fbpx

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคใกล้ตัวที่คุณไม่ควรมองข้าม

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

มีหลายคนที่มีอาการปวดหลัง, ปวดคอ และอาการปวดตามร่างกายอีกหลายแห่ง อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ แล้วก็จะหายเองได้ภายในไม่กี่วัน แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวได้ไม่ดี, เดินได้ลำบาก และขาแข็งเกร็ง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาท ซึ่งถ้าหากมีอาการดังกล่าวแล้วยังปล่อยทิ้งเอาไว้นาน อาจจะทำให้การรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว หรือการทำกายภาพบำบัดจะไม่ได้ผลดีนัก และจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วยในการรักษาแทน

 

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทแล้วล่ะก็จะทรมานมากเลยทีเดียวเพราะจะไม่มีเพียงแค่อาการปวดหลังเท่านั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่จะเป็นปัญหาได้มากก็คือ

    1. อาการปวดหลังจะร้าวลงไปจนถึงขา อาจจะปวดเพียงข้างเดียว หรือว่าอาจจะปวดทั้งสองข้างก็ได้
    2. จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อขาอ่อนแรงจนไม่สามารถทำให้เดินได้อย่างปกติ
    3. จะมีอาการชาของขาหนึ่งข้าง หรือทั้งสองข้างก็ได้
    4. ทำให้การเดินลำบาก หรืออาจจะเดินได้ไม่ไกลเท่าไหร่

 

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร

สาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลัก ๆ ก็มาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูก  และจากการใช้งานที่มีผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรงเป็นเวลานานซ้ำ ๆ กัน อย่างเช่น การก้มหลังยกของที่หนักเกินไป, การขับรถเป็นเวลานาน, การทำกิจกรรมที่จะต้องก้ม ๆ เงย ๆ หลังเป็นประจำ, ได้รับอุบัติเหตุที่ไปกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, การชอบก้มหลังพร้อมกับการบิดตัว หรือแม้แต่เสื่อมไปตามอายุ จนทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลัง และจะค่อย ๆ ดันตัวจนปลิ้นออกมาทำให้ไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง

 

พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ไม่ควรมองข้าม

    • การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อยมากจนเกินไป
    • การยกของที่มีน้ำหนักมากซ้ำ ๆ ในท่าเดิม
    • กลุ่มที่มีอาชีพทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อย ๆ อย่างเช่น เขตพื้นที่ก่อสร้าง
    • คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือไม่ออกกำลังกายเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย
    • การที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลาที่นานจนเกินไป โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทางแต่อย่างใด อย่างเช่น คนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นนานเกินไป การนั่ง หรือว่าการยืนทำงานในท่าที่ไม่ถูกต้อง และเป็นเวลานานมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไปและติดต่อกันโดยไม่เปลี่ยนท่าทาง รวมไปถึงการขับรถในระยะทางที่ไกลโดยไม่มีการหยุดพัก เป็นต้น

 

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *