fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

โรคเกาต์สามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่

โรคเกาต์สามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่

  โรคเกาต์ (gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับการตกผลึกของกรดยูริกในข้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ข้อทำให้เกิดการอักเสบอย่างฉับพลันของข้อหรือว่าเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ การเกิดของโรคเกาต์ที่มักจะพบต้องมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงสะสมมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากระดับของกรดยูริกยิ่งสูง โอกาสในการเป็นโรคเกาต์ก็จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้น และอาการจะเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงอยู่ประมาณ 2 เท่า แต่หลังหมดประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะมีความชุกของโรคเกาต์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย อาการของโรคเกาต์ เริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงและเกิดการสะสมมาเป็นเวลานานก่อน โดยจะเฉลี่ยมักไม่น้อยกว่า 10 ปี การอักเสบของข้อพบในครั้งแรกเป็นผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักจะพบหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงชนิดเฉียบพลัน จากระยะแรกเริ่มปวดจนถึงอักเสบแบบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง มักจะเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, หรือว่าข้อเข่า อาการจะเป็นในเวลากลางคืนหรือขณะที่หลับบ่อยครั้ง ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นอยู่ไม่นาน 2-3 วันก็หาย แต่บางรายอาจจะมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจจะมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อม ๆ กันโดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรค ซึ่งประวัติอาจจะได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนมากมักจะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน […]

โรคเกาต์ในผู้หญิงกับผู้ชายต่างกันหรือไม่

โรคเกาต์ในผู้หญิงกับผู้ชาย

  โรคเกาต์ (gout) เกิดจากร่างกายมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก และสะสมมาเป็นเวลานาน จนทำให้กรดยูริกนั้นตกตระกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวด บวม แดงร้อนตรงบริเวณข้อ ถ้าหากกรดยูริกไปสะสมตามบริเวณผิวหนังก็จะทำให้มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนังได้ แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วในไต และทำให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด กรดยูริก คืออะไร กรดยูริก เกิดมาจากร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเอง จะอยู่ที่ประมาณ 80 % และอีก 20 % ที่เหลือเกิดมาจากการที่เราทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนสูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนนี้เราจะพบในสัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง โดยปกติแล้วร่างกายของเราสามารถขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะ แต่ในบางคนที่ร่างกายไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้หมด จึงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, กระดูก, ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเกาต์นั่นเอง อาการของโรคเกาต์ อาการของโรเกาต์ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการปวด แดง ร้อนอย่างฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมงแรกจะปวดมากที่สุด อาการจะไม่มีเตือนล่วงหน้า อยู่ดี ๆ ก็จะปวดขึ้นมาทันที โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วโป้งเท้า และตรงบริเวณข้อเท้า เข่า หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วอาการก็จะเริ่มดีขึ้น […]

โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร

โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร

   โรคเกาต์ (gout) กับเกาต์เทียม (pseudogout) เป็นอีกชนิดหนึ่งของโรคข้ออักเสบ (inflammatory arthritis diseases) ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนมากจะพบได้บ่อยที่สุดกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุจากผลึกเกลือ (crystal-induced arthritis) ที่ก่อให้เกิดอาการปวด, บวม, ร้อนแดง ที่ตรงบริเวณข้อของร่างกาย โดยเมื่อหากพิจารณาจากอาการปวดแล้วอาจจะไม่สามารถแยกชนิดของโรคได้เลย แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองโรคมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นหากวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้การรักษาไม่ถูกต้องตามไปด้วย ซึ่งโรคเกาต์ และเกาต์เทียม เป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อ ส่งผลทำให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งในผู้สูงอายุบางท่าน เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว อาจจะปวดจนไม่สามารถเดินได้อีกด้วย ด้วยความห่วงใยเราจึงอยากจะเชิญชวนท่านผู้อ่านให้มาทำความรู้จักกับโรคเกาต์กับเกาต์เทียมว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  และยังเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้โรคที่แสนทรมานนี้มาเกิดขึ้นกับตัวคุณ และคนที่คุณรักได้อีกด้วย โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร หลายคนอาจจะสับสนระหว่างโรคเกาต์กับเกาต์เทียม ว่าเป็นโรคเดียวกันหรือไม่  มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  มีวิธีสังเกตดังนี้ค่ะ โรคเกาต์กับเกาต์เทียม มีสาเหตุมาจากการเกิดที่แตกต่างกัน โดยโรคเกาต์จะเกิดมาจากการสะสมของยูริกจนกลายเป็นตะกอนตรงบริเวณข้อและตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนเกาต์เทียมจะเกิดมาจากการสะสมตะกอนของแคลเซียมไพโรฟอสเฟตดีไฮเดรท (calcium pyrophosphate dehydrate : CPPD) ตรงบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อใหญ่ ๆ อย่างเช่น หัวเข่า เป็นต้น อาการของโรค […]

วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์

วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์

       โรคเกาต์บางครั้งหลาย ๆ คนก็คงคิดว่าเป็นโรคที่ตกยุคไปแล้วหรือไม่ก็ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร  ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมันสามารถที่จะกระจายตัวกันออกไปและยังทำให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างแสนสาหัส ถ้าหากว่าเรายังเพิกเฉยไม่รีบไปรับการรักษา สาเหตุโดยตรงของการเกิดโรคเกาต์ คือการที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง  นอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์,โรคนิ่ว และโรคไตอักเสบแล้ว อาจจะส่งผลต่อคนป่วยที่มีปัญหาหูอื้อ, เสียงดังในหู และบ้านหมุนได้ โดยอาจจะทำให้เส้นเลือดหดตัว, เลือดไปเลี้ยงประสาทหู และอวัยวะที่ทรงตัวได้น้อย จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว  โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคนเรานั้นสามารถสร้างและจัดการกับกรดยูริกได้โดยใช้สารประกอบที่หลากหลายชนิด แม้แต่การควบคุมอาหารที่เราทานสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ได้ผลดีที่สุด หรือป้องกันไม่ให้โรคเกาต์นั้นไปสร้างความเจ็บปวดหรือทำให้เกิดขึ้นได้บ่อย การลดน้ำหนักหรือว่าการใช้ยารักษาก็เป็นทางเลือกเพิ่มเติมที่แพทย์มักจะแนะนำให้ทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร           โรคเกาต์มีอาการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ ตรงบริเวณข้อเกิดการอักเสบ มักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการเริ่มแรกมักเป็นเพียงข้อเดียว โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนข้อนิ้วหัวแม่เท้า, บริเวณข้อเท้า หรือบริเวณข้อเข่า โดยจะแสดงอาการปวด, บวมแดง, ร้อน และจะเกิดอาการเจ็บเมื่อกดตรงข้อ รวมทั้งอาจจะมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายอาจจะพบก้อนโทฟัส ซึ่งจะเกิดมาจากการสะสมของผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่ออ่อน, ข้อต่อ, กระดูก และกระดูกอ่อน มักจะพบตรงบริเวณศอก, ตาตุ่ม, นิ้วมือ และนิ้วเท้า ส่วนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะตรวจพบประมาณร้อยละ 10-25 ของคนป่วยโรคเกาต์  และเราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเกาต์ได้ถ้าหากเราปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้ วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์  แนะนำให้งดทานอาหารดังต่อไปนี้ […]

เกาต์ vs รูมาตอยด์ ต่างกันอย่างไร

เกาต์ ต่างกันอย่างไร รูมาตอยด์

เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์ กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมาก การที่จะแยกความอาการป่วยของทั้งสองโรคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ถึงความแตกต่างของอาการระหว่างโรคเกาต์ และโรครูมาตอยด์จะทำให้ช่วยรับมือได้ทัน และสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี โรคเกาต์ และโรครูมาตอยด์ปวดข้อเหมือนกัน แต่จะมีรูปแบบการปวดที่ต่างกัน โรคเกาต์ (Gout)        โรคเกาต์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งของโรคข้ออักเสบเหมือนกัน จะพบได้ในประมาณร้อยละ 5 ของบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนป่วยโรคเกาต์อยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านคน โดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้วจะพบคนป่วยโรคเกาต์ 300 คนต่อประชากร 100,000 คน อาการของโรคเกาต์  เกิดจากร่างกายสะสมกรดยูริกที่มากเกินไป และไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกได้  จึงทำให้ตกผลึกตามบริเวณข้อ และอวัยวะต่าง ๆ มีอาการปวดตามส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, โคนนิ้วหัวแม่เท้า, นิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า จะเกิดอาการปวดที่ข้อ ๆ เดียวจะไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ จะมีอาการปวดข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีปุ่มกระดูกปรากฏขึ้นตรงบริเวณข้อ สามารถทำให้ปวดได้ทุกช่วงเวลา ถ้าหากข้ออักเสบอย่างรุนแรงแล้วไปประคบร้อนอาจจะเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการปวดจะเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ โรครูมาตอยด์ […]

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคเกาต์ยิ่งทรุด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคเกาต์ยิ่งทรุด

  เป็นอีกหนึ่งโรคกระดูกและข้อที่พบได้บ่อย สำหรับ โรคเกาต์ ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเกาต์หรือทำให้โรคกำเริบหนักจะมีเพียงการรับประทานอาหารประเภทเป็ดไก่บ่อยๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคเกาต์มีอีกหลายปัจจัยกระตุ้นที่ทำอาการกำเริบเร็วว่าการรับประทานสัตว์ปีก โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ปัจจัยที่ทำให้โรคเกาต์ทรุด โรคเกาต์เป็นคือโรคข้ออักเสบชนิดที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริก โดยกรดยูริกนี้เป็นกรดที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ โดยปกติร่างกายจะสร้างขึ้นเองประมาณ 80 % อีก 20% จะมาจากอาหารที่มีสารพิวรีนสูงที่เรารับประทานเข้าไป โดยสารพิวรีนจะพบได้มากใน สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ผักบางชนิดและอาหารทะเลบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะขับกรดยูนิกออกทางปัสสาวะในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับกรดยูริกมากเกินไปร่างกายก็จะขับกรดยูริกออกไม่หมดและสะสมอยู่ตามข้อ กระดูก ไตและผนังหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งใช้เวลานานเป็น 10 ปีกรดยูริกเหล่านี้จะตกผลึกทำให้เกิดอาการอักเสบและกลายเป็นโรคเกาต์ในที่สุด โดยอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดอยู่ริกในร่างกายสูง ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดยูริในเลือดสูงและกลายเป็นโรคเกาต์ โดยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีผลต่อระดับยูริกต่างกัน เบียร์จะมีผลต่อระดับกรดยูริกมากที่สุด รองลงมาคือเหล้าและที่น้อยที่สุดคือไวน์ ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเกาต์อยู่แล้วจึงควรงดดื่มเหล้าเบียร์อย่างเด็ดขาด น้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง เครื่องดื่มเหล่านี้มีน้ำตาลฟรุคโตสสูง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเกิดกรดยูริกในเลือดสูงเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังทำให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งก็มีอีกหนึ่งความเสี่ยงในหลายๆ โรคโดยเฉพาะโรคเกาต์ สัตว์ปีกและเครื่องใน อาทิ เป็ด, ไก่ และเครื่องในต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มีสารพิวรีนสูงและสารพิวรีนนี้เองที่เป็นสารตั้งต้นของกรดยูริก หากรับประทานเป็นประจำทุกวันก็จะทำกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ได้ จะเห็นได้ว่าตัวกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์เป็นแหล่งอาหารใกล้ตัวที่เรารักจะรับประทานกันเป็นประจำ ดังนั้นหากไม่อยากให้โรคเกาต์มาเยือนหรืออาการโรคเกาต์กำเริบควรงดของต้องห้ามดังกล่าว และควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม […]

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม?

