fbpx

ทานยาลดกรดยูริคอยู่ แต่มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร

ยาลดกรดยูริค

 

        กรดยูริคในร่างกายนั้น มีทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ โรคต่างๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขับกรดยูริคได้ไม่หมด จนเกิดกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น เช่น โรคเก๊าท์ โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง ในการรักษาเช่น โรคเก๊าท์นั้น การทานยาลดกรดยูริคเป็นวิธีหนึ่ง แต่ถ้ารับประทานแล้ว มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร ลองมาดูกัน

ยาลดกรดยูริคของคนเป็นโรคเก๊าท์

        ยาลดกรดยูริคช่วยควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ในระยะยาว ต้องทานตามคำแนะนำของแพทย์ ในปริมาณยาที่เหมาะสม ไม่เพิ่มปริมาณยาเองโดยพลการ แม้ว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งของการรักษาแต่ก็อาจทำให้มีอาการปวดกำเริบขึ้นได้

ผลข้างเคียงของการใช้ยาลดกรดยูริค

        แม้ว่ายาลดกรดยูริค จะเป็นยาที่ช่วยในการควบคุมอาการของโรค แต่อาจจะส่งผลข้างเคียงบางประการ ซึ่งแต่ละอย่าง มีทั้งที่เป็นผลข้างเคียงทั่วไป และผลข้างเคียงที่ต้องดูเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้ได้ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยาลดกรดยูริค ได้แก่

    1. ปวดตามบริเวณข้อต่อ ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกรดยูริคสะสมอยู่ บางครั้งไม่ถึงกับปวดแต่จะมีอาการข้อยึด ตึง หรือข้อบวม
    2. มีอาการบวมบริเวณหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา และมีอาการลมพิษ
    3. มีอาการข้างเคียงทางผิวหนัง คัน ผื่น หนังลอก มีตุ่มพอง
    4. มีอาการไข้ขึ้น และอาการข้างเคียงที่เป็นเบื้องต้นเช่น ปวดหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกหนาวสั่น
    5. คลื่นไส้วิงเวียน ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสียรุนแรง
    6. หายใจติดขัด แน่นหน้าอก

และอาจมีอาการอื่นๆ อีก เช่น ง่วงซึม น้ำหนักลดผิดปกติ ผมร่วง ตัวเหลือง ปากเปื่อย

        หากมีอาการข้างเคียงที่ไม่ได้มีอันตราย นับว่าเป็นอาการปกติของคนที่ทานยาลดกรดยูริค ผ่านไปวันสองวันก็หายไปเองได้ แต่บางอาการถือว่ามีโอกาสเป็นอันตราย เช่น เป็นจนหมดแรง หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ฯลฯ ควรหยุดยาแล้วไปพบแพทย์

 

ทานยาลดกรดยูริคอยู่ แต่มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร

       อาการปวดตามข้อต่อต่างๆ นั้น เป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงของคนที่กินยาลดกรดยูริค หากกินในปริมาณตามแพทย์สั่งแล้ว มีอาการเล็กน้อยและหายเร็ว ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าผ่านไปหลายวันแล้วก็ยังไม่หาย กลับมีอาการปวดกำเริบมากขึ้น อาจเนื่องมาจากสาเหตุอื่นผสมไปด้วย เช่น การแพ้ยา มีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้ยามีฤทธิ์แรง ก็ควรหยุดยาและรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและแก้ไขต่อไป

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *