โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากสมองเสื่อมสภาพที่นอกเหนือจากโรคอัลไซเมอร์ และยังมีโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมองที่ส่งผลกับร่างกายทำให้มีอาการสั่นเกร็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งมีผลต่อการเคลื่อนไหว นั่นก็คือ โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์สมองในส่วนของบริเวณก้านสมองส่วนกลาง ถูกทำลายไปทีละน้อย จนทำให้เกิดความเสียหาย โรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ และจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยที่ครอบครัวผู้สูงอายุควรจะต้องมีความรู้ และทำความเข้าใจกับโรคนี้ เพราะว่าโรคนี้ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด อาการของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันโดยทั่วไปแล้วโรคนี้จะแสดงอาการออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันออกไป ต้องขึ้นอยู่กับสาตุหลาย ๆ อย่าง แต่ที่อาการเป็นเหมือนกัน ก็คือ โรคพาร์กินสันนี้จะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป จะไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเหมือนโรคทางสมองชนิดอื่น ๆ และอาการนี้จะเป็นมากขึ้นไปด้วยถ้าหากว่าปล่อยไว้นานเกินไป โดยอาการที่จะแสดงออกมีอาการดังต่อไปนี้ อาการสั่นเกร็ง จะมีอาการที่นิ้วมือ, แขน และขา ถ้าหากไม่ได้เคลื่อนไหวจะเกิดอาการสั่น และจะไม่สามารถควบคุมอาการได้ เมื่อเริ่มทำกิจกรรมอาการสั่นก็จะลดลง หรืออาจจะหายไป และอาจจะปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย เคลื่อนไหวช้า ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะใช้เวลานานในการเคลื่อนไหว หรือช้ากว่าคนปกติทั่วไป ทำให้ลำบากในการชีวิตประจำวัน และอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา การแสดงสีหน้าเหมือนใส่หน้ากาก คนป่วยจะมีสีหน้าที่เฉยเมยเวลาพูดคุยมุมปากก็จะยกขึ้นเพียงเล็กน้อยทำเหมือนคนไม่มีอารมณ์ร่วมด้วย ท่าเดินผิดปกติ คนป่วยจะก้าวเดินได้เพียงก้าวสั้น ๆ ในช่วงระยะแรก และจะค่อย ๆ ก้าวยาวขึ้น […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
คนเราเมื่อรู้สึกวิตกกังวล ร่างกายของเราก็จะตกอยู่ในสภาวะที่มีความตึงเครียดขึ้นมาทันที ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ เช่น อัตราของการเต้นหัวใจจะเพิ่มขึ้น การหายใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และเลือดจะไปหล่อเลี้ยงที่กล้ามเนื้อมากขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว เป็นต้น การตอบสนองเช่นนี้เกิดจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติซิมพาเทติก เป็นการตอบสนองทางร่างกายที่ จะสู้หรือจะหนี เพื่อต้องการให้ร่างกายเอาชนะหรือมีชีวิตรอดต่อสภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ได้ ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดผ่านพ้นไป อาการตอบสนองเหล่านี้ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของความเครียดกับร่างกาย คนเราเมื่อเผชิญกับความเครียด ความวิตกกังวล รวมไปถึงอารมณ์ในด้านลบ ก็มักจะแสดงออกมาในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือ กอดอก, ห่อไหล่, ทำหลังค่อม และในบางรายอาจมีการกัดฟันร่วมด้วย โดยท่าทางเหล่านี้อาจจะเป็นที่สัญชาตญาณของร่างกายที่ปกป้องตัวเองให้ปลอดภัย โดยลักษณะของร่างกายที่ปรากฏนั้น ถ้าเป็นนาน ๆ อาจจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ, หลัง และรอบ ๆ ข้อไหล่ เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลกัน อีกทั้งการกอดอกและทำไหล่ห่อจะต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณที่หน้าอกและกล้ามเนื้อบ่า และการที่อยู่ในท่าทางเหล่านั้นเป็นเวลานานจะทำให้หลังค่อมและคอยื่น การที่คอยื่นส่งผลทำให้กล้ามเนื้อด้านข้างลำคอที่เกาะในแนวของกกหูไปยังไหปลาร้าเกิดการหดตัวเกร็งค้าง และกล้ามเนื้อคอจะมัดลึกตรงบริเวณท้ายทอยก็หดตัวเกร็งค้างเช่นกัน เพื่อดึงศีรษะของเราขึ้นมาไม่ให้ตกลง และเพื่อปรับระดับของสายตาให้อยู่ในแนวระนาบทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนนั่นเอง นี่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เกิดขึ้นเมื่อคนเราตกอยู่ในภาวะความเครียด สาเหตุการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งเป็นเวลานาน ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ถ้าหากพิจารณาตามลักษณะและโครงสร้างของกล้ามเนื้อ จะพบว่าบริเวณรอบ ๆ และในกล้ามเนื้อก็จะมีเส้นเลือดวางตัวอยู่ […]
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย อาการที่จะแสดงออกมาก็มีตั้งแต่ส่วนบนเริ่มจากใบหน้า ไปจนถึงขา อาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการดังต่อไปนี้ บริเวณหนังตาตก, จะมองไม่ชัด และจะมองเห็นเกิดเป็นภาพซ้อน กลืนลำบาก, สำลักบ่อย, ลิ้นอ่อนแรง, หายใจได้ไม่สะดวก, พูดไม่ค่อยชัด และออกเสียงไม่ได้ บริเวณแขน ขาจะไม่มีแรง, ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้, เดินสะดุด และเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ กล้ามเนื้อบางในส่วนเกิดการกระตุกหรืออาจจะเป็นตะคริวบ่อย โดยเฉพาะตรงบริเวณมือ และเท้า ในกรณีบางรายโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้หายใจตื้น หายใจไม่สะดวก นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ, ไม่เครียด และไม่หดหู่ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นการช่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ดำเนินไปได้สะดวกขึ้น และเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าได้ อย่างเช่น การแปรงสีฟันด้วยไฟฟ้า การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรจะเน้นอาหารเป็นชนิดอ่อน ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย ทำการฝึกฝนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างราบรื่น อาทิเช่น การฝึกเดิน, ฝึกพูด และฝึกการกลืนอาหาร คอยสังเกตอาการของตัวเองจากอาการเริ่มแรกที่เป็น ว่ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับอาการที่ผ่านมาและต้องศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ว่าอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน หรือว่าอยู่ในระดับใด […]
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยโรคนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จนตัวเราไม่อาจจะรู้ตัว และอาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากเซลล์ประสาทที่เสื่อมสภาพลงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไปด้วย ซึ่งเซลล์ประสาทของส่วนนี้จะคอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคนี้เกิดมาจากหลาย ๆ สาเหตุจนก่อให้เกิดโรคร่วมกัน อาทิเช่น ทางพันธุกรรม ทางสิ่งแวดล้อม โดยคนป่วยอาจจะมีประวัติสัมผัสกับโลหะ หรือว่าสารเคมีบางชนิดที่สามารถทำให้ส่วนประสาทนำคำสั่งทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ อันตรายของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตัวอันตรายเงียบ ๆ คือตัวคนป่วยยังคงทำกิจวัตรประจำวัน หรือใช้ชีวิตต่าง ๆ ได้เป็นปกติในช่วงระยะแรก ๆ ของวัน แต่หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งถ้าหากคนป่วยได้หยุดผักการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณนั้นไปชั่วขณะ ก็จะสามารถช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานได้ตามปกติเช่นเดียวกัน แต่จะดีกว่าถ้าหากว่าคนป่วยไม่ปล่อยให้อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ชนิดเรื้อรัง เพราะความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น […]
ข้อเข่า เป็นอวัยวะหลักที่เราใช้ในการเคลื่อนไหวในทุก ๆ วัน อย่างเช่น การเดิน, วิ่ง, การลุก-นั่ง, การก้าวขึ้น-ลง หรือทุกการขยับตัวของเรานั่นเอง โดยกระดูกตรงบริเวณข้อเข่า จะมีกระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มไว้ เรียกว่า “กระดูกอ่อนข้อต่อ หรือ กระดูกอ่อนในข้อ” จะ มีลักษณะลื่น ๆ มีสีขาวใส คอยทำหน้าที่ลดการเสียดสีของกระดูกในขณะที่ทำการเคลื่อนไหว แข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักและรับแรงกระแทกได้สูง แต่ถ้าหากกระดูกอ่อนเกิดการเสื่อม ก็จะทำให้รู้สึกเจ็บทุกครั้งที่งอเข่า หรือว่าเจ็บหัวเข่าเวลาลุก หรือนั่งนั่นเอง เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกในข้อเสื่อม? เมื่อกระดูกอ่อนในข้อเกิดการเสื่อมสภาพ ตรงบริเวณผิวนอกที่เรียบ ก็จะเริ่มแตกเป็นเส้นใยฝอย ๆ เล็ก ๆ เป็นการแตกที่เรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าหากเราปล่อยไว้ไม่รีบดูแล อาจจะแตกเป็นร่องลึก ผิวข้อก็จะเริ่มขรุขระและลึกลงไปจนถึงชั้นกระดูก และจะยิ่งทำให้บางลงเรื่อย ๆ ไปจนหมด เหลือไว้แต่กระดูกแข็ง จะส่งผลทำให้รู้สึกเจ็บขณะที่เคลื่อนไหวหรือว่าเจ็บหัวเข่าเวลาที่ลุกหรือนั่ง เนื่องจากบริเวณข้อเข่าเหลือแต่กระดูกแข็ง ไม่มีกระดูกอ่อนคอยรองรับน้ำหนักหรือรับการกระแทก กระดูกจึงเกิดการเสียดสีกัน ส่งผลทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ อาการข้อเข่าเสื่อมมี 2 ระยะดังนี้ อาการจะเริ่มปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้น – ลงบันได […]
เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ โดยที่เราไม่ทันได้ระวังตัว และเมื่อเกิดการบาดเจ็บเกิดขึ้น ก็จำเป็นจะต้องใช้เวลาในการรักษาที่ค่อนข้างจะนาน อาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆหลาย ๆ อย่างในชีวิตไป โดยเฉพาะคนที่เป็นนักกีฬา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อ บาดเจ็บจะส่งผลทำให้เอ็นอักเสบได้ เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้ สาเหตุที่เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเพราะว่ากล้ามเนื้อการบาดเจ็บสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทบที่ภายนอกอย่างรุ่นแรง และทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งการบาดเจ็บจากแรงที่กระทบจากภายนอก อย่างเช่น แรงปะทะกันขณะเล่นกีฬาประเภทนักฟุตบอลที่คู่ต่อสู้ยกเท้ามายันที่ต้นขาอย่างรุ่นแรง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกิดการฟกช้ำ เวลาที่ถูกกระแทกฟกช้ำจะส่งผลทำให้หลอดเลือดฝอยต่าง ๆ เกิดการฉีกขาด และมีเลือดออกมาที่บริเวณชั้นกล้ามเนื้อ หรือว่าเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ จนทำให้มีเลือดออกมากขึ้น จึงทำให้เกิดการบวมขึ้นภายใน 48 – 72 ชั่วโมงแรก หรือในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเองนั้น เป็นเพราะว่าการหดตัวอย่างรุนแรงในทันที จนอาจจะทำให้เกิดหลอดเลือดฝอยที่บริเวณใยกล้ามเนื้อทำให้มีการฉีกขาด สาเหตุก็อาจจะมาจากการใช้งานมากเกินไปอย่างเช่น การเล่นเวทที่เรียกน้ำหนักมากจนเกินกำลังที่เราจะยกได้ หรือว่าอาจจะเล่นนานมากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นเกิดการอักเสบได้ และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ ก่อนการออกกำลังกายทุกครั้งขาดการเตรียมร่างกายให้พร้อม การออกกำลังกายหนักเกินไป อย่างเช่น การออกกำลังกายด้วยการยกเวท โดยการเรียกน้ำหนักมากจนเกินไป การออกกำลังกาย […]
โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่ทำงานก็สามารถที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เหมือนกัน โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในวัยกลางคนและกับผู้สูงอายุ ซึ่งถ้ามีอาการเริ่มแรกแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้บริเวณข้อเข่าเจ็บปวด เข่าผิดรูป เดินไม่ได้เป็นปกติจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งตรงนี้อาจจะทำให้หลายคนแปลกใจว่าโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่อายุน้อยด้วยหรือ เพราะตามปกติแล้วเรามักจะได้ยินว่ากลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ส่วนมากอายุเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปีขึ้นไป เพราะว่ากระดูกอ่อนผิวข้อจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับบริเวณเข่าโดยตรง เหมือนกันกับยางรถยนต์ที่ตั้งศูนย์ไม่ดีข้างที่รับน้ำหนักมากเกินไปจึงเสื่อม หรือไม่ก็มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาประเภทวิ่งและฟุตบอลเพราะว่าต้องใช้ขาเยอะ และทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่าบ่อย ๆ มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นจึงส่งผลให้เข่าคลอนแคลนและทำให้เสื่อมเร็วขึ้น แต่ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปรวมถึงพฤติกรรมการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่เยอะ ซึ่งทำให้กระดูกตายส่งผลทำให้อุบัติการณ์ข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยและยังมีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้การวิ่งมาราธอนกำลังเป็นที่นิยมของใครหลาย ๆ คน จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้มากที่สุด และคาดว่าในอนาคตจะสูงขึ้นกว่าปกติถึง 3 เท่าเลยที่เดียว เมื่อ โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวของทุกคนอีกต่อไป ดูจากสถิติภาพรวมของคนไทยหลาย ๆ คนพบว่า มีคนป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบสูงถึง 3.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แบ่งตามความชุกของโรคและตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้ อายุ 60 ปี อยู่ที่ 37.4% อายุ 45 ปี อยู่ที่19.2% และอายุ 25 ปี อยู่ที่ […]
เส้นเอ็นอักเสบ คือการอักเสบของเส้นเอ็น ที่ทำให้คนป่วยรู้สึกตึงและปวดตรงบริเวณเส้นเอ็นอย่างต่อเนื่อง อาการจะมีตั้งแต่การเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ และลามไปจนถึงขั้นรุนแรง อาการปวดมักจะเกิดขึ้นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าเพราะว่าอากาศเย็น และจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อตรงบริเวณกล้ามเนื้ออุ่นตัวขึ้น สาเหตุที่กล้ามเนื้อตรงเส้นเอ็นเกิดการอักเสบอย่างเรื้อรัง เกิดมาจากการที่เราทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ เพราะว่าแรงกระแทกบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ หรือว่าเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงอายุที่มากขึ้นด้วย ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้กับทุกเส้นเอ็น แต่ที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุด ก็คือบริเวณไหล่, ข้อเท้า, ข้อศอก และเท้า แต่ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ดังนี้ สาเหตุของเส้นเอ็นอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบอาจจะเกิดขึ้นตอนที่เราได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน หรือเกิดจากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน ๆ โดยส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุข้อหลังมากกว่า โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพ หรือทำงานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ หรือกิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบริเวณเดิมบ่อย ๆ อย่างเช่น เทนนิส กอล์ฟ ว่ายน้ำ เตะฟุตบอลเป็นต้น จึงควรที่จะมีเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อเอ็นมากจนเกินไป คนที่อยู่ในสภาวะต่อไปนี้อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเอ็นอักเสบได้มากกว่าคนปกติ คนที่มีอายุมากจะมีโอกาสเกิดภาวะเส้นเอ็นอักเสบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ […]
โรคข้อเสื่อม เป็นโรคข้อเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย และมักจะพบได้กับคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่บุบริเวณปลายกระดูกข้อ จึงเป็นต้นเหตุให้ผิวของกระดูกอ่อนเปลี่ยนสภาพจากผิวเรียบมันกลายเป็นผิวที่ขรุขระ ส่งผลทำให้ข้อเกิดการติดขัดเวลาที่เคลื่อนไหวของร่างกายทำให้เกิดความเจ็บปวด อีกทั้งยังมีความผิดปกติที่หลากหลายที่สามารถพบได้จากพยาธิสภาพ และจากการฉายภาพเอกซเรย์ เริ่มต้นจากการสึกกร่อนของกระดูกข้อต่อ ทำให้ช่องว่างที่บริเวณข้อต่อเริ่มแคบลง ทำให้ขนาดของกระดูกข้อต่อใหญ่ขึ้น หรืออาจจะมีกระดูกงอกออกมา ร่วมกับมีการยืด หรือหย่อนยานของเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อจนส่งผลทำให้ระยะสุดท้ายเกิดการผิดรูปของข้อต่อและเกิดการคดงอ หรือ ข้อโก่งได้ สาเหตุของโรคข้อเสื่อม โดยทั่วไปภายในข้อจะประกอบไปด้วยเยื่อบุข้อ, น้ำไขข้อ และกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อมีหน้าที่เป็นเหมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และเป็นการป้องกันไม่ให้กระดูกที่อยู่ภายใต้ของกระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกของอีกฝั่ง ถ้าหากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามน้ำหนักหรือว่าแรงกดที่ข้อ ก็จะส่งผลทำให้กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดการสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณรอบ ๆ ข้อถูกยืดเป็นเหตุทำให้เกิดอาการปวดตามมา ในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบว่าการที่ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายเกิดมาจากสาเหตุใด และบุคคลที่มีความเสี่ยงได้แก่ คนที่มีน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งมักจะพบว่าคนอ้วนกับโรคข้อเสื่อมมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ซึ่งอาการของโรคข้อเสื่อมจะดีขึ้นเมื่อน้ำหนักลดลง ความหนาแน่นของกระดูก จะพบว่าในผู้หญิงที่มีข้อเสื่อม มักจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้หญิง ที่ไม่มีข้อเสื่อม อาจจะเกิดจากกระดูกใต้กระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่เกิดการแข็งตัวมากทำให้ไม่สามารถดูดซับแรงกระแทกของกระดูกอ่อนได้ดี จึงทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย เกิดความผิดปกติของข้อบางชนิด ซึ่งจะส่งผลทำให้ผิวของข้อไม่เรียบ หรือมีข้อต่อเคลื่อนไปจากที่เดิม จึงทำให้เกิดความเสื่อมได้ เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผิวข้อได้โดยตรง ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ หรือไม่เข้าที่ การประกอบอาชีพ จะพบว่าในอาชีพที่ต้องงอเข่าบ่อย ๆ หรือว่านักกีฬาบางประเภทอย่าง […]
ก่อนอื่นก็ต้องขอยอมรับก่อนว่าในยุคนี้อาการปวดตรงบริเวณข้อมือนั้นมีอุบัติการณ์ที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แพทย์พบว่าคนป่วยมีอาการเจ็บที่บริเวณข้อมือที่แผนกผู้ป่วยนอกแทบจะทุกวัน โดยอาการนี้เป็นได้ตั้งแต่เด็ก, ผู้ใหญ่ ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้ง ๆ ที่อาการเหล่านี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่กลับพบได้มากคล้ายกับจะเป็นโรคติดต่อเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อถามถึงสาเหตุก็พบว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน และพบว่าโทรศัพท์ของคนป่วยบางรายมีขนาดที่ใหญ่กว่ามือ จึงทำให้ต้องเกร็งและการใช้งานบริเวณข้อมืออย่างผิดปกติส่งผลทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด การที่ข้อมืออักเสบเกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นบริเวณภายใน โดยส่วนมากแล้วจะพบกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โรคข้อมืออักเสบที่พบได้มากที่สุด โดยเฉพาะคนที่ใช้มือทำงานบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ คือ กลุ่มคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และหญิงตั้งครรภ์ เอ็นเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยในการขยับข้อมือและนิ้วมือ โดยข้อมือถูกใช้งานอย่างหนักและต่อเนื่องกันในแต่ละวันนั้น จะทำให้อุณหภูมิของเอ็นข้อมือเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้เอ็นข้อมือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้โดยง่าย จึงไม่แปลกอะไรที่ในทุกวันนี้ มีคนป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อคตั้งแต่อายุยังน้อย และจะเห็นได้ว่าการเกิดข้อมืออักเสบนั้นไม่จำเป็นต้องยกของหนักหรือว่าได้เกิดประสบอุบัติเหตุเลย เนื่องจากการใช้งานซ้ำไปซ้ำมาเป็นประจำก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้ และถ้าหากยังปล่อยเอาไว้นานเพียงเพราะว่าอาการเจ็บปวดที่เล็กน้อยก็อาจจะทำให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเรื้อรังกลายเป็นโรคที่ทำให้เราต้องเจ็บปวดและทรมานได้ในอนาคต ดังนั้นการที่ข้อมืออักเสบ เกิดมาจากการที่ข้อมือของเราไปกระแทกกับวัตถุหรือสิ่งของที่แข็ง แม้กระทั้งการใช้งานบริเวณข้อมือบ่อยมากจนเกินไปก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ส่วนใหญ่และจะพบในกลุ่มคนที่ใช้งานบริเวณข้อมือในการทำงานต่าง ๆ อย่างหนัก […]