fbpx

Author Archives: admin

เก๊าท์ กับกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

กิจกรรมใดบ้างที่คนเป็นเก๊าท์ควรหลีกเลี่ยง

          แม้ว่าผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าอาการโรคเก๊าท์กำเริบนั้นจะเกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ แต่ผู้ป่วยสามารถป้องกันอาการกำเริบนั้นได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ และปรับการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม           การปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะไม่เพียงป้องกันอาการกำเริบเท่านั้น แต่ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างเช่นโรคไตและโรคหัวใจตามมา พฤติกรรมดังต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะต้องหลีกเลี่ยง   การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่่วยโรคเก๊าท์ควรจะกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งอาหารที่มีพิวรีนสูง ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง อย่างเช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก เครื่องในสัตว์ และสัตว์ทะเลที่มีเปลือก นอกจากนั้น ควรจำกัดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเบียร์ เพราะเบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น จะไปเพิ่มระดับกรดยูริคในร่างกาย ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถจะบริโภคได้ จะเป็นอาหารที่มีวิตามินซีสูง และอาหารพวก เชอร์รี่ กาแฟ สามารุลดความเสียงต่อการกำเริบของโรคเก๊าท์ได้ นอกจากนั้น การควบคุมน้ำหนัก ก็เป็นสิ่งสำคัญ และการดื่มน้ำสะอาดในปรีิมาณมาก ก็จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและช่วยชะล้างยูริคออกจากร่างกาย ป้องกันไม่ให้ปริมาณยูริคมาเกิน จนเกิดการสะสมเป็นผลึกไปเกาะติดตามข้อต่อร่างกายจนเจ็บปวด ทุกข์ทรมาณ พยายามอย่าให้เกิดความเครียด เพราะความเครียด ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคเก๊าท์กำเริบได้ ยิ่งหากผู้ป่วยรายได้ มีอาการโรคเก๊าท์กำเริบบ่อย […]

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเก๊าท์

           เก๊าท์เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้ข้ออักเสบ อาการข้ออักเสบที่เกิดจากโรคเก๊าท์นี้ เกิดจากการมีก้อนผลึกไปจับตัวอยู่ที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย ทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ และเจ็บปวด โรคเก๊าท์นี้ผู้ชายส่วนใหญ่จะเป็นเมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน และโดยมากผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะเป็นมากกว่าผู้หญิง            โรคเก๊าท์นี้เมื่อกำเริบขึ้น ผู้ป่วยจะปวดมาก แต่ก็มีวิธีทั้งการบรรเทาอาการ และป้องกันไม่ให้อาการกำเริบขึ้น            ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเกีาท์ จนกระทั่งมีอาการกฎขึ้นที่ข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ข้อนิ้วหัวแม่เท้า เข่า ศอก นิ้วมือ ดังนี้   อาการจะเกิดขึ้นตามข้อต่อมากกว่าจุดเดียว ผู้ป่วยจะรู้ปวดร้อน และตึงบริเวณข้อต่อมาก มีอาการบวมรอบ ๆ ข้อต่อ สังเกตเห็นได้ว่าผิวหนังตึง และแดงในจุดที่เป็น อาการของโรคจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จากปวดแค่ไม่กี่ชั่วโมง ไปเป็น 3วันถึง 10 วันได้ […]

โรคเก๊าท์เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือไม่

โรคเก๊าท์เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือไม่

          โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับข้ออักเสบอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยโรคจะมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงเกิดขึ้น เมื่อโรคกำเริบ เมื่อก่อนเคยมีการเรียกโรคนี้ว่า the disease of kings หรือโรคของคนกินดีอยู่ดีมากจนเกินไป กินมากไป ดื่มมากไป แต่ปัจจุบัน พบว่า มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย โดยเฉพาะพันธุกรรม           มีการสำรวจพบว่า กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ มีเรื่องของพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่การถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นไม่ได้ชัดเจนขนาดที่ว่า ถ้าพ่อแม่ป่วย ลูกหลานก็จะป่วยได้ด้วย แต่การถ่ายทอดจะเป็นไปในลักษณะที่มีการเว้นช่วงในบางรุ่น หรือบางคนได้           โรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเพราะกรดยูริคในร่างกายมีปริมาณมากเกินไป เมื่อระดับกรดยูริคสูงเกินมาตรฐาน ก็จะมีการจับตัวกันเป็นก้อนผลึกที่แข็งและคม ก้อนผลึกนี้จะไปอยู่ตามข้อต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ความแข็งและคมเหมือนเข็มนี้ ทำให้เกิดการอักเสบและสร้างความเจ็บปวด ซึ่งผู้ป่วยจะรู้ว่า นี่คืออาการของโรคเก๊าท์กำเริบ บริเวณข้อต่อที่เกิดการอักเสบ จะตึง บวม […]

โรคเก๊าท์เกิดขึ้นได้อย่างไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานกับอาการปวดข้อ เพราะเมื่อร่างกายของเรามีปริมาณกรดยูริคมากเกินไป กรดเหล่านั้นก็จะไปจับตัวกันเป็นผลึกตามข้อต่อของร่างกาย ทั้งข้อต่อเล็กอย่างข้อนิ้วเท้า นิ้วมือ และข้อต่อส่วนอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ ผู้ป่วยจะเจ็บปวด อาการแบบนี้เรียกว่า โรคเก๊าท์กำเริบ ทำให้ต้องรับการรักษา ทั้งด้วยการใช้ยา การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตประจำวันบางอย่างเมื่ออาการของโรคกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมตามข้อ ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะมากกว่าหนึ่งจุด ส่วนมากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีอาการที่ข้อต่อนิ้วโป้งเท้า และที่อื่น ๆ อีก ได้แก่ เข่า ข้อเท้า เท้่า มือ เอว และข้อศอก โรคเก๊าท์กำเริบสามารถเกิดกับใครได้บ้าง          แน่นอนว่า โรคเก๊าท์นี้ สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ในผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เร็วกว่าผู้หญิง โดยมักจะเกิดกับผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน และผู้ชายก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงมากถึง 3 เท่า เพราะผู้ชายจะมีระดับกรดยูริคในร่างกายสูง แต่ผู้หญิงนั้นระดับกรดยูริคจะสูงขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน         นอกจากนี้ […]

เมื่อรักษาโรคเก๊าท์หายแล้วต้องกินยาต่อเนื่องหรือไม่

เมื่อรักษาโรคเก๊าท์หายแล้วต้องกินยาต่อเนื่องหรือไม่

          โรคเก๊าท์ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้สามารถควบคุมโรคได้ ด้วยการปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตและการเลือกรับประทานอาหาร ส่วนจะต้องรับประทานยาต่อเนื่องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง           โรคเก๊าท์สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในขณะที่การรักษาด้วยยา ก็เป็นทางเลือกในการลดระดับกรดยูริกในร่างกาย อีกทั้งการรักษาด้วยการรับประทานยาในระยะยาวก็เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบบ่อย หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆโรคเก๊าท์ เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับกรดยูริคสูงมากเกินไป หากระดับกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกต กรดยูริคนั้นจะกลายเป็นผลึก แล้วไปจับตัวอยู่ที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดการอักเสบ และมีอาการปวด หากปล่อยไว้นานเป็นปีข้อต่อจะเกิดความเสียหาย           อาการของโรคเก๊าท์ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย ดังนั้น การรักษาด้วยยาเพื่อลดระดับกรดยูริคในร่างกายลง จึงอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ตามสถานการณ์ของคนไข้แต่ละรายว่าจะเริ่มให้ยาเมื่อไหร่ และต้องใช้ยาต่อเนื่องไปนานแค่ไหน เพราะยาอาจจะมีผลข้างเคียง หากมีการใช้ต่อเนื่องยาวนานหลายปี เมื่อต้องใช้ยาในการรักษาอาการผู้ป่วยโรคเก๊าท์           โดยทั่วไปแล้ว […]

รับประทานสัตว์ปีกเยอะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือไม่?

รับประทานสัตว์ปีกเยอะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือไม่

        เรามักจะได้รับข้อมูลอยู่บ่อย ๆ ว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ปีก เช่นเนื้อไก่มาก ๆ จะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร มาติดตามกันจากบทความนี้         เนื้อไก่ เป็นอาหารที่มีไขมันน้อย และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ หรือผู้ที่มีระดับกรดยูริคในร่างกายสูงเกินไป คนกลุ่มนี้จะต้องระมัดระวังในการเลือกอาหารมารับประทาน ต้องทราบว่าอาหารชนิดใดรับประทานได้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน เมื่อจะรับประทานจะต้องเตรียมอย่างไร และแน่นอนว่า เนื้อไก่ ก็เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องระมัดระวัง         หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคเก๊าท์ การรับประทานเนื้อไก่ ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง เพราะเนื้อไก่เป็นอาหารที่มีประมาณของพิวรีนสูง พิวรีนนี้เป็นสารที่พบในเซลของร่างกายเรา และยังพบในอาหารอีกหลายชนิด โดยเฉพาะในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่เติบโตเร็วอย่าง ไก่ ปลา และสัตว์ตัวเล็ก รวมทั้งพืชที่กำลังเติบโต แม้ว่าสารพิวรีน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคนทั่วๆไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์แล้ว พิวรีนทำให้โรคกำเริบ มีการวิจัยพบว่า การที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์บริโภคพิวรีนมากเกินไป จะไปเพิ่มระดับของกรดยูริคในร่างกาย เมื่อกรดยูริคสูงจะเกิดการจับตัวกันเป็นผลึกเกาะติดตามข้อต่อของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของข้อต่อเล็ก อย่างนิ้วมือ นิ้วเท้า เมื่อเกิดการจับตัวเช่นนั้น […]

ทำอย่างไรไม่ให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ

ทำอย่างไรไม่ให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ

          ปัจจุบันนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทุกข์ทรมาณกับความเจ็บปวดด้วยโรคเก๊าท์ แต่ในสมัยก่อนนั้น เคยมีผู้เรียกโรคเก๊าท์ว่าเป็น disease of king เป็นการเปรียบเปรยว่า เป็นโรคของกลุ่มคนที่กินดีอยู่ดีมากเกินไป ทุกวันนี้ คนเรากินดีอยู่ดีกันมากขึ้น โรคเก๊าท์ก็มากขึ้นตามไปด้วย          อาการของโรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเมื่อกรดยูริค ซึ่งเป็นสารเคมีในร่างกายของเรา มีปริมาณมากเกินไป และไปจับตัวกันบริเวณข้อต่อของร่างกาย เมื่อมากเกินไป ก็เกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดตามข้อ บางครั้งก็มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคล้าย ๆ กับไข้หวัด           ในปี 2012 ARC หรือ American College of Rueumatology ได้กล่าวถึงแนวทางในการป้องกันและดูแลโรคเก๊าท์ว่า ผู้ที่มีความเสี่ยง ควรทราบถึงกุญแจสำคัญในการควบคุมโรคคือ ต้องรักษาระดับกรดยูริคไว้ไม่ให้เกิน 6.0 mg/dL ยิ่งผู้ป่วยรายใด มีอาการของโรคกำเริบขึ้นบ่อย […]

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเก๊าท์

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเก๊าท์

      โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดทุกข์ทรมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโรคแสดงอาการออกมา แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่า เมื่ออาการของโรคสงบ แปลว่าโรคนั้นได้หายไปแล้ว ตรงกันข้าม โรคยังคงอยู่ แต่ไม่แสดงอาการเท่านั้น ผู้ป่วยโรคนี้ จึงต้องดูแลสุขภาพ เพื่อควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ ทั้งการรับประทานยา การดำเนินชีวิต และการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยได้มีการศึกษาพบว่า การปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะการรับเลือกประทานอาหาร สามารถช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ดีขึ้น       การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์โรคเก๊าท์เกิดจากมีระดับของกรดยูริคในเลือกมากเกินไป ยูริกที่มากเกินไปนี้จะไปจะไปก่อตัวที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย แล้วทำให้เกิดอาการอักเสบ ดังนั้น การลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริค จึงเป็นสิ่งสำคัญ อาหารที่มีปริมาณกรดยูริคสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลอย่างเช่นปลา ปู หอย  เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเหล้า เบียร์ อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่นน้ำอัดลม        อาหารที่มีกรดยูริคสูงเหล่านี้ ไม่ถึงกับห้ามรับประทาน แต่จะเป็นการดีหากสามารถจำกัดปริมาณได้ อีกทั้งอาหารบางอย่าง ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้ป่วยบางคนรับประทานเข้าไป ทำให้อาการกำเริบ […]

กินอย่างไรให้กระดูกแข็งแรง

กินอาหารอย่างไรให้กระดูกแข็งแรง

  ถ้าจะให้พูดถึงสิ่งที่สำคัญของร่างกาย คงจะหนีไม่พ้นการมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งกระดูกเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่มีการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ นั่ง นอน หรือ เดิน ทุกสิ่งอย่างล้วนแล้วแต่มีผลต่อกระดูกทั้งสิ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด มีสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งเร้าและมีผลต่อมวลกระดูกเช่นเดียวกัน สิ่งๆ นั้นก็คือ อาหาร ที่เรารับประทานในแต่ละวันนั่นเอง เพราะฉะนั้น ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง อาหารที่ช่วยให้บำรุงให้กระดูกแข็งแรง จะมีอาหารอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาลองติดตามกันได้ในบทความนี้เลย การพัฒนาของมวลกระดูกในแต่ละช่วงวัย ว่าด้วยเรื่องของมวลกระดูกในแต่ละยุควัย ถือว่ามีความแตกต่างกันเยอะมาก ซึ่งเราจะเปรียบเทียบให้ดูว่า ในแต่ละวัยนั้น มีมวลกระดูกอย่างไร โดยร่างกายของเด็กทารก จะมีมวลกระดูกเบาหรือยังไม่มีการพัฒนา เนื่องจากยังไม่ได้รับสารอาหารที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงกระดูก และอาหารอย่างเช่น นม ถือเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยเด็ก จะเห็นได้ว่า เด็กเล็กๆ เริ่มเข้าสู่วัยซุกซน วิ่งเล่นออกกำลังกาย และเริ่มทานอาหารที่เป็นประโยชน์และให้สารอาหารที่มากกว่านม แต่อาจจะมีอาหารบางประเภทที่เด็กไม่ชอบทาน เช่น ผักและผลไม้บางชนิด เป็นต้น เมื่อร่างกายเริ่มเจริญเติบโตเข้าสู่วัยรุ่น เป็นวัยที่ถือว่าร่างกายมีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบเลยก็ว่า คนที่อยู่ในวัยนี้ เริ่มหันมาสนใจดูแลตัวเอง บางคนใช้เวลาว่างเพื่อออกกำลังกาย บำรุงร่างกาย เริ่มทานอาหารที่ดีๆ และสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงทั้งนั้น เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน สิ่งเร้าสิ่งอื่นเริ่มเข้ามามีบทบาท ทำให้คนวัยนี้มีการดูแลร่างกายที่น้อยลง […]

กระดูกสำคัญอย่างไร

กระดูกนี้สำคัญไฉน

กระดูกนี้สำคัญไฉน เรียนรู้เกี่ยวกับกระดูก ส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย         เชื่อหรือไม่ว่า อวัยวะที่แข็งแรงที่สุดของมนุษย์เรา คือ กระดูก เพราะกระดูกเป็นเสมือนเกราะที่คุ้มครองร่างกายภายใน ไม่ให้เกิดการกระทบกระเทือน ซึ่งถ้าหากส่วนของอวัยภายในที่เรียกได้ว่า ล้วนแล้วแต่มีส่วนสำคัญต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เกิดการกระทบกระเทือนแม้แต่น้อย ส่วนอื่นๆ ก็จะมีปัญหาตามมาด้วย ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า กระดูกที่มีเนื้อห่อหุ้มอยู่นั้น สำคัญต่อเรายังไง? และทำไมเราต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกระดูก เรามาลองศึกษาพร้อมกันได้ในบทความนี้ แล้วคุณจะรู้ว่า ทำไมกระดูกจึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์! กระดูก คืออะไร? ความสำคัญของกระดูกในคนแต่ละวัย         หลายคนอาจจะมองไม่เห็นความสำคัญของกระดูก ซึ่งอาจจะไม่อยากรู้ว่า กระดูกคืออะไร จริงๆ แล้ว กระดูกคืออวัยวะสำคัญส่วนหนึ่ง ที่พยุงให้ร่างกายทำอิริยาบถได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การนั่ง นอน ยืน เดิน หรือ วิ่ง กิจกรรมเหล่านี้ ร่างกายมนุษย์ที่มากระดูกและเนื้อหนังห่อหุ้ม ต้องมีความแข็งแรง ถึงจะพยุงตัวเองอยู่ได้ ลองสังเกตการใช้ชีวิตของเด็กทารก และเด็กที่เริ่มเข้าสู่วัยเรียน จะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาการของร่างกาย ส่วนหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ กระดูก ที่มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการรับประทานอาหารที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง อาทิเช่น […]