fbpx

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

โรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู็ป่วยเกิดอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน ร่วมกับมีอาการข้อแข็งและบวม อาการสามารถจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่นิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า ยิ่งปล่อยไว้นานอาการก็จะรุนแรงขึ้น อาจจะถึงขั้นเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อได้

โรคเก๊าต์นั้นเกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงมาเป็นเวลานานหลายปี ยูริคจึงตกตะกอนแล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมที่ข้อต่อมาก ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ แดง ปวด ร้อนที่บริเวณข้อต่อ
อาการของโรคเก๊าต์นั้น เริ่มแรกจะปวด แดง เฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือน จะปวดมากในวันแรกและค่อย ๆ หายไป อาจจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน

แน่นอนว่า เมื่อเกิดอาการขึ้นมาแล้ว ผู้ปวยจะทุกข์ทรมาณ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบาก อีกทั้งยังเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ จึงต้องรู้วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อที่จะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างไม่ทรมาณ

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ยังไม่เกิดอาการปวดซึ่งต้องป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด และระยะที่เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมาแล้ว ว่าจะต้องดูแลเพื่อบรรเทาอาการอย่างไร

การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด มีดังนี้
– ในระยะที่โรคไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อรักษาระดับกรดยูริคในร่างกายให้เป็นปกติ และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเป็นประจำ ตามการนัดหมาย
– เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีน และฟลุกโตสสูง เพราะหากรับประทานสิ่งเหล่านี้เข้าไป จะส่งผลโดยตรงต่ออาการของโรคเก๊าต์ การจำกัดอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เนื้อแดง เนื้อหมู เบียร์ เครื่องในสัตว์ ส่วนอาหารและเครื่องดื่มที่มีฟรุกโตสสูงได้แก่ น้ำอัดลม น้ำผลไม้เทียม ขนมปัง และอาการแปรรูป
– เลือกรับประทานอาหารต่อต้านอนุมูลอิสระ เช่นน้ำเชอรี่ น้ำสัปปะรด ช่วยป้องกันการอักเสบ ที่ทำให้อาการของโรคเก๊าต์กำเริบ
– หลีกเลี่ยงผักใบเขียว เพราะมีกรดยูริคสูง และทำให้เกิดการอักเสบได้
– อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ในแต่ละวันควรจะดื่มน้ำให้มาก ๆ เพราะน้ำจะช่วยชะล้างกรดยูริคส่วนเกินออกจากร่างกาย ในแต่ละวันควรดื่มอย่างน้อย 3.7 ลิตรสำหรับผู้ชาย และ 2.7ลิตร สำหรับผู้หญิง และถ้าออกกำลังกาย ก็ควรตื่มเพิ่ม
– ควบคุมน้ำหนัก ด้วยการจำกัดการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย เพราะความอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบมากขึ้นถึง 4 เท่า
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เพราะจำช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ทำให้สุขภาพดี ลดความเครียด
– ไม่ควรสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ จะทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูง ส่วนการสูบบุหรี่ จะทำให้ระบบการเผาผลาญอาหารของร่างกายทำงานไม่ดี
– นอนหลับพักผ่อนให้ได้คืนละ 8 ชั่วโมง เพราะการนอนพักผ่อนที่เพียงพอจะทำให้ร่างกายแข็งแรง และช่วยลดความเครียด ป้องกันการกำเริบของโรคได้

การดูแลเมื่ออาการกำเริบ
– หากอาการกำเริบ ก็ต้องรับประทานยาเพื่อลดการอักเสบ และบรรเทาความเจ็บปวด โดยจะต้องรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ยาที่ไม่ควรรับประทานได้แก่แอสไพริน เพราะอาจจะไปเพิ่มระดับกรดยูลิคในเลือด ส่วนยาที่จะช่วยลดการอักเสบที่จะนำมารับประทานนั้น ก็ต้องเป็นยาที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
– เมื่อเกิดอาการปวด สามารถประคบเย็นได้ โดยประคบบริเวณข้อต่อที่มีอาการปวด การประคบเย็นช่วยลดการอักเสบ ปวด และบวมได้ การประคบเย็นนั้น อาจจะใช้น้ำแข็งห่อผ้า แล้วประคบเป็นเวลา 20-30 นาที สามารถประคบบ่อย ๆ ได้ ในวันที่มีอาการปวดมาก
– พักผ่อนในท่าที่ไม่ส่งผลเสียต่อข้อต่อ ไม่ได้ถูกแรงกด ไม่พับ ไม่งอข้อ และในช่วงที่มีอาการปวดนี้ ก็ไม่ควรใช้งานข้อต่อบริเวณนั้นหนัก
– หากมีอากาปวดมากให้ปรึกษาแพทย์ เพราะอาจจะต้องมีการตรวจเช็คและปรับยาให้เหมาะสม และในบางครั้งแพทย์อาจจะพิจารณาการฉีดยา เพื่อให้การอักเสบลดลงอย่างรวดเร็ว
– ต้องดื่มน้ำให้มาก ในช่วงที่อาการกำเริบ เพื่อให้น้ำชะล้างกรดยูริคส่วนเกินออกจากร่างกาย
– ลดความเครียด เพราะความเครียดนั้น กระตุ้นให้เกิดอาการได้ อีกทั้งเมื่ออาการกำเริบขึ้นมาก็จะส่งผลให้เครียดมากขึ้นด้วย