เมื่อคุณรู้สึกปวดเมื่อยที่คอ, บ่า และไหล่ เวลาเป็นมาก ๆ ก็มักจะถูกทักว่า สงสัยจะเป็น “โรคออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งที่จริงแล้ว จะต้องมีอาการปวดขนาดไหน หรือว่ามีอาการที่สามารถบ่งบอกอย่างไรถึงจะแน่ใจได้ว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม เรามาดูกันว่าถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้ นี่ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรม เรามาสังเกตกันดูว่า คุณมีอาการเหมือนสัญญาณที่เตือนเหล่านี้หรือไม่ ปวดหัวเรื้อรัง หรือบางทีก็จะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดมาจากความเครียดในการทำงาน หรือว่าการที่เราใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน อย่างเช่น การจ้องอ่านเอกสาร การจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แสงที่บริเวณโต๊ะทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่วุ่นวายก็สามารถทำให้คุณเกิดความเครียดสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว ตึงที่บริเวณต้นคอ, บ่า และไหล่แบบเรื้อรัง สาเหตุของอาการนี้เราสังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าคุณเป็นคนที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง และอยู่กับเอกสารทั้งวัน แล้วเกิดอาการปวดตึงที่บริเวณต้นคอ, มีอาการปวดบ่าและปวดไหล่อยู่บ่อย ๆ หรือว่าบางทีก็ปวดจนหันคอลำบาก ก้มลงก็ปวด พอเงยขึ้นก็ร้องโอย นั่นแหละเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ปวดที่บริเวณด้านหลัง อาการปวดหลังนั้น คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลย เพราะว่าเป็นอาการอันดับต้น ๆ ของโรคออฟิศซินโดรมเลยก็ว่าได้ สาเหตุของโรคนี้เกิดมาจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือว่าเป็นงานที่จะต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงเป็นประจำทุกวัน อาการของการปวดหลังนั้นไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้แน่นอน ปวดแขน, […]
Author Archives: drsutt
ชีวิตของคน วัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่หน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ นอกจากจะใช้สายตาจ้องคอมและสมองในการคิดงานแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมเพิ่มอีกด้วย เพราะว่าวัยทำงานที่จะต้องพบเจอกับภาวะกดดันในหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งการนั่งทำงานเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลทำให้ร่างกายไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถมากนักหรือการนั่งท่าไม่ถูกลักษณะ อาทิ เช่น การนั่งหลังงอ ไม่ได้ยืดตัวเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย และล้าตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจนทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรังได้ โรคออฟฟิศซินโดรมมักจะเกิดกับพนักงานที่ใช้เวลาทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน หรือแม้แต่การ Work From Home อยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ แต่เพราะการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหลัง, ต้นคอ, สะโพก และบริเวณไหล่ได้ ซึ่งอาการเจ็บปวดเหล่านี้มีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายกายและใจ แถมยังมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอีกด้วย การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องใส่ใจ เพราะว่ามีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของตังพนักงานเอง รวมถึงความสำเร็จขององค์กรด้วยเช่นกัน สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม ถ้าหากคุณยังไม่แน่ใจว่าความไม่สบายกายและใจที่เกิดขึ้นในขณะที่นั่งทำงานอยู่เสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ ให้คุณลองพิจารณาจากอาการดังต่อไปนี้ ถ้าหากมีตรงกับคุณหลายข้อและเกิดขึ้นเป็นประจำ นั่นแสดงว่าโรคออฟฟิศซินโดรมอาจจะกำลังเกิดขึ้นกับคุณอยู่ก็ได้ ปวดที่บริเวณต้นคอ, บริเวณไหล่ และบริเวณด้านหลัง จะรู้สึกตึงและเมื่อยอยู่ตลอดเวลา มีอาการสายตาพร่ามัว เวลามองอะไรก็จะไม่ชัดเจน มีอาการเบลอไปหมด เกิดอาการชาที่บริเวณมือ และเท้าชา รู้สึกแปลบ ๆ […]
หลาย ๆ คนเข้าใจว่า โรคออฟฟิศซินโดรม จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะกับคนที่ทำงานออฟฟิศ แต่หลักความเป็นจริง แล้วสามารถพบได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ที่มีการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณเดิม ๆ ซ้ำ ๆ กันเป็นระยะเวลานาน และในยุคปัจจุบันนี้เราจะพบกลุ่มคนที่เป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ในเด็ก ๆ ที่มีการเรียนหนังสือผ่านออนไลน์กันได้มากขึ้น หรือแม้แต่กับผู้สูงอายุก็เช่นกัน ที่ยุคนี้มีการเล่นสมาร์ทโฟน ส่งไลน์สวัสดี และยังมีการแชร์ข่าวสารในเฟสบุ๊คด้วยเช่นกัน การรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุเกิดมาจากการที่เรานั่งทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง และระยะเวลาที่ยาวนานจนเกินไป การใช้งานอวัยวะต่าง ๆ มากจนเกินไป จนส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ตั้งแต่ อาการปวดหัว, ปวดต้นคอ, ปวดที่บริเวณเบ้าตา, ปวดบริเวณบ่า, ปวดที่บริเวณไหล่, ปวดที่บริเวณข้อศอก, ปวดตรงบริเวณข้อมือ, ปวดหลัง, ปวดสะโพก หรือแม้กระทั่งมีอาการมือชา เนื่องจากมีพังผืดที่บริเวณข้อมือ เกิดจากการใช้งานบ่อย ๆ […]
ออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดเกิดจากการใช้งานบริเวณของกล้ามเนื้อที่เดิม ๆ และซ้ำ ๆ กันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อย่างเช่น การที่เรานั่งทำงานอย่างต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่ได้ปรับเปลี่ยนกิริยาท่าทาง หรือว่าปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการนั่ง จึงส่งผลทำให้เกิดการปวดสะสมมาเป็นเวลานาจนกลายเป็นปวดแบบเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นนี้ จะพบร่วมกันกับอาการชาที่บริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งได้ถูกกดทับไว้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานทั้งนี้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรามีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงต่อเนื่องกันหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อของเราเริ่มมีการขมวดมัดกันจนเป็นปมขึ้น ก็จะทำให้ดึงรั้งกันไปมา ในตอนแรกอาการปวดตึงก็อาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แต่พอเมื่อนานวันเข้าก็จะกลายเป็นร้าวไปปวดที่อีกจุดหนึ่ง เพราะการถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็งนั่นเอง และกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็จะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ โดยที่ไม่สามารถจะระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย อาการของออฟฟิศซินโดรม เป็นเรื่องใกล้ตัว อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะปวดตรงบริเวณคอ, บ่า และสะบัก ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทโดยอัตโนมัติร่วมด้วย อย่างเช่น อาจจะวูบ, มีเหงื่อออก, ตาเพรา, หูอื้อ, มึนงง และมีอาการชา เป็นต้น การอักเสบของเส้นเอ็นที่บริเวณข้อศอก, ข้อมือ และบริเวณนิ้วมือ เช่น เกิดการอักเสบที่บริเวณของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง และทำให้นิ้วล็อคโดยปกติของคนที่ทำงานประจำในยุคนี้ ก็มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานได้ยาก เพราะจะต้องโฟกัสกับงานที่ทำอยู่ หรืออาจจะยุ่งจนลืมที่จะปรับเปลี่ยนกิริยาท่าทางและหยุดพักบ้าง เมื่อทำแบบนี้บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้อาการหนักมากขึ้น หรือว่าลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อและระบบประสาทในส่วนอื่น […]
มีหลายคนที่มีอาการปวดหลัง, ปวดคอ และอาการปวดตามร่างกายอีกหลายแห่ง อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ แล้วก็จะหายเองได้ภายในไม่กี่วัน แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวได้ไม่ดี, เดินได้ลำบาก และขาแข็งเกร็ง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาท ซึ่งถ้าหากมีอาการดังกล่าวแล้วยังปล่อยทิ้งเอาไว้นาน อาจจะทำให้การรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว หรือการทำกายภาพบำบัดจะไม่ได้ผลดีนัก และจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วยในการรักษาแทน อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทแล้วล่ะก็จะทรมานมากเลยทีเดียวเพราะจะไม่มีเพียงแค่อาการปวดหลังเท่านั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่จะเป็นปัญหาได้มากก็คือ อาการปวดหลังจะร้าวลงไปจนถึงขา อาจจะปวดเพียงข้างเดียว หรือว่าอาจจะปวดทั้งสองข้างก็ได้ จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อขาอ่อนแรงจนไม่สามารถทำให้เดินได้อย่างปกติ จะมีอาการชาของขาหนึ่งข้าง หรือทั้งสองข้างก็ได้ ทำให้การเดินลำบาก หรืออาจจะเดินได้ไม่ไกลเท่าไหร่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร สาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลัก ๆ ก็มาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูก และจากการใช้งานที่มีผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรงเป็นเวลานานซ้ำ ๆ กัน อย่างเช่น การก้มหลังยกของที่หนักเกินไป, การขับรถเป็นเวลานาน, การทำกิจกรรมที่จะต้องก้ม ๆ เงย ๆ หลังเป็นประจำ, ได้รับอุบัติเหตุที่ไปกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, การชอบก้มหลังพร้อมกับการบิดตัว หรือแม้แต่เสื่อมไปตามอายุ จนทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลัง และจะค่อย ๆ ดันตัวจนปลิ้นออกมาทำให้ไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ไม่ควรมองข้าม การก้ม ๆ […]
ข้อไหล่ เป็นข้อที่สำคัญของร่างกายไม่ต่างกับข้อเข่าเลย เพราะว่าเป็นข้อที่สามารถทำให้การเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง และคล่องตัวอย่างมาก มีการทำงานร่วมกันกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เราสามารถเคลื่อนไหว หรือใช้งานแขนของเราในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ หากข้อไหล่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่สามารถที่จะใช้งานได้ อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดและบ่อยมากขึ้น โดยอาการอาจจะเกิดเป็นครั้งคราวหรือเรื้อรัง ถ้าหากมีอาการปวดไหล่ในระหว่างกำลังเอื้อมมือไปหยิบของจากที่สูง, เอื้อมมือไปรูดซิบด้านหลังเสื้อก็ไม่ได้, เอื้อมมือไปล้วงกระเป๋ากางเกงที่ด้านหลังได้ลำบาก, ยกแขนเพื่อสวมเสื้อไม่ได้ หรือแม้แต่ยกแขนขึ้นเพื่อสระผมตัวเองก็ทำลำบาก นั่นเป็นสัญญาณอันตรายเสี่ยงภาวะไหล่ติด ปวดไหล่ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด, เส้นเอ็นฉีกขาด, กระดูกหัก หรือทำให้ข้อเคลื่อน การใช้ข้อไหล่ที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและบริเวณกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อข้อไหล่เกิดการฉีกขาด การเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติของกระดูก, กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะพบกับผู้สูงอายุมากที่สุดทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย การติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อวัณโรค โรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ อย่างเช่น โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์ เป็นต้น เส้นเอ็นอักเสบ และมีแคลเซียมมาเกาะ เมื่อทำการเอ็กซเรย์จะเห็นว่ามีหินปูนสีขาวเกาะอยู่บริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่ ถุงน้ำที่ข้อไหล่เกิดการอักเสบ อาการปวดไหล่เป็นผลมาจากอาการปวดร้าวจากบริเวณอื่น หรือเกิดการอักเสบที่บริเวณใกล้เคียง อย่างเช่น กระดูกคอเสื่อม, กล้ามเนื้อหลังอักเสบ, เส้นประสารทเบรเคียลเกิดการอักเสบ, ถุงน้ำดีอักเสบ, […]
บริเวณหัวไหล่ คือส่วนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย และใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การแต่งกาย, การทำความสะอาดร่างกาย, การทำงาน หรือการเล่นกีฬา ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นที่บริเวณหัวไหล่ จึงทำให้ส่งผลกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างยากลำบากมากขึ้น อาการปวดไหล่ จึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยคนที่มีอาการปวดไหล่อาจจะปวดเป็นเวลาครั้งคราว หรืออาจจะปวดชนิดเรื้อรังคือจะปวดตลอดเวลาก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดมาจากความผิดปกติของบริเวณข้อหัวไหล่เอง หรือความผิดปกติเกิดจากอวัยวะข้างเคียงก็ได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่บริเวณหัวไหล่ อย่างเช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, วัณโรคปอด, หรือว่ากระดูกที่บริเวณต้นคอเสื่อม เป็นต้น ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen shoulder) ภาวะชนิดนี้สามารถพบได้บ่อยที่สุดในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนมากผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย คนที่ใช้งานที่บริเวณหัวไหล่อย่างหนัก, คนที่เคยผ่าตัดหรือว่าได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณหัวไหล่เป็นต้น อาการก็จะเริ่มจากเจ็บที่บริเวณข้อไหล่เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ หรืออาจจะนานเป็นเดือน และจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวแขนและหัวไหล่ หลังจากนั้นอาการปวดก็จะเริ่มลดลง และสามารถเคลื่อนไหวหรือว่าขยับ ข้อไหล่ได้ดีขึ้น จนทำให้เราเข้าใจว่าอาการปวดหัวไหล่ดีขึ้นแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราสังเกตให้ดีก็จะพบว่าหลังจากอาการปวดดีขึ้นแล้ว การเคลื่อนไหวของแขนและหัวไหล่อาจจะทำได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม ฉะนั้นภาวะข้อไหล่ติดแข็ง จะพบอาการปวดที่บริเวณไหล่สัมพันธ์กันกับการมีผลึกหินปูนหรือว่าแคลเซียมสะสมอยู่ภายในบริเวณเอ็นต่าง ๆ ซึ่งอาการปวดก็อาจจะเป็นแบบฉับพลันและมีความรุนแรงมาก จนทำให้เราไม่สามรถยกไหล่ขึ้นได้ หรือในบางรายอาจจะปวดแบบเรื้อรัง ซึ่งเกิดมาจากการสะสมของผลึกหินปูนอยู่ภายในเส้นเอ็นด้วย โดยเฉพาะในเส้นเอ็นที่บริเวณหัวไหล่ที่เรียกว่า Supraspinatus […]
อาการปวดหลังจะพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย และทุกกลุ่มผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการที่รุนแรงจนมีผลกระทบกับการทำงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันด้วย อาการปวดหลังเกิดมาจากการอักเสบของบริเวณกล้ามเนื้อ อาจจะเกิดมาจากการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณนั้นมากจนเกินไป หรือว่าได้รับอุบติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็อาจจะหายเองได้หากงดเว้นการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณที่เกิดการอักเสบสักพัก หรือว่าใช้ยาทาภายนอกที่สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ แต่หากมีอาการปวดหลังที่พ่วงมาด้วยอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด มีอาการปวดที่บริเวณเดิม ๆ เป็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน มีอาการปวดมากจนทำให้รู้สึกถึงความผิดปกติ อาการไม่ดีขึ้นเลย มีอาการปวดแบบเจ็บแปลบ ๆ เหมือนมีเข็มมาจิ้มตรงบริเวณที่มีอาการ อาการปวดร้าวยาวลงไปถึงต้นขา หรืออาจจะมีอาการขาอ่อนแรง, ปวดที่บริเวณปลีน่อง จนทำให้ไม่สามารถที่จะเดินได้ตามปกติ หรืออาจจะเดินได้นิดหน่อยก็เกิดอาการปวด ปวดตรงบริเวณก้นกบ โดยที่ไม่มีสาเหตุหรือว่ามาจากอุบัติเหตุใด ๆ อาการปวดหลังที่เกิดมาจากอุบัติเหตุที่รุนแรง อย่างเช่น อุบัติเหตุจราจร หรือตกจากที่สูงลงมา เกิดอาการปวดปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะมีสีขุ่น หรืออาจจะมีไข้ร่วมกับอาการปวดที่หลังตรงบริเวณเอว (อาการแบบนี้อาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของนิ่วในไต หรือว่าไตอักเสบ) มีอาการปวดต้นขา หรือบริเวณเท้ามีอาการชาทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ อย่างเช่น ก้มตัว, ยืดตัวตรง, กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระเริ่มไม่ค่อยอยู่ ดังนั้นท่านใดที่มีอาการตามที่กล่าวมา หรือมีคนที่ใกล้ชิด หรือเวลาหยุดทานยาอาการปวดก็จะกลับมาปวดใหม่อีกไม่หายสักที คุณต้องรีบไปปรึกษาแพทย์และให้แพทย์ทำการตรวจโดยละเอียด เพื่อที่จะหาสาเหตุของอาการที่แท้จริง และจะได้แก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุจะเป็นการดีที่สุด เพราะว่าถึงคุณจะทานยาคลายกล้ามเนื้อ […]
ในยุคสมัยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของผู้คนไปแตกต่างจากสมัยก่อน มีความเร่งรีบมากขึ้น จึงทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความไม่ระมัดระวังอยู่เสมอ การเดินก็มีโอกาสทำให้หกล้มได้ง่าย การขับขี่ยานพาหนะก็เสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น เพราะด้วยความที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบคนเรามักจะขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็ว อีกทั้งกระแสของสังคมก็เริ่มให้ความสนใจในการออกกำลังกายใหม่ ๆ โอกาสที่จะทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บจึงมีมากขึ้น หมอจึงไม่แปลกใจว่าในวันหนึ่ง ๆ ทำไมจึงมีคนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของกระดูกและข้อ อย่างเช่น ข้อไหล่, ข้อสะโพกและข้อเข่า ไปพบหมออย่างน้อย ๆ 5 – 6 คนต่อวัน และยิ่งโดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า เพราะเป็นข้อที่เกิดการบาดเจ็บได้บ่อยมากที่สุดของร่างกาย อีกทั้งปัญหาข้อเข่าที่พบได้บ่อยมาก ๆ ก็คืออาการ เข่าบวมน้ำ เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้จัก เราจึงนำบทความเรื่องอาการเข่าบวมน้ำมาฝากเพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงอาการเข่าบวมน้ำว่ามีอาการอย่างไร เข่าบวมน้ำคืออะไร เข่าบวมน้ำเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างของภายในข้อเข่า ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ค่อนข้างที่ชัดเจนว่า ข้อเข่าด้านในตรงบริเวณลักยิ้มใกล้ ๆ กับลูกสะบ้าจะไม่มีรอยบุ๋ม ก็คือจะมีลักษณะน้ำดันออกมาจนดูบวมขึ้นใหญ่ขึ้น ลักษณะอาการนี้เรียกว่าเข่าบวมน้ำนั่นเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วคนป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการเข่าบวมน้ำนั้น คนไข้จะมีอาการเข่าบวมใหญ่ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ในบางคนเข่าก็อาจจะบวมไม่มาก แต่ก็มีอาการปวดในขณะที่งอเข่า หรือว่ายืดเหยียดเข่า และในบางคนก็จะมีอาการบวมแดงบริเวณรอบ ๆ ข้อเข่า ซึ่งส่วนมากแล้วก็มักจะมีอาการบวมแดงบริเวณด้านหน้า เพราะว่าผิวหนังบริเวณด้านหน้าข้อเข่าจะบาง […]
น้ำไขข้อ (Synovial fluid) เป็นของเหลวข้นใสเเละลื่นอยู่ในช่องของกระดูกไขทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเยื่อบุข้อต่อ ป้องกันการเสียดสีและกันกระเเทกต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมไปถึงทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก, ไม่เกิดการเจ็บปวด และไม่ฝืดขัด ซึ่งจะประกอบไปด้วยสารที่สำคัญ ก็คือ สารไฮยาลูโรเนท “Hyaluronate หรือ Hyaluronic Acid:HA” ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม ที่เกิดมาจากกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพไป มีการแตกร้าว และหลุดลอกออก ส่งผลทำให้น้ำไขข้อ มีปริมาณและคุณภาพที่ลดลง น้ำไขข้อแห้งจะส่งผลอย่างไร น้ำไขข้อ หรือว่าน้ำมันไขข้อ เป็นน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในข้อเข่า มีความเหนียว และลื่น มีลักษณะเหมือนไข่ขาว จะคอยทำหน้าที่ช่วยในการลดการเสียดสี และลดแรงกระแทกของส่วนต่าง ๆ ภายในหัวเข่า ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกาย ได้สะดวก ซึ่งร่างกายของมนุษย์เราจะทำการผลิตน้ำไขข้อได้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวัง นั่นก็คือ ไม่ควรให้หัวเข่า ได้รับแรงกระแทก หรือว่าอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม เพราะจะทำให้น้ำไขข้อแห้งได้ ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อหัวเข่าของเรามากที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรจะปล่อยให้น้ำไขข้อแห้งเด็ดขาด เพราะบริเวณข้อต่าง ๆ ที่อยู่ภายในหัวเข่า จะเกิดการเสียดสีกันจนทำให้เกิดการอักเสบได้ เมื่อเราปล่อยให้เกิดอักเสบนาน ๆ ก็จะทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตามมานั่นเอง โดยที่เราสามารถสังเกตอาการน้ำไขข้อแห้งได้ดังนี้ เมื่อมีอาการปวดหัวเข่า เช่น เมื่อเรางอเข่าแล้วเจ็บ, เวลาเดินแล้วเจ็บเข่า […]