fbpx

work from home อย่างไรไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม

ด้วยสถานการณ์ในทุกวันนี้ คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)” ที่หลาย ๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดีและพบได้บ่อยที่สุดในวัยทำงาน โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลาย ๆ คนต้องทำงานที่บ้านหรือเรียกว่า work from home เป็นการทำงานผ่านระบบออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, tablet หรือว่ามือถือ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน อาจจะประสบกับปัญหาปวด เมื่อย คอ บ่า ไหล่ หลัง หรือเอว บางครั้งอาจจะมีอาการมึนศีรษะ สายตาพร่าเบลอจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หรือมีอาการ มือชา เกร็ง หรือนิ้วล็อก จากการจับเมาส์ หรือ chat ผ่านมือถือเป็นเวลานานๆ เป็นต้น กลุ่มอาการดังกล่าวที่เป็นนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของจิตใจจนอาจจะทำให้มีผลกระทบต่องานที่ทำด้วย

อาการ Office syndrome

ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนท่า หรือท่านั่งที่ไม่เหมาะสม การใช้กล้ามเนื้อในแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กัน หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยในการนั่งทำงาน  อาการนี้จะพบได้กับพนักงานออฟฟิศเป็นส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้วสามารถพบได้กับคนทั่วไปเช่นกันถ้าหากว่าคนเหล่านั้นมีพฤติกรรมการนั่งทำงานดังที่ได้กล่าวมา ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นกลุ่มอาการปวดบริเวณเนื้อเยื่อ และกล้ามเนื้อ ตัวอย่างเช่น การนั่งห่อหัวไหล่ นั่งหลังค่อม การยื่นศีรษะไปข้างหน้า  ไม่มีที่ให้พักแขนเพราะระดับความสูงของที่พักแขนไม่เท่ากับความสูงโต๊ะทำงาน จะส่งผลทำให้เกิดภาวะเครียดบริเวณของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่ ที่ต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดการปวดตรงบริเวณนั้น ๆ แล้วเราจะWork from home หากมีอาการ Office Syndrome  เราควรที่จะปฏิบัติดังต่อไปนี้

การจัดท่านั่งที่เหมาะสมเวลานั่งทำงาน

    • การเลือกเก้าอี้ ต้องเลือกเก้าอี้ที่มีเบาะนั่งที่สามารถรองรับการวางต้นขาได้เต็มที่ ความสูงของเก้าอี้จะต้องนั่งแล้วเข่างอทำมุม 90-110 องศา เท้าสามารถวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าหากเท้าไม่ถึงพื้นก็สามารถหาที่พักเท้ามาวางช่วยได้
    • ต้องเปลี่ยนท่านั่งเพื่อขยับร่างกายทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง และต้องพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์
    • ต้องนั่งให้หลังชิดกับพนักพิง แล้วพิงเอนไปด้านหลังเล็กน้อย
    • ต้องปรับสภาพแวดล้อมของโต๊ะทำงาน จะต้องให้คอมพิวเตอร์ หรืองานอยู่ด้านหน้าของผู้ใช้ และจะต้องปรับให้ได้ในระดับสายตาที่อยู่ตรงกับขอบบนจอคอมพิวเตอร์พอดี
    • ดังนั้นอาการ Office Syndrome สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ทำงานที่บ้านก็ตาม ถ้าหากเราไม่ให้ความสำคัญกับพื้นที่ของการทำงาน และอิริยาบถต่าง ๆ ของร่างกาย หากมีอาการปวดเรื้อรังและเริ่มจะรุนแรงมากขึ้นเราควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยต่อไป

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *