โรคเกาต์ เป็น โรคที่เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ผลึกยูเรตตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกยูเรตมีการตกตะกอนตามบริเวณข้อ ก็สามารถจะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบได้อย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ สาเหตุเกิดมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าในการขับออก กรดยูริกเป็นผลจากการสลายของสารพิวรีนที่มีสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสารที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่ทางการแพทย์จะเรียกว่า กรดนิวคลีอิก โดยที่กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่นั้นจะเกิดมาจากกระบวนการนี้ โดยที่ร่างกายของเรามีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการในการย่อยสลายของสารพิวรีนทำงานเกิดความผิดปกติขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นกรดยูริกที่สูงตามมา โรคเกาต์จะมีอาการปวด, บวมแดง และร้อนตรงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันทันทีทันใด โดยมักจะเริ่มจากข้อตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการเกาต์สามารถเกิดขึ้นกับข้ออื่น ๆ ได้ อย่างเช่น บริเวณข้อเท้า, ข้อเข่า และข้อมือ ซึ่งอาการที่เป็นก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงระยะแรก โรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือดูแลได้อย่างถูกต้อง ยิ่งจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นทำให้คนป่วยมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไม่สะดวกจากที่ภาวะข้อติด ซึ่งนั่นหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าอาการของโรคมีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจจะนำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรังและสามารถสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์
โรคเกาต์เป็น โรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในเพศชายที่อายุ 30 ปีขึ้นไป อาการที่แสดงส่วนใหญ่จะมีอาการปวด บวมตรงบริเวณเท้าโดยเฉพาะที่ตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนเพศหญิงก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเกาต์ได้หลังมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 3 – 5 ปี การเกิดโรคเกาต์จะพบสูงเพิ่มมากขึ้นกับคนทั่วไป ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การที่ร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดเพิ่มขึ้นมักจะมีความสัมพันธ์กันกับโรคที่มีความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายที่เรียกว่า และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการทานอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารที่มีแคลอรีสูงและจะพบในคนอ้วน การใช้ยาขับปัสสาวะที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน การที่เราทานผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีความหวานมาก ๆ เพราะจะมีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่มาก ปัจจุบันการเกิดของโรคเกาต์เพิ่มมากขึ้นนั่นก็เพราะว่ามาจากความอ้วน และขึ้นอยู่การบริโภคของเรานั่นเอง ฉะนั้นเราจึงควรที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับปัจจัยในการเสี่ยงต่าง ๆ การทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงจะทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ เช่น หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ยอดผักต่าง ๆ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต คนป่วยที่โรคเกาต์ฉับพลันมักจะมีอาการปวดบวม แดงร้อน ตรงบริเวณที่เป็น อาการจะเป็นอย่างรวดเร็ว และอาการจะปวดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนป่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้มีอาการปวดตามข้อ ยังทำให้การเคลื่อนไหวลำบากได้อีกด้วย นอกจากนี้ในระยะยาวโรคเกาต์ที่เป็นตามข้อต่าง ๆ ก็จะทำลายกระดูกอ่อนของผิวข้อจึงทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมตามมา โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้า การเกิดของก้อนโทฟัสเกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกในเนื้อเยื่ออ่อน การตรวจค่าของกรดยูริกในกระแสเลือดก็จะเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัย […]
โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบที่มีอาการปวดเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นโรคเก่าแก่ที่สุดอีกโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ และยังเป็นโรคข้ออักเสบที่เป็นปัญหาสำคัญในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งการเกิดของโรคเกาต์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานของอาหาร และสภาวะทางโภชนาการที่เกินความพอดีในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น อย่างเช่น การทานอาหารที่มีจำพวกสารพิวรีนสูงมาก หรือว่าพืชผัก ผลไม้หรือแม้แต่น้ำผลไม้บางชนิด หรือ ว่าพวกแอลกอฮอล์ ก็จะมีส่วนไปกระตุ้นการสร้างกรดยูริกขึ้นในร่างกาย ซึ่งถ้าหากกินเข้าไปมาก ๆ ก็ทำให้มีกรดยูริกอยู่ในร่างกายสูงได้เช่นกัน และสิ่งที่น่ากลัวของโรคเกาต์ ก็คือ เกิดภาวะแทรกซ้อน คนป่วยโรคเกาต์ที่ไม่ทำการดูแลรักษาอย่างให้ถูกต้องในระยะแรกจะทำให้เข้าสู่ระยะข้ออักเสบชนิดเรื้อรังหลายข้อ มีการไปทำลายข้อทำให้เกิดความผิดรูปและพิการ นอกจากนี้ยังพบก้อนโทฟัสที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผลึกเกลือยูเรต อาจจะทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และโรคไตวายเรื้อรัง ฉะนั้นการรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบชนิดเฉียบพลันต้องใช้ยาต้านการอักเสบจนกว่าข้ออักเสบจะหายสนิทแล้วถึงจะพิจารณาให้ทำการรักษาในระยะยาว คือ การลดหรือแก้ไขปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเกาต์และการใช้ยาช่วยลดกรดยูริกในเลือดของคนป่วยโรคเกาต์มักจะมีโรคร่วมด้วย เช่น มีภาวะอ้วนลงพุง, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นคนป่วยโรคเกาต์จึงควรจะได้รับการตรวจหาโรคเพื่อที่จะได้แก้ไขและให้การรักษาไปพร้อม ๆ กันคนป่วยโรคเกาต์ควรจะมีความรู้ถึงการปฏิบัติตัวให้อย่างถูกต้อง และรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประเภทของอาหารที่จะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการกำเริบของโรคเกาต์ ดังนั้นอาการของโรคเกาต์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดสามารถที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทุกเมื่อ เช่น เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะและท้ายที่สุด ก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน คือ การใช้ยาต้านการอักเสบ จนกว่าข้ออักเสบจะหายสนิทแล้วถึงจะพิจารณาการรักษาในระยะยาว เช่น การลดหรือแก้ไขปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเกาต์และการจะใช้ยาช่วยลดกรดยูริกในเลือดของคนป่วย […]
โรคเกาต์ เป็นหนึ่งในโรคกระดูก และโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยกับผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดมาจากการที่กินโปรตีนบางชนิดมากจนเกินไป ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะย่อยสลายไปเป็นกรดยูริกและไปตกตะกอนบริเวณข้อ ทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันการเกิดโรคเกาต์คนป่วยมักจะมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากว่าระดับของกรดยูริกยิ่งสูง อัตราของการเกิดโรคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจะเกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในผู้ชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าผู้หญิงอยู่ประมาณ 10 เท่า แต่หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว ผู้หญิงจะพบโรคเกาต์สูงขึ้นถ้าเทียบกับผู้ชาย ข้อที่ควรระวังโรคเกาต์ในผู้สูงอายุ โรคเกาต์ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อย เนื่องจากผลึกยูเรตมีการสะสมทีละนิดในข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ มาเป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากรดยูริกที่มีในเลือดอยู่มีมากน้อยแค่ไหนจนกว่าอาการของโรคจะแสดงออกมา และสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกมีเพิ่มขึ้นก็มาจากหลายสาเหตุและยังไม่สามรถสรุปได้ชัดเจน ข้อควรระวัง จึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวกับการปฏิบัติตัวของคนป่วยที่เป็นโรคเกาต์ เพื่อจะได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ลง เช่น ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยเฉพาะ พวกอาหารทะเล แต่สามารถทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนต่ำได้โดยไม่จำกัด เช่น นม ไข่ ธัญพืช ต่าง ๆ ผักสดต่าง ๆ และผลไม้ ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อช่วยทำให้ร่างกายได้ขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และจะไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจจะนำไปสู่การเป็นนิ่วในไต ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ห้ามอดอาหารหรือว่าลดน้ำหนักอย่างหักโหม ต้องค่อย ๆ ลดลงจะเป็นการดีต่อสุขภาพที่สุด ควรงดดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่ให้ความหวานมากเกินไป งดกินถั่วต่างๆ […]
โรคเกาต์ คือโรคข้ออักเสบ ที่เกิดจากร่างกายที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดมีปริมาณสูงมาก และเกิดการสะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนกรดยูริกเกิดการตกตระกอนอยู่ตามบริเวณข้อต่าง ๆ ของร่างกาย การสะสมองกรดยูริกอาจจะใช้เวลาในการสะสมนานถึง 10 ปี กว่าอาการข้ออักเสบจะแสดงออกมา ทำให้ปวด, แดง และร้อนที่บริเวณข้อ อาการของโรคเกาต์กำเริบทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจนทำให้เราต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตที่บริเวณข้อต่อหรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่ในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อบริเวณอื่น ๆ บนเท้าและมือก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการเจ็บปวดและเกิดการอักเสบขึ้นได้ คนไข้สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน วิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยตัวเอง ให้ยกส่วนที่มีอาการบวมให้สูงขึ้น วิธีนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น หากอาการเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเท้า ให้คนไข้เอนตัวลงนอนบนเตียง และให้ใช้หมอนหนุนเพื่อเป็นการพยุงเท้าขึ้นมา เพราะถ้าหากเกิดการอักเสบมาก อาจจะส่งผลทำให้เราเจ็บปวดมากจนไม่สามารถที่จะนอนหลับได้ ให้บรรเทาอาการปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยการประคบเย็น วิธีนี้จะเป็นการช่วยทำให้ลดการอักเสบและอาการปวดได้ โดยการเอาน้ำแข็งห่อใส่ผ่ามาประคบไว้ประมาณ 20 นาที แล้วปล่อยเอาไว้สักพักจะช่วยทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น ให้ทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาต้านการอักเสบ จะช่วยทำให้ลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ดี ยาต้านอักเสบที่แพทย์แนะนำให้ทาน ได้แก่ ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซนโซเดียม โดยจะต้องทานยาทันทีถ้าหากเกิดอาการกำเริบขึ้น และสามารถทานยาซ้ำได้อีกครั้งหลังจากที่ผ่านไป 2 วัน ยาต้านอักเสบเหล่านี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่มีแผลหรือว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือว่ามีความดันโลหิตสูง ไม่ควรที่จะทานยาแอสไพริน เพราะว่าจะทำให้ระดับของกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่ออาการของโรคเกาต์เกิดการเจ็บปวดกำเริบในช่วงเวลากลางคืน […]
โรคเกาต์เกิดมาจากร่างกายมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง ซึ่งเป็นผลมาจากในร่างกายมีการสะสมของกรดยูริกเป็นจำนวนมาก โดยจะเฉลี่ยแล้วกรดยูริกจะตกผลึก เมื่อมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดมากเกินกว่า 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร กรดยูริกคือสารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในเลือดเกิดมาจากการย่อยสลายของสารพิวรีน ในเนื้อเยื่อที่มีอยู่ทั่วร่างกายและอาหารที่เรากินเข้าไป โดยที่ร่างกายจะทำการปรับสมดุลของกรดยูริกด้วยวิธีการกรองจากไตก่อนที่จะขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่เมื่อมีกรดยูริกในปริมาณมากขึ้นจากการสร้างของร่างกาย และการกินทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง หรือว่าไตเกิดความผิดปกติในการกรองสารพิวรีน ก็จะนำไปสู่ภาวะของกรดยูริกในเลือดสูงได้ง่าย ทำให้ร่างกายมีกรดยูริกสะสมมากกว่าปกติมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ตะกอนไปตกอยู่บริเวณรอบ ๆ ของข้อ หรือว่าภายในข้อ หรือ เกิดความผิดปกติของกรดยูริกทำให้การขับสารพิวรีนออกจากร่างกายได้ช้า การวินิจฉัยโรคเกาต์แพทย์จะต้องซักถามประวัติของอาการโดยละเอียด การตรวจหาค่าระดับของกรดยูริกในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็มักจะมีระดับของกรดยูริกอยู่ในกระแสเลือดสูงมากกว่าคนปกติ การตรวจสารน้ำในข้อเพื่อหาผลึกของกรดยูริก อาการปวดโรคเกาต์ คนป่วยโรคเกาต์จะมีอาการปวด, บวมแดง และร้อนตรงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันทันทีทันใด โดยมักจะเริ่มจากข้อตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการเกาต์สามารถเกิดขึ้นกับข้ออื่น ๆ ได้ อย่างเช่น บริเวณข้อเท้า, ข้อเข่า และข้อมือ ซึ่งอาการที่เป็นก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงระยะแรก โรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือดูแลได้อย่างถูกต้อง ยิ่งจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นทำให้คนป่วยมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไม่สะดวกจากที่ภาวะข้อติด ซึ่งนั่นหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าอาการของโรคมีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจจะนำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรังและสามารถสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้ […]
“โรคเกาต์” เป็น โรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกสูงในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผลึกเกลือยูเรตเกิดการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของส่วนร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกเกลือยูเรตมีการตกตะกอนตามข้อ ก็จะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ ถ้าผลึกเกลือยูเรตไปตกตะกอนที่บริเวณผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดกลุ่มก้อนหรือว่าเป็นปุ่มที่บริเวณใต้ผิวหนัง ที่แพทย์เรียกกันว่าก้อนโทฟัส และถ้าผลึกเกลือยูเรตไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วหรืออาจจะทำให้ไตวายได้ สาเหตุของโรคเกาต์ มีหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุเกิดมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าการขับออก กรดยูริกเป็นผลจากการสลายของสารพิวรีนที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่ทางการแพทย์เรียกว่า กรดนิวคลีอิก โดยที่กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นมาจากกระบวนการนี้ โดยที่ร่างกายมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการในการย่อยสลายของสารพิวรีนทำงานเกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นกรดยูริกที่สูงตามมา อาการของโรคเกาต์ อาการที่สำคัญของคนที่เป็นโรคเกาต์ คือ ข้อเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม และแดงร้อนตรงบริเวณที่ข้อได้อย่างชัดเจน หรือในบางรายก็อาจจะมีไข้ และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย โดยประมาณร้อยละ 80 จะพบว่าเกิดข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันในครั้งแรกจากเกาต์มักจะเป็นข้ออักเสบข้อเดียว และข้อที่พบได้บ่อยคือ ตรงบิเวณข้อโคนนิ้วหัวแม่โป้งเท้า, ข้อเท้า […]
อาการของโรคเกาต์กำเริบเป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจนอาจจะทำให้เราตื่นขึ้นมากลางดึก โรคเกาต์เกิดมาจากการสะสมของผลึกยูเรตตรงบริเวณข้อต่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่บางครั้งอาจจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อบริเวณอื่น ๆ บนเท้าและมือก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถที่จะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการเจ็บปวดและเกิดการอักเสบขึ้นได้ การรักษาโรคเกาต์ที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งคนไข้สามารถส่งเสริมแนวทางการรักษากับแพทย์ได้ด้วยวิธีทำการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน เพื่อเป็นการจัดการกับอาการเจ็บปวด และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสที่โรคเกาต์จะกำเริบขึ้นมาใหม่อีกครั้งในอนาคต วิธีการบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน ให้ยกส่วนที่มีอาการบวมให้สูงขึ้น วิธีนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดี หากอาการเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเท้า ให้คนไข้เอนตัวลงนอนบนเตียง และให้ใช้หมอนหนุนเพื่อเป็นการพยุงเท้าขึ้นมา และถ้าหากเกิดการอักเสบมาก อาจจะส่งผลทำให้คนไข้เจ็บปวดมากจนไม่สามารถที่จะวางผ้าไว้บนเท้าได้ ให้บรรเทาอาการเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยการประคบเย็น วิธีนี้จะเป็นการช่วยลดอาการอักเสบและอาการเจ็บปวดได้ โดยการนำน้ำแข็งมาประคบไว้ 20 นาที แล้วปล่อยเอาไว้สักพักจะทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังถูกความเย็นทำลาย สามารถทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปยาต้านการอักเสบ จะช่วยทำให้ลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ดี ยาต้านอักเสบที่แพทย์แนะนำให้ทาน ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (เช่น Advil, Motrin IB) และนาพรอกเซนโซเดียม (naproxen sodium) (เช่น Aleve) โดยจะต้องทานยาทันทีถ้าหากเกิดอาการกำเริบขึ้น และสามารถทานยาซ้ำได้อีกครั้งหลังจากที่ผ่านไป 2 วัน ยาต้านอักเสบเหล่านี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่มีแผลหรือว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือว่ามีความดันโลหิตสูง ไม่ควรที่จะทานยาแอสไพริน เพราะว่าจะทำให้ระดับของกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากอาการของโรคเกาต์ไม่รุนแรงมากก็สามารถที่จะบรรเทาอาการได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น […]
เกาต์ (Gout) คือโรคข้ออักเสบที่ทำให้เกิดอาการปวดแสบร้อน, บวม และแดงตามข้อต่อเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเป็นระยะ ๆ อาจจะเกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อพร้อม ๆ กัน อาการของโรคเกาต์ อาการปวดตรงบริเวณข้อต่ออย่างรุนแรงเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะข้อตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่อาจจะสามารถเกิดขึ้นกับข้อต่อหลาย ๆ ส่วนตามร่างกายได้ อย่างเช่น ตรงข้อเท้า, ข้อศอก, หัวเข่า, ข้อต่อของกระดูกมือ หรือว่าตรงบริเวณข้อมือ อาการที่ปวดจะเริ่มรุนแรงในช่วงระยะเวลา 4-12 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะเริ่มปวดน้อยลงและอาการก็จะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในบางคนอาจจะมีอาการปวดอยู่นานหลายวันจนอาจจะรวมไปถึงหลายสัปดาห์เลย และนอกจากนี้เกาต์ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างเช่น ตรงบริเวณข้อต่ออาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อ จนทำให้เกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรืออาจจะหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณที่อักเสบเป็นสีแดง, บวมแดง และแสบร้อน การเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ไม่สะดวกเนื่องจากภาวะที่ข้อติด นั่นคือสัญญาณบ่งบอกถึงความรุนแรงของโรคที่กำลังเป็นอยู่ว่ามีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผิวหนังตรงบริเวณของข้อต่อเกิดการคันหรือลอกหลังจากที่อาการของโรคเกาต์ดีขึ้น อาการของโรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน จะเป็น ๆ หาย ๆ จนกว่าจะได้ทำการรักษา โดยอาการมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนได้บ่อยมากกว่าช่วงเวลากางวัน แต่จะอย่างไรก็ตามควรที่จะรีบไปพบแพทย์หากว่าคนป่วยเกิดมีไข้ ปวดข้ออย่างรุนแรง จนผิวหนังเกิดบวมแดงและแสบร้อนขึ้น เพราะว่าอาการปวดที่ข้ออาจจะทำให้คนป่วยเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสัญญาณของโรคข้ออักเสบอื่น ๆ การที่จะปล่อยให้โรคนี้พัฒนาความรุนแรงขึ้นโดยที่ไม่รีบไปทำการรักษาให้ถูกต้อง อาจจะนำไปสู่การเรื้อรังและยังสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อนั้น ๆ ได้ การดูแลรักษาโรคเกาต์ […]
โรคเกาต์ เป็นโรคที่เกิดจากกรดยูริกที่สะสมอยู่ในเลือดเป็นจำนวนมากจนทำให้กรดยูริกเกิดการตกตะกอนกลายเป็นผลึกที่มีลักษณะรูปร่างเป็นเข็มอยู่ตามบริเวณข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน อย่างฉับพลัน ซึ่งระดับของกรดยูริกในเลือดสูงจะบ่งบอกถึงปัจจัยในการเสี่ยงของการเกิดโรคเกาต์, ความดันสูง, เส้นเลือดเสื่อมสภาพ, นิ่วในไต และไตวาย การที่เรารู้ระดับของกรดยูริกในเลือด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการวินิจฉัยโรคหลาย ๆ ชนิด โรคไตจากผลึกเกลือยูเรต คนป่วยโรคเกาต์ส่วนมากร้อยละ30 จะเป็นนิ่ว ส่งผลจากการที่มีระดับของกรดยูริกที่สูงมาก ๆ มาเป็นระยะเวลาที่นานจนสามารถก่อให้เกิดภาวะไตอักเสบเรื้อรัง (chronic interstitial nephritis) ซึ่งคนป่วยในระยะแรกจะไม่มีอาการ หรือว่าความสมารถในการที่จะควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะจะเสียไป ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยมากขึ้น จากการตรวจร่างกายก็จะไม่พบความผิดปกติใด ๆ แต่ถ้าการตรวจทางห้องปฏิบัติการก็จะพบว่ามีไข่ขาว หรือว่าโปรตีนในปัสสาวะในช่วงระยะแรก และอาจจะพบเม็ดเลือดขาวร่วมด้วย และหากเป็นระยะเวลานานจะค่อย ๆ เกิดภาวะไตวายตามมา ถึงแม้ว่าโรคไตจากผลึกเกลือยูเรตจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายได้ก็ตาม การศึกษาในอดีตพบว่าภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายจากผลึกเกลือยูเรต ยกเว้นแต่ในรายที่เป็นโรคเกาต์ และอาจจะมีโรคอื่นร่วมด้วย อย่างเช่น มีโรคเบาหวาน, โรคเส้นโลหิตแข็ง, ความดันโลหิตสูง หรือว่ามีระดับของกรดยูริกในเลือดมากกว่า 13 มก./ดล. เป็นต้น แต่จะอย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ว่าภาวะของกรดยูริกที่อยู่ในเลือดสูงเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อทางไตได้เปลี่ยนไป เนื่องจากว่ามีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่สามารถทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในไตที่ทำให้ความดันโลหิตสูง […]