fbpx

Author Archives: drsutt

เป็นเกาต์สามารถทานสัตว์ปีกได้หรือไม่

เกาต์สามารถทานสัตว์ปีก

 ”กินสัตว์ปีกเยอะระวังจะเป็นเกาต์นะ”  ประโยคนี้ที่เราได้ยินกันจนชินจากคนรอบตัวเรา จนทำให้หลาย ๆ คนคิดมากทุกครั้งเวลาที่จะทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เพราะว่าอาการของโรคเกาต์น่ากลัวตั้งแต่อาการเริ่มปวดตามข้อต่าง ๆ บนร่างกายของเราและอาจจะไปจนถึงความพิการ หรือว่าอาจจะทำให้เกิดเป็นโรคไตวายแทรกซ้อนได้ โดยที่เราไม่ทราบว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้เกิดมาจาก “กรดยูริก” ที่มีสะสมในร่างกายที่มากเกินไปหรือไม่ การรับประทานสัตว์ปีกในปริมาณที่มากไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์  แต่เพราะโรคนี้เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายที่มีในปริมาณมาก และแน่นอนว่ากรดยูริกชนิดนี้ไม่ใช่กรดที่จะสามารถพบได้มากเฉพาะแต่สัตว์ปีกเพียงเท่านั้น เนื่องจากว่าโรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดมาจากการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นต้น ดังนั้นถ้าหากจะแก้ไขปัญหาก็จะต้องแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายเหตุอย่างเดียว เช่น การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนสูง ได้แก่ เห็ด,ไข่ปลา,ปลาดุก, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน, กุ้ง, ผักชะอม, ผักกระถิน, ผักสะเดา, กะปิ, น้ำต้มกระดูก และซุปก้อน  แต่เนื่องจากว่ากรดยูริกจะถูกผลิตมาจากร่างกายของเราเอง ประกอบกับการรับประทานอาหารที่เราทานด้วยในส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้มีผลมากมายเท่ากับกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าการที่เราทานสัตว์ปีกจะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์ แต่ถ้าสำหรับคนที่เป็นโรคเกาต์อยู่ก่อนแล้วการที่จะรับประทานสัตว์ หรือว่าอาหารจำพวกที่มีโปรตีน และกรดยูริกสูงก็อาจจะทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้  ทั้งนี้โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดมาจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสาร  พิวรีน ในร่างกายทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกมากกว่าปกติ จนตกผลึกอยู่ในรูปของเกลือยูเรต หรือเรียกว่า Urate crystals ทำให้เกิดการสะสมตามบริเวณข้อต่าง ๆ แล้วเมื่อเกิดการแตกตัวออกก็จะเข้าไปแทงตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวม และเป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุด ซึ่งจะพบมากในผู้ชาย 80-90% และจะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุระหว่าง […]

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากสาเหตุใด

เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ

               เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ  สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ โดยที่เราไม่ทันได้ระวังตัว และเมื่อเกิดการบาดเจ็บเกิดขึ้น ก็จำเป็นจะต้องใช้เวลาในการรักษาที่ค่อนข้างจะนาน อาจจะทำให้พลาดโอกาสดี ๆหลาย ๆ อย่างในชีวิตไป โดยเฉพาะคนที่เป็นนักกีฬา ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อ บาดเจ็บจะส่งผลทำให้เอ็นอักเสบได้   เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้             สาเหตุที่เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเพราะว่ากล้ามเนื้อการบาดเจ็บสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทบที่ภายนอกอย่างรุ่นแรง และทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ซึ่งการบาดเจ็บจากแรงที่กระทบจากภายนอก อย่างเช่น แรงปะทะกันขณะเล่นกีฬาประเภทนักฟุตบอลที่คู่ต่อสู้ยกเท้ามายันที่ต้นขาอย่างรุ่นแรง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกิดการฟกช้ำ เวลาที่ถูกกระแทกฟกช้ำจะส่งผลทำให้หลอดเลือดฝอยต่าง ๆ เกิดการฉีกขาด และมีเลือดออกมาที่บริเวณชั้นกล้ามเนื้อ หรือว่าเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ จนทำให้มีเลือดออกมากขึ้น จึงทำให้เกิดการบวมขึ้นภายใน 48 – 72 ชั่วโมงแรก หรือในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อเองนั้น เป็นเพราะว่าการหดตัวอย่างรุนแรงในทันที จนอาจจะทำให้เกิดหลอดเลือดฝอยที่บริเวณใยกล้ามเนื้อทำให้มีการฉีกขาด สาเหตุก็อาจจะมาจากการใช้งานมากเกินไปอย่างเช่น การเล่นเวทที่เรียกน้ำหนักมากจนเกินกำลังที่เราจะยกได้ หรือว่าอาจจะเล่นนานมากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นเกิดการอักเสบได้ และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจาก 3 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ ก่อนการออกกำลังกายทุกครั้งขาดการเตรียมร่างกายให้พร้อม  การออกกำลังกายหนักเกินไป อย่างเช่น การออกกำลังกายด้วยการยกเวท โดยการเรียกน้ำหนักมากจนเกินไป การออกกำลังกาย […]

ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่

ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่

            โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่ทำงานก็สามารถที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เหมือนกัน โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในวัยกลางคนและกับผู้สูงอายุ ซึ่งถ้ามีอาการเริ่มแรกแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้บริเวณข้อเข่าเจ็บปวด เข่าผิดรูป เดินไม่ได้เป็นปกติจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งตรงนี้อาจจะทำให้หลายคนแปลกใจว่าโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่อายุน้อยด้วยหรือ เพราะตามปกติแล้วเรามักจะได้ยินว่ากลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ส่วนมากอายุเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปีขึ้นไป เพราะว่ากระดูกอ่อนผิวข้อจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับบริเวณเข่าโดยตรง เหมือนกันกับยางรถยนต์ที่ตั้งศูนย์ไม่ดีข้างที่รับน้ำหนักมากเกินไปจึงเสื่อม หรือไม่ก็มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาประเภทวิ่งและฟุตบอลเพราะว่าต้องใช้ขาเยอะ และทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่าบ่อย ๆ มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นจึงส่งผลให้เข่าคลอนแคลนและทำให้เสื่อมเร็วขึ้น แต่ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปรวมถึงพฤติกรรมการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่เยอะ ซึ่งทำให้กระดูกตายส่งผลทำให้อุบัติการณ์ข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยและยังมีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้การวิ่งมาราธอนกำลังเป็นที่นิยมของใครหลาย ๆ คน จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้มากที่สุด และคาดว่าในอนาคตจะสูงขึ้นกว่าปกติถึง 3 เท่าเลยที่เดียว เมื่อ โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวของทุกคนอีกต่อไป ดูจากสถิติภาพรวมของคนไทยหลาย ๆ คนพบว่า มีคนป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบสูงถึง 3.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แบ่งตามความชุกของโรคและตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้ อายุ 60 ปี อยู่ที่ 37.4% อายุ 45 ปี อยู่ที่19.2% และอายุ 25 ปี อยู่ที่ […]

ทานยาโรคเกาต์ต่อเนื่องเป็นอันตรายหรือไม่

ทานยาโรคเกาต์ต่อเนื่องเป็นอันตรายหรือไม่

         โรคเกาต์ เป็นโรคที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมากและสะสมมานาน จนทำให้เกิดการตกตะกอนสะสมกลายเป็นผลึกเกลือยูเรตตามบริเวณเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อ และบริเวณรอบ ๆ ข้อ เมื่อมีสาเหตุบางอย่างมากระตุ้นจะทำให้ข้ออักเสบอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ อายุมากขึ้นและการทำงานของไตลดลง หรือเกิดจากการที่เราใช้ยาบางชนิดรวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสำหรับการรักษาโรคเกาต์ แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาอาการข้ออักเสบและช่วยลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำกว่า 5 – 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เช่น  การใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันและใช้ในการป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบซ้ำจากโรคเกาต์ ผลข้างเคียงของยาที่สำคัญก็คือ ทำให้การขับถ่ายเหลวหรือทำให้ท้องร่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดในคนป่วยที่สูงอายุ สำหรับคนป่วยที่การทำงานของไตเกิดบกพร่องควรจะต้องมีการปรับขนาดยา เพื่อเป็นการป้องกันผลข้างเคียงจากยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ใช้ในการรักษาสภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันโดยเฉพาะคนป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยาโคลชิซินหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แพทย์อาจจะพิจารณาให้เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือว่าฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือกับคนป่วยบางรายแพทย์อาจจะฉีดเข้าบริเวณข้อโดยตรงในกรณีที่มีข้ออักเสบฉับพลันจากเกาต์ที่เป็นข้อใหญ่ 1-2 ข้อ ผลข้างเคียงที่พบก็คือ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดก็เพิ่มขึ้นด้วย  ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถยับยั้งการอักเสบชนิดฉับพลันได้ดี ยากลุ่มนี้มีหลากหลายชนิดและสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จึงเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันจากโรคเกาต์ ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาก็คือ ทำให้ระคายเคืองหรือทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร คนป่วยบางรายอาจจะมีเลือดออกที่ทางเดินอาหารได้ และยาอาจจะทำให้เกิดไตวายอย่างเฉียบพลันในคนป่วยบางรายโดยเฉพาะคนป่วยสูงอายุ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดข้ออักเสบให้กำเริบซ้ำอีก ปุ่มและก้อนโทฟัสก็จะค่อย ๆ มีเล็กลง คนป่วยเกือบจะทุกรายที่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็จะไม่มีอาการปวดข้ออีก แต่คนป่วยโรคเกาต์อีกหลายคนที่เลือกซื้อยามาทานเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีอาการกำเริบอยู่บ่อย ๆ และโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามีมากที่สุด อย่างเช่น […]

ควบคุมอาหารอย่างไรไม่ให้เกาต์กำเริบ

  โรคเกาต์ คือโรคปวดตามข้อชนิดหนึ่ง สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเรากำลังเป็นโรคเกาต์หรือไม่ โดยให้ดูจากที่อยู่ดี ๆ ก็เกิดอาการปวด ร้อนที่บริเวณข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า หรือบริเวณข้อเข่าอย่างฉับพลันและเจ็บมากขึ้นจนไม่สามารถเดินได้ และจะปวดที่บริเวณข้ออื่น ๆ ตามมา อาจจะมีอาการไข้หนาวสั่นร่วมด้วย และมักจะเป็นช่วงเวลากลางคืน แต่อาการก็อาจจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ถ้าหากใครที่มีอาการตามนี้ก็คงไม่ต้องสงสัยเลยคุณเป็นโรคเกาต์แน่นอน  และในทุกวันนี้คนส่วนมากก็หันมาใส่ใจในเรื่องของการทานอาหารกันมากขึ้น เพราะว่าการทานอาหารไม่ดีก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างการทานอาหารอย่างไรไม่ให้โรคเกาต์กำเริบ และวันนี้เราได้นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เมื่อเป็นโรคเกาต์จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร คนที่เป็นโรคเกาต์เป็นเพราะว่ามีกรดยูริกเกิดการสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก  ฉะนั้นการที่จะระวังไม่ให้มีกรดยูริกเกิดการสะสมในร่างกายมากจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเราสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการเลือกทานอาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ หรือสารพิวรีนปานกลางก็จะทำให้ร่างกายได้รับกรดยูริกได้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดี หรือคนที่มีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ควรจะงดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงโดยเด็ดขาด เช่น กลุ่มที่มีสารพิวรีนสูง คนป่วยโรคเกาต์ในระยะที่โรคกำเริบควรจะงดอย่างเด็ดขาด เช่น เนื้อไก่ หัวใจไก่ ปลาอินทรีย์ มันสมองวัว ตับไก่ กึ่นไก่ ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน เซ่งจี๊หมู ตับหมู กุ้งชีแฮ้ หอย ไข่ปลา หัวใจ […]

ความอ้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกาต์หรือไม่

ความอ้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกาต์

  โรคเกาต์เป็น โรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในเพศชายที่อายุ 30 ปีขึ้นไป อาการที่แสดงส่วนใหญ่จะมีอาการปวด บวมตรงบริเวณเท้าโดยเฉพาะที่ตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนเพศหญิงก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคเกาต์ได้หลังมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 3 – 5 ปี การเกิดโรคเกาต์จะพบสูงเพิ่มมากขึ้นกับคนทั่วไป ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่ การที่ร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดเพิ่มขึ้นมักจะมีความสัมพันธ์กันกับโรคที่มีความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญพลังงานของร่างกายที่เรียกว่า และยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการทานอาหารโดยเฉพาะการทานอาหารที่มีแคลอรีสูงและจะพบในคนอ้วน การใช้ยาขับปัสสาวะที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน การที่เราทานผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่มีความหวานมาก ๆ เพราะจะมีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่มาก   ปัจจุบันการเกิดของโรคเกาต์เพิ่มมากขึ้นนั่นก็เพราะว่ามาจากความอ้วน และขึ้นอยู่การบริโภคของเรานั่นเอง ฉะนั้นเราจึงควรที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับปัจจัยในการเสี่ยงต่าง ๆ การทานอาหารที่มีกรดยูริกสูงจะทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ เช่น หน่อไม้ เครื่องในสัตว์  สัตว์ปีก ยอดผักต่าง ๆ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต คนป่วยที่โรคเกาต์ฉับพลันมักจะมีอาการปวดบวม แดงร้อน ตรงบริเวณที่เป็น อาการจะเป็นอย่างรวดเร็ว และอาการจะปวดเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า จะมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนป่วยเป็นอย่างมาก  เนื่องจากจะทำให้มีอาการปวดตามข้อ ยังทำให้การเคลื่อนไหวลำบากได้อีกด้วย นอกจากนี้ในระยะยาวโรคเกาต์ที่เป็นตามข้อต่าง ๆ ก็จะทำลายกระดูกอ่อนของผิวข้อจึงทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมตามมา โดยเฉพาะตรงบริเวณข้อนิ้วหัวแม่เท้า การเกิดของก้อนโทฟัสเกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกในเนื้อเยื่ออ่อน การตรวจค่าของกรดยูริกในกระแสเลือดก็จะเป็นสิ่งสำคัญในการวินิจฉัย […]

ปวดเกาต์ ซื้อยาเองได้หรือไม่?

ปวดเกาต์ ซื้อยาเองได้หรือไม่

    โรคเกาต์ (Gout) เป็นโรคข้ออักเสบที่มีอาการปวดเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นโรคเก่าแก่ที่สุดอีกโรคหนึ่งในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ และยังเป็นโรคข้ออักเสบที่เป็นปัญหาสำคัญในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งการเกิดของโรคเกาต์ที่สูงขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรฐานของอาหาร และสภาวะทางโภชนาการที่เกินความพอดีในยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น อย่างเช่น การทานอาหารที่มีจำพวกสารพิวรีนสูงมาก หรือว่าพืชผัก ผลไม้หรือแม้แต่น้ำผลไม้บางชนิด หรือ ว่าพวกแอลกอฮอล์ ก็จะมีส่วนไปกระตุ้นการสร้างกรดยูริกขึ้นในร่างกาย ซึ่งถ้าหากกินเข้าไปมาก ๆ ก็ทำให้มีกรดยูริกอยู่ในร่างกายสูงได้เช่นกัน และสิ่งที่น่ากลัวของโรคเกาต์ ก็คือ เกิดภาวะแทรกซ้อน คนป่วยโรคเกาต์ที่ไม่ทำการดูแลรักษาอย่างให้ถูกต้องในระยะแรกจะทำให้เข้าสู่ระยะข้ออักเสบชนิดเรื้อรังหลายข้อ มีการไปทำลายข้อทำให้เกิดความผิดรูปและพิการ นอกจากนี้ยังพบก้อนโทฟัสที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของผลึกเกลือยูเรต อาจจะทำให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และโรคไตวายเรื้อรัง ฉะนั้นการรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบชนิดเฉียบพลันต้องใช้ยาต้านการอักเสบจนกว่าข้ออักเสบจะหายสนิทแล้วถึงจะพิจารณาให้ทำการรักษาในระยะยาว คือ การลดหรือแก้ไขปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเกาต์และการใช้ยาช่วยลดกรดยูริกในเลือดของคนป่วยโรคเกาต์มักจะมีโรคร่วมด้วย เช่น มีภาวะอ้วนลงพุง, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน เพราะฉะนั้นคนป่วยโรคเกาต์จึงควรจะได้รับการตรวจหาโรคเพื่อที่จะได้แก้ไขและให้การรักษาไปพร้อม ๆ กันคนป่วยโรคเกาต์ควรจะมีความรู้ถึงการปฏิบัติตัวให้อย่างถูกต้อง และรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประเภทของอาหารที่จะช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการกำเริบของโรคเกาต์   ดังนั้นอาการของโรคเกาต์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดสามารถที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทุกเมื่อ เช่น เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะและท้ายที่สุด ก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง  ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาโรคเกาต์ในระยะข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน คือ การใช้ยาต้านการอักเสบ จนกว่าข้ออักเสบจะหายสนิทแล้วถึงจะพิจารณาการรักษาในระยะยาว เช่น การลดหรือแก้ไขปัจจัยที่เสี่ยงต่อโรคเกาต์และการจะใช้ยาช่วยลดกรดยูริกในเลือดของคนป่วย […]

ปวดแบบ “เกาต์” ปวดอย่างไร ?

ปวดแบบ "เกาต์" ปวดอย่างไร

โรคเกาต์เกิดมาจากร่างกายมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง ซึ่งเป็นผลมาจากในร่างกายมีการสะสมของกรดยูริกเป็นจำนวนมาก โดยจะเฉลี่ยแล้วกรดยูริกจะตกผลึก เมื่อมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดมากเกินกว่า 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร  กรดยูริกคือสารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในเลือดเกิดมาจากการย่อยสลายของสารพิวรีน ในเนื้อเยื่อที่มีอยู่ทั่วร่างกายและอาหารที่เรากินเข้าไป โดยที่ร่างกายจะทำการปรับสมดุลของกรดยูริกด้วยวิธีการกรองจากไตก่อนที่จะขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่เมื่อมีกรดยูริกในปริมาณมากขึ้นจากการสร้างของร่างกาย และการกินทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง หรือว่าไตเกิดความผิดปกติในการกรองสารพิวรีน ก็จะนำไปสู่ภาวะของกรดยูริกในเลือดสูงได้ง่าย  ทำให้ร่างกายมีกรดยูริกสะสมมากกว่าปกติมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ตะกอนไปตกอยู่บริเวณรอบ ๆ ของข้อ หรือว่าภายในข้อ หรือ เกิดความผิดปกติของกรดยูริกทำให้การขับสารพิวรีนออกจากร่างกายได้ช้า การวินิจฉัยโรคเกาต์แพทย์จะต้องซักถามประวัติของอาการโดยละเอียด การตรวจหาค่าระดับของกรดยูริกในเลือด ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ก็มักจะมีระดับของกรดยูริกอยู่ในกระแสเลือดสูงมากกว่าคนปกติ การตรวจสารน้ำในข้อเพื่อหาผลึกของกรดยูริก อาการปวดโรคเกาต์ คนป่วยโรคเกาต์จะมีอาการปวด, บวมแดง และร้อนตรงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันทันทีทันใด โดยมักจะเริ่มจากข้อตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการเกาต์สามารถเกิดขึ้นกับข้ออื่น ๆ ได้ อย่างเช่น บริเวณข้อเท้า, ข้อเข่า และข้อมือ ซึ่งอาการที่เป็นก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงระยะแรก โรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือดูแลได้อย่างถูกต้อง ยิ่งจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นทำให้คนป่วยมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไม่สะดวกจากที่ภาวะข้อติด ซึ่งนั่นหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าอาการของโรคมีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจจะนำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรังและสามารถสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้   […]

อันตรายของ “โรคเกาต์”

อันตรายของโรคเกาต์

         “โรคเกาต์” เป็น โรคที่เกิดจากการสะสมของกรดยูริกสูงในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผลึกเกลือยูเรตเกิดการตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของส่วนร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกเกลือยูเรตมีการตกตะกอนตามข้อ ก็จะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ ถ้าผลึกเกลือยูเรตไปตกตะกอนที่บริเวณผิวหนัง ก็จะทำให้เกิดกลุ่มก้อนหรือว่าเป็นปุ่มที่บริเวณใต้ผิวหนัง ที่แพทย์เรียกกันว่าก้อนโทฟัส และถ้าผลึกเกลือยูเรตไปตกตะกอนที่ไตก็จะทำให้เกิดเป็นนิ่วหรืออาจจะทำให้ไตวายได้ สาเหตุของโรคเกาต์ มีหลายสาเหตุ ดังนี้          สาเหตุเกิดมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าการขับออก กรดยูริกเป็นผลจากการสลายของสารพิวรีนที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นสารที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่ทางการแพทย์เรียกว่า กรดนิวคลีอิก โดยที่กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นมาจากกระบวนการนี้ โดยที่ร่างกายมีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการในการย่อยสลายของสารพิวรีนทำงานเกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นกรดยูริกที่สูงตามมา อาการของโรคเกาต์          อาการที่สำคัญของคนที่เป็นโรคเกาต์ คือ ข้อเกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม และแดงร้อนตรงบริเวณที่ข้อได้อย่างชัดเจน หรือในบางรายก็อาจจะมีไข้ และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย โดยประมาณร้อยละ 80 จะพบว่าเกิดข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันในครั้งแรกจากเกาต์มักจะเป็นข้ออักเสบข้อเดียว และข้อที่พบได้บ่อยคือ ตรงบิเวณข้อโคนนิ้วหัวแม่โป้งเท้า, ข้อเท้า […]

วิธีการ บรรเทาอาการเกาต์ด้วยตัวเองที่บ้าน

บรรเทาอาการเกาต์ด้วยตัวเองที่บ้าน

        อาการของโรคเกาต์กำเริบเป็นสาเหตุทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจนอาจจะทำให้เราตื่นขึ้นมากลางดึก โรคเกาต์เกิดมาจากการสะสมของผลึกยูเรตตรงบริเวณข้อต่อตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่บางครั้งอาจจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อบริเวณอื่น ๆ บนเท้าและมือก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสามารถที่จะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการเจ็บปวดและเกิดการอักเสบขึ้นได้ การรักษาโรคเกาต์ที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำ ซึ่งคนไข้สามารถส่งเสริมแนวทางการรักษากับแพทย์ได้ด้วยวิธีทำการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน เพื่อเป็นการจัดการกับอาการเจ็บปวด และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นการช่วยลดโอกาสที่โรคเกาต์จะกำเริบขึ้นมาใหม่อีกครั้งในอนาคต วิธีการบรรเทาอาการด้วยตัวเองที่บ้าน ให้ยกส่วนที่มีอาการบวมให้สูงขึ้น วิธีนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดี หากอาการเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเท้า ให้คนไข้เอนตัวลงนอนบนเตียง และให้ใช้หมอนหนุนเพื่อเป็นการพยุงเท้าขึ้นมา และถ้าหากเกิดการอักเสบมาก อาจจะส่งผลทำให้คนไข้เจ็บปวดมากจนไม่สามารถที่จะวางผ้าไว้บนเท้าได้ ให้บรรเทาอาการเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยการประคบเย็น วิธีนี้จะเป็นการช่วยลดอาการอักเสบและอาการเจ็บปวดได้ โดยการนำน้ำแข็งมาประคบไว้ 20 นาที แล้วปล่อยเอาไว้สักพักจะทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผิวหนังถูกความเย็นทำลาย สามารถทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปยาต้านการอักเสบ จะช่วยทำให้ลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ดี ยาต้านอักเสบที่แพทย์แนะนำให้ทาน ได้แก่ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (เช่น Advil, Motrin IB) และนาพรอกเซนโซเดียม (naproxen sodium) (เช่น Aleve) โดยจะต้องทานยาทันทีถ้าหากเกิดอาการกำเริบขึ้น และสามารถทานยาซ้ำได้อีกครั้งหลังจากที่ผ่านไป 2 วัน ยาต้านอักเสบเหล่านี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่มีแผลหรือว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือว่ามีความดันโลหิตสูง ไม่ควรที่จะทานยาแอสไพริน เพราะว่าจะทำให้ระดับของกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหากอาการของโรคเกาต์ไม่รุนแรงมากก็สามารถที่จะบรรเทาอาการได้ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น […]