fbpx

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์

           เก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้ข้ออักเสบ อาการข้ออักเสบที่เกิดจากโรคเก๊าท์นี้ เกิดจากการมีก้อนผลึกไปจับตัวอยู่ที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ และเจ็บปวด โรคเก๊าท์นี้ผู้ชายส่วนใหญ่จะเป็นเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน และโดยมากผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง

           โรคเก๊าท์นี้เมื่อกำเริบขึ้น ผู้ป่วยจะปวดมาก แต่ก็มีวิธีทั้งการบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้อาการกำเริบขึ้น

           ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเกีาท์ จนกระทั่งมีอาการกฎขึ้นที่ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เข่า ศอก นิ้วมือ ดังนี้

 

  • อาการจะเกิดขึ้นตามข้อต่อมากกว่าจุดเดียว
  • ผู้ป่วยจะรู้ปวดร้อน และตึงบริเวณข้อต่อมาก
  • มีอาการบวมรอบ ๆ ข้อต่อ
  • สังเกตเห็นได้ว่าผิวหนังตึง และแดงในจุดที่เป็น

    อาการของโรคจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากปวดแค่ไม่กี่ชั่วโมง ไปเป็น 3วันถึง 10 วันได้ เมื่ออาการปวดหายแล้ว ก็จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ส่วนมากจะมีอาการของโรคกำเริบขึ้นมาอย่างน้อยปีละครั้ง


ควรจะไปพบแพทย์เมื่อไหร่

           หากมีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ยิ่งถ้าหากมีอาการปวดมาก ร่วมกับมีไข้ ยิ่งไม่ควรปล่อยไว้ โรคเก๊าท์นี้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว จะทำให้อาการไม่เลวร้ายลงไป แต่หากไม่รับการรักษา อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปผิดร่าง และถึงขั้นพิการได้
อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ เกิดจากการที่กรดยูริคในร่างกายมีระดับสูงเกินไป จนก่อตัวกันขึ้นมาเป็นผลึกไปเกาะติดตามข้อต่อของร่างกาย

           การที่กรดยูริคในร่างกายสูง ก็มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายผลิตกรดดังกล่าวมากเกินไป หรือไตไม่สามารถทำหน้าที่กำจัดกรดยูริคได้ดีพอ เมื่อเป็นเช่นนั้น กรดยูริคจึงจับตัวกันตามข้อต่อ และทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม แดงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้ป่วยจะรู้สึกปวด


สิ่งที่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงของโรคเก๊าท์ให้กับเราได้แก่

  • การเป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคเก๊าท์มาก่อน
  • ไตทำงานไม่ปกติ
  • รับประทานอาหารที่ทำให้เกิดการก่อตัวของผลึกยูริค ได้แก่ เนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล
  • ดื่มเบียร์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
    การรักษาโรคเก๊าท์
    เมื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าเป็นโรคเก๊าท์ แพทย์จะมีแนวทางในการรักษาดังนี้
  • ลดอาการปวดในช่วงที่อาการกำเริบ ซึ่งจะเป็นการใช้ยา
  • ป้องกันการเกิดอาการกำเริบ ด้วยการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ เช่น การควบคุมน้ำหนัก การปรับอาหาร จำกัดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มบางอย่าง และอาจจะมีการให้ยาเพื่อลดระดับกรดยูริคในร่างกายร่วมด้วย