fbpx

ปวดเกาต์เฉียบพลันดูแลรักษาอย่างไร?

ปวดเกาต์เฉียบพลัน

เกาต์ (Gout) คือโรคข้ออักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน, บวม และแดงตามข้อต่อเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเป็นระยะ ๆ อาจจะเกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อพร้อม ๆ กัน

อาการของโรคเกาต์

อาการปวดตรงบริเวณข้อต่ออย่างรุนแรงเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะข้อตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่อาจจะสามารถเกิดขึ้นกับข้อต่อหลาย ๆ ส่วนตามร่างกายได้ อย่างเช่น ตรงข้อเท้า, ข้อศอก, หัวเข่า, ข้อต่อของกระดูกมือ หรือว่าตรงบริเวณข้อมือ อาการที่ปวดจะเริ่มรุนแรงในช่วงระยะเวลา 4-12 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะเริ่มปวดน้อยลงและอาการก็จะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในบางคนอาจจะมีอาการปวดอยู่นานหลายวันจนอาจจะรวมไปถึงหลายสัปดาห์เลย และนอกจากนี้เกาต์ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น

    • ตรงบริเวณข้อต่ออาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อ จนทำให้เกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรืออาจจะหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณที่อักเสบเป็นสีแดง, บวมแดง และแสบร้อน
    • การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ไม่สะดวกเนื่องจากภาวะที่ข้อติด นั่นคือสัญญาณบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคที่กำลังเป็นอยู่ว่ามีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
    • ผิวหนังตรงบริเวณของข้อต่อเกิดการคันหรือลอกหลังจากที่อาการของโรคเกาต์ดีขึ้น

อาการของโรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะเป็น ๆ หาย ๆ จนกว่าจะได้ทำการรักษา โดยอาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนได้บ่อยมากกว่าช่วงเวลากางวัน แต่จะอย่างไรก็ตามควรที่จะรีบไปพบแพทย์หากว่าคนป่วยเกิดมีไข้ ปวดข้ออย่างรุนแรง จนผิวหนังเกิดบวมแดงและแสบร้อนขึ้น เพราะว่าอาการปวดที่ข้ออาจจะทำให้คนป่วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสัญญาณของโรคข้ออักเสบอื่น ๆ การที่จะปล่อยให้โรคนี้พัฒนาความรุนแรงขึ้นโดยที่ไม่รีบไปทำการรักษาให้ถูกต้อง อาจจะนำไปสู่การเรื้อรังและยังสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อนั้น ๆ ได้

การดูแลรักษาโรคเกาต์

โรคเกาต์สามารถที่จะรักษาได้ด้วยการทานยาเป็นหลัก ซึ่งแพทย์จะทำการพิจารณาดูจากหลาย ๆ ปัจจัยเป็นส่วนประกอบในการที่จะเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน ไม่ว่าอาการของโรค สุขภาพโดยรวม หรือว่าการพูดคุยกับคนป่วย ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตัว เพื่อเป็นการเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรค แต่ในบางรายที่ปล่อยปะละเลยให้โรคนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยไม่ทำการรักษา แพทย์อาจจะต้องใช้วิธีการผ่าตัดแทนการใช้ยา ซึ่งเป้าหมายของการรักษาก็คือเพื่อที่จะช่วยให้อาการปวดลดลงอย่างรวดเร็ว และยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดของโรคเกาต์ในบริเวณข้ออื่น ๆ อีกในอนาคต รวมไปถึงการลดความเสี่ยงต่อภาวะเกิดการแทรกซ้อนจากโรค อย่างเช่น โครงสร้างของข้อต่อเกิดผิดรูป ไตอาจจะเกิดความผิดปกติได้

ดั้งนั้นการรักษาโรคเกาต์นั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องรักษาด้วยการทานยาเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องขึ้นอยู่กับอาการของโรเกาต์ว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *