fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

ยารักษาโรคเกาต์มีผลข้างเคียงหรือไม่

ยารักษาโรคเกาต์

  โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดมาจากร่างกายที่มีการสะสมของกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงมากและสะสมมาเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดตกตะกอนจนกลายเป็นผลึกเกลือยูเรตที่บริเวณเนื้อเยื่อของข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อ และรอบ ๆ ข้อ เมื่อมีสาเหตุบางอย่างมากระตุ้นจะทำให้ข้ออักเสบอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ อายุมากขึ้นและการทำงานของไตลดลง หรือเกิดจากการที่เราใช้ยาบางชนิดรวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสำหรับการรักษาโรคเกาต์ แพทย์จะให้ยา เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบและช่วยลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำ  เช่น ยาโคลซิซิน (Colchicine) เป็นยาที่เจาะจงในการใช้ โดยหลัก ๆ แล้ว เป็นการนำมาใช้ในการรักษาการอักเสบกับคนป่วยโรคเกาต์ ทั้งการรักษาในขณะที่อาการกำเริบอย่างเฉียบพลัน และใช้เป็นยาป้องกันอาการในระยะยาวด้วย วิธีการใช้ยาColchicine Colchicine สามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ ทานยาเมื่อมีอาการแบบฉับพลัน ยาโคลซิซิน จะทำให้อาการข้ออักเสบหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนกรณีที่ใช้เพื่อเป็นการป้องกัน ควรจะทานยาอย่างสม่ำเสมอและต้องตรงเวลา ยา Colchicine ให้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากว่าผลข้างเคียงรุนแรงหากมีการใช้ยาเกินขนาดหรือใช้ยาร่วมกับยาบางชนิด อีกทั้งยังมีกลุ่มคนป่วยบางโรคที่ไม่สามารถใช้ยาชนิดนี้ได้อย่างเช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร, หัวใจ, ไต และตับ รวมไปถึงหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาโคลชิซิน  คือ ยาช่วยลดอาการอักเสบข้อจากโรคเกาต์  ทั้งแบบชนิดฉับพลันและใช้ในระยะยาว เพื่อเป็นการป้องกันอาการดังกล่าวด้วย แต่ยาชนิดนี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวด เมื่อเริ่มมีอาการให้ใช้ยาทันทีฤทธิ์ยาจะออกได้ดีมาก ตัวยาจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ค่อนข้างจะรุนแรง ก่อนใช้ยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน […]

โรคเก๊าท์ สามารถหายขาดได้ไหม

โรคเก๊าท์

       โรคเก๊าท์ เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม? เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะภาพลักษณ์ของโรคนี้ คือ ใครเป็นแล้วจะต้องทุกข์ทรมาน ต้องอยู่กับอาการปวดๆ หายๆ ไปตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์พัฒนาไปไกลมากแล้ว สามารถครอบคลุมถึงการรักษาโรคเก๊าท์หรือไม่  มาดูกัน ระยะของโรคเก๊าท์ อาการของโรคเก๊าท์นั้น แม้ว่ากว่าจะรู้จะมีอาการปวดข้อแบบฉับพลัน แต่อาการโดยรวมก็ยังมีระยะเติบโตของโรค ซึ่งแบ่งเป็นระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็น ต้องตรวจเลือดเท่านั้น จึงจะรู้ว่ามีกรดยูริคในเลือดสูงเกินมาตรฐานแล้ว นั่นคือเบื้องต้นของโรคเก๊าท์ ซึ่งโอกาสมักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ระยะที่ 2 เริ่มเห็นอาการโรคเก๊าท์แสดงออกชัดเจน เพราะข้อจะบวมและปวดรุนแรงจากการอักเสบเฉียบพลัน ในระยะนี้ สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ใช้เวลาเพียง 1-3 วันเท่านั้น แม้ปล่อยให้หายเองก็เป็นได้เช่นกัน แต่ต้องรอถึง 4-6 วัน ระยะที่ 3 คือ แม้เคยรักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว แต่ไม่ได้หายขาด มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก บางคนเป็นๆ หายๆ อาจมีอาการกำเริบทุกปี ปีละครั้งหรือสองครั้ง และอาจมีอาการกลับมาถี่มากขึ้น เป็นปีละ 4-5 ครั้ง ระยะที่ 4 […]

ทานยาลดกรดยูริคอยู่ แต่มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร

ยาลดกรดยูริค

          กรดยูริคในร่างกายนั้น มีทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ โรคต่างๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขับกรดยูริคได้ไม่หมด จนเกิดกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น เช่น โรคเก๊าท์ โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง ในการรักษาเช่น โรคเก๊าท์นั้น การทานยาลดกรดยูริคเป็นวิธีหนึ่ง แต่ถ้ารับประทานแล้ว มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร ลองมาดูกัน ยาลดกรดยูริคของคนเป็นโรคเก๊าท์         ยาลดกรดยูริคช่วยควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ในระยะยาว ต้องทานตามคำแนะนำของแพทย์ ในปริมาณยาที่เหมาะสม ไม่เพิ่มปริมาณยาเองโดยพลการ แม้ว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งของการรักษาแต่ก็อาจทำให้มีอาการปวดกำเริบขึ้นได้ ผลข้างเคียงของการใช้ยาลดกรดยูริค         แม้ว่ายาลดกรดยูริค จะเป็นยาที่ช่วยในการควบคุมอาการของโรค แต่อาจจะส่งผลข้างเคียงบางประการ ซึ่งแต่ละอย่าง มีทั้งที่เป็นผลข้างเคียงทั่วไป และผลข้างเคียงที่ต้องดูเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้ได้ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยาลดกรดยูริค ได้แก่ ปวดตามบริเวณข้อต่อ ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกรดยูริคสะสมอยู่ บางครั้งไม่ถึงกับปวดแต่จะมีอาการข้อยึด ตึง หรือข้อบวม มีอาการบวมบริเวณหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา และมีอาการลมพิษ มีอาการข้างเคียงทางผิวหนัง คัน ผื่น หนังลอก มีตุ่มพอง มีอาการไข้ขึ้น และอาการข้างเคียงที่เป็นเบื้องต้นเช่น ปวดหัว […]

นิ้วโป้งบวม มียูริคสูง ควรทำอย่างไร

นิ้วโป้งบวม

มีอาการนิ้วโป้งบวม มียูริคสูง ควรทำอย่างไร             นิ้วโป้งบวมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การสะสมของยูริคอันเนื่องมาจากโรคเก๊าท์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการดังกล่าว เราควรทำอย่างไร ถ้ามีอาการนิ้วโป้งบวมจากกรดยูริคสูง มาดูกัน ยูริคสูงทำให้มีอาการนิ้วโป้งบวม             เมื่อร่างกายมียูริคสูงเกินไปจนร่างกายขับออกทางปัสสาวะตามธรรมชาติไม่ทัน ซึ่งทุกคนมีโอกาสจะเกิดภาวะดังกล่าว เนื่องจากปกติกรดยูริคเป็นสิ่งที่ร่างกายจะผลิตขึ้นเองถึง 80% และเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงอีก 20% ดังนั้น หากร่างกายขับยูริคไม่หมด กรดยูริคเหล่านั้นจะถูกสะสมเอาไว้ และมีการตกผลึกเกาะอยู่ตามอวัยวะส่วนต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อ ซึ่งข้อที่ผลึกยูริคจะเกาะก่อนข้ออื่นๆ คือ ข้อที่อวัยวะส่วนล่างสุดคือ ข้อที่โคนนิ้วโป้งเท้า รวมถึงนิ้วอื่นๆ และจะเพิ่มการสะสมไปยังข้อต่างๆ มากขึ้นๆ คนที่มีอาการนิ้วโป้งเท้าบวม จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน จากอาการอักเสบ และอาจมีอาการข้อนิ้วปูดโปนขึ้นมา   ข้อสังเกตกรณีนิ้วโป้งบวมจากยูริคสูง         อาการนิ้วโป้งบวมนั้น อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น รูมาตอยด์ อาการจะใกล้เคียง ต่างกันที่ถ้าเกิดจากโรคเก๊าท์ที่มีสาเหตุมาจจากยูริคสูงอาการปวดบวมจะค่อยๆ บวมเป็นจุดๆ ปวดทีละข้าง เน้นเป็นที่ข้อ […]

ปวดบวมที่ข้อเท้าเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์หรือไม่?

โรคเก๊าท์

อาการปวดบวมที่ข้อเท้า เกิดจากหลายสาเหตุ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องเร่งหาสาเหตุและแก้ไขแบบด่วน เพื่อไม่ให้อาการรุกลามมากขึ้น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะหากเกิดจากโรคเก๊าท์ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดบวมที่ข้อเท้าที่เป็นอยู่นั้นมาจากโรคเก๊าท์หรือไม่ ลองมาดูกัน อาการปวดข้อเท้าโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร อาการปวดข้อเท้าที่เกิดจากโรคเก๊าท์นั้น เป็นอาการข้ออักเสบอย่างหนึ่ง หากเป็นการอักเสบที่มาเกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดมากเกินไป การสะสมของยูริกต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้น ทำให้เกิดผลึกเกาะอยู่ตามข้อต่อ ผลึกที่สะสมนั่นเองคือต้นเหตุทำให้เกิดอักเสบ บวมแดง แต่ต้องทราบก่อนว่า การเกิดขึ้นของยูริกในร่างกายเรานั้น เกิดขึ้นจาก ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง กล่าวคือ ยูริกประมาณ80 % ที่มีนั้นเกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง การรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เป็นอีก20 % ที่ทำให้มียูริกสะสมในร่างกายมากจนร่างกายขับออกไม่หมด ก่อให้เกิดสะสมบริเวณกระดูกและข้อต่างๆ เมื่อสะสมจนเกิดเป็นผลึกเกาะตามข้อ บวมอักเสบ เป็นเหตุของโรคเก๊าท์ดังกล่าว อาการปวดบวมที่ข้อเท้าสงสัยว่าเป็นโรคเก๊าท์หรือไม่ หากมีอาการปวดบวมที่ข้อเท้า ต้องดูก่อนว่า มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่ เกิดอุบัติเหตุที่กระทบกับข้อเท้าก่อนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่ใช่โรคเก๊าท์ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือไม่ ถ้าใช่ ก็มีแนวโน้มว่า อาการปวดบวมข้อเท้านั้น อาจเกิดจากโรคเก๊าท์ พิจารณาจากอาการปวด เพราะปวดเก๊าท์จะมีอาการคือ ปวดบวม ปวดร้อน และอักเสบจนมีสีแดง เป็นการปวดแบบฉับพลัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า มีอาการรุนแรง ภายใน 24 ชั่วโมง   […]