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม

โรคเก๊าท์รักษาหายไหม คำถามนี้ยังคงเป็นคำถามที่มีคนสงสัยอยู่ไม่น้อย เพราะจากประสบการณ์จากที่คนคนรอบตัวเป็นโรคเก๊าท์ จะสร้างความรู้สึกว่า คนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกำเริบเป็นระยะๆ เดี๋ยวเป็น เดี๋ยวหาย เดี๋ยวก็กลับมาเป็นอีก เหมือนเป็นโรคเรื้อรัง รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ความจริงเป็นอย่างไร เรามาดูกัน   โรคเก๊าท์คืออะไร โรคเก๊าท์คือโรคข้ออักเสบ ที่มีสาเหตุจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง พอนานไปกรดยูริกก็จะตกตะกอนแล้วสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ในร่างกาย นานวันเข้าก็จะแสดงอาการเจ็บป่วย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า ยูริกนั้นสะสมอยู่ที่ใด   อาการของโรคเก๊าท์        อาการที่เป็นที่รู้จักกันส่วนใหญ่คือ อาการปวดตามข้อ ปวดทรมาน แต่ความจริงแล้วยังมีอาการแบบอื่นขึ้นอยู่กับว่า กรดยูริกไปตกตะกอนสะสมอยู่ที่ใด ผิวหนัง ถ้ายูริกตกตะกอนบริเวณผิวหนัง จะปรากฏอาการคือ ผิวหนังจะมีปู่มนูนขึ้นมา ข้อต่างๆ จะมีอาการปวดตามข้อ เนื่องจากฤทธิ์ของอาการอักเสบที่เกิดขึ้น ไต จะทำให้เป็นนิ่วในไต และไตเสื่อมในที่สุด    สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคเก๊าท์        ดังกล่าวแล้วว่า เกิดจากกรดยูริกสูง ซึ่งการที่จะมีกรดยูริกในเลือดสูงนั้น ส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง ความจริงคือในร่างกายของคนเราจะมีกรดยูริกที่สร้างขึ้นมาเองอยู่แล้วถึง 80% ถ้ามีการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูงขึ้นไปอีก จะมีกรดยูริกที่เพิ่มสูงขึ้น   อาหารประเภทไหนบ้างที่ทำให้กรดยูริกในเลือดสูง สัตว์ปีกและเครื่องในสัตว์ น้ำต้มกระดูก ธัญพืช […]

โรคเก๊าท์ มีโอกาสไตวาย หรือไม่ ?

      โดยทั่วไปแล้ว โรคไต เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ แต่อย่างไรก็ตาม โรคเก๊าท์ ก็อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคไตได้เช่นกัน เพราะไตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการกรองกรดยูริค โรคทั้งสองนี้ จึงมีความเกี่ยวข้องกัน       1 ใน 10 ของผู้ที่เป็นโรคไต จะเป็นโรคเก๊าท์ด้วย ในขณะเดียวกันผู้ป่วยโรคเก๊าท์ก็มีโอกาสเป็นโรคไตมากขึ้น และผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ แต่ไม่ควบคุมให้เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบต่อไต ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น และอาจจะนำไปสู่อาการไตวาย และอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีก โรคไต นำไปสู่การเป็นโรคเก๊าท์       ผู้ที่เป็นโรคไตนั้น การทำงานของไตจะไม่ดีเท่ากับคนปกติ ไตจะไม่สามารถกรองของเสียออกจากร่างกายได้ดีพอ กรดยูริคก็นับว่าเป็นของเสียที่มีอยู่ในเลือด แต่เมื่อไตทำงานได้ไม่เต็มที่ก็ไม่สามารถกรองกรดยูริคออกไปได้เท่าที่ควร เมื่อร่างกายมีกรดยูริคสะสมอยู่มากเป็นเวลานาน ก็จตะเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น       ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ในระยะแรกนั้น ส่วนมากจะไม่รู้ตัว แต่เมื่อเป็นขึ้นมา นั่นก็นับเป็นสัณญาณเตือนของการเป็นโรคไตด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจและรับการักษา โรคเก๊าท์ นำไปสู่การเป็นโรคไตวายได้       เป็นที่ทราบกันดีในกลุ่มแพทย์และผู้เเชี่ยวชาญว่า […]

เป็นเก๊าท์หลีกเลี่ยงไตวายอย่างไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบ ที่ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง เป็นโรคที่มีมานานแล้ว และผู้คนก็เจ็บป่วยด้วยโรคนี้กันมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากการรับประทานอาหารที่เกินพอดี อาหารหลายชนิด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่นอาหารที่มีสารพิวรีน พืชผัก ผลไม้บางชนิด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้น จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริค ทำให้เกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเกินปกติ            หากปล่อยให้กรดยูริคในเลือดสูงเกินปกติเป็นเวลานาน ต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งโรคนี้เป็นในเพศชายวัยกลางคน และเพศหญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน เป็นส่วนมาก โรคเก๊าท์นั้น นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยปวดทรมาณ เมื่ออาการกำเริบแล้ว ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีก ทั้งข้ออักเสบ โรคผิวหนัง และโรคไต             หากเป็นโรคเก๊าท์แล้ว ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ นับตั้งแต่ข้ออักเสบ ข้อพิการผิดรูป เกิดก้อนที่ผิวหนัง เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไปจนถึงโรคไตวายเรืองรังเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ […]

โรคเก๊าท์ไม่ควบคุมอันตรายแค่ไหน

​เป็นเก๊าท์แล้วไม่ควบคุมจะอันตรายแค่ไหน

          ผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ คือผู้ที่มีระดับกรดยูริคในเลือดสูงมากเกินไป โดยกรดยูริคนี้ร่างกายของเราได้สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้อาหารแตกตัว แต่ถ้าหากร่างกายของเราผลิตกรดดังกล่าวนี้มากจนเกินไป ต่อเนื่องเป็นเวลานาน กรดยูริคก็จะจับตัวกันเป็นก่อนผลึก แล้วไปจับตัวรวมกันที่รอบ ๆ ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในระยะแรก ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการปรากฏให้เห็น แต่เมื่อบริเวณข้อต่อที่กรดยูริคไปจับตัวเป็นก่อนผลึกนั้นเกิดการอักเสบขึ้นมา ผู้ป่วยจะมีความเจ็บปวดในบริเวณข้อต่อนั้นมาก นอกจากจะปวดตึงมากแล้ว จะสังเกตเห็นได้ว่าบริเวณนั้น ทั้งบวม และแดง อาการที่ปรากฏขึ้นมานี้ เรียกว่า โรคเก๊าท์กำเริบ             โรคเก๊าท์นี้ หากไม่ได้รับการรักษา และควบคุมโรค ก็จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวได้ เพราะหากปล่อยให้ดับกรดยูริคในเลือดสูงไปเรื่อย ๆ ก้อนผลึกก็จะจับตัวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ กลายเป็นปัญหาระยะยางของผู้ป่วย นำไปสู่อาการเจ็บปวด ทุกข์ทรมาณ และถึงขั้นทำให้ข้อต่อผิดรูปผิดร่าง กลายเป็นความเสียหาย หรือพิการในระยะยาวได้โรคเก๊าท์ จะกำเริบและอาจจะแสดงอาการที่แตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย อาการปวด บวม อาจจะเกิดในจุดที่ต่างกัน บางคนก็เกิดอาการหลายจุด ความรุนแรงของอาการก็อาจจะแตกต่างกัน ระยะเวลาในการกำเริบ […]