fbpx

โรคเกาต์ในผู้หญิงกับผู้ชายต่างกันหรือไม่

โรคเกาต์ในผู้หญิงกับผู้ชาย

 

โรคเกาต์ (gout) เกิดจากร่างกายมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก และสะสมมาเป็นเวลานาน จนทำให้กรดยูริกนั้นตกตระกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวด บวม แดงร้อนตรงบริเวณข้อ ถ้าหากกรดยูริกไปสะสมตามบริเวณผิวหนังก็จะทำให้มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนังได้ แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วในไต และทำให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด

กรดยูริก คืออะไร

กรดยูริก เกิดมาจากร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเอง จะอยู่ที่ประมาณ 80 % และอีก 20 % ที่เหลือเกิดมาจากการที่เราทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนสูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนนี้เราจะพบในสัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง โดยปกติแล้วร่างกายของเราสามารถขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะ แต่ในบางคนที่ร่างกายไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้หมด จึงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, กระดูก, ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเกาต์นั่นเอง

อาการของโรคเกาต์

อาการของโรเกาต์ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการปวด แดง ร้อนอย่างฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมงแรกจะปวดมากที่สุด อาการจะไม่มีเตือนล่วงหน้า อยู่ดี ๆ ก็จะปวดขึ้นมาทันที โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วโป้งเท้า และตรงบริเวณข้อเท้า เข่า หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วอาการก็จะเริ่มดีขึ้น และอาจจะหายสนิทภายใน 5-7 วัน ในระยะแรกอาการก็จะมีอักเสบแค่ตรงบริเวณเดียวเท่านั้น แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาให้ถูกต้องจะทำให้โรคค่อย ๆ ลุกลามไปตามจุดอื่น ๆ ทั่วร่างกาย มีอาการปวด บวม นานมากขึ้น และรุนแรงขึ้นด้วย

โรคเกาต์เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

โรคเกาต์สามารถที่จะพบได้ตั้งแต่ยังเด็ก แต่ส่วนมากแล้วจะพบกับเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 30-40 ปี ขึ้นไป เพราะว่าโรคเกาต์จะต้องใช้ระยะเวลาในการสะสมของกรดยูริกนานถึง 10 ปีกว่าที่อาการจะแสดง และสาเหตุที่ผู้ชายเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่านั้น  นั่นก็เพราะว่าผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิงนั่นเอง ส่วนผู้หญิงส่วนมากจะไม่เป็นโรคเกาต์จนกว่าจะหมดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงจะต่างกับผู้ชาย ผู้หญิงจะเป็นโรคเกาต์ก็ต่อเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เพราะช่วงที่ยังมีประจำเดือนอยู่นั้นจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะสามารถช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกายได้

ดังนั้นผู้หญิงและผู้ชายที่เป็นโรคเกาต์  ก็จะมีความแตกต่างกันตรงที่ผู้ชายจะเป็นโรคเกาต์ตั้งแต่อายุ 30-40 ปี ขึ้นไป แต่ผู้หญิงหลังจากประจำเดือนหมดไปประมาณ 5-10 ปี ถึงจะเริ่มมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์ได้