โรคเกาต์ป้องกันได้หรือไม่

              โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกสะสมมากเกินไป จนทำให้ตกตะกอนเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะภายในข้อต่อและพังผืด รอบๆข้อและไต โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในข้อหนึ่งข้อหรืออาจจะมากกว่า มักจะส่งผลต่อหัวแม่เท้า แต่ยังพบในข้อต่อบริเวณอื่นๆ เช่น หัวเข่า ข้อเท้า เท้า มือ ข้อมือ และข้อศอก โรคเกาต์ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการทำงานและการพักผ่อน โชคดีที่ปัจจุบันนี้มีข้อมูลและโครงการโรคข้ออักเสบในการดูแลตัวเองมากมายที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเกาต์ได้ เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพ  เป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ ซึ่งรวมไปถึงอาหารที่มีค่าสารพิวรีนสูง (เช่น เนื้อแดง เครื่องใน และอาหารทะเล) และงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะเบียร์และสุรา)             โครงการโรคข้ออักเสบของ CDC แนะนำวิธีการจัดการตนเอง 5 ประการสำหรับการดูแลโรคข้ออักเสบและอาการของโรค สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยในโรคเกาต์ได้เช่นกัน ดังนี้ เรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองเข้าร่วมเรียนวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและโรคเรื้อรังอื่น ๆ รวมไปถึงโรคเกาต์ ได้เข้าใจว่าโรคข้ออักเสบมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการควบคุมอาการและการใช้ชีวิตให้ดี  การเคลื่อนไหวร่างกายจะมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ กิจกรรมทุกนาทีมีค่า และกิจกรรมใด ๆ ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย กิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำปานกลางที่แนะนำ ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น […]

โรคเกาต์กำเริบบ่อยแค่ไหน

โรคเกาต์กำเริบ

  โรคเกาต์ เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและอาการปวดข้อที่หลากหลาย ข้อต่อบางชนิดสามารถทำให้ข้ออักเสบได้ แต่บางชนิดอาจไม่เป็นเช่นนั้น โรคเกาต์เป็นอาการทั่วไปของโรคข้ออักเสบ เกิดมาจากกรดยูริกที่สะสมเป็นเวลานานจนทำให้ตกผลึก โรคข้ออักเสบจะมีอาการเจ็บปวดมาก มักจะส่งผลกระทบต่อข้อต่อในแต่ละครั้ง (มักจะเป็นข้อต่อหัวแม่เท้า) มีบางครั้งที่อาการแย่ลงหรือที่เรียกว่าอาการวูบวาบ และหลายครั้งที่ไม่มีอาการหรือที่เรียกว่าบรรเทาลง โรคเกาต์ที่เกิดซ้ำๆ อาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบจากเกาต์ ซึ่งเป็นอาการของโรคข้ออักเสบที่เลวลง โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในข้อหนึ่งข้อหรือมากกว่า มักจะส่งผลต่อหัวแม่เท้า และยังพบได้ในข้อต่ออื่น ๆ เช่น บริเวณหัวเข่า, ข้อเท้า, เท้า, มือ, ข้อมือ และข้อศอก อาการของโรคเกาต์กำเริบบ่อยแค่ไหน การกำเริบของโรคเกาต์นั้นจะเจ็บปวดมากและสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน และบ่อยครั้งในเพียงชั่วข้ามคืน ในระหว่างที่อาการของโรคเกาต์กำเริบอย่างกะทันหันนั้น คนที่เป็นโรคเกาต์จะมีอาการปวด บวมแดง หรือร้อนตรงบริเวณข้อต่ออย่างฉับพลันทันทีทันใด อาการปวดร้อนเหล่านี้จะตามมาด้วยการบรรเทาอาการเป็นเวลานาน อย่างเช่น เป็นอาทิตย์, เป็นเดือน หรืออาจจะเป็นปี โดยจะไม่แสดงอาการก่อนที่จะเกิดอีก โรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นครั้งละหนึ่งข้อเท่านั้น มักพบในนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากนิ้วหัวแม่เท้าแล้ว ข้อต่อที่จะได้รับผลกระทบทั่วไปก็คือข้อต่อ ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะแรก โรคเกาต์หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลได้อย่างถูกต้อง อาการข้ออักเสบก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยปวดถี่ขึ้นและนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง และอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวาย บางคนที่มีโรคเกาต์กำเริบบ่อยครั้ง หากไม่รักษาโรคเกาต์ อาการเจ็บปวดอาจเกิดบ่อยขึ้น และยาวนานขึ้น โรคเกาต์กำเริบอาจเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในข้อต่อเดียวกันหรืออาจจะส่งผลต่อบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เป็นต้น   ดังนั้นคนที่ทานอาหารจำพวกโปรตีนหรือสารพิวรีนสูง […]

