fbpx

เก๊าท์ กับกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

กิจกรรมใดบ้างที่คนเป็นเก๊าท์ควรหลีกเลี่ยง

          แม้ว่าผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าอาการโรคเก๊าท์กำเริบนั้นจะเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันอาการกำเริบนั้นได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ และปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม

          การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะไม่เพียงป้องกันอาการกำเริบเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างเช่นโรคไตและโรคหัวใจตามมา

พฤติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะต้องหลีกเลี่ยง

 

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่่วยโรคเก๊าท์ควรจะกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งอาหารที่มีพิวรีนสูง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง อย่างเช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก เครื่องในสัตว์ และสัตว์ทะเลที่มีเปลือก นอกจากนั้น ควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบียร์ เพราะเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น จะไปเพิ่มระดับกรดยูริคในร่างกาย ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถจะบริโภคได้ จะเป็นอาหารที่มีวิตามินซีสูง และอาหารพวก เชอร์รี่ กาแฟ สามารุลดความเสียงต่อการกำเริบของโรคเก๊าท์ได้ นอกจากนั้น การควบคุมน้ำหนัก ก็เป็นสิ่งสำคัญ และการดื่มน้ำสะอาดในปรีิมาณมาก ก็จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและช่วยชะล้างยูริคออกจากร่างกาย ป้องกันไม่ให้ปริมาณยูริคมาเกิน จนเกิดการสะสมเป็นผลึกไปเกาะติดตามข้อต่อร่างกายจนเจ็บปวด ทุกข์ทรมาณ

  • พยายามอย่าให้เกิดความเครียด เพราะความเครียด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ ยิ่งหากผู้ป่วยรายได้ มีอาการโรคเก๊าท์กำเริบบ่อย ก็ยิ่งต้องหาวิธีลดความเครียดลง

  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อให้ร่างกายกระฉับกระเฉง ช่วยป้องกันไม่ให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ และยังช่วยลดนำหนักสำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องลดน้ำหนัก การเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักมากเกินไปนั้นถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์ หากสามารถควบคุมน้ำหนักได้ ความเสี่ยงต่อโรคก็จะลดลง และการออกกำลังกาย ยังช่วยลดความเครียดได้ด้วย แต่สำหรับผู้ที่เคยมีอาการโรคเก๊าท์กำเริบ การออกกำลังกายต้องทำด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรออกกำลังกายหักโหม และหากเกิดความเจ็บปวดหลังออกกำลังกาย ก็ควรพบแพทย์เพื่อขอคำปรีกษาด้วย

  • อดหลับอดนอน เพราะนอนหลับ และพักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งสองสิ่งมีความสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ การได้นอนอย่างเพียงพอ หรือประมาณวันละ 8 ชั่วโมง จะช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับความเครียดได้ดี ทำให้ร่างกายโดยรวมดีขึ้น ยิ่งในเวลาที่โรคกำเริบ ก็ยิ่งต้องพักผ่อน เพราะเมื่ออาการกำเริบ ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก

  • หาสมุนไพร่ หรืออาหารเสริมมารับประทานเอง แม้ว่าสมุนไพรบางชนิดก็ช่วยลดความเสี่ยงของการกำเริบได้ อย่างเช่นขิง ช่วยลดอาการอักเสบได้ โบรมีเลน เอนไซม์ที่มีในสัปปะรด ก็ช่วยป้องกันโรคเก๊าท์ แต่ทั้งนี้ ก่อนที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะซื้อสมุนไพร หรืออาหารเสริมใด ๆ มารับประทาน ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเสมอ