เมื่อมีอาการปวดคอ ปวดหลัง และอีกหลาย ๆ อาการที่ปวดตามร่างกาย ไม่ว่าจากการก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน หรือการนั่งทำงานที่ต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน หรือว่ายกของหนัก อาจจะเป็นอาการปวดธรรมดาทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดที่บริเวณต้นคอ, ปวดหลัง และร้าวลงแขน, มือ, ขา หรือว่าเท้า ร่วมกับมีอาการชาและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง โรคหมอนรองกระดูทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุและมีความรุนแรงหลายระดับ รวมไปถึงการแสดงออกของอาการโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลังที่มีอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร หมอนรองกระดูก เป็นกระดูกอ่อนชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นเมือกใสคล้าย ๆ เจล จะมีความยืดหยุ่นสูงคั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น หมอนรองกระดูก จะทำหน้าที่สองอย่างก็คือ ทำหน้าที่รับน้ำหนักที่ผ่านกระดูกสันหลังลงมา ซึ่งถ้าหากหมอนรองกระดูกเกิดการกระทบกระเทือนจนทำให้ฉีกขาดจนทำให้ส่วนชั้นในที่เป็นเมือกใส ๆ มีการเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังเกิดขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีหลายคนที่อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ในขณะที่บางรายก็พอจะได้ยิน และทราบถึงอันตรายของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไปบ้างแล้ว และวันนี้เราจะมาย้ำให้ได้รับทราบกันอีกทีว่าโรคดังกล่าวเป็นโรคที่ใกล้ตัวของเรามากที่สุด เพราะคนในสังคมปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะคนทำงานที่นั่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายไปไหน สัญญาณเตือน “โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท” ที่คุณ ๆ สามารถสังเกตได้ในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ จะมีอาการปวดหลัง และปวดบริเวณเอว จะเป็น ๆ หาย […]
Author Archives: admin
พนักงานที่ทำงานประจำออฟฟิศก็จะมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ในบางคนก็อาจจะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม โดยที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม จนส่งผลทำให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราปฏิบัติเป็นประจำทุกวันอยู่นั้น ก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย อย่างเช่น การกดแป้นพิมพ์ และการคลิกเมาส์ต่อเนื่องกัน เป็นสาเหตุเสี่ยงให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และอย่างแรก สำหรับท่านที่ต้องพิมพ์งาน, คลิกเมาส์, เกร็งนิ้วมือ และเกร็งข้อมือตลอดทั้งวันโดยที่ไม่ได้พัก จนเริ่มเจ็บและเกิดอาการชาตามฝ่ามือ เหยียดนิ้วตรง ๆ แล้วมีอาการปวด นั่นถือว่าเป็นสัญญาณเตือนของอาการเริ่มต้นจากการที่เคยชินกำลังบอกให้คุณรู้ตัวว่า เส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่บริเวณนิ้วกำลังอักเสบ และมีโอกาสเกิดนิ้วล็อคได้ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมนั่นเอง การนั่งไขว่ห้าง, นั่งหลังค่อม และนั่งห่อไหล่ เพราะคิดว่าเป็นท่านั่งที่สบายอย่างการนั่งไขว่ห้าง, นั่งหลังค่อม จนไหล่ห่อโดยที่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานั่งจ้องจอคอมพิวเตอร์ที่มีความสูง-ต่ำไม่พอดีกับสายตาเป็นเวลานาน ๆ คีย์บอร์ดและเมาส์ ถูกจัดวางในตำแหน่งที่สูงกว่าสรีระของตัวเองจนต้องคอยเกร็งไหล่อยู่ตลอดเวลา การใช้งานในท่าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กันโดยที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ หรือพักให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย จึงทำให้บ่า, คอ และหลังเกิดการยึดเกร็ง จนทำให้เกิดอาการปวดและเกิดการอักเสบตามมา สำหรับพนักงานออฟฟิศที่เคยชินกับพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะเกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม […]
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศ เพราะว่าลักษณะของการทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่ที่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หรือว่าการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถซ้ำ ๆ กันและต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงส่งผลทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และเกิดอาการผิดปกติทางระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบของกระดูกและกล้ามเนื้อ, การย่อยอาหารและการดูดซึม, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบฮอร์โมน และนัยน์ตาแห้ง สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม ออฟฟิศซินโดรม มักจะเกิดมาจากการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมไปถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม อาทิ เช่น การนั่งขาไขว่ห้างเป็นประจำ, การนั่งหลังค่อม หรือการนั่งก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อยืดค้างในแบบเดิมบ่อย ๆ จนบริเวณกล้ามเนื้อมัดนั้น เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจจะขมวดกันเป็นก้อนจนทำให้ตึง และเกิดอาการปวดตามมา […]
สำหรับมนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังตกอยู่ในสภาวะ “โรคออฟฟิศซินโดรม” ที่มีอาการปวดบริเวณต้นคอ, บ่า, ไหล่, หลัง หรืออาจจะปวดร้าวศีรษะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เรานั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน หรือว่านั่งไม่ถูกวิธี ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยที่ไม่มีการผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนอิริยาบถ การจ้องคอมนาน ๆ อีกทั้งมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนการทำงานหนักจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดความเครียดร่วมด้วย ซึ่งถ้าหากไม่ทำการบำบัดรักษา หรือว่าป้องกันตั้งแต่ต้น ก็อาจจะส่งผลที่ร้ายแรงต่อสุขภาพได้ในภายหลัง โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน จึงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ และอาการปวดเมื่อยเช่น บ่า, ไหล่ และแขน โดยเฉพาะที่บริเวณข้อมือ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลมาก หรือส่งผลน้อย ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสะสมของโรค ในขณะที่บางรายนอกจากจะมีอาการเจ็บ หรือ ปวดแล้ว ก็ยังมีอาการอื่น ๆ […]
ในปัจจุบันนี้คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม ” เป็นที่รู้จักกันป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมสูงมาก และกลุ่มอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด คือเกิดขึ้นกับกลุ่มของคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือว่าทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรือว่าอยู่ในท่าทางการทำงานไม่เหมาะสมต่อเนื่องนาน ๆ ทั้งในขณะที่นั่ง, ยืน, เดิน และทำงาน อาทิ เช่น การนั่งหรือการยืนหลังค่อม, ยืนห่อไหล่, การยกไหล่ หรือว่าการก้มคอมากจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือชาตามบริเวณต่าง ๆ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ อย่างเช่น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง, เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท, ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท, กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ, เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ, นิ้วล็อก, ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ และหลังยึดติดในท่าแอ่น ออฟฟิศซินโดรมอันตรายหรือไม่ โรคออฟฟิศซินโดรม คือ อาการที่ไม่ได้เสี่ยงถึงชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญและลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อ หรือว่ากระดูกที่ส่วนอื่น ๆ ได้ เรียกได้ว่า ถ้าเป็นแล้วและยิ่งปล่อยไว้ จะทำให้ยิ่งทรมาน จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการใช้ชีวิต รวมไปถึงสภาพของจิตใจได้มากที่เดียว ควรรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างไร ในแนวทางของการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุดและเหมาะสมก็คือการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ สามารถเริ่มได้ที่ตัวของเราเอง โดยวิธีการที่ดีที่สามารถจะป้องกันอาการจาก “โรคออฟฟิศซินโดรม” […]
โรคกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อลายและยังเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40% ของน้ำหนักตัวเรา และมีถึง 696 มัด ซึ่งจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยพบว่าประชากรทั่วไปประมาณ 30% ขึ้นไปจะมีอาการปวดที่มีสาเหตุเกิดมาจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อลายมัด จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และฝ่อลีบ ถ้าหากมีความผิดปกติของผิวหนังร่วมด้วย ก็จะเรียกว่า “โรคผิวหนัง และกล้ามเนื้ออักเสบ” ปวด บวม แดง ร้อน หากมี 4 อาการนี้ อย่านวด หลายคนที่มีอาการปวดเมื่อยบางอย่างแน่นอน และมองข้ามว่าเป็นการปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อยเดี๋ยวก็หาย แต่ถ้าหากอาการที่เริ่มเปลี่ยน จากแค่ปวดเมื่อยธรรมดาก็อาจจะกลายเป็นกลุ่มอาการของโรคแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ มีหลาย ๆ คนที่ปวดเมื่อยก็ไปนวด มีบ้างคนนวดจะรู้สึกว่ามีก้อนแข็ง ๆ บริเวณบ่าบ้าง, สะบักบ้าง หรือที่บริเวณหลังส่วนล่าง ยิ่งเวลาที่คนนวดกดโดนจุดที่กำลังปวดเมื่อยจะรู้สึกดี แต่ก็มีหลายคนอาจจะมีอาการปวดมากขึ้นหลังนวด เช่น ปวด, บวม, แดง และร้อน การที่เรารักษาโดยการไปนวด อาจจะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะหากว่าคุณโชคดีเจอคนนวดเก่ง ๆ ก็ดีไป แต่ถ้าหากเกิดโชคร้ายอาการปวดที่เป็นอยู่อาจเพิ่มมากขึ้น คนที่ไปนวดแล้วดีขึ้นส่วนมากมักจะดีขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวเดี๋ยวก็ต้องไปนวดซ้ำไปซ้ำมา […]
ข้อไหล่ติด เป็นอาการที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงหุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบหรือเกิดความผิดปกติ จนทำให้มีอาการปวดไหล่และขยับข้อไหล่ไม่ได้เลย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาการปวดจะกลายเป็นเรื้อรังหลายปี ข้อไหล่ไม่สามารถที่จะฟื้นตัวและกลับมาใช้งานได้ตามปกติ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ฉะนั้นขอแนะนำให้ออกกำลังกายในท่าบริหารร่างกายที่สามารถทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้านเป็นท่าที่เน้นเฉพาะข้อไหล่ มีดังต่อไปนี้ การบริหารข้อไหล่ (กรณีข้อไหล่ติด) ท่าหมุนข้อไหล่ คือการยืนก้มหลังลงเล็กน้อย หรือว่านอนคว่ำอยู่บนเตียงแล้วก็ปล่อยแขนห้อยลงไปตรง ๆ ค่อย ๆ หมุนแขนเป็นวงกลม โดยหมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ หมุน 10 รอบแล้วก็พักและทำซ้ำ 10 รอบ ท่าเคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง ให้ยกแขนไปด้านหน้า ให้ข้อศอกเหยียดตรง และยกสูงจนเสมอกันกับหัวไหล่ แล้วค้างไว้นับ 1-10 และทำซ้ำ 10 รอบ ให้ยกแขนไปด้านหลัง ข้อศอกต้องเหยียดตรง ยกให้สูงมากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 รอบ ยกแขนไปด้านข้าง ข้อศอกต้องเหยียดตรง กางแขนให้ได้มากที่สุดจนเสมอกันกับไหล่ และค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบแขนลงแนบกับลำตัวและทำซ้ำอีก 10 รอบ หุบแขนแนบกับลำตัว งอข้อศอกตั้งฉากให้มือชี้ตรงไปด้านหน้า […]
กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือภาวะอักเสบที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และล้ามากหลังจากเดินหรือว่ายืนเป็นเวลานาน ๆ อาการเจ็บและบวมที่บริเวณกล้ามเนื้อ โดยอาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรัง แต่ทั้งนี้สาเหตุอาจจะเกิดมาจากการติดเชื้อ, เกิดจากการบาดเจ็บ, โรคภูมิคุ้มกันตัวเองบกพร่อง หรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงจากการที่ใช้ยาก็ได้ และในปัจจุบันนี้ก็มีหลายคนที่มีปัญหาในเรื่องของอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศ สาเหตุก็มาจากท่านั่งทำงาน ที่ส่งผลทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บที่ซ่อนอยู่บริเวณของกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อาการแรกเริ่มของโรคกล้ามเนื้ออักเสบจะเหมือนกับอาการของไข้หวัดใหญ่ คือจะมีไข้, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ท้องเสีย, อาเจียน, อ่อนเพลีย, เจ็บหน้าอก, หัวใจจะเต้นช้า และผู้ป่วยบางคนถึงกับหายใจลำบากจนหมดสติเลยก็ได้ หรือคนที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง ก็จะสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ว่า ถ้ามีอาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อ, ปวดร้าวลึก ๆ ที่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย, อาจจะปวดอยู่ตลอดเวลา หรือว่าปวดเฉพาะเวลาที่เอามือกดแล้วรู้สึกเจ็บ ความรุนแรงของอาการปวด จะเริ่มตั้งแต่ทำให้เรารำคาญไปจนถึงทำให้ทรมานจนเราไม่สามารถที่จะขยับบริเวณนั้นได้เลย ในบางรายอาจจะมีอาการมือชา, เท้าชา, ขาชาร่วมด้วย และในบางรายก็อาจจะมีอาการจนทำให้นอนหลับได้ยาก หรืออาจจะถึงขั้นนอนไม่หลับ และขั้นที่เลวร้ายที่สุดอาจจะลามไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกได้เลยทีเดียว ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจจะทำให้เสียชีวิตในฉับพลันได้ โรคแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบในบางรายก็อาจจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าไหร่ และมีผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันจากกล้ามเนื้ออักเสบที่เป็น รวมไปถึงภาวะไตวาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยได้รับน้ำไม่เพียงพอ ทั้งนี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดขึ้นหลายแห่งและชนิดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบร่วมกับผิวหนังอักเสบที่อาการรุนแรงอาจจะส่งผลต่อการหายใจและการกลืนอาหาร จนอาจจะต้องใช้การบำบัดในด้านการพูดและการใช้ภาษาหากอาการดังกล่าวจะทำให้มีผลต่อการสื่อสาร […]
กระดูกสันหลังของเราทุกคนจะมีเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างของกระดูกสันหลังทุกข้อตั้งแต่คอไปจนถึงเอว กระดูกสันหลังจะทำหน้าที่คอยรองรับแรงกระแทก และยืดหยุ่นเวลาเราเคลื่อนไหวในทิศทางต่าง ๆ ถ้าหากไม่มีหมอนรองกระดูกสันหลัง การที่จะก้ม, เงย หรือการเคลื่อนไหวหลังก็จะไม่สะดวก โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Lumbar Disc Herniation) คือโรคที่พบได้บ่อยกับคนที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะว่าเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นหนึ่งของข้อต่อของกระดูกสันหลังก็จะเริ่มเสื่อมไปตามอายุ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเสื่อมที่อายุประมาณ 25-30 ปี ซึ่งในบางคนเมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ก็จะมีเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกเกิดการฉีกแยกจนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาและอาจจะไปกดทับเส้นประสาทส่วนมากแล้วจะเริ่มมีอาการปวดหลังนำมาก่อนแล้วถึงจะตามมาด้วยอาการปวดหลังร้าวลงไปที่ขา และอาจจะมีอาการชา, อ่อนแรง หรือการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยอาการส่วนมากมักจะสัมพันธ์กันกับการทำกิจกรรมและการใช้งานของหลังเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน เกิดจากการใช้งานและการทำกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ อย่างเช่น การยกของหนักผิดท่าบ่อย ๆ, การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน คนที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป เกิดจากการประสบอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกสันหลังเกิดการบาดเจ็บ แนวทางในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน กรณีที่คนป่วยที่เป็นคนอายุน้อย ซึ่งมีการปลิ้นของหมอนรองกระดูกที่ไม่มาก ในทางการรักษาของแพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ยาลดอาการปวด ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบของเส้นประสาท และให้ทำกายภาพเพื่อที่จะให้หมอนรองกระดูกหดกลับเข้าไปได้ แต่ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นเกิดกับคนที่อายุมาก ๆ ก็จะมีความเสื่อมเกิดขึ้นค่อนข้างมาก การให้ทำกายภาพเพื่อที่จะดึงหมอนรองกระดูกให้หดกลับเข้าไป หรือให้ยาเพื่อลดอาการปวดอาจจะส่งผลในทางรักษาให้ดีขึ้นได้ค่อนข้างน้อย เมื่อคนป่วยมีอาการตามที่ได้กล่าวมาแพทย์จะซักประวัติ ถึงระดับความอาการปวด เมื่อทานยาแล้วอาการดีขึ้น หรือไม่ ถ้าอาการดีขึ้นแพทย์ก็ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด แต่ถ้าทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จนทำให้รู้สึกรำคาญกับอาการปวด หรืออาจจะปวดมากก็จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัด เพื่อนำหมอนรองกระดูกออก การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 คือ การผ่าตัดแบบแผลเปิด […]
อาการปวดหลังโดยปกติแล้ว ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น การยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป, นั่งทำงานนาน ๆ, ใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป, เอื้อมมือหรือว่าเอี้ยวตัวไปหยิบของผิดท่า, การออกกำลังกายอย่างหนัก และการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย และทำให้กล้ามเนื้อผิดรูปได้ ท่านั่งแบบนี้อาจจะทำให้คุณปวดหลังแบบเรื้อรังได้ การนั่งเบาะไม่เต็มก้น คือ การนั่งแค่ครึ่งเบาะหลังไม่พิงพนักเก้าอี้ ทำให้หลังค่อม รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังทำงานหนักมากขึ้น นั่นก็เพราะก้นของเรารับรองน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ การนั่งหลังค่อม คือ การนั่งหลังค่อมจะทำให้กระดูกสันหลังงอ ยิ่งถ้าเรายังนั่งอยู่ในท่าเดิมไปนาน ๆ โดนที่ไม่ขยับเลย ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกร็งค้าง ทำให้เกิดอาการคั่งของกรดแลคติก จนเกิดอาการเมื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา และทำให้กระดูกคดงอผิดรูปถาวรได้ การนั่งไขว่ห้าง คือการที่เราลงน้ำหนักไปที่ขาและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เลือดตรงบริเวณขาจะไหลเวียนได้ไม่ดี จึงทำให้เมื่อย และก่อเป็นกล้ามเนื้อผิดรูป อาจจะทำให้กระดูกสันหลังคดงอ และทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ รวมไปถึงหมอนรองกระดูกอาจจะเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ การนั่งขัดสมาธิ จะทำให้เราเป็นเหน็บชา ยิ่งคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือว่ามีปัญหาเรื่องกระดูกอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ การนั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก เสี่ยงต่อกระดูกสะโพก รวมถึงกระดูกสันหลังคดงอได้เพราะข้อขาทั้งสองข้างไม่สมดุลกันนั่นเอง การนั่งพิมพ์โน๊ตบุ๊คที่วางบนตัก คือแป้นพิมพ์ และหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำจนเกินไป จะทำให้เราก้มมองจอ จึงมีอาการปวดคอ และปวดหลังโดยที่เราไม่รู้ตัว การนั่งผิดท่ามีผลเสียดังนี้ การนั่งผิดท่า คือ การที่เรานั่งนาน ๆ จะทำให้เสี่ยงที่จะมีโรคตามมาหลายโรค เช่น โรคอ้วน, โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็งด้วย จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สำรวจพฤติกรรมของคนจำนวน 8,000 คน ชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้เวลากับการนั่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 12.3 ชั่วโมงต่อวันนั้น ในช่วงระยะเวลา 4 ปีต่อมา จะมีคน 340 คนที่ต้องเสียชีวิตจากปัญหาของสุขภาพต่าง ๆ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า การที่เรานั่งนาน ๆ […]