ความอ้วนกับอาการข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มอาการข้อเสื่อม ยิ่งในปัจจุบัน อัตราการพบผู้ป่วยโรคนี้ก็มากขึ้นกว่าเมื่อสมัยก่อนมาก แน่นอนว่าโรคข้อเข้าเสื่อมที่มีอัตราการพบสูงขึ้นนี้ มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน ซึ่งก็มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันเช่นกัน Stephen Messier PhD ผู้เชี่ยวชาญจากห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัย Wake Forest ในนอร์ธ แคโรไลน่า บอกว่า การเพิ่มขึ้นของโรคข้อเข่าเสื่อมกับการเพิ่มขึ้นของผู้เป็นโรคอ้วนนั้น สัมพันธ์กันโดยตรง แค่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 ปอนด์ ก็ทำให้ไปเพิ่มแรงกดที่บริเวณข้อเข้าให้มากขึ้นอีก 15-50 ปอนด์เลยทีเดียว ดังนั้น ยิ่งน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ อาการของโรคก็จะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นเท่านั้น น้ำหนักมาก ข้อเข้ายิ่งต้องรับแรงกดมากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปอนด์ ทำให้ข้อเข่าต้องทำงานหนักขึ้น น้ำหนักยิ่งมากข้อเข่าก็ยิ่งเสียหายมาก เพราะทุก ๆ ก้าวที่เราเดิน ข้อเข่าต้องรับแรงกด และข้อเข้าจะต้องทำงานหนักขึ้น เมื่อเราขึ้น และลงบันได รวมถึงเมื่อเราย่อตัวลงยกของ แน่นอนว่ากิจกรรมเหล่านี้ เป็นการดำเนินชิวิตปกติของเราในทุก ๆ วัน เรามีการเคลื่อนไหวตลอดชิวิต เข่าต้องทำงานหนักโดยตลอด และหนักมากขึ้น หากเรามีน้ำหนักมากขึ้น David Felson แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Boston University […]
Author Archives: admin
วิธีชะลอข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวด และทำให้ข้อเข่าของคนไข้เกิดการอักเสบ ซึ่งจริง ๆ แล้วโรคข้อเสื่อมนี้มีอยู่หลายชนิด แต่หลัก ๆ ก็คือ เป็นความเจ็บปวดเมื่อเกิดความเสื่อมของข้อต่อกระดูก 2 ข้อของร่างกายที่มาเชื่อมต่อกัน โดยความเสื่อมนี้ เกิดในจุดที่เป็นเนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณข้อต่อเกิดความเสียหาย ข้อเข่าเสื่อม ก็เป็นโรคข้อเสื่อมชนิดหนึ่งซึ่งพบได้มาก เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อนั้นเสียหาย หรือเสื่อมสภาพไป ก็ทำให้กระดูกข้อต่อมาเสียดสีกัน และเมื่อมีการขยับเขยื่อนบริเวณข้อต่อนั้น ก็ทำให้เกิดความเจ็บปวด โรคข้อเข่าเสื่อมนี้ หากเป็นขึ้นมาและไม่ใส่ใจดูแล ก็จะทำให้อาการของโรคนั้นหนักขึ้นเรื่อย ๆ และทำให้คนไข้ต้องทุกข์ทรมาณกับการดำเนินชิวิต ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราสามารถดูแลตนเอง และชลอความเสื่อมของข้อเข่าของเราได้ โรคข้อเข่าเสื่อมนั้น เกิดจากการที่เราใช้งานข้อเข่าของเราต่อเนื่อง ยาวนาน ทุก […]
นิ้วล็อค คืออาการในลักษณะที่เมื่องอนิ้วแล้ว ไม่สามารถยืดออกมา หรือเหยียดให้ตรงได้ง่าย เกิดจากการที่ปลอกเอ็นที่นิ้วมือนั้นเกิดการอักเสบ และหนาตัวขึ้น ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อด้านในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ อาการนิ้วล็อคนี้ อาจจะเกิดขึ้นกับนิ้วใดนิ้วหนึ่ง หรือเกิดขึ้นกับหลาย ๆ นิ้ว ทั้งสองมือเลยก็ได้ และโดยมากนิ้วจะล็อกเมื่อมีการออกแรงทำการบางอย่าง และเมื่อเกิดนิ้วล็อคขึ้นมา จะมีอาการดังนี้ – มีเสียงดังเมื่อต้องยืด หรืองอนิ้ว – มีอาการนิ้วแข็ง มีอาการตึงและนูนบริเวณโคนนิ้วที่ล็อค – เมื่อยืดนิ้วกะทันหัน นิ้วจะล็อค และเมื่องอนิ้ว นิ้วก็จะล็อคและไม่สามารถเหยียดหรือยืดออกมาได้ง่าย ๆ ทั้งนี้เมื่อเกิดอาการดังกล่าว คนไข้มักจะสามารถใช้มืออีกข้างยืดนิ้วออกมาเองได้ แต่หากอาการรุนแรง เกิดการปวด ฝืด ชา มีการอักเสบของข้อต่อนิ้ว ควรจะต้องพบแพทย์ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการนิ้วล็อคแบ่งเป็น 2 อย่างคือ พฤติกรรม และโรคประจำตัว พฤติกรรมที่นับว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดนิ้วล็อค ได้แก่ การที่ต้องยกของหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการประกอบอาชีพที่ต้องใช้แรงมือ อย่างเช่น การตัดต้นไม้ พนักงานโรงงาน นักดนตรี และผู้ใช้แรงงานเป็นต้น ส่วนโรคประจำตัวที่อาจจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดนิ้วล็อคมากขึ้น ได้แก่ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ โรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับเส้นประสาท […]
โรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู็ป่วยเกิดอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน ร่วมกับมีอาการข้อแข็งและบวม อาการสามารถจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่นิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า ยิ่งปล่อยไว้นานอาการก็จะรุนแรงขึ้น อาจจะถึงขั้นเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อได้ โรคเก๊าต์นั้นเกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงมาเป็นเวลานานหลายปี ยูริคจึงตกตะกอนแล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมที่ข้อต่อมาก ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ แดง ปวด ร้อนที่บริเวณข้อต่ออาการของโรคเก๊าต์นั้น เริ่มแรกจะปวด แดง เฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือน จะปวดมากในวันแรกและค่อย ๆ หายไป อาจจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน แน่นอนว่า เมื่อเกิดอาการขึ้นมาแล้ว ผู้ปวยจะทุกข์ทรมาณ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบาก อีกทั้งยังเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ จึงต้องรู้วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อที่จะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างไม่ทรมาณ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ยังไม่เกิดอาการปวดซึ่งต้องป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด และระยะที่เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมาแล้ว ว่าจะต้องดูแลเพื่อบรรเทาอาการอย่างไร การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด มีดังนี้– ในระยะที่โรคไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อรักษาระดับกรดยูริคในร่างกายให้เป็นปกติ และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเป็นประจำ ตามการนัดหมาย– […]
โรคข้อเข่าเสื่อม สัญญาเตือน มีอะไรบ้าง เพราะ “โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นหนึ่งในโรคความถดถอยของร่างกายมนุษย์ แต่ด้วยพฤติกรรมหลายๆ อย่างของสังคมในปัจจุบันก็ทำให้มีอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใช้ร่างกายในรูปแบบซ้ำๆ อาทิ ยืนทั้งวัน, นั่งพับเพียบทั้งวัน หรือแม้แต่การออกกำลังกายที่หนักเกินไปก็ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยที่อาจกำลังเกิดขึ้น ลักษณะอาการของโรค โรคข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในระยะแรกจะปวดเข่า เมื่อเดินมากๆ ขึ้นลงบันได หรือนั่งงอเข่าในท่าพับเพียบ ขัดสมาธิเป็นเวลานาน แต่อาการจะหายได้เองเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถหรือพักการใช้เข่า แต่หากปล่อยไว้นานไม่รักษา อาการเข่าเสื่อมจะลุกลามจนเข่าปวดรุนแรงแม้ว่าจะไม่ได้เดิน ปวดตอนนอนหลับและอาจจะเดินได้ลำบาก ยืดขาได้ไม่สุด หรือไม่สามารถยืดเข่าได้ ขาบิดเบี้ยวผิดรูป เดินลำบากและยังปวดฟัวเข่าตลอดเวลาด้วย สัญญาณเตือนโรคเข่าเสื่อม1. มีเสียงดังกรอบแกรบในหัวเข่าเป็นอาการระยะแรกๆ ที่คนไข้สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง เพราะปกติแล้วบริเวณกระดูกต้นขากับกระดูกหน้าแข็งจะมีหมอนรองกระดูกรองรัยซับน้ำหนักและกระจายน้ำหนักเพื่อไม่ให้กระดูกชนกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีพฤติกรรมการใช้หัวเข่าที่ผิด หมอนรองกระดูกจะเสื่อมและค่อยๆ สึกกร่อนบางลง ทำให้เมื่อขยับหัวเข่าจะเกิดเสียงดังกรอบแกรบเพราะผิวของกระดูกเสียดสีกัน 2. มีอาการปวดภายในหัวเข่าเมื่อรู้สึกปวดหรือเสียวภายในหัวเข่าเป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสาเหตุการปวดในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้– กล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่ามีความตึง จนทำให้เมื่อมีการใช้งานนานๆ หรือเกร็งเป็นเวลานาน ก็ทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็ดข้างจนมีอาการปวด– […]
ความอ้วน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นข้อเข่าเสื่อม เมื่อมีปัญหาเรื่องความอ้วน สิ่งหนึ่งที่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นก็คือข้อเข่า สะโพก และหลัง ซึ่งเป็นสามส่วนที่แบกรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย หลายครั้งเราจึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนอ้วนถึงได้มีอาการปวดเข่า ปวดหลัง แม้ว่าจะอายุยังน้อย เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นข่อเข่าเสื่อมและเร่งให้เป็นขอเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น ลักษณะของโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อ เป็นภาวะที่ร่างกายถดถอยตามวัย แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวเร่งให้มีอาการเร็วขึ้นได้มากมาย โดยเฉพาะความอ้วน โดยโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากผิวข้อกระดูกเกิดการสึกหรอ ทำให้ผิวของกระดูกอ่อนไม่เรียบเนียน เมื่อขยับจึงมีอาการฝืดและมีเสียงดัง ทำให้มีอาการปวดและสามารถรุนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้ พบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป แต่จะพบมาให้ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินยิ่งทำให้มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมเร็วและอาการรุนแรง อาการของโรคข่อเข่าเสื่อม – ระยะแรก มีอาการปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหวหัวเข่า แต่อาการจะหายไปเองได้หากพักการใช้เข่า ความฝืดของหัวเข่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยเสียงการเสียงสีของกระดูกเมื่อมีการขยับหัวเข่า […]
รู้ไว้ก่อนร่างพัง ฟิตเนส เล่นอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกเลยหากเกิดการบาดเจ็บระหว่างออกกำลังกาย เพราะนอกจากจะทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายต่อได้แล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันด้วย แม้ว่าหลายคนจะออกกำลังกายในฟิตเนสและมีเทรนเนอร์ดูแล แต่ก็ยังสามารถเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรมาเรียนรู้กันว่า ฟิตเนส เล่นอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว ลักษณะอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย การออกกำลังกายในฟิตเนสมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งในแต่ละประเภทของการออกกำลังกายหากหักโหมหรือทำผิดวิธีก็สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในลักษณะที่เบาหรือหนักจนกระดูกหักได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่แล้วมันจะเกิดกับส่วนต่างๆ ของร่างกายดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อ เมื่อมีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนต่างมีการทำงานหนักซึ่งหากหักโหมหรือมีการผิดพลาดจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือฉีดขาดได้ เส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย โดยเป็นการอักเสบของเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เส้นเอ็นยึดข้อ เป็นลักษณะที่เกิดการอักเสบหรือฉีกขาดของเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกและกระดูก กระดูกมีรอยร้าวหรือได้รับแรงกระแทกซ้ำๆ มากเกินไป เมื่อบาดเจ็บแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร อาการบาดเจ็บระหว่างที่กำลังฟิตเนสไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากมันเกิดขึ้นแล้วคุณควรจะปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสมเพราะหากยิ่งฝืนในจุดที่มีอาการบาดเจ็บจะยิ่งทำให้อาการลุกลามและหายช้ากว่าเดิม โดยหากมีอาการบาดเจ็บควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ หากเกิดอาการบาดเจ็บให้หยุดการออกกำลังกายทั้งหมดเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนอื่นๆ บาดเจ็บไปด้วย รวมทั้งหากยังฝืนเล่นจะยิ่งทำให้อาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นเวลานานแล้วมีอาการปวดเมื่อยหลังการออกกำลังกาย อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่การบาดเจ็บเพราะการออกกำลังกาย แต่เป็นเพราะกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ออกกำลังกายมานานเกิดความช้ำและไม่เคยชินเท่านั้น โดยอาการนี้จะหายไปเองได้ภายใน 2-3 วัน ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา อาการบาดเจ็บที่มีอาการบวม สามารถประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ และควรยกสวนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้นเพราะจะช่วยลดอาการบวมได้ ในกรณีที่มีอาการเจ็บมาก บาดเจ็บอย่างรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์และต้องเคลื่อนอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บเกี่ยวกับกระดูกร้าวหัก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำมากกว่าเดิม หากมีอาการบาดเจ็บเพราะกิจกรรมการออกกำลังกายใด ไม่ควรทำกิจกรรมนั้นซ้ำ […]
วิธีป้องกันโรคนิ้วล็อค ภัยเงียบใกล้ตัวของสังคมก้มหน้า เป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่หลายคนอาจกำลังเผชิญอยู่แต่ไม่รู้ว่าเป็นภัยร้ายกว่าที่คิด สำหรับ โรคนิ้วล็อค เพราะด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของสังคมเมืองที่มักจะก้มหน้าใช้นิ้วเล่นสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการนิ้วล็อคขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้นก่อนที่จะมีอาการถึงขั้นรุนแรงเราควรเรียนรู้วิธีป้องกันโรคนิ้วล็อคไว้ก่อนที่จะสาย อาการโรคนิ้วล็อค อาการของโรคนิ้วล็อคสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ส่วนใหญ่แล้วคนไข้จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการตั้งแต่ในระยะแรก เพราะเมื่อมีอาการมักจะไม่สามารถหายเองได้ โดยระยะของโรคมีดังต่อไปนี้ 1 ปวดหรือเจ็บที่บริเวณฝ่ามือ แต่ยังสามารถขยับนิ้วได้ตามปกติ 2 เริ่มมีอาการเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น สะดุดเมื่อขยับ ง้อ เหยียดนิ้ว เพราะปลอกเส้นเอ็นตีบแคบลง แต่ยังสามารถใช้งานได้ 3 มีอาการกำมือแล้วจะกำค้างไม่สามารถก้างนิ้วออกเองได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยคลายนิ้วออก 4 ในระยะนี้จะสามารถเป็นได้หลายอาการ ไม่ว่าจะเป็น กำมือแล้วคลายมือออกไม่ได้ แม้จะใช้มืออีกข้างมาช่วยคลายก็ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ หรือไม่สามารถกำมือลงได้ เจ็บฝ่ามือและอักเสบบวม สาเหตุของโรคนิ้วล็อค ต้นเหตุของโรคนิ้วล็อคเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานนิ้วที่หนักเกินไปหรือใช้งานในท่าซ้ำๆ เป็นเวลานาน การยกของหนักหรือแบกไว้เป็นเวลานานหรือทำซ้ำบ่อยๆ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้เปลือกหุ้มเอ็นที่นิ้วเกิดการอักเสบ เมื่อมีอาการบวมอักเสบเกิดขึ้นความยืดหยุ่นของเอ็นนิ้วจะลดลงจนไม่สามารถยืดหรือว่าง้อนิ้วได้ตามปกติ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าการใช้สมาร์ทโฟนระหว่างวันจะยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดโรคนี้หรือไม่ ความจริงแล้วหากเล่นสมาร์ทโฟนในลักษณะที่ไม่มีการเกร็งข้อมือและออกแรงกดหรือกำแน่นๆ เป็นเวลานาน ไม่ได้เร่งหรือสัมพันธ์กับการเกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในลักษณะที่ต้องเกร็งข้อมือเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่ได้ผ่อนคลายฝ่ามือเลยสามารถทำให้มีอาการโรคนิ้วล็อคได้เช่นกัน กลุ่มเสี่ยงโรคนิ้วล็อค บุคคลที่มีความเสี่ยงโรคนิ้วล็อคสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท […]