fbpx

ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่

ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่

 

          โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถที่จะเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย โดยเฉพาะวัยที่ทำงานก็สามารถที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้เหมือนกัน โรคข้อเข่าเสื่อมจะพบได้มากในวัยกลางคนและกับผู้สูงอายุ ซึ่งถ้ามีอาการเริ่มแรกแล้วไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้บริเวณข้อเข่าเจ็บปวด เข่าผิดรูป เดินไม่ได้เป็นปกติจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งตรงนี้อาจจะทำให้หลายคนแปลกใจว่าโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับคนที่อายุน้อยด้วยหรือ เพราะตามปกติแล้วเรามักจะได้ยินว่ากลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ส่วนมากอายุเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 60 ปีขึ้นไป เพราะว่ากระดูกอ่อนผิวข้อจะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับบริเวณเข่าโดยตรง เหมือนกันกับยางรถยนต์ที่ตั้งศูนย์ไม่ดีข้างที่รับน้ำหนักมากเกินไปจึงเสื่อม หรือไม่ก็มักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬาประเภทวิ่งและฟุตบอลเพราะว่าต้องใช้ขาเยอะ และทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณหัวเข่าบ่อย ๆ มีการฉีกขาดของเส้นเอ็นจึงส่งผลให้เข่าคลอนแคลนและทำให้เสื่อมเร็วขึ้น

แต่ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปรวมถึงพฤติกรรมการดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่เยอะ ซึ่งทำให้กระดูกตายส่งผลทำให้อุบัติการณ์ข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อยและยังมีแนวโน้มว่าจะสูงเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคนี้การวิ่งมาราธอนกำลังเป็นที่นิยมของใครหลาย ๆ คน จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้มากที่สุด และคาดว่าในอนาคตจะสูงขึ้นกว่าปกติถึง 3 เท่าเลยที่เดียว เมื่อ โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวของทุกคนอีกต่อไป ดูจากสถิติภาพรวมของคนไทยหลาย ๆ คนพบว่า มีคนป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ข้ออักเสบสูงถึง 3.5% ของจำนวนประชากรทั้งหมด แบ่งตามความชุกของโรคและตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้ อายุ 60 ปี อยู่ที่ 37.4% อายุ 45 ปี อยู่ที่19.2% และอายุ 25 ปี อยู่ที่ 4.9% ถึงแม้ว่ากลุ่มคนที่มีอายุน้อยสาเหตุของอาการป่วยก็มักจะมาจากการเกิดอุบัติเหตุมาก่อน สะมากกว่า แต่ถ้าเราสังเกตสัญญาณเตือนของร่างกาย ก็จะสามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมได้

โดยจะมีสัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้ามดังต่อไปนี้

  1.   ถ้าปวดตามข้อหรือบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายอย่างเช่น บริเวณต้นคอ, ช่วงไหล่, บริเวณหลัง, ตรงช่วงเอว, แขน, มือ, เข่า และเท้า
  2. เมื่อเคลื่อนไหวข้อจะเกิดมีเสียง หรือเกิดการเจ็บปวดได้  
  3. มีอาการบวมแดง ร้อนตรงบริเวณข้อร่วมกับอาการขัด และตึง
  4. เกิดการเจ็บปวดตรงบริเวณข้อเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ อย่างเช่น การนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น    

 

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *