ด้วยสถานการณ์ในทุกวันนี้ คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome)” ที่หลาย ๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดีและพบได้บ่อยที่สุดในวัยทำงาน โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้หลาย ๆ คนต้องทำงานที่บ้านหรือเรียกว่า work from home เป็นการทำงานผ่านระบบออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์, tablet หรือว่ามือถือ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน อาจจะประสบกับปัญหาปวด เมื่อย คอ บ่า ไหล่ หลัง หรือเอว บางครั้งอาจจะมีอาการมึนศีรษะ สายตาพร่าเบลอจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หรือมีอาการ มือชา เกร็ง หรือนิ้วล็อก จากการจับเมาส์ หรือ chat ผ่านมือถือเป็นเวลานานๆ เป็นต้น กลุ่มอาการดังกล่าวที่เป็นนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพของจิตใจจนอาจจะทำให้มีผลกระทบต่องานที่ทำด้วย อาการ Office syndrome ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนท่า หรือท่านั่งที่ไม่เหมาะสม การใช้กล้ามเนื้อในแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กัน […]
Author Archives: admin
โรคเกาต์ เป็นโรคที่เกิดจากกรดยูริกที่สะสมอยู่ในเลือดเป็นจำนวนมากจนทำให้กรดยูริกเกิดการตกตะกอนกลายเป็นผลึกที่มีลักษณะรูปร่างเป็นเข็มอยู่ตามบริเวณข้อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน อย่างฉับพลัน ซึ่งระดับของกรดยูริกในเลือดสูงจะบ่งบอกถึงปัจจัยในการเสี่ยงของการเกิดโรคเกาต์, ความดันสูง, เส้นเลือดเสื่อมสภาพ, นิ่วในไต และไตวาย การที่เรารู้ระดับของกรดยูริกในเลือด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ต่อการวินิจฉัยโรคหลาย ๆ ชนิด โรคไตจากผลึกเกลือยูเรต คนป่วยโรคเกาต์ส่วนมากร้อยละ30 จะเป็นนิ่ว ส่งผลจากการที่มีระดับของกรดยูริกที่สูงมาก ๆ มาเป็นระยะเวลาที่นานจนสามารถก่อให้เกิดภาวะไตอักเสบเรื้อรัง (chronic interstitial nephritis) ซึ่งคนป่วยในระยะแรกจะไม่มีอาการ หรือว่าความสมารถในการที่จะควบคุมความเข้มข้นของปัสสาวะจะเสียไป ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยมากขึ้น จากการตรวจร่างกายก็จะไม่พบความผิดปกติใด ๆ แต่ถ้าการตรวจทางห้องปฏิบัติการก็จะพบว่ามีไข่ขาว หรือว่าโปรตีนในปัสสาวะในช่วงระยะแรก และอาจจะพบเม็ดเลือดขาวร่วมด้วย และหากเป็นระยะเวลานานจะค่อย ๆ เกิดภาวะไตวายตามมา ถึงแม้ว่าโรคไตจากผลึกเกลือยูเรตจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายได้ก็ตาม การศึกษาในอดีตพบว่าภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถทำให้เกิดภาวะไตวายจากผลึกเกลือยูเรต ยกเว้นแต่ในรายที่เป็นโรคเกาต์ และอาจจะมีโรคอื่นร่วมด้วย อย่างเช่น มีโรคเบาหวาน, โรคเส้นโลหิตแข็ง, ความดันโลหิตสูง หรือว่ามีระดับของกรดยูริกในเลือดมากกว่า 13 มก./ดล. เป็นต้น แต่จะอย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ว่าภาวะของกรดยูริกที่อยู่ในเลือดสูงเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อทางไตได้เปลี่ยนไป เนื่องจากว่ามีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่สามารถทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในไตที่ทำให้ความดันโลหิตสูง […]
โรคเกาต์ (gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับการตกผลึกของกรดยูริกในข้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ข้อทำให้เกิดการอักเสบอย่างฉับพลันของข้อหรือว่าเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ การเกิดของโรคเกาต์ที่มักจะพบต้องมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงสะสมมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากระดับของกรดยูริกยิ่งสูง โอกาสในการเป็นโรคเกาต์ก็จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้น และอาการจะเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงอยู่ประมาณ 2 เท่า แต่หลังหมดประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะมีความชุกของโรคเกาต์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย อาการของโรคเกาต์ เริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงและเกิดการสะสมมาเป็นเวลานานก่อน โดยจะเฉลี่ยมักไม่น้อยกว่า 10 ปี การอักเสบของข้อพบในครั้งแรกเป็นผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักจะพบหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงชนิดเฉียบพลัน จากระยะแรกเริ่มปวดจนถึงอักเสบแบบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง มักจะเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, หรือว่าข้อเข่า อาการจะเป็นในเวลากลางคืนหรือขณะที่หลับบ่อยครั้ง ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นอยู่ไม่นาน 2-3 วันก็หาย แต่บางรายอาจจะมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจจะมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อม ๆ กันโดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรค ซึ่งประวัติอาจจะได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนมากมักจะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน […]
โรคเกาต์ (gout) เกิดจากร่างกายมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงมาก และสะสมมาเป็นเวลานาน จนทำให้กรดยูริกนั้นตกตระกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจจะใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวด บวม แดงร้อนตรงบริเวณข้อ ถ้าหากกรดยูริกไปสะสมตามบริเวณผิวหนังก็จะทำให้มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนังได้ แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วในไต และทำให้ไตเสื่อมได้ในที่สุด กรดยูริก คืออะไร กรดยูริก เกิดมาจากร่างกายของเราสร้างขึ้นมาเอง จะอยู่ที่ประมาณ 80 % และอีก 20 % ที่เหลือเกิดมาจากการที่เราทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนสูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนนี้เราจะพบในสัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง โดยปกติแล้วร่างกายของเราสามารถขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะ แต่ในบางคนที่ร่างกายไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้หมด จึงทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, กระดูก, ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคเกาต์นั่นเอง อาการของโรคเกาต์ อาการของโรเกาต์ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการปวด แดง ร้อนอย่างฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมงแรกจะปวดมากที่สุด อาการจะไม่มีเตือนล่วงหน้า อยู่ดี ๆ ก็จะปวดขึ้นมาทันที โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วโป้งเท้า และตรงบริเวณข้อเท้า เข่า หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วอาการก็จะเริ่มดีขึ้น […]
โรคเกาต์ (gout) กับเกาต์เทียม (pseudogout) เป็นอีกชนิดหนึ่งของโรคข้ออักเสบ (inflammatory arthritis diseases) ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนมากจะพบได้บ่อยที่สุดกับผู้สูงอายุ ซึ่งมีสาเหตุจากผลึกเกลือ (crystal-induced arthritis) ที่ก่อให้เกิดอาการปวด, บวม, ร้อนแดง ที่ตรงบริเวณข้อของร่างกาย โดยเมื่อหากพิจารณาจากอาการปวดแล้วอาจจะไม่สามารถแยกชนิดของโรคได้เลย แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งสองโรคมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นหากวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้การรักษาไม่ถูกต้องตามไปด้วย ซึ่งโรคเกาต์ และเกาต์เทียม เป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูกและข้อ ส่งผลทำให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างยากลำบาก อีกทั้งในผู้สูงอายุบางท่าน เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว อาจจะปวดจนไม่สามารถเดินได้อีกด้วย ด้วยความห่วงใยเราจึงอยากจะเชิญชวนท่านผู้อ่านให้มาทำความรู้จักกับโรคเกาต์กับเกาต์เทียมว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และยังเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้โรคที่แสนทรมานนี้มาเกิดขึ้นกับตัวคุณ และคนที่คุณรักได้อีกด้วย โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร หลายคนอาจจะสับสนระหว่างโรคเกาต์กับเกาต์เทียม ว่าเป็นโรคเดียวกันหรือไม่ มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร มีวิธีสังเกตดังนี้ค่ะ โรคเกาต์กับเกาต์เทียม มีสาเหตุมาจากการเกิดที่แตกต่างกัน โดยโรคเกาต์จะเกิดมาจากการสะสมของยูริกจนกลายเป็นตะกอนตรงบริเวณข้อและตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ส่วนเกาต์เทียมจะเกิดมาจากการสะสมตะกอนของแคลเซียมไพโรฟอสเฟตดีไฮเดรท (calcium pyrophosphate dehydrate : CPPD) ตรงบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อใหญ่ ๆ อย่างเช่น หัวเข่า เป็นต้น อาการของโรค […]
โรคเกาต์บางครั้งหลาย ๆ คนก็คงคิดว่าเป็นโรคที่ตกยุคไปแล้วหรือไม่ก็ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมันสามารถที่จะกระจายตัวกันออกไปและยังทำให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างแสนสาหัส ถ้าหากว่าเรายังเพิกเฉยไม่รีบไปรับการรักษา สาเหตุโดยตรงของการเกิดโรคเกาต์ คือการที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง นอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์,โรคนิ่ว และโรคไตอักเสบแล้ว อาจจะส่งผลต่อคนป่วยที่มีปัญหาหูอื้อ, เสียงดังในหู และบ้านหมุนได้ โดยอาจจะทำให้เส้นเลือดหดตัว, เลือดไปเลี้ยงประสาทหู และอวัยวะที่ทรงตัวได้น้อย จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคนเรานั้นสามารถสร้างและจัดการกับกรดยูริกได้โดยใช้สารประกอบที่หลากหลายชนิด แม้แต่การควบคุมอาหารที่เราทานสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ได้ผลดีที่สุด หรือป้องกันไม่ให้โรคเกาต์นั้นไปสร้างความเจ็บปวดหรือทำให้เกิดขึ้นได้บ่อย การลดน้ำหนักหรือว่าการใช้ยารักษาก็เป็นทางเลือกเพิ่มเติมที่แพทย์มักจะแนะนำให้ทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร โรคเกาต์มีอาการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ ตรงบริเวณข้อเกิดการอักเสบ มักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการเริ่มแรกมักเป็นเพียงข้อเดียว โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนข้อนิ้วหัวแม่เท้า, บริเวณข้อเท้า หรือบริเวณข้อเข่า โดยจะแสดงอาการปวด, บวมแดง, ร้อน และจะเกิดอาการเจ็บเมื่อกดตรงข้อ รวมทั้งอาจจะมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายอาจจะพบก้อนโทฟัส ซึ่งจะเกิดมาจากการสะสมของผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่ออ่อน, ข้อต่อ, กระดูก และกระดูกอ่อน มักจะพบตรงบริเวณศอก, ตาตุ่ม, นิ้วมือ และนิ้วเท้า ส่วนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะตรวจพบประมาณร้อยละ 10-25 ของคนป่วยโรคเกาต์ และเราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเกาต์ได้ถ้าหากเราปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้ วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์ แนะนำให้งดทานอาหารดังต่อไปนี้ […]
เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์ กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมาก การที่จะแยกความอาการป่วยของทั้งสองโรคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ถึงความแตกต่างของอาการระหว่างโรคเกาต์ และโรครูมาตอยด์จะทำให้ช่วยรับมือได้ทัน และสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี โรคเกาต์ และโรครูมาตอยด์ปวดข้อเหมือนกัน แต่จะมีรูปแบบการปวดที่ต่างกัน โรคเกาต์ (Gout) โรคเกาต์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งของโรคข้ออักเสบเหมือนกัน จะพบได้ในประมาณร้อยละ 5 ของบรรดาโรคข้ออักเสบทั้งหมด ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนป่วยโรคเกาต์อยู่ที่ประมาณ 2.4 ล้านคน โดยเฉลี่ยทั่วโลกแล้วจะพบคนป่วยโรคเกาต์ 300 คนต่อประชากร 100,000 คน อาการของโรคเกาต์ เกิดจากร่างกายสะสมกรดยูริกที่มากเกินไป และไม่สามารถขับกรดยูริกส่วนเกินออกได้ จึงทำให้ตกผลึกตามบริเวณข้อ และอวัยวะต่าง ๆ มีอาการปวดตามส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อ, โคนนิ้วหัวแม่เท้า, นิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า จะเกิดอาการปวดที่ข้อ ๆ เดียวจะไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ จะมีอาการปวดข้างใดข้างหนึ่ง หรือมีปุ่มกระดูกปรากฏขึ้นตรงบริเวณข้อ สามารถทำให้ปวดได้ทุกช่วงเวลา ถ้าหากข้ออักเสบอย่างรุนแรงแล้วไปประคบร้อนอาจจะเกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการปวดจะเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ โรครูมาตอยด์ […]
อาการชามือ ชาปลายนิ้ว แม้ดูเหมือนเป็นอาการเล็กๆ น้อยๆ ที่ปล่อยไว้ไม่นานก็สามารถหายเองได้ แต่ในบางรายที่มีอาการชาบ่อยๆ ชาเฉพาะที่หรือชานานกว่าปกติไม่ควรปล่อยอาการทิ้งเอาไว้นาน เพราะอาการชาอาจลุกลามจนไม่สามารถใช้งานมือได้อย่างปกติ รวมทั้งอาการชายังเป็นหนึ่งในอาการสำคัญของหลายๆ โรคร้ายอีกด้วย อาการชาเกิดจากอะไร อาการชานั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการเผลอนอนทับแขนตัวเอง การนั่งท่าเดิมนานๆ โดยลักษณะอาการชาที่เกิดจากเรื่องใกล้ตัวอย่างนี้จะสามารถหายได้เองในเวลามานาน เพราะเกิดจากการขาดเลือดมาเลี้ยงแบบชั่วคราว แต่หากเป็นอาการชาเฉพาะจุดอาทิ การชาปลายนิ้ว ชาทั้งมือ ชาบางนิ้ว ถือเป็นอาการข้างเคียงของโรคร้ายหลายๆ โรค อาทิ โรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาท, โรคเกาต์, โรครูมาตอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้อาการชายังอาจเกิดขึ้นได้จากการขาดวิตามินบางชนิดด้วย ลักษณะอาการชาแบบไหนเสี่ยงโรค ชาเฉพาะที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และในบางรายอาจชานิ้วนางครึ่งซีกด้วย ลักษณะนี้จะเป็นอาการเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทมือที่ถูกบีบรัดหรือโรคที่เกี่ยวกับกระดูกทับเส้นประสาท ชาเฉพาะนิ้วก้อย อาการชาลักษณะนี้มักเกิดจากการเกร็งงอข้อศอกเป็นเวลานานๆ อาทิ การถือหูโทรศัพท์หรือการเล่นมือถือ ชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง แต่มีอาการปวดมือหรือปวดลามไปทั้งแขนร่วมด้วย อาการลักษณะนี้เป็นอาการเสี่ยงของโรคเส้นประสาทกดทับที่มือ ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการใช้งานมือในลักษณะเกร็งในท่าเดิมนานๆ อาทิ คนที่ใช้กรรไกรตัดต้นไม้ทั้งวัน หรือคนที่ต้องจับมีดหันของทั้งวัน ชาบริเวณปลายเท้าและปลายมือ ลักษณะอาการนี้มักจะเกิดจากปลายประสาทอักเสบหรือมีอาการเสื่อม รวมทั้งยังอาจมีสาเหตุจากภาวะขาดวิตามินบี 1, บี6 หรือบี 12 ชามือและนิ้วมือ […]
เป็นอีกหนึ่งโรคกระดูกและข้อที่พบได้บ่อย สำหรับ โรคเกาต์ ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจว่าปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเกาต์หรือทำให้โรคกำเริบหนักจะมีเพียงการรับประทานอาหารประเภทเป็ดไก่บ่อยๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคเกาต์มีอีกหลายปัจจัยกระตุ้นที่ทำอาการกำเริบเร็วว่าการรับประทานสัตว์ปีก โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวอย่างเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ปัจจัยที่ทำให้โรคเกาต์ทรุด โรคเกาต์เป็นคือโรคข้ออักเสบชนิดที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริก โดยกรดยูริกนี้เป็นกรดที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ โดยปกติร่างกายจะสร้างขึ้นเองประมาณ 80 % อีก 20% จะมาจากอาหารที่มีสารพิวรีนสูงที่เรารับประทานเข้าไป โดยสารพิวรีนจะพบได้มากใน สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, ยอดผัก, ผักบางชนิดและอาหารทะเลบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งตามปกติแล้วร่างกายจะขับกรดยูนิกออกทางปัสสาวะในปริมาณที่เหมาะสม แต่หากได้รับกรดยูริกมากเกินไปร่างกายก็จะขับกรดยูริกออกไม่หมดและสะสมอยู่ตามข้อ กระดูก ไตและผนังหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งใช้เวลานานเป็น 10 ปีกรดยูริกเหล่านี้จะตกผลึกทำให้เกิดอาการอักเสบและกลายเป็นโรคเกาต์ในที่สุด โดยอาหารและเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดอยู่ริกในร่างกายสูง ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดภาวะกรดยูริในเลือดสูงและกลายเป็นโรคเกาต์ โดยเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีผลต่อระดับยูริกต่างกัน เบียร์จะมีผลต่อระดับกรดยูริกมากที่สุด รองลงมาคือเหล้าและที่น้อยที่สุดคือไวน์ ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงโรคเกาต์อยู่แล้วจึงควรงดดื่มเหล้าเบียร์อย่างเด็ดขาด น้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง เครื่องดื่มเหล่านี้มีน้ำตาลฟรุคโตสสูง ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเกิดกรดยูริกในเลือดสูงเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังทำให้น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งก็มีอีกหนึ่งความเสี่ยงในหลายๆ โรคโดยเฉพาะโรคเกาต์ สัตว์ปีกและเครื่องใน อาทิ เป็ด, ไก่ และเครื่องในต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มีสารพิวรีนสูงและสารพิวรีนนี้เองที่เป็นสารตั้งต้นของกรดยูริก หากรับประทานเป็นประจำทุกวันก็จะทำกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ได้ จะเห็นได้ว่าตัวกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์เป็นแหล่งอาหารใกล้ตัวที่เรารักจะรับประทานกันเป็นประจำ ดังนั้นหากไม่อยากให้โรคเกาต์มาเยือนหรืออาการโรคเกาต์กำเริบควรงดของต้องห้ามดังกล่าว และควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม […]
ข้อเสื่อม เป็นภาวะความเสื่อมถอยของกระดูกอ่อนผิวข้อที่เกิดจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกข้อในทุกส่วนของร่างกาย แต่มักจะเป็นข้อที่รับน้ำหนักมากๆ อาทิ ข้อสะโพก, ข้อเข่า ซึ่งเมื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อถูกทำลายจากกาลเวลา การใช้งานหนัก การเกิดอุบัติเหตุ หรือจากภาวะอื่นๆ กระดูกอ่อนบริเวณข้อนี้จะคดงอผิดรูปไปจากเดิม จนทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมนั้นเอง ช่วงอายุที่มักจะเป็นโรคข้อเสื่อม อาการข้อเสื่อมสามารถพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า โดยจะเริ่มได้ตั้งแต่วัยหมดประจำเดือนหรืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปและเป็นมากที่สุดในช่วงอายุ 65 ปี อาการจะเกิดขึ้นได้ตามข้อต่างๆ ในร่างกายไม่ว่าจะเป็น ข้อเข่า, ข้อสะโพก, ข้อกระดูกสันหลัง, ข้อกระดูกคอ หรือแม้แต่ข้อนิ้วมือ ซึ่งสามารถปวดข้อหลายๆ ตำแหน่งพร้อมกันได้อีกด้วย แต่ในผู้สูงอายุบางรายอาจไม่พบอาการข้อเสื่อม เพราะโรคนี้สัมพันธ์โดยตรงกับฮอร์โมนในร่างกาย ความอ้วนและกิจกรรมในชีวิตประจำวันรวมทั้งการทำงานด้วย ดังนั้นผู้ใช้งานข้อหนัก ยกของหนัก หรือนั่งง้อเข่าตลอดเวลาเมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้มีอาการข้อเสื่อมได้ง่าย อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคข้อเสื่อม อาการของโรคข้อเสื่อมมีได้ 2 ระยะ โดยระยะแรกจะแสดงอาการปวดบริเวณข้อต่างๆ โดยเฉพาะเวลาเดินมากๆ หรือนั่งท่าเดิมนานๆ แต่เมื่อพักขาหรือยืดขาอาการอาจจะทุเลาลง นอกจากนี้ยังมีอาการเสียงดังกรอบแกรบจากภายในข้อให้ได้ยินอีกด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ปรึกษาแพทย์อาการจะลุกลามเป็นระยะรุนแรงที่จะปวดข้อหนักขึ้น ปวดในช่วงกลางคืนหรือเวลาเดินเพียงเล็กน้อย คล้ำบริเวณข้ออาจพบกระดูกงอกข้างๆ ข้อ รวมทั้งหากมีอาการอักเสบจะทำให้ข้อบวมและปวดร้อน เดินได้ลำบาก วิธีเลี่ยงอาการข้อเสื่อมก่อนวัย หลีกเลี่ยงการอิริยาบถที่มีผลต่อข้อเข่า อาทิ […]