fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร อันตรายหรือไม่

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

        โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยโรคนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จนตัวเราไม่อาจจะรู้ตัว และอาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง        โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากเซลล์ประสาทที่เสื่อมสภาพลงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไปด้วย ซึ่งเซลล์ประสาทของส่วนนี้จะคอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคนี้เกิดมาจากหลาย ๆ สาเหตุจนก่อให้เกิดโรคร่วมกัน อาทิเช่น ทางพันธุกรรม ทางสิ่งแวดล้อม โดยคนป่วยอาจจะมีประวัติสัมผัสกับโลหะ หรือว่าสารเคมีบางชนิดที่สามารถทำให้ส่วนประสาทนำคำสั่งทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ   อันตรายของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง        โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตัวอันตรายเงียบ ๆ คือตัวคนป่วยยังคงทำกิจวัตรประจำวัน หรือใช้ชีวิตต่าง ๆ ได้เป็นปกติในช่วงระยะแรก ๆ ของวัน แต่หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งถ้าหากคนป่วยได้หยุดผักการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณนั้นไปชั่วขณะ ก็จะสามารถช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานได้ตามปกติเช่นเดียวกัน แต่จะดีกว่าถ้าหากว่าคนป่วยไม่ปล่อยให้อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ชนิดเรื้อรัง เพราะความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น […]

เวลาเดิน ลุกหรือนั่งแล้วเจ็บเข่าควรทำอย่างไร

วิธีป้องกันอาการเจ็บหัวเข่าเวลาลุก-นั่ง

           ข้อเข่า เป็นอวัยวะหลักที่เราใช้ในการเคลื่อนไหวในทุก ๆ วัน อย่างเช่น การเดิน, วิ่ง, การลุก-นั่ง, การก้าวขึ้น-ลง หรือทุกการขยับตัวของเรานั่นเอง โดยกระดูกตรงบริเวณข้อเข่า จะมีกระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มไว้ เรียกว่า “กระดูกอ่อนข้อต่อ หรือ กระดูกอ่อนในข้อ” จะ มีลักษณะลื่น ๆ มีสีขาวใส คอยทำหน้าที่ลดการเสียดสีของกระดูกในขณะที่ทำการเคลื่อนไหว แข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักและรับแรงกระแทกได้สูง แต่ถ้าหากกระดูกอ่อนเกิดการเสื่อม ก็จะทำให้รู้สึกเจ็บทุกครั้งที่งอเข่า หรือว่าเจ็บหัวเข่าเวลาลุก หรือนั่งนั่นเอง เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกในข้อเสื่อม?             เมื่อกระดูกอ่อนในข้อเกิดการเสื่อมสภาพ ตรงบริเวณผิวนอกที่เรียบ ก็จะเริ่มแตกเป็นเส้นใยฝอย ๆ เล็ก ๆ เป็นการแตกที่เรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าหากเราปล่อยไว้ไม่รีบดูแล อาจจะแตกเป็นร่องลึก ผิวข้อก็จะเริ่มขรุขระและลึกลงไปจนถึงชั้นกระดูก และจะยิ่งทำให้บางลงเรื่อย ๆ ไปจนหมด เหลือไว้แต่กระดูกแข็ง จะส่งผลทำให้รู้สึกเจ็บขณะที่เคลื่อนไหวหรือว่าเจ็บหัวเข่าเวลาที่ลุกหรือนั่ง  เนื่องจากบริเวณข้อเข่าเหลือแต่กระดูกแข็ง ไม่มีกระดูกอ่อนคอยรองรับน้ำหนักหรือรับการกระแทก กระดูกจึงเกิดการเสียดสีกัน ส่งผลทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ อาการข้อเข่าเสื่อมมี 2 ระยะดังนี้ อาการจะเริ่มปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้น – ลงบันได […]

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากสาเหตุใด

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ

               เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ  สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ โดยที่เราไม่ทันได้ระวังตัว และเมื่อเกิดการบาดเจ็บเกิดขึ้น ก็จำเป็นจะต้องใช้เวลาในการรักษาที่ค่อนข้างจะนาน อาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆหลาย ๆ อย่างในชีวิตไป โดยเฉพาะคนที่เป็นนักกีฬา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อ บาดเจ็บจะส่งผลทำให้เอ็นอักเสบได้   เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้             สาเหตุที่เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเพราะว่ากล้ามเนื้อการบาดเจ็บสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทบที่ภายนอกอย่างรุ่นแรง และทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งการบาดเจ็บจากแรงที่กระทบจากภายนอก อย่างเช่น แรงปะทะกันขณะเล่นกีฬาประเภทนักฟุตบอลที่คู่ต่อสู้ยกเท้ามายันที่ต้นขาอย่างรุ่นแรง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกิดการฟกช้ำ เวลาที่ถูกกระแทกฟกช้ำจะส่งผลทำให้หลอดเลือดฝอยต่าง ๆ เกิดการฉีกขาด และมีเลือดออกมาที่บริเวณชั้นกล้ามเนื้อ หรือว่าเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ จนทำให้มีเลือดออกมากขึ้น จึงทำให้เกิดการบวมขึ้นภายใน 48 – 72 ชั่วโมงแรก หรือในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเองนั้น เป็นเพราะว่าการหดตัวอย่างรุนแรงในทันที จนอาจจะทำให้เกิดหลอดเลือดฝอยที่บริเวณใยกล้ามเนื้อทำให้มีการฉีกขาด สาเหตุก็อาจจะมาจากการใช้งานมากเกินไปอย่างเช่น การเล่นเวทที่เรียกน้ำหนักมากจนเกินกำลังที่เราจะยกได้ หรือว่าอาจจะเล่นนานมากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นเกิดการอักเสบได้ และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ ก่อนการออกกำลังกายทุกครั้งขาดการเตรียมร่างกายให้พร้อม  การออกกำลังกายหนักเกินไป อย่างเช่น การออกกำลังกายด้วยการยกเวท โดยการเรียกน้ำหนักมากจนเกินไป การออกกำลังกาย […]

ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่

ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่

            โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่ทำงานก็สามารถที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เหมือนกัน โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในวัยกลางคนและกับผู้สูงอายุ ซึ่งถ้ามีอาการเริ่มแรกแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้บริเวณข้อเข่าเจ็บปวด เข่าผิดรูป เดินไม่ได้เป็นปกติจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งตรงนี้อาจจะทำให้หลายคนแปลกใจว่าโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่อายุน้อยด้วยหรือ เพราะตามปกติแล้วเรามักจะได้ยินว่ากลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ส่วนมากอายุเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปีขึ้นไป เพราะว่ากระดูกอ่อนผิวข้อจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับบริเวณเข่าโดยตรง เหมือนกันกับยางรถยนต์ที่ตั้งศูนย์ไม่ดีข้างที่รับน้ำหนักมากเกินไปจึงเสื่อม หรือไม่ก็มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาประเภทวิ่งและฟุตบอลเพราะว่าต้องใช้ขาเยอะ และทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่าบ่อย ๆ มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นจึงส่งผลให้เข่าคลอนแคลนและทำให้เสื่อมเร็วขึ้น แต่ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปรวมถึงพฤติกรรมการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่เยอะ ซึ่งทำให้กระดูกตายส่งผลทำให้อุบัติการณ์ข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยและยังมีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้การวิ่งมาราธอนกำลังเป็นที่นิยมของใครหลาย ๆ คน จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้มากที่สุด และคาดว่าในอนาคตจะสูงขึ้นกว่าปกติถึง 3 เท่าเลยที่เดียว เมื่อ โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวของทุกคนอีกต่อไป ดูจากสถิติภาพรวมของคนไทยหลาย ๆ คนพบว่า มีคนป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบสูงถึง 3.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แบ่งตามความชุกของโรคและตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้ อายุ 60 ปี อยู่ที่ 37.4% อายุ 45 ปี อยู่ที่19.2% และอายุ 25 ปี อยู่ที่ […]

เส้นเอ็นอักเสบเกิดจากอะไรบ้าง

เส้นเอ็นอักเสบ

             เส้นเอ็นอักเสบ คือการอักเสบของเส้นเอ็น ที่ทำให้คนป่วยรู้สึกตึงและปวดตรงบริเวณเส้นเอ็นอย่างต่อเนื่อง อาการจะมีตั้งแต่การเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ และลามไปจนถึงขั้นรุนแรง อาการปวดมักจะเกิดขึ้นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าเพราะว่าอากาศเย็น และจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อตรงบริเวณกล้ามเนื้ออุ่นตัวขึ้น สาเหตุที่กล้ามเนื้อตรงเส้นเอ็นเกิดการอักเสบอย่างเรื้อรัง เกิดมาจากการที่เราทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ เพราะว่าแรงกระแทกบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ หรือว่าเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงอายุที่มากขึ้นด้วย  ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้กับทุกเส้นเอ็น แต่ที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุด ก็คือบริเวณไหล่, ข้อเท้า, ข้อศอก และเท้า แต่ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ดังนี้ สาเหตุของเส้นเอ็นอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบอาจจะเกิดขึ้นตอนที่เราได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน หรือเกิดจากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน ๆ โดยส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุข้อหลังมากกว่า โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพ หรือทำงานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ หรือกิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบริเวณเดิมบ่อย ๆ อย่างเช่น เทนนิส กอล์ฟ ว่ายน้ำ เตะฟุตบอลเป็นต้น จึงควรที่จะมีเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อเอ็นมากจนเกินไป คนที่อยู่ในสภาวะต่อไปนี้อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเอ็นอักเสบได้มากกว่าคนปกติ คนที่มีอายุมากจะมีโอกาสเกิดภาวะเส้นเอ็นอักเสบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ […]

สาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อมเกิดจากอะไรบ้าง

โรคข้อเสื่อม

  โรคข้อเสื่อม เป็นโรคข้อเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย และมักจะพบได้กับคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่บุบริเวณปลายกระดูกข้อ จึงเป็นต้นเหตุให้ผิวของกระดูกอ่อนเปลี่ยนสภาพจากผิวเรียบมันกลายเป็นผิวที่ขรุขระ ส่งผลทำให้ข้อเกิดการติดขัดเวลาที่เคลื่อนไหวของร่างกายทำให้เกิดความเจ็บปวด อีกทั้งยังมีความผิดปกติที่หลากหลายที่สามารถพบได้จากพยาธิสภาพ และจากการฉายภาพเอกซเรย์ เริ่มต้นจากการสึกกร่อนของกระดูกข้อต่อ ทำให้ช่องว่างที่บริเวณข้อต่อเริ่มแคบลง ทำให้ขนาดของกระดูกข้อต่อใหญ่ขึ้น หรืออาจจะมีกระดูกงอกออกมา ร่วมกับมีการยืด หรือหย่อนยานของเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อจนส่งผลทำให้ระยะสุดท้ายเกิดการผิดรูปของข้อต่อและเกิดการคดงอ หรือ ข้อโก่งได้ สาเหตุของโรคข้อเสื่อม โดยทั่วไปภายในข้อจะประกอบไปด้วยเยื่อบุข้อ, น้ำไขข้อ และกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อมีหน้าที่เป็นเหมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และเป็นการป้องกันไม่ให้กระดูกที่อยู่ภายใต้ของกระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกของอีกฝั่ง ถ้าหากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามน้ำหนักหรือว่าแรงกดที่ข้อ ก็จะส่งผลทำให้กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดการสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณรอบ ๆ ข้อถูกยืดเป็นเหตุทำให้เกิดอาการปวดตามมา ในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบว่าการที่ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายเกิดมาจากสาเหตุใด และบุคคลที่มีความเสี่ยงได้แก่ คนที่มีน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งมักจะพบว่าคนอ้วนกับโรคข้อเสื่อมมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ซึ่งอาการของโรคข้อเสื่อมจะดีขึ้นเมื่อน้ำหนักลดลง ความหนาแน่นของกระดูก จะพบว่าในผู้หญิงที่มีข้อเสื่อม มักจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้หญิง ที่ไม่มีข้อเสื่อม อาจจะเกิดจากกระดูกใต้กระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่เกิดการแข็งตัวมากทำให้ไม่สามารถดูดซับแรงกระแทกของกระดูกอ่อนได้ดี จึงทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย เกิดความผิดปกติของข้อบางชนิด ซึ่งจะส่งผลทำให้ผิวของข้อไม่เรียบ หรือมีข้อต่อเคลื่อนไปจากที่เดิม จึงทำให้เกิดความเสื่อมได้ เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผิวข้อได้โดยตรง ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ หรือไม่เข้าที่ การประกอบอาชีพ จะพบว่าในอาชีพที่ต้องงอเข่าบ่อย ๆ หรือว่านักกีฬาบางประเภทอย่าง […]

ข้อมืออักเสบเกิดจากสาเหตุใด

              ก่อนอื่นก็ต้องขอยอมรับก่อนว่าในยุคนี้อาการปวดตรงบริเวณข้อมือนั้นมีอุบัติการณ์ที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แพทย์พบว่าคนป่วยมีอาการเจ็บที่บริเวณข้อมือที่แผนกผู้ป่วยนอกแทบจะทุกวัน โดยอาการนี้เป็นได้ตั้งแต่เด็ก, ผู้ใหญ่ ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้ง ๆ ที่อาการเหล่านี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่กลับพบได้มากคล้ายกับจะเป็นโรคติดต่อเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อถามถึงสาเหตุก็พบว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน และพบว่าโทรศัพท์ของคนป่วยบางรายมีขนาดที่ใหญ่กว่ามือ จึงทำให้ต้องเกร็งและการใช้งานบริเวณข้อมืออย่างผิดปกติส่งผลทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด การที่ข้อมืออักเสบเกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นบริเวณภายใน โดยส่วนมากแล้วจะพบกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โรคข้อมืออักเสบที่พบได้มากที่สุด   โดยเฉพาะคนที่ใช้มือทำงานบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ คือ กลุ่มคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์  คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์  และหญิงตั้งครรภ์  เอ็นเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยในการขยับข้อมือและนิ้วมือ โดยข้อมือถูกใช้งานอย่างหนักและต่อเนื่องกันในแต่ละวันนั้น จะทำให้อุณหภูมิของเอ็นข้อมือเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้เอ็นข้อมือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้โดยง่าย จึงไม่แปลกอะไรที่ในทุกวันนี้ มีคนป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อคตั้งแต่อายุยังน้อย และจะเห็นได้ว่าการเกิดข้อมืออักเสบนั้นไม่จำเป็นต้องยกของหนักหรือว่าได้เกิดประสบอุบัติเหตุเลย   เนื่องจากการใช้งานซ้ำไปซ้ำมาเป็นประจำก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้ และถ้าหากยังปล่อยเอาไว้นานเพียงเพราะว่าอาการเจ็บปวดที่เล็กน้อยก็อาจจะทำให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเรื้อรังกลายเป็นโรคที่ทำให้เราต้องเจ็บปวดและทรมานได้ในอนาคต               ดังนั้นการที่ข้อมืออักเสบ เกิดมาจากการที่ข้อมือของเราไปกระแทกกับวัตถุหรือสิ่งของที่แข็ง แม้กระทั้งการใช้งานบริเวณข้อมือบ่อยมากจนเกินไปก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ส่วนใหญ่และจะพบในกลุ่มคนที่ใช้งานบริเวณข้อมือในการทำงานต่าง ๆ อย่างหนัก […]

ดูแลกระดูกอย่างไรเมื่ออายุมากขึ้น

ดูแลกระดูก

         เป็นที่รู้ ๆ กันดีอยู่แล้วว่าเมื่อคนเรามีอายุเพิ่มมากขึ้นก็มักจะพบกับปัญหาเรื่องของสุขภาพที่หลาย ๆ อย่างเช่น ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับกระดูกพรุนและกระดูกเสื่อมซึ่งปัญหาทั้ง 2 โรคนี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่อายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงที่วัยหมดประจำเดือนจะมีภาวะโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนอื่นและอาการจะแสดงเร็วกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า แต่ทั้งนี้หากคนในช่วงวัยนี้เกิดประสบอุบัติเหตุขึ้นมาแน่นอนว่าจะต้องมีอันตราย เพราะว่ามีปัญหาเรื่องของกระดูกพรุนอยู่ก่อนแล้วอาจจะทำให้กระดูกได้รับความเสียหายหรือแตกหักได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น ๆ และการซ่อมแซมสามารถทำได้ยากมาก เพราะฉะนั้นวิธีการดูแลกระดูกให้แข็งแรงเป็นวิธีที่ดีที่สุดควรจะทานแคลเซียมสูง วิตามินสูง เพื่อเป็นการช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะของโรคกระดูกพรุนและเป็นการบำรุงรักษากระดูกให้แข็งแรงดังนี้  การทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และทานแคลเซียมเสริม อย่างเช่นคนที่มีอายุน้อยกว่า  50  ปี  ร่างกายต้องการแคลเซียมวันละ 1,000  มิลลิกรัม  คนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ร่างกายต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม  เราสามารถรับได้จากการทานอาหาร เช่น  นม   โยเกิร์ต   ชีส  ปลาตัวเล็กทอด  กุ้งแห้ง  กะปิ  ผักคะน้า  ใบยอ  ดอกแค  เต้าหู้แข็ง  ถั่วแดง  และงาดำ โดยทั่วไปการทานอาหารไทยจะได้รับแคลเซียมประมาณ 400 – 500  มิลลิกรัมต่อวัน หรืออาจจะน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่ร่างกายควรที่จะได้รับ จึงขอแนะนำให้ทานแคลเซียมชนิดเม็ดเสริมด้วย การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที โดยเฉพาะผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนจะต้องเน้นการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก อย่างเช่น การเดินไกล การวิ่งเหยาะ ๆ การรำมวยจีน หรือเต้นรำ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียกระดูก การออกกำลังกายชนิดนี้จะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีนเช่น ชา กาแฟ เพราะจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง ระวังการใช้ยาที่ส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ […]

กรดยูริกสูงเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

สาเหตุส่วนมากของการเกิดภาวะกรดยูริกในเลือดที่มีปริมาณสูง เกิดมาจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ที่สำคัญ นั่นก็คือ การที่ร่างกายเราสร้างกรดยูริกเพิ่มปริมาณมากขึ้นจากปกติ การขับกรดยูริกออกทางไตในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ   ซึ่ง 2 สาเหตุนี้อาจจะเกิดมาจากความบกพร่องของกลุ่มโปรตีนที่ขนส่งยูเรตหลาย ๆ ชนิด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการควบคุมการดูดซึมกลับร่วมทั้งการขับออกของยูเรตที่ไต หรือการที่ร่างกายได้รับยาบางชนิดซึ่งจะมีผลในการยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ตัวอย่างเช่น  ยาแอสไพริน, ยาขับปัสสาวะบางชนิด เช่น loop diuretics เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุทั้งสองปัจจัยร่วมกัน   โดยส่วนใหญ่เกิดมาจากร่างกายสร้างขึ้นเองจะคิดเป็นร้อยละ 90 และร้อยละ 10 เกิดมาจากร่างกายที่มีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปกติ  ประมาณ 80% ส่วนที่เหลืออีก 20% มาจากการรับประทานอาหารที่มีสาร “พิวรีน”สูง เมื่อเราทานเข้าไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นกรดยูริกได้ เช่น เครื่องในสัตว์, ปลาดุก, กุ้ง, ไก่, ชะอม, กระถิน, อาหารทะเล, เนื้อแดง, สัตว์ปีก และยีสต์ เป็นต้น ซึ่งสารพิวรีนนี้จะเปลี่ยนไปกลายเป็นกรดยูริกในเลือดแทน ทำให้มีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะการที่ร่างกายของคนเรามีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงมากกว่าปกติทั่วไปนั้น เกิดจากการสะสมมานานจนทำให้กรดยูริกที่อยู่ในเลือดเกิดการตกตระกอนอยู่ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ […]

ชาปลายนิ้วมือเกิดจากสาเหตุอะไร

ชาปลายนิ้วมือ

          ชาปลายนิ้วมือ คืออาการที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้มือและแขนในการทำงานอย่างหนัก โดยจะรู้เจ็บแปล๊บที่บริเวณปลายนิ้ว คล้ายถูกเข็มแทง ปวดแสบปวดร้อนที่ปลายนิ้ว หรือเหมือถูกไฟฟ้าช็อต ทำให้คนป่วยไม่มีความรู้สึก อาจจะทำให้นิ้วมือ และมือไม่มีแรงที่จะหยิบจับสิ่งของได้ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นกับมือเพียงข้างเดียวหรือว่าทั้ง 2 ข้างก็ได้  โดยอาการเหล่านี้อาจจะเกิดมาจากภาวะเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงมือ หรือว่าเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน และการรับความรู้สึกของมือและนิ้วมือ อาการชาที่ปลายนิ้วมือเกิดมาจากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุของอาการชาปลายนิ้วมือ             อาการชาปลายนิ้วมือเกิดมาจากเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณมือ หรือว่าเส้นประสาทที่ทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณจากสมองเพื่อไปควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของบริเวณมือและนิ้วมือได้ถูกกดทับไว้ ทำให้ได้รับการกระทบกระเทือน จนทำเกิดความเสียหาย หรืออาจจะเป็นเหตุมาจากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคและภาวะต่าง ๆ อย่างเช่น โรคที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือ คือเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณมือถูกกดทับหรือว่าเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดอาการชาโดยเฉพาะตรงบริเวณนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เกิดจากภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบริเวณต้นคออักเสบหรือทำให้ถูกกดทับ จนส่งผลทำให้เกิดอาการชาคล้ายกันกับโรคการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือ การกดทับเส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve Entrapment) เกิดจากการกดทับตรงบริเวณเส้นประสาทอัลนาร์ที่ทำหน้าที่คอยหล่อเลี้ยงและควบคุมการทำงานของนิ้วนางและนิ้วก้อย จึงทำให้เกิดอาการชาที่บริเวณปลายนิ้ว โรคเรย์นอด (Raynaud’s Disease) คืออาการป่วยที่หลอดเลือดแดงเล็กที่อยู่ในนิ้วเกิดการหดตัวอย่างฉับพลัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณปลายนิ้วได้  จึงทำให้เกิดอาการชาและอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนของโลหิตด้วย โรคเบาหวาน  คือภาวะอาการเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) ของคนป่วยโรคเบาหวาน อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เส้นประสาทตรงบริเวณมือและเท้า ซึ่งจะนำไปสู่อาการชาที่ปลายนิ้ว, บริเวณนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าได้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) […]