านอักเสบเหล่านี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่มีแผลหรือว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือว่ามีความดันโลหิตสูง ไม่ควรที่จะทานยาแอสไพริน เพราะว่าจะทำให้ระดับของกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่ออาการของโรคเกาต์เกิดการเจ็บปวดกำเริบในช่วงเวลากลางคืน […]