อาการปวดหลังโดยปกติแล้ว ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น การยกของที่มีน้ำหนักมากเกินไป, นั่งทำงานนาน ๆ, ใส่รองเท้าส้นสูงเกินไป, เอื้อมมือหรือว่าเอี้ยวตัวไปหยิบของผิดท่า, การออกกำลังกายอย่างหนัก และการนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย และทำให้กล้ามเนื้อผิดรูปได้ ท่านั่งแบบนี้อาจจะทำให้คุณปวดหลังแบบเรื้อรังได้ การนั่งเบาะไม่เต็มก้น คือ การนั่งแค่ครึ่งเบาะหลังไม่พิงพนักเก้าอี้ ทำให้หลังค่อม รวมไปถึงกล้ามเนื้อหลังทำงานหนักมากขึ้น นั่นก็เพราะก้นของเรารับรองน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ การนั่งหลังค่อม คือ การนั่งหลังค่อมจะทำให้กระดูกสันหลังงอ ยิ่งถ้าเรายังนั่งอยู่ในท่าเดิมไปนาน ๆ โดนที่ไม่ขยับเลย ก็จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังเกร็งค้าง ทำให้เกิดอาการคั่งของกรดแลคติก จนเกิดอาการเมื่อยล้าอยู่ตลอดเวลา และทำให้กระดูกคดงอผิดรูปถาวรได้ การนั่งไขว่ห้าง คือการที่เราลงน้ำหนักไปที่ขาและเท้าข้างใดข้างหนึ่ง เลือดตรงบริเวณขาจะไหลเวียนได้ไม่ดี จึงทำให้เมื่อย และก่อเป็นกล้ามเนื้อผิดรูป อาจจะทำให้กระดูกสันหลังคดงอ และทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ รวมไปถึงหมอนรองกระดูกอาจจะเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ การนั่งขัดสมาธิ จะทำให้เราเป็นเหน็บชา ยิ่งคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือว่ามีปัญหาเรื่องกระดูกอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ การนั่งทับขาข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก เสี่ยงต่อกระดูกสะโพก รวมถึงกระดูกสันหลังคดงอได้เพราะข้อขาทั้งสองข้างไม่สมดุลกันนั่นเอง การนั่งพิมพ์โน๊ตบุ๊คที่วางบนตัก คือแป้นพิมพ์ และหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ต่ำจนเกินไป จะทำให้เราก้มมองจอ จึงมีอาการปวดคอ และปวดหลังโดยที่เราไม่รู้ตัว การนั่งผิดท่ามีผลเสียดังนี้ การนั่งผิดท่า คือ การที่เรานั่งนาน ๆ จะทำให้เสี่ยงที่จะมีโรคตามมาหลายโรค เช่น โรคอ้วน, โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด หรือแม้แต่โรคมะเร็งด้วย จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สำรวจพฤติกรรมของคนจำนวน 8,000 คน ชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ที่ใช้เวลากับการนั่ง เฉลี่ยอยู่ที่ 12.3 ชั่วโมงต่อวันนั้น ในช่วงระยะเวลา 4 ปีต่อมา จะมีคน 340 คนที่ต้องเสียชีวิตจากปัญหาของสุขภาพต่าง ๆ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า การที่เรานั่งนาน ๆ […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
บริเวณหัวไหล่ คือส่วนของข้อที่มีการเคลื่อนไหวบ่อย และใช้เพื่อการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายในการดำเนินชีวิตประจำวัน อาทิเช่น การแต่งกาย, การทำความสะอาดร่างกาย, การทำงาน หรือการเล่นกีฬา ดังนั้นหากเกิดความผิดปกติขึ้นที่บริเวณหัวไหล่ จึงทำให้ส่งผลกับการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างยากลำบากมากขึ้น อาการปวดไหล่ จึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุด โดยคนที่มีอาการปวดไหล่อาจจะปวดเป็นเวลาครั้งคราว หรืออาจจะปวดชนิดเรื้อรังคือจะปวดตลอดเวลาก็เป็นได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ เกิดมาจากความผิดปกติของบริเวณข้อหัวไหล่เอง หรือความผิดปกติเกิดจากอวัยวะข้างเคียงก็ได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวมาที่บริเวณหัวไหล่ อย่างเช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, วัณโรคปอด, หรือว่ากระดูกที่บริเวณต้นคอเสื่อม เป็นต้น ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen shoulder) ภาวะชนิดนี้สามารถพบได้บ่อยที่สุดในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนมากผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ชาย คนที่ใช้งานที่บริเวณหัวไหล่อย่างหนัก, คนที่เคยผ่าตัดหรือว่าได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณหัวไหล่เป็นต้น อาการก็จะเริ่มจากเจ็บที่บริเวณข้อไหล่เป็นระยะเวลานานหลายสัปดาห์ หรืออาจจะนานเป็นเดือน และจะมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวแขนและหัวไหล่ หลังจากนั้นอาการปวดก็จะเริ่มลดลง และสามารถเคลื่อนไหวหรือว่าขยับ ข้อไหล่ได้ดีขึ้น จนทำให้เราเข้าใจว่าอาการปวดหัวไหล่ดีขึ้นแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราสังเกตให้ดีก็จะพบว่าหลังจากอาการปวดดีขึ้นแล้ว การเคลื่อนไหวของแขนและหัวไหล่อาจจะทำได้ไม่เต็มที่เหมือนเดิม ฉะนั้นภาวะข้อไหล่ติดแข็ง จะพบอาการปวดที่บริเวณไหล่สัมพันธ์กันกับการมีผลึกหินปูนหรือว่าแคลเซียมสะสมอยู่ภายในบริเวณเอ็นต่าง ๆ ซึ่งอาการปวดก็อาจจะเป็นแบบฉับพลันและมีความรุนแรงมาก จนทำให้เราไม่สามรถยกไหล่ขึ้นได้ หรือในบางรายอาจจะปวดแบบเรื้อรัง ซึ่งเกิดมาจากการสะสมของผลึกหินปูนอยู่ภายในเส้นเอ็นด้วย โดยเฉพาะในเส้นเอ็นที่บริเวณหัวไหล่ที่เรียกว่า Supraspinatus […]
อาการปวดหลังจะพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย และทุกกลุ่มผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการที่รุนแรงจนมีผลกระทบกับการทำงาน รวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันด้วย อาการปวดหลังเกิดมาจากการอักเสบของบริเวณกล้ามเนื้อ อาจจะเกิดมาจากการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณนั้นมากจนเกินไป หรือว่าได้รับอุบติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ก็อาจจะหายเองได้หากงดเว้นการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณที่เกิดการอักเสบสักพัก หรือว่าใช้ยาทาภายนอกที่สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ แต่หากมีอาการปวดหลังที่พ่วงมาด้วยอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียด มีอาการปวดที่บริเวณเดิม ๆ เป็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน มีอาการปวดมากจนทำให้รู้สึกถึงความผิดปกติ อาการไม่ดีขึ้นเลย มีอาการปวดแบบเจ็บแปลบ ๆ เหมือนมีเข็มมาจิ้มตรงบริเวณที่มีอาการ อาการปวดร้าวยาวลงไปถึงต้นขา หรืออาจจะมีอาการขาอ่อนแรง, ปวดที่บริเวณปลีน่อง จนทำให้ไม่สามารถที่จะเดินได้ตามปกติ หรืออาจจะเดินได้นิดหน่อยก็เกิดอาการปวด ปวดตรงบริเวณก้นกบ โดยที่ไม่มีสาเหตุหรือว่ามาจากอุบัติเหตุใด ๆ อาการปวดหลังที่เกิดมาจากอุบัติเหตุที่รุนแรง อย่างเช่น อุบัติเหตุจราจร หรือตกจากที่สูงลงมา เกิดอาการปวดปัสสาวะแสบขัด, ปัสสาวะมีสีขุ่น หรืออาจจะมีไข้ร่วมกับอาการปวดที่หลังตรงบริเวณเอว (อาการแบบนี้อาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของนิ่วในไต หรือว่าไตอักเสบ) มีอาการปวดต้นขา หรือบริเวณเท้ามีอาการชาทำให้เคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ อย่างเช่น ก้มตัว, ยืดตัวตรง, กลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระเริ่มไม่ค่อยอยู่ ดังนั้นท่านใดที่มีอาการตามที่กล่าวมา หรือมีคนที่ใกล้ชิด หรือเวลาหยุดทานยาอาการปวดก็จะกลับมาปวดใหม่อีกไม่หายสักที คุณต้องรีบไปปรึกษาแพทย์และให้แพทย์ทำการตรวจโดยละเอียด เพื่อที่จะหาสาเหตุของอาการที่แท้จริง และจะได้แก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุจะเป็นการดีที่สุด เพราะว่าถึงคุณจะทานยาคลายกล้ามเนื้อ […]
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมสภาพลง เนื่องจากการขาดแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูก โดยโรคนี้จะไม่ทำให้เจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหักเท่านั้น จะพบได้บ่อยที่บริเวณกระดูกสันหลัง, สะโพก หรือที่บริเวณข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกบริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่มีความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม, เปราะบาง, ผิดรูป และมีโอกาสที่จะแตกหักได้ง่าย ผู้ป่วยบางท่านกระดูกพรุนมีผลทำให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากว่ามวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุน คือจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูของเราสามารถรับน้ำหนัก, แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง สาเหตุกระดูกพรุนเกิดจากอะไร โรคกระดูกพรุนเกิดมาจากการทำงานที่ไม่สมดุลของเซลล์กระดูกทั้ง 2 ชนิด จึงทำให้กระดูกมีการสลายมากกว่าที่จะสร้างกระดูกเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณแคลเซียมในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูก หรืออาจจะมีความผิดปกติของเซลล์กระดูก และโรคกระดูกพรุนส่วนมากที่พบบ่อยที่สุดเกิดมาจากการสูญเสียฮอร์โมนของเพศหญิง เนื่องจากหมดประจำเดือน โดยจะพบว่า 25% ของผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเป็นโรคกระดูกพรุน รวมไปถึงผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็ว หรือได้ผ่านการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากที่สุด นอกจากนี้ก็พบว่าอายุก็มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน โดยประมาณหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว กระดูกของเราก็จะบางลงทุกปี นอกจากนี้แล้วก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ อย่างเช่น คนที่มีประวัติของครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ร่างกายขาดวิตามินดีหรือว่าขาดแคลเซียม, การดื่มสุรา, […]
ในยุคสมัยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของผู้คนไปแตกต่างจากสมัยก่อน มีความเร่งรีบมากขึ้น จึงทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความไม่ระมัดระวังอยู่เสมอ การเดินก็มีโอกาสทำให้หกล้มได้ง่าย การขับขี่ยานพาหนะก็เสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น เพราะด้วยความที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบคนเรามักจะขับขี่ยานพาหนะด้วยความเร็ว อีกทั้งกระแสของสังคมก็เริ่มให้ความสนใจในการออกกำลังกายใหม่ ๆ โอกาสที่จะทำให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บจึงมีมากขึ้น หมอจึงไม่แปลกใจว่าในวันหนึ่ง ๆ ทำไมจึงมีคนไข้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของกระดูกและข้อ อย่างเช่น ข้อไหล่, ข้อสะโพกและข้อเข่า ไปพบหมออย่างน้อย ๆ 5 – 6 คนต่อวัน และยิ่งโดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า เพราะเป็นข้อที่เกิดการบาดเจ็บได้บ่อยมากที่สุดของร่างกาย อีกทั้งปัญหาข้อเข่าที่พบได้บ่อยมาก ๆ ก็คืออาการ เข่าบวมน้ำ เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้จัก เราจึงนำบทความเรื่องอาการเข่าบวมน้ำมาฝากเพื่อให้ทุกท่านได้ทราบถึงอาการเข่าบวมน้ำว่ามีอาการอย่างไร เข่าบวมน้ำคืออะไร เข่าบวมน้ำเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างของภายในข้อเข่า ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ค่อนข้างที่ชัดเจนว่า ข้อเข่าด้านในตรงบริเวณลักยิ้มใกล้ ๆ กับลูกสะบ้าจะไม่มีรอยบุ๋ม ก็คือจะมีลักษณะน้ำดันออกมาจนดูบวมขึ้นใหญ่ขึ้น ลักษณะอาการนี้เรียกว่าเข่าบวมน้ำนั่นเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วคนป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการเข่าบวมน้ำนั้น คนไข้จะมีอาการเข่าบวมใหญ่ขึ้นมาแล้ว ซึ่งจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ในบางคนเข่าก็อาจจะบวมไม่มาก แต่ก็มีอาการปวดในขณะที่งอเข่า หรือว่ายืดเหยียดเข่า และในบางคนก็จะมีอาการบวมแดงบริเวณรอบ ๆ ข้อเข่า ซึ่งส่วนมากแล้วก็มักจะมีอาการบวมแดงบริเวณด้านหน้า เพราะว่าผิวหนังบริเวณด้านหน้าข้อเข่าจะบาง […]
น้ำไขข้อ (Synovial fluid) เป็นของเหลวข้นใสเเละลื่นอยู่ในช่องของกระดูกไขทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเยื่อบุข้อต่อ ป้องกันการเสียดสีและกันกระเเทกต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมไปถึงทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก, ไม่เกิดการเจ็บปวด และไม่ฝืดขัด ซึ่งจะประกอบไปด้วยสารที่สำคัญ ก็คือ สารไฮยาลูโรเนท “Hyaluronate หรือ Hyaluronic Acid:HA” ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม ที่เกิดมาจากกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพไป มีการแตกร้าว และหลุดลอกออก ส่งผลทำให้น้ำไขข้อ มีปริมาณและคุณภาพที่ลดลง น้ำไขข้อแห้งจะส่งผลอย่างไร น้ำไขข้อ หรือว่าน้ำมันไขข้อ เป็นน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในข้อเข่า มีความเหนียว และลื่น มีลักษณะเหมือนไข่ขาว จะคอยทำหน้าที่ช่วยในการลดการเสียดสี และลดแรงกระแทกของส่วนต่าง ๆ ภายในหัวเข่า ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกาย ได้สะดวก ซึ่งร่างกายของมนุษย์เราจะทำการผลิตน้ำไขข้อได้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวัง นั่นก็คือ ไม่ควรให้หัวเข่า ได้รับแรงกระแทก หรือว่าอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม เพราะจะทำให้น้ำไขข้อแห้งได้ ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อหัวเข่าของเรามากที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรจะปล่อยให้น้ำไขข้อแห้งเด็ดขาด เพราะบริเวณข้อต่าง ๆ ที่อยู่ภายในหัวเข่า จะเกิดการเสียดสีกันจนทำให้เกิดการอักเสบได้ เมื่อเราปล่อยให้เกิดอักเสบนาน ๆ ก็จะทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตามมานั่นเอง โดยที่เราสามารถสังเกตอาการน้ำไขข้อแห้งได้ดังนี้ เมื่อมีอาการปวดหัวเข่า เช่น เมื่อเรางอเข่าแล้วเจ็บ, เวลาเดินแล้วเจ็บเข่า […]
เส้นเอ็นในร่างกายในส่วนที่ช่วยยึดระหว่างข้อต่อต่างๆ กับกล้ามเนื้อ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถของมนุษย์มีความยืดหยุ่น แต่ถ้ามีอาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดขึ้น ย่อมกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหากเกิดกับเส้นเอ็นข้อต่อสำคัญเช่น ข้อเท้า ข้อเข่า อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากอะไรได้บ้าง เรามาดูกัน อาการเส้นเอ็นอักเสบเป็นอย่างไร อาการของเอ็นอักเสบนั้น จะแสดงออกจากอาการปวดหรือเจ็บในบริเวณอวัยวะที่มีข้อต่อต่างๆ เมื่อเราเคลื่อนไหว ยิ่งเมื่อใช้งานซ้ำทั้งที่เจ็บ จะเกิดอาการบวมนูน มีสีแดงในบริเวณที่เอ็นอักเสบ เนื่องจากเส้นเอ็นอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมกระดูกข้อต่อกับกล้ามเนื้อ ยืดหยุ่นไปตามจังหวะการเคลื่อนไหว อาการเส้นเอ็นอักเสบ จึงมักเกิดที่ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ถ้าไม่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นฉับพลันอย่างเช่น นักกีฬา ก็จะมีลำดับอาการดังนี้ รู้สึกขัดๆ เคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเหมือนที่เคยเป็นมาตลอด อาจเริ่มมีอาการปวดนิดๆ เวลาเคลื่อนไหวก็ได้ มีอาการบวมแดง เหมือนฟกช้ำ อาการอักเสบจนรู้สึกอุ่น ๆ บริเวณนั้นๆ มีอาการบวมมากขึ้นจนเหมือนเป็นก้อนบวมตามเอ็นกล้ามเนื้อ อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากอะไรได้บ้าง เกิดจากการใช้งานร่างกายที่มากเกินไป ระดับของความมากเกินไปนั้น ตั้งแต่การสะสมการใช้งานนานๆ แบบผิดท่า เช่น ยกของหนัก การเอื้อมยกของ การออกแรงเหวี่ยงผิดท่า บางทีเกิดจากการใช้งานแบบหักโหม โดยเฉพาะการเล่นกีฬาโดยวอร์มร่างกายไม่พอ หรือเล่นหนักเกินไป หรืออุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬา เกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็นจากการใช้งานมานาน […]
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากสมองเสื่อมสภาพที่นอกเหนือจากโรคอัลไซเมอร์ และยังมีโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมองที่ส่งผลกับร่างกายทำให้มีอาการสั่นเกร็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งมีผลต่อการเคลื่อนไหว นั่นก็คือ โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์สมองในส่วนของบริเวณก้านสมองส่วนกลาง ถูกทำลายไปทีละน้อย จนทำให้เกิดความเสียหาย โรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ และจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยที่ครอบครัวผู้สูงอายุควรจะต้องมีความรู้ และทำความเข้าใจกับโรคนี้ เพราะว่าโรคนี้ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด อาการของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันโดยทั่วไปแล้วโรคนี้จะแสดงอาการออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันออกไป ต้องขึ้นอยู่กับสาตุหลาย ๆ อย่าง แต่ที่อาการเป็นเหมือนกัน ก็คือ โรคพาร์กินสันนี้จะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป จะไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเหมือนโรคทางสมองชนิดอื่น ๆ และอาการนี้จะเป็นมากขึ้นไปด้วยถ้าหากว่าปล่อยไว้นานเกินไป โดยอาการที่จะแสดงออกมีอาการดังต่อไปนี้ อาการสั่นเกร็ง จะมีอาการที่นิ้วมือ, แขน และขา ถ้าหากไม่ได้เคลื่อนไหวจะเกิดอาการสั่น และจะไม่สามารถควบคุมอาการได้ เมื่อเริ่มทำกิจกรรมอาการสั่นก็จะลดลง หรืออาจจะหายไป และอาจจะปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย เคลื่อนไหวช้า ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะใช้เวลานานในการเคลื่อนไหว หรือช้ากว่าคนปกติทั่วไป ทำให้ลำบากในการชีวิตประจำวัน และอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา การแสดงสีหน้าเหมือนใส่หน้ากาก คนป่วยจะมีสีหน้าที่เฉยเมยเวลาพูดคุยมุมปากก็จะยกขึ้นเพียงเล็กน้อยทำเหมือนคนไม่มีอารมณ์ร่วมด้วย ท่าเดินผิดปกติ คนป่วยจะก้าวเดินได้เพียงก้าวสั้น ๆ ในช่วงระยะแรก และจะค่อย ๆ ก้าวยาวขึ้น […]
คนเราเมื่อรู้สึกวิตกกังวล ร่างกายของเราก็จะตกอยู่ในสภาวะที่มีความตึงเครียดขึ้นมาทันที ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ เช่น อัตราของการเต้นหัวใจจะเพิ่มขึ้น การหายใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และเลือดจะไปหล่อเลี้ยงที่กล้ามเนื้อมากขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว เป็นต้น การตอบสนองเช่นนี้เกิดจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติซิมพาเทติก เป็นการตอบสนองทางร่างกายที่ จะสู้หรือจะหนี เพื่อต้องการให้ร่างกายเอาชนะหรือมีชีวิตรอดต่อสภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ได้ ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดผ่านพ้นไป อาการตอบสนองเหล่านี้ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของความเครียดกับร่างกาย คนเราเมื่อเผชิญกับความเครียด ความวิตกกังวล รวมไปถึงอารมณ์ในด้านลบ ก็มักจะแสดงออกมาในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือ กอดอก, ห่อไหล่, ทำหลังค่อม และในบางรายอาจมีการกัดฟันร่วมด้วย โดยท่าทางเหล่านี้อาจจะเป็นที่สัญชาตญาณของร่างกายที่ปกป้องตัวเองให้ปลอดภัย โดยลักษณะของร่างกายที่ปรากฏนั้น ถ้าเป็นนาน ๆ อาจจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ, หลัง และรอบ ๆ ข้อไหล่ เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลกัน อีกทั้งการกอดอกและทำไหล่ห่อจะต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณที่หน้าอกและกล้ามเนื้อบ่า และการที่อยู่ในท่าทางเหล่านั้นเป็นเวลานานจะทำให้หลังค่อมและคอยื่น การที่คอยื่นส่งผลทำให้กล้ามเนื้อด้านข้างลำคอที่เกาะในแนวของกกหูไปยังไหปลาร้าเกิดการหดตัวเกร็งค้าง และกล้ามเนื้อคอจะมัดลึกตรงบริเวณท้ายทอยก็หดตัวเกร็งค้างเช่นกัน เพื่อดึงศีรษะของเราขึ้นมาไม่ให้ตกลง และเพื่อปรับระดับของสายตาให้อยู่ในแนวระนาบทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนนั่นเอง นี่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เกิดขึ้นเมื่อคนเราตกอยู่ในภาวะความเครียด สาเหตุการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งเป็นเวลานาน ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ถ้าหากพิจารณาตามลักษณะและโครงสร้างของกล้ามเนื้อ จะพบว่าบริเวณรอบ ๆ และในกล้ามเนื้อก็จะมีเส้นเลือดวางตัวอยู่ […]
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย อาการที่จะแสดงออกมาก็มีตั้งแต่ส่วนบนเริ่มจากใบหน้า ไปจนถึงขา อาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการดังต่อไปนี้ บริเวณหนังตาตก, จะมองไม่ชัด และจะมองเห็นเกิดเป็นภาพซ้อน กลืนลำบาก, สำลักบ่อย, ลิ้นอ่อนแรง, หายใจได้ไม่สะดวก, พูดไม่ค่อยชัด และออกเสียงไม่ได้ บริเวณแขน ขาจะไม่มีแรง, ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้, เดินสะดุด และเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ กล้ามเนื้อบางในส่วนเกิดการกระตุกหรืออาจจะเป็นตะคริวบ่อย โดยเฉพาะตรงบริเวณมือ และเท้า ในกรณีบางรายโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้หายใจตื้น หายใจไม่สะดวก นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้ การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ, ไม่เครียด และไม่หดหู่ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นการช่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ดำเนินไปได้สะดวกขึ้น และเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าได้ อย่างเช่น การแปรงสีฟันด้วยไฟฟ้า การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรจะเน้นอาหารเป็นชนิดอ่อน ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย ทำการฝึกฝนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างราบรื่น อาทิเช่น การฝึกเดิน, ฝึกพูด และฝึกการกลืนอาหาร คอยสังเกตอาการของตัวเองจากอาการเริ่มแรกที่เป็น ว่ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับอาการที่ผ่านมาและต้องศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ว่าอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน หรือว่าอยู่ในระดับใด […]