fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์

อาหารแบบใดที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ต้องหลีกเลี่ยง

อาหารแบบใดที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ต้องหลีกเลี่ยง

อาหารแบบใดที่ผู้เป็นโรคเก๊าท์ต้องหลีกเลี่ยงโรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเป็นขึ้นมาแล้วทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวด ตึง บวมแดง บริเวณข้อต่อ เมื่ออาการกำเริบ โรคนี้รักษาให้หายยากผู้ป่วยจึงต้องหาแนวทางในการดูแลตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการอักเสบ ซึ่งทำให้โรคกำเริบขึ้นมาโรคเก๊าต์เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับกรดยูริคในเลือดมากเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องควบคุมระดับกรดยูริคที่จะเข้าไปในร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้อาการกำเริบ อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะอาหารบาวอย่างก็ช่วยลดระดับกรดยูริคในเลือด และบางอย่างก็ไปเพิ่มกรดยูริคในเลือดได้เช่นกันก่อนอื่นมาดูกันว่า อาหารชนิดใด ที่ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ควรจะหลีกเลี่ยงพิวรีน (Purine) เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคนี้จะต้องหลีกเลี่ยง โดยในปี 2004 เคยมีการวิจัยพบว่า พิวรีน ซึ่งเป็นสารที่พบทั้งในเนื้อสัตว์ และพืชนั้น ส่งผลให้โรคเก๊าต์กำเริบ เพราะร่างกายของเราเมื่อได้รับสารชนิดนี้ จะเปลี่ยนเป็นกรดยูริค การวจัยยังพบด้วยว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ ที่มีสารพิวรีนเป็นส่วนประกอบมาก ๆ นั้น ยังส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าต์ได้ด้วย ส่วนการรับประทานพืชที่มีสารพิวรีนนั้น กลับให้ผลต่างกัน นั่นคือการบริโภคพืชที่มีสารพิวรินเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าต์ได้ สำหรับอาหารที่มีพิวรีน และผู้ที่เป็นโรคเก๊าต์ควรจะต้องหลีกเลี่ยง หรือจำกัดการบริโรค ได้แก่ เนื้อแดง และเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต อาหารทะเล เช่น ล๊อบสเตอร์ กุ้ง ปลาซาดีน แองโชวี่ ปลาทูน่า ปลาเทาต์ […]

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

โรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู็ป่วยเกิดอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน ร่วมกับมีอาการข้อแข็งและบวม อาการสามารถจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่นิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า ยิ่งปล่อยไว้นานอาการก็จะรุนแรงขึ้น อาจจะถึงขั้นเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อได้ โรคเก๊าต์นั้นเกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงมาเป็นเวลานานหลายปี ยูริคจึงตกตะกอนแล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมที่ข้อต่อมาก ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ แดง ปวด ร้อนที่บริเวณข้อต่ออาการของโรคเก๊าต์นั้น เริ่มแรกจะปวด แดง เฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือน จะปวดมากในวันแรกและค่อย ๆ หายไป อาจจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน แน่นอนว่า เมื่อเกิดอาการขึ้นมาแล้ว ผู้ปวยจะทุกข์ทรมาณ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบาก อีกทั้งยังเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ จึงต้องรู้วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อที่จะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างไม่ทรมาณ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ยังไม่เกิดอาการปวดซึ่งต้องป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด และระยะที่เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมาแล้ว ว่าจะต้องดูแลเพื่อบรรเทาอาการอย่างไร การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด มีดังนี้– ในระยะที่โรคไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อรักษาระดับกรดยูริคในร่างกายให้เป็นปกติ และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเป็นประจำ ตามการนัดหมาย– […]