fbpx

Category Archives: บทความเกี่ยวกับกระดูกและข้อ

ออฟฟิศซินโดรมมีสาเหตุมาจากอะไร

              ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ทำงานออฟฟิศ เพราะว่าลักษณะของการทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่ที่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา หรือว่าการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถซ้ำ ๆ กันและต่อเนื่องเป็นเวลานาน จึงส่งผลทำให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม และเกิดอาการผิดปกติทางระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบของกระดูกและกล้ามเนื้อ, การย่อยอาหารและการดูดซึม, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบฮอร์โมน และนัยน์ตาแห้ง สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม              ออฟฟิศซินโดรม มักจะเกิดมาจากการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมไปถึงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม อาทิ เช่น การนั่งขาไขว่ห้างเป็นประจำ, การนั่งหลังค่อม หรือการนั่งก้มหน้านาน ๆ เป็นต้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานซ้ำ ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อยืดค้างในแบบเดิมบ่อย ๆ จนบริเวณกล้ามเนื้อมัดนั้น เกิดการบาดเจ็บ หรืออาจจะขมวดกันเป็นก้อนจนทำให้ตึง และเกิดอาการปวดตามมา […]

อาการเบื้องต้นในระยะแรกของออฟฟิศซินโดรมมีอะไร

              สำหรับมนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ ท่านอาจจะกำลังตกอยู่ในสภาวะ “โรคออฟฟิศซินโดรม” ที่มีอาการปวดบริเวณต้นคอ, บ่า, ไหล่, หลัง หรืออาจจะปวดร้าวศีรษะ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่เรานั่งทำงานในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน หรือว่านั่งไม่ถูกวิธี ทำให้กล้ามเนื้อต้องเกร็งตัวเป็นระยะเวลานาน ๆ โดยที่ไม่มีการผ่อนคลาย หรือเปลี่ยนอิริยาบถ การจ้องคอมนาน ๆ อีกทั้งมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนการทำงานหนักจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดความเครียดร่วมด้วย ซึ่งถ้าหากไม่ทำการบำบัดรักษา หรือว่าป้องกันตั้งแต่ต้น ก็อาจจะส่งผลที่ร้ายแรงต่อสุขภาพได้ในภายหลัง               โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน จึงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ และอาการปวดเมื่อยเช่น บ่า, ไหล่ และแขน โดยเฉพาะที่บริเวณข้อมือ ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลมาก หรือส่งผลน้อย ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสะสมของโรค ในขณะที่บางรายนอกจากจะมีอาการเจ็บ หรือ ปวดแล้ว ก็ยังมีอาการอื่น ๆ […]

ออฟฟิศซินโดรมอันตรายหรือไม่ควรรักษาอย่างไร

ในปัจจุบันนี้คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม ” เป็นที่รู้จักกันป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมสูงมาก และกลุ่มอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด คือเกิดขึ้นกับกลุ่มของคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือว่าทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรือว่าอยู่ในท่าทางการทำงานไม่เหมาะสมต่อเนื่องนาน ๆ ทั้งในขณะที่นั่ง, ยืน, เดิน และทำงาน อาทิ เช่น การนั่งหรือการยืนหลังค่อม, ยืนห่อไหล่, การยกไหล่ หรือว่าการก้มคอมากจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือชาตามบริเวณต่าง ๆ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ อย่างเช่น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง, เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท, ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท, กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ, เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ, นิ้วล็อก, ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ และหลังยึดติดในท่าแอ่น ออฟฟิศซินโดรมอันตรายหรือไม่ โรคออฟฟิศซินโดรม คือ อาการที่ไม่ได้เสี่ยงถึงชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญและลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อ หรือว่ากระดูกที่ส่วนอื่น ๆ ได้ เรียกได้ว่า ถ้าเป็นแล้วและยิ่งปล่อยไว้ จะทำให้ยิ่งทรมาน จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการใช้ชีวิต รวมไปถึงสภาพของจิตใจได้มากที่เดียว   ควรรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างไร ในแนวทางของการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุดและเหมาะสมก็คือการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ สามารถเริ่มได้ที่ตัวของเราเอง โดยวิธีการที่ดีที่สามารถจะป้องกันอาการจาก “โรคออฟฟิศซินโดรม” […]

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดเกิดจากการใช้งานบริเวณของกล้ามเนื้อที่เดิม ๆ และซ้ำ ๆ กันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อย่างเช่น การที่เรานั่งทำงานอย่างต่อเนื่องกับคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่ได้ปรับเปลี่ยนกิริยาท่าทาง หรือว่าปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการนั่ง จึงส่งผลทำให้เกิดการปวดสะสมมาเป็นเวลานาจนกลายเป็นปวดแบบเรื้อรังได้ในที่สุด ซึ่งอาการปวดที่เกิดขึ้นนี้ จะพบร่วมกันกับอาการชาที่บริเวณแขน, มือ และปลายนิ้ว เนื่องจากเส้นประสาทส่วนปลายในแต่ละตำแหน่งได้ถูกกดทับไว้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานทั้งนี้กล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรามีลักษณะเป็นเส้นใยร้อยโยงต่อเนื่องกันหลายส่วน เมื่อกล้ามเนื้อของเราเริ่มมีการขมวดมัดกันจนเป็นปมขึ้น ก็จะทำให้ดึงรั้งกันไปมา ในตอนแรกอาการปวดตึงก็อาจจะเริ่มจากจุดหนึ่ง แต่พอเมื่อนานวันเข้าก็จะกลายเป็นร้าวไปปวดที่อีกจุดหนึ่ง เพราะการถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็งนั่นเอง และกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็จะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ โดยที่ไม่สามารถจะระบุหาตำแหน่งที่ปวดจริง ๆ ไม่ได้เลย   อาการของออฟฟิศซินโดรม เป็นเรื่องใกล้ตัว อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด โดยเฉพาะปวดตรงบริเวณคอ, บ่า และสะบัก ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการของระบบประสาทโดยอัตโนมัติร่วมด้วย อย่างเช่น อาจจะวูบ, มีเหงื่อออก, ตาเพรา, หูอื้อ, มึนงง และมีอาการชา เป็นต้น การอักเสบของเส้นเอ็นที่บริเวณข้อศอก, ข้อมือ และบริเวณนิ้วมือ เช่น เกิดการอักเสบที่บริเวณของเอ็นโค่นนิ้วโป้ง และทำให้นิ้วล็อคโดยปกติของคนที่ทำงานประจำในยุคนี้ ก็มักจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานได้ยาก เพราะจะต้องโฟกัสกับงานที่ทำอยู่ หรืออาจจะยุ่งจนลืมที่จะปรับเปลี่ยนกิริยาท่าทางและหยุดพักบ้าง เมื่อทำแบบนี้บ่อยครั้งจึงปล่อยให้อาการของโรคนี้อาการหนักมากขึ้น หรือว่าลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อและระบบประสาทในส่วนอื่น […]

กล้ามเนื้ออักเสบ นวดได้ไหม

  โรคกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อลายและยังเป็นอวัยวะที่หนักถึง 40% ของน้ำหนักตัวเรา และมีถึง 696 มัด ซึ่งจะต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยพบว่าประชากรทั่วไปประมาณ 30% ขึ้นไปจะมีอาการปวดที่มีสาเหตุเกิดมาจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อลายมัด จนทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และฝ่อลีบ ถ้าหากมีความผิดปกติของผิวหนังร่วมด้วย ก็จะเรียกว่า “โรคผิวหนัง และกล้ามเนื้ออักเสบ”    ปวด บวม แดง ร้อน หากมี 4 อาการนี้ อย่านวด   หลายคนที่มีอาการปวดเมื่อยบางอย่างแน่นอน และมองข้ามว่าเป็นการปวดเมื่อยเพียงเล็กน้อยเดี๋ยวก็หาย แต่ถ้าหากอาการที่เริ่มเปลี่ยน  จากแค่ปวดเมื่อยธรรมดาก็อาจจะกลายเป็นกลุ่มอาการของโรคแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ มีหลาย ๆ คนที่ปวดเมื่อยก็ไปนวด มีบ้างคนนวดจะรู้สึกว่ามีก้อนแข็ง ๆ บริเวณบ่าบ้าง, สะบักบ้าง หรือที่บริเวณหลังส่วนล่าง ยิ่งเวลาที่คนนวดกดโดนจุดที่กำลังปวดเมื่อยจะรู้สึกดี แต่ก็มีหลายคนอาจจะมีอาการปวดมากขึ้นหลังนวด เช่น ปวด, บวม, แดง และร้อน การที่เรารักษาโดยการไปนวด อาจจะเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะหากว่าคุณโชคดีเจอคนนวดเก่ง ๆ ก็ดีไป  แต่ถ้าหากเกิดโชคร้ายอาการปวดที่เป็นอยู่อาจเพิ่มมากขึ้น คนที่ไปนวดแล้วดีขึ้นส่วนมากมักจะดีขึ้นชั่วครั้งชั่วคราวเดี๋ยวก็ต้องไปนวดซ้ำไปซ้ำมา […]

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคใกล้ตัวที่คุณไม่ควรมองข้าม

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  มีหลายคนที่มีอาการปวดหลัง, ปวดคอ และอาการปวดตามร่างกายอีกหลายแห่ง อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ แล้วก็จะหายเองได้ภายในไม่กี่วัน แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวได้ไม่ดี, เดินได้ลำบาก และขาแข็งเกร็ง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคหมอนรองกระดูกสันทับเส้นประสาท ซึ่งถ้าหากมีอาการดังกล่าวแล้วยังปล่อยทิ้งเอาไว้นาน อาจจะทำให้การรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว หรือการทำกายภาพบำบัดจะไม่ได้ผลดีนัก และจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วยในการรักษาแทน   อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลังที่เกิดจากสาเหตุหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นประสาทแล้วล่ะก็จะทรมานมากเลยทีเดียวเพราะจะไม่มีเพียงแค่อาการปวดหลังเท่านั้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่จะเป็นปัญหาได้มากก็คือ อาการปวดหลังจะร้าวลงไปจนถึงขา อาจจะปวดเพียงข้างเดียว หรือว่าอาจจะปวดทั้งสองข้างก็ได้ จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อขาอ่อนแรงจนไม่สามารถทำให้เดินได้อย่างปกติ จะมีอาการชาของขาหนึ่งข้าง หรือทั้งสองข้างก็ได้ ทำให้การเดินