fbpx

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม?

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม คำถามนี้ยังคงเป็นคำถามที่มีคนสงสัยอยู่ไม่น้อย เพราะจากประสบการณ์จากที่คนคนรอบตัวเป็นโรคเก๊าท์ จะสร้างความรู้สึกว่า คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกำเริบเป็นระยะๆ เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย เดี๋ยวก็กลับมาเป็นอีก เหมือนเป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ความจริงเป็นอย่างไร เรามาดูกัน

 

โรคเก๊าท์คืออะไร

โรคเก๊าท์คือโรคข้ออักเสบ ที่มีสาเหตุจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง พอนานไปกรดยูริกก็จะตกตะกอนแล้วสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย นานวันเข้าก็จะแสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ยูริกนั้นสะสมอยู่ที่ใด

 

อาการของโรคเก๊าท์

       อาการที่เป็นที่รู้จักกันส่วนใหญ่คือ อาการปวดตามข้อ ปวดทรมาน แต่ความจริงแล้วยังมีอาการแบบอื่นขึ้นอยู่กับว่า กรดยูริกไปตกตะกอนสะสมอยู่ที่ใด

  1. ผิวหนัง ถ้ายูริกตกตะกอนบริเวณผิวหนัง จะปรากฏอาการคือ ผิวหนังจะมีปู่มนูนขึ้นมา
  2. ข้อต่างๆ จะมีอาการปวดตามข้อ เนื่องจากฤทธิ์ของอาการอักเสบที่เกิดขึ้น
  3. ไต จะทำให้เป็นนิ่วในไต และไตเสื่อมในที่สุด

 

 สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์

       ดังกล่าวแล้วว่า เกิดจากกรดยูริกสูง ซึ่งการที่จะมีกรดยูริกในเลือดสูงนั้น ส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ความจริงคือในร่างกายของคนเราจะมีกรดยูริกที่สร้างขึ้นมาเองอยู่แล้วถึง 80% ถ้ามีการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูงขึ้นไปอีก จะมีกรดยูริกที่เพิ่มสูงขึ้น

 

อาหารประเภทไหนบ้างที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง

  1. สัตว์ปีกและเครื่องในสัตว์ น้ำต้มกระดูก
  2. ธัญพืช เช่น ถั่วชนิดต่างๆ
  3. ผักบางชนิด ส่วนใหญ่มีรสขม เช่น สะเดา กะถิน ชะอม รวมถึงยอดมะพร้าวอ่อน และเห็ด
  4. ปลาและอาหารทะเลบางชนิด ปลาซาร์ดีน ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ไข่ปลา กุ้ง หอย รวมไปผลิตภัณฑ์อย่างกะปิ
  5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ รวมเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน

ยูริกสูงเนื่องจากสาเหตุอื่น

คนที่ระวังเรื่องการรับประทานอาหารก็มีโอกาสยูริกสูงได้จากเหตุอื่น เช่น

  1. คนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ร่างกายจะสร้างเซลล์เพิ่ม
  2. คนที่เป็นโรคต่อไปนี้ โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคไต รวมถึงคนที่อ้วน
  3. การรับประทานยาที่ทำให้ไตขับยูริกออกมากับปัสสาวะได้น้อยลง ก็เป็นเหตุให้กรดยูริกในเลือดสูงได้

อาการของโรคเก๊าท์

  1. อาการปวดข้อแบบฉับพลัน แบบจู่ๆ ก็ปวดขึ้นมา
  2. อาการปวดคุกคาม ลามไปจุดอื่น ปวดทรมานมากขึ้น หลังจากเป็นขั้นแรกแล้วหายไป

 

ใครมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนใหญ่

  1. ผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิง อาจเป็นเพราะผู้ชายดื่มสุราแอลกอฮอล์มากกว่าหญิงก็เป็นได้ อีกอย่างคือผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่ยังมีประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ช่วยขับยูริก จึงมีโอกาสเป็นน้อยกว่า แต่ถ้าพ้นวัยดังกล่าวก็มีโอกาสเป็นมากขึ้นเช่นกัน หรือมีการกระตุ้นด้วยอาหารแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ก็มีโอกาสเป็นมากกว่า
  2. อายุ 30-40 ปีขึ้นไป เนื่องจากโรคเก๊าท์ไม่ใช่โรคปัจจุบันทันด่วน ต้องอาศัยระยะเวลาสะสมจนยูริกตกตะกอนตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเป็น 10 ปีขึ้นไป

 

แนวทางการรักษาโรคเก๊าท์

  1. 1. รักษาตามอาการ เช่น ถ้ามีอาการอักเสบ บวม ก็ให้ยาลดการอักเสบ ถ้ามีอาการปวดตามข้อก็ให้ยาแก้ปวด ยาลดกรดยูริกที่เป็นต้นเหตุของโรค
  2. เปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่แสลงต่อโรค เช่นควบคุมอาหารที่พิวรีนสูง สัตว์ปีก และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่ผักใบเขียวที่มีกรดยูริกสูง
  3. ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายขับยูริกออกทางปัสสาวะให้มากขึ้น
  4. ลดความอ้วนด้วยการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร
  5. กินยาป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม

       อาการของโรคเก๊าท์มีลำดับขั้นตอน จากเริ่มต้นอาการน้อยๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา แต่ในระดับที่เป็นมากขึ้นถึงขั้นปวด อาจต้องมีระยะเวลาในการควบคุมรักษา ไม่ให้กรดยูริกในเลือดสูง ซึ่งอาจต้องใช้เวลามากขึ้น รวมถึงถ้าดูแลตัวเองไม่ดี ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ โรคก็อาจกำเริบขึ้นอีกได้

ดังนั้น หากมีอาการบอกเหตุ เช่น มีอาการอักเสบตามข้อ อาการบวมแดง ปวดร้อน ต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ อย่าปล่อยให้เป็นเรื้อรังจนลุกลามไปถึงไต เพราะหากปล่อยไว้นานๆ อาจถึงขั้นไตเสื่อม

ระยะเวลาในการรักษาโรคเก๊าท์แบบต่อเนื่องนั้น อาจต้องใช้เวลาถึง 5 ปี 10 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของคนไข้ ในการดูแลตัวเอง ไม่ทำพฤติกรรมที่กระตุ้นให้มีกรดยูริกในเลือดสูง ควบคุมการกิน และออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก เป็นต้น

โรคเก๊าท์ควรรักษากับแพทย์เฉพาะทาง

       เนื่องจากโรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากกรดยูริกตกตะกอน และอาจปรากฏตามที่ต่างๆ ตามร่างกายได้ และด้วยลักษณะที่ตำแหน่งของโรคเกิดขึ้นไม่เจาะจงที่ อาการเริ่มต้นจะรักษาง่ายกว่าอาการที่กำเริบหรือเรื้อรัง ลุกลามไปที่ไต หากวินิจฉัยโรคได้เร็วจะรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น หากมีอาการที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคเก๊าท์ หากได้แพทย์เฉพาะทางตรวจพบเร็ว จะปลอดภัยและหายขาด

โรคเก๊าท์เกิดได้กับทุกคน ทุกวัย หากมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยง และมีอาการตั้งแต่น้อยจนถึงอันตราย จึงควรระมัดระวังป้องกันดีกว่าจะไปรักษาเมื่อเป็นแล้ว