fbpx

ออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุมาจากอะไร

              ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศ เพราะว่าลักษณะของการทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่ที่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หรือว่าการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถซ้ำ ๆ กันและต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงส่งผลทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และเกิดอาการผิดปกติทางระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบของกระดูกและกล้ามเนื้อ, การย่อยอาหารและการดูดซึม, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบฮอร์โมน และนัยน์ตาแห้ง

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม

             ออฟฟิศซินโดรม มักจะเกิดมาจากการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมไปถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม อาทิ เช่น การนั่งขาไขว่ห้างเป็นประจำ, การนั่งหลังค่อม หรือการนั่งก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อยืดค้างในแบบเดิมบ่อย ๆ จนบริเวณกล้ามเนื้อมัดนั้น เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจจะขมวดกันเป็นก้อนจนทำให้ตึง และเกิดอาการปวดตามมา กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเราจะมีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงกันต่อเนื่องหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อเริ่มเกิดการผูกกันเป็นปมขึ้นมา ก็จะทำให้ดึงรั้งกันไปมา ในตอนแรกอาการปวดตึงก็อาจจะเริ่มมาจากจุดใดจุดหนึ่ง แต่เมื่อนานวันเข้าก็จะเกิดอาการร้าวไปปวดที่อีกจุดหนึ่ง เพราะว่าถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อในส่วนที่หดเกร็ง เมื่อเรารู้ตัวอีกทีก็จะมีอาการปวดเกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง ๆ โดยไม่สามารถที่จะระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย ตามธรรมชาติของคนที่ทำงานประจำในปัจจุบันนี้ ก็มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการทำงานได้ยาก เพราะว่าจะต้องโฟกัสไปกับงานที่ทำ หรือว่างานยุ่งจนลืมที่จะปรับเปลี่ยนท่าทางในการนั่ง และหยุดพัก เมื่อเป็นบ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคออฟิศซินโดรมมีอาการหนักมากขึ้น หรือว่าเกิดการลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อและระบบประสาทในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน

 

             ดังนั้นถ้าใครที่คิดว่าตัวเองอาจจะเป็นคนที่จะเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (หรืออาจจะรู้ตัวว่าเป็นไปแล้วเรียบร้อย) ในขั้นแรก คุณลองเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูก่อน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการออฟิศซินโดรม แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้ที่เชียวชาญเฉพาะทางเพื่อหาแนวทางในการรักษา เราขอแนะนำ คลินิกโรคกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์” เพราะคุณหมอจะให้คำปรึกษา และวินิจฉัย ในการรักษา อีกทั้งคุณหมอยังเป็นผู้มากด้วยประสบการณ์ในด้านการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์