fbpx

พฤติกรรมแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเกิดออฟฟิศซินโดรม

 

              พนักงานที่ทำงานประจำออฟฟิศก็จะมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ในบางคนก็อาจจะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม โดยที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม จนส่งผลทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติเป็นประจำทุกวันอยู่นั้น ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างเช่น

 

  1. การกดแป้นพิมพ์ และการคลิกเมาส์ต่อเนื่องกัน เป็นสาเหตุเสี่ยงให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และอย่างแรก สำหรับท่านที่ต้องพิมพ์งาน, คลิกเมาส์, เกร็งนิ้วมือ และเกร็งข้อมือตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ได้พัก จนเริ่มเจ็บและเกิดอาการชาตามฝ่ามือ เหยียดนิ้วตรง ๆ แล้วมีอาการปวด นั่นถือว่าเป็นสัญญาณเตือนของอาการเริ่มต้นจากการที่เคยชินกำลังบอกให้คุณรู้ตัวว่า เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่บริเวณนิ้วกำลังอักเสบ และมีโอกาสเกิดนิ้วล็อคได้ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง
  2. การนั่งไขว่ห้าง, นั่งหลังค่อม และนั่งห่อไหล่ เพราะคิดว่าเป็นท่านั่งที่สบายอย่างการนั่งไขว่ห้าง, นั่งหลังค่อม จนไหล่ห่อโดยที่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ที่มีความสูง-ต่ำไม่พอดีกับสายตาเป็นเวลานาน ๆ คีย์บอร์ดและเมาส์ ถูกจัดวางในตำแหน่งที่สูงกว่าสรีระของตัวเองจนต้องคอยเกร็งไหล่อยู่ตลอดเวลา การใช้งานในท่าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กันโดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือพักให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย จึงทำให้บ่า, คอ และหลังเกิดการยึดเกร็ง จนทำให้เกิดอาการปวดและเกิดการอักเสบตามมา สำหรับพนักงานออฟฟิศที่เคยชินกับพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะเกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม และคุณกำลังเสี่ยงต่อการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นเป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบได้
  3. การจ้องนาน ๆ วางไม่ได้ และเครียดจนเกินไปการจ้องจอแบบเคร่งเครียด เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม แม้แต่เวลาพักกลางวันก็ยังหันไปจ้องสมาร์ทโฟนต่อ การใช้สายตาทั้งวันโดยที่ไม่ได้พัก แถมเวลาที่กลับบ้านก็ยังเอางานและความเครียดใส่กระเป๋ากลับบ้านไปทำที่บ้านต่อ จนสายตาเริ่มมีอาการโฟกัสไม่ได้ ทำให้ปวดล้าที่บริเวณกระบอกตาจนทำให้ลุกลามส่งผลทำให้ปวดหัวทุกครั้งหลังเลิกงาน และจำเป็นจะต้องพึ่งยาแก้ปวดอยู่เป็นประจำ ซึ่งพนักงานออฟฟิศท่านใดที่ยังคงทำพฤติกรรมที่เคยชินเช่นนี้ต่อไป ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม

 

 

              คลินิกโรคกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์ บริการตรวจประเมินพร้อมให้คำปรึกษา  และทำการวินิจฉัย ในการรักษา อีกทั้งคุณหมอยังเป็นผู้ที่เชียวชาญเฉพาะทางที่มากด้วยประสบการณ์ในด้านการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ตั้งแต่การรักษาที่เน้นให้อาการทุเลาลงในแบบระยะสั้น ไปจนถึงการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการทำกายภาพบำบัด พร้อมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และหัตถการต่าง ๆ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

 

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *