fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

รับประทานสัตว์ปีกเยอะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือไม่?

รับประทานสัตว์ปีกเยอะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือไม่

        เรามักจะได้รับข้อมูลอยู่บ่อย ๆ ว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ปีก เช่นเนื้อไก่มาก ๆ จะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร มาติดตามกันจากบทความนี้         เนื้อไก่ เป็นอาหารที่มีไขมันน้อย และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ หรือผู้ที่มีระดับกรดยูริคในร่างกายสูงเกินไป คนกลุ่มนี้จะต้องระมัดระวังในการเลือกอาหารมารับประทาน ต้องทราบว่าอาหารชนิดใดรับประทานได้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน เมื่อจะรับประทานจะต้องเตรียมอย่างไร และแน่นอนว่า เนื้อไก่ ก็เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องระมัดระวัง         หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคเก๊าท์ การรับประทานเนื้อไก่ ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง เพราะเนื้อไก่เป็นอาหารที่มีประมาณของพิวรีนสูง พิวรีนนี้เป็นสารที่พบในเซลของร่างกายเรา และยังพบในอาหารอีกหลายชนิด โดยเฉพาะในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่เติบโตเร็วอย่าง ไก่ ปลา และสัตว์ตัวเล็ก รวมทั้งพืชที่กำลังเติบโต แม้ว่าสารพิวรีน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคนทั่วๆไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์แล้ว พิวรีนทำให้โรคกำเริบ มีการวิจัยพบว่า การที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์บริโภคพิวรีนมากเกินไป จะไปเพิ่มระดับของกรดยูริคในร่างกาย เมื่อกรดยูริคสูงจะเกิดการจับตัวกันเป็นผลึกเกาะติดตามข้อต่อของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของข้อต่อเล็ก อย่างนิ้วมือ นิ้วเท้า เมื่อเกิดการจับตัวเช่นนั้น […]

ทำอย่างไรไม่ให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ

ทำอย่างไรไม่ให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ

          ปัจจุบันนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทุกข์ทรมาณกับความเจ็บปวดด้วยโรคเก๊าท์ แต่ในสมัยก่อนนั้น เคยมีผู้เรียกโรคเก๊าท์ว่าเป็น disease of king เป็นการเปรียบเปรยว่า เป็นโรคของกลุ่มคนที่กินดีอยู่ดีมากเกินไป ทุกวันนี้ คนเรากินดีอยู่ดีกันมากขึ้น โรคเก๊าท์ก็มากขึ้นตามไปด้วย          อาการของโรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเมื่อกรดยูริค ซึ่งเป็นสารเคมีในร่างกายของเรา มีปริมาณมากเกินไป และไปจับตัวกันบริเวณข้อต่อของร่างกาย เมื่อมากเกินไป ก็เกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดตามข้อ บางครั้งก็มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคล้าย ๆ กับไข้หวัด           ในปี 2012 ARC หรือ American College of Rueumatology ได้กล่าวถึงแนวทางในการป้องกันและดูแลโรคเก๊าท์ว่า ผู้ที่มีความเสี่ยง ควรทราบถึงกุญแจสำคัญในการควบคุมโรคคือ ต้องรักษาระดับกรดยูริคไว้ไม่ให้เกิน 6.0 mg/dL ยิ่งผู้ป่วยรายใด มีอาการของโรคกำเริบขึ้นบ่อย […]

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเก๊าท์

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเก๊าท์

      โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดทุกข์ทรมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโรคแสดงอาการออกมา แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่า เมื่ออาการของโรคสงบ แปลว่าโรคนั้นได้หายไปแล้ว ตรงกันข้าม โรคยังคงอยู่ แต่ไม่แสดงอาการเท่านั้น ผู้ป่วยโรคนี้ จึงต้องดูแลสุขภาพ เพื่อควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ ทั้งการรับประทานยา การดำเนินชีวิต และการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยได้มีการศึกษาพบว่า การปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะการรับเลือกประทานอาหาร สามารถช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ดีขึ้น       การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์โรคเก๊าท์เกิดจากมีระดับของกรดยูริคในเลือกมากเกินไป ยูริกที่มากเกินไปนี้จะไปจะไปก่อตัวที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย แล้วทำให้เกิดอาการอักเสบ ดังนั้น การลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริค จึงเป็นสิ่งสำคัญ อาหารที่มีปริมาณกรดยูริคสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลอย่างเช่นปลา ปู หอย  เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเหล้า เบียร์ อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่นน้ำอัดลม        อาหารที่มีกรดยูริคสูงเหล่านี้ ไม่ถึงกับห้ามรับประทาน แต่จะเป็นการดีหากสามารถจำกัดปริมาณได้ อีกทั้งอาหารบางอย่าง ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้ป่วยบางคนรับประทานเข้าไป ทำให้อาการกำเริบ […]

รวมสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้เกินโรคเก๊าท์ โรคทางกระดูกยอดฮิตของคนไทย ที่ไม่มีใครอยากเป็น

รวมสาเหตุยอดฮิตที่ทำให้เกินโรคเก๊าท์

แค่ได้ยินชื่อของโรคหลาย ๆ คนก็น่าจะรู้จักกันดีและร้อง อ๋อ เพราะโรคนี้เป็นโรคที่ได้ยินบ่อย ๆ ไม่ว่าจะจากที่ไหน และประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีผู้ป่วยโรคเก๊าท์สูงที่สุด และค้นพบว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ชายอายุตั้งแต่ 40-70 ปีอีกด้วย โดยโรคนี้มีอาการคือปวดตามข้อพับต่าง ๆ ปวดเมื่อยตามตัว รู้สึกอ่อนล้า เหนื่อยแรง แม้ว่าจะกินยาก็ไม่หายปวด ซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคนี้ โดยเมื่อผ่านไประยะเวลานาน โรคอาจจะรุนแรงมากขึ้น มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดภาวะปวดบวม มีอาการปูดบวมตามข้อต่าง ๆ เป็นโรคที่ดูผ่าน ๆ ไม่ได้น่ากลัวอะไร แต่ความจริงแล้วมีผลค่อนข้างร้ายแรง หลาย ๆ คนรู้จักโรคนี้ รู้จักถึงอาการของมัน แต่ไม่รู้ว่าสาเหตุคืออะไร วันนี้ เรามีคำตอบ การดื่มสุราหนัก โรคเก๊าท์นี้เกิดจากที่ร่างกายมีกรดยูริกมาเกินไปทำให้ไปอุดตันตามบริเวณข้อพับ และกระดูกต่าง ๆ ในร่างกายจนเกิดเป็นอาการปวด เมื่อนานเข้าอาจจะมีอาการปวดบวม ปูดนูนขึ้นมา โดยตัวกรดยูริกนี้เกิดจากที่ร่างกายเผาผลาญสารพิวรีน ซึ่งมักจะมาจากอาหาร โดยปกติเมื่อย่อยสลายสารพิวรีนแล้วได้กรดยูริกแล้ว ร่างกายจะขับกรดยูริดออกเองในรูปแบบของปัสสาวะ แต่หากร่างกายมีมากไปจนไม่สามารถขับออกได้ก็จะเข้าไปอุดตันตามข้อกระดูกนั่นเอง ซึ่งเหล้าหรือสุราเป็นเครื่องดื่มที่มีสารพิวรีนสูง และก่อให้เกิดกรดยูริกในร่างกายมากเกินความเป็น โดยนอกจากที่เหล้าจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเก๊าท์แล้ว เหล้ายังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โรคไต โรคเสพติดแอลกอฮอล์ […]

โรคเก๊าท์ เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

 เก๊าท์ คืออะไร             โรคทางกระดูกในปัจจุบันนี้มีมากมายหลายโรค เพราะคนไทยบางส่วนยังไม่ได้สนใจที่จะรักษาสุขภาพของตัวเองนัก อาจจะเพราะไม่มีเวลา หรืออาจจะเพราะความเคยชินบางอย่าง ทำให้ไม่ได้สนใจ หรือใส่ใจที่จะเริ่มดูแลตัวเองเท่าไหร่นัก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทย ไม่ว่าจะวัยไหน เริ่มที่จะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกกันแล้ว แม้แต่วัยรุ่นเองก็เริ่มที่จะมีอาการปวดหลังหรืออาการต่าง ๆ            โดยในวันนี้ เราจะขอนำเสนอ โรคที่หลาย ๆคนน่าจะเคยได้ยินชื่อ แต่ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ใส่ใจมันซักเท่าไหร่ โดยโรคนี้เป็นโรคยอดฮิตของคนไทยหลาย ๆ คน โรคเก๊าท์ โรคเก๊าท์ คืออะไร            โรคเก๊าท์ คือโรคทางกระดูกชนิดหนึ่ง เป็นโรคข้ออักเสบ ที่มีสาเหตุจาก ร่างกายของผู้ป่วยมีกรดยูริกสูงผิดปกติในเลือด ซึ่งสะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนตัวกรดยูริกที่สะสมมานานนั้น ตกตระกอน ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อพับต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งอาจจะใช้เวลานานมากกว่า […]

อาหารแบบใดที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ต้องหลีกเลี่ยง

อาหารแบบใดที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ต้องหลีกเลี่ยง

อาหารแบบใดที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ต้องหลีกเลี่ยงโรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเป็นขึ้นมาแล้วทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวด ตึง บวมแดง บริเวณข้อต่อ เมื่ออาการกำเริบ โรคนี้รักษาให้หายยากผู้ป่วยจึงต้องหาแนวทางในการดูแลตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการอักเสบ ซึ่งทำให้โรคกำเริบขึ้นมาโรคเก๊าต์เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับกรดยูริคในเลือดมากเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับกรดยูริคที่จะเข้าไปในร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาหารบาวอย่างก็ช่วยลดระดับกรดยูริคในเลือด และบางอย่างก็ไปเพิ่มกรดยูริคในเลือดได้เช่นกันก่อนอื่นมาดูกันว่า อาหารชนิดใด ที่ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ควรจะหลีกเลี่ยงพิวรีน (Purine) เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคนี้จะต้องหลีกเลี่ยง โดยในปี 2004 เคยมีการวิจัยพบว่า พิวรีน ซึ่งเป็นสารที่พบทั้งในเนื้อสัตว์ และพืชนั้น ส่งผลให้โรคเก๊าต์กำเริบ เพราะร่างกายของเราเมื่อได้รับสารชนิดนี้ จะเปลี่ยนเป็นกรดยูริค การวจัยยังพบด้วยว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ ที่มีสารพิวรีนเป็นส่วนประกอบมาก ๆ นั้น ยังส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าต์ได้ด้วย ส่วนการรับประทานพืชที่มีสารพิวรีนนั้น กลับให้ผลต่างกัน นั่นคือการบริโภคพืชที่มีสารพิวรินเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าต์ได้ สำหรับอาหารที่มีพิวรีน และผู้ที่เป็นโรคเก๊าต์ควรจะต้องหลีกเลี่ยง หรือจำกัดการบริโรค ได้แก่ เนื้อแดง และเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต อาหารทะเล เช่น ล๊อบสเตอร์ กุ้ง ปลาซาดีน แองโชวี่ ปลาทูน่า ปลาเทาต์ […]

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

โรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู็ป่วยเกิดอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน ร่วมกับมีอาการข้อแข็งและบวม อาการสามารถจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่นิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า ยิ่งปล่อยไว้นานอาการก็จะรุนแรงขึ้น อาจจะถึงขั้นเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อได้ โรคเก๊าต์นั้นเกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงมาเป็นเวลานานหลายปี ยูริคจึงตกตะกอนแล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมที่ข้อต่อมาก ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ แดง ปวด ร้อนที่บริเวณข้อต่ออาการของโรคเก๊าต์นั้น เริ่มแรกจะปวด แดง เฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือน จะปวดมากในวันแรกและค่อย ๆ หายไป อาจจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน แน่นอนว่า เมื่อเกิดอาการขึ้นมาแล้ว ผู้ปวยจะทุกข์ทรมาณ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบาก อีกทั้งยังเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ จึงต้องรู้วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อที่จะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างไม่ทรมาณ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ยังไม่เกิดอาการปวดซึ่งต้องป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด และระยะที่เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมาแล้ว ว่าจะต้องดูแลเพื่อบรรเทาอาการอย่างไร การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด มีดังนี้– ในระยะที่โรคไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อรักษาระดับกรดยูริคในร่างกายให้เป็นปกติ และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเป็นประจำ ตามการนัดหมาย– […]