เมื่อเป็นโรคเกาต์เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรในชีวิตประจำวัน

         ในร่างกายของเราสามารถสร้างกรดยูริกในขบวนการย่อยสลายของสารพิวรีนที่สามารถพบได้ในอาหาร และเครื่องดื่มบางชนิด เป็นผลมาจากการที่กรดยูริกในเลือดได้มีการกรองผ่านไต และทำการขับออกทางไตผ่านการปัสสาวะ เมื่อร่างกายผลิตกรดยูริกมากเกินไป ทำให้ไตไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกได้ดี  จึงทำให้ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง และผลึกของกรดยูริกจะไปตกที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคเกาต์ตามมา แต่จะอย่างไรก็ตาม ก็มีอีกหลายคนที่มีรกรดยูริกในเลือดสูงไม่เคยเป็นโรคเกาต์ก็มี โรคเกาต์มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการทำงานและการพักผ่อน  แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเมื่อเป็นโรคเกาต์ได้ เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ รวมถึงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อย่างเช่น อาหารที่มีเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล  และต้องลดปริมาณในการดื่มประเภทแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ และสุราเป็นต้น เรียนรู้การจัดการตนเอง ศึกษาข้อมูลในการจัดการตนเอง ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ และโรคเกาต์ เข้าใจว่าโรคข้ออักเสบจะส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างไรบ้าง การออกกำลังกาย  การออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การทำกิจกรรมทุกนาทีมีค่า และการทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย กิจกรรมที่เบาไม่ต้องออกแรงมากที่ขอแนะนำ ได้แก่ การเดิน, การว่ายน้ำ, การปั่นจักรยาน หรือกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ และอย่าบิดหรือทำให้ข้อต่อตึงมากจนเกินไป เพราะว่าการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานได้ พบแพทย์  คุณสามารถควบคุมโรคข้ออักเสบของคุณโดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี การลดน้ำหนัก สำหรับคนที่มีน้ำหนักมากเกิน หรือว่าเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักจะเป็นการช่วยลดแรงกดตรงบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนัก อย่างเช่น สะโพกและหัวเข่า การเข้าถึงหรือรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถช่วยบรรเทาอาการปวด […]

เป็นเกาต์สามารถทานสัตว์ปีกได้หรือไม่

เกาต์สามารถทานสัตว์ปีก

 ”กินสัตว์ปีกเยอะระวังจะเป็นเกาต์นะ”  ประโยคนี้ที่เราได้ยินกันจนชินจากคนรอบตัวเรา จนทำให้หลาย ๆ คนคิดมากทุกครั้งเวลาที่จะทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เพราะว่าอาการของโรคเกาต์น่ากลัวตั้งแต่อาการเริ่มปวดตามข้อต่าง ๆ บนร่างกายของเราและอาจจะไปจนถึงความพิการ หรือว่าอาจจะทำให้เกิดเป็นโรคไตวายแทรกซ้อนได้ โดยที่เราไม่ทราบว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้เกิดมาจาก “กรดยูริก” ที่มีสะสมในร่างกายที่มากเกินไปหรือไม่ การรับประทานสัตว์ปีกในปริมาณที่มากไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์  แต่เพราะโรคนี้เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายที่มีในปริมาณมาก และแน่นอนว่ากรดยูริกชนิดนี้ไม่ใช่กรดที่จะสามารถพบได้มากเฉพาะแต่สัตว์ปีกเพียงเท่านั้น เนื่องจากว่าโรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดมาจากการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นต้น ดังนั้นถ้าหากจะแก้ไขปัญหาก็จะต้องแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายเหตุอย่างเดียว เช่น การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนสูง ได้แก่ เห็ด,ไข่ปลา,ปลาดุก, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน, กุ้ง, ผักชะอม, ผักกระถิน, ผักสะเดา, กะปิ, น้ำต้มกระดูก และซุปก้อน  แต่เนื่องจากว่ากรดยูริกจะถูกผลิตมาจากร่างกายของเราเอง ประกอบกับการรับประทานอาหารที่เราทานด้วยในส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้มีผลมากมายเท่ากับกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าการที่เราทานสัตว์ปีกจะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์ แต่ถ้าสำหรับคนที่เป็นโรคเกาต์อยู่ก่อนแล้วการที่จะรับประทานสัตว์ หรือว่าอาหารจำพวกที่มีโปรตีน และกรดยูริกสูงก็อาจจะทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้  ทั้งนี้โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดมาจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสาร  พิวรีน ในร่างกายทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกมากกว่าปกติ จนตกผลึกอยู่ในรูปของเกลือยูเรต หรือเรียกว่า Urate crystals ทำให้เกิดการสะสมตามบริเวณข้อต่าง ๆ แล้วเมื่อเกิดการแตกตัวออกก็จะเข้าไปแทงตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวม และเป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุด ซึ่งจะพบมากในผู้ชาย 80-90% และจะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุระหว่าง […]

ทานยาโรคเกาต์ต่อเนื่องเป็นอันตรายหรือไม่

ทานยาโรคเกาต์ต่อเนื่องเป็นอันตรายหรือไม่

         โรคเกาต์ เป็นโรคที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมากและสะสมมานาน จนทำให้เกิดการตกตะกอนสะสมกลายเป็นผลึกเกลือยูเรตตามบริเวณเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อ และบริเวณรอบ ๆ ข้อ เมื่อมีสาเหตุบางอย่างมากระตุ้นจะทำให้ข้ออักเสบอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ อายุมากขึ้นและการทำงานของไตลดลง หรือเกิดจากการที่เราใช้ยาบางชนิดรวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสำหรับการรักษาโรคเกาต์ แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาอาการข้ออักเสบและช่วยลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำกว่า 5 – 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เช่น  การใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันและใช้ในการป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบซ้ำจากโรคเกาต์ ผลข้างเคียงของยาที่สำคัญก็คือ ทำให้การขับถ่ายเหลวหรือทำให้ท้องร่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดในคนป่วยที่สูงอายุ สำหรับคนป่วยที่การทำงานของไตเกิดบกพร่องควรจะต้องมีการปรับขนาดยา เพื่อเป็นการป้องกันผลข้างเคียงจากยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ใช้ในการรักษาสภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันโดยเฉพาะคนป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยาโคลชิซินหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แพทย์อาจจะพิจารณาให้เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือว่าฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือกับคนป่วยบางรายแพทย์อาจจะฉีดเข้าบริเวณข้อโดยตรงในกรณีที่มีข้ออักเสบฉับพลันจากเกาต์ที่เป็นข้อใหญ่ 1-2 ข้อ ผลข้างเคียงที่พบก็คือ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถยับยั้งการอักเสบชนิดฉับพลันได้ดี ยากลุ่มนี้มีหลากหลายชนิดและสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จึงเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันจากโรคเกาต์ ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาก็คือ ทำให้ระคายเคืองหรือทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร คนป่วยบางรายอาจจะมีเลือดออกที่ทางเดินอาหารได้ และยาอาจจะทำให้เกิดไตวายอย่างเฉียบพลันในคนป่วยบางรายโดยเฉพาะคนป่วยสูงอายุ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดข้ออักเสบให้กำเริบซ้ำอีก ปุ่มและก้อนโทฟัสก็จะค่อย ๆ มีเล็กลง คนป่วยเกือบจะทุกรายที่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็จะไม่มีอาการปวดข้ออีก แต่คนป่วยโรคเกาต์อีกหลายคนที่เลือกซื้อยามาทานเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีอาการกำเริบอยู่บ่อย ๆ และโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามีมากที่สุด อย่างเช่น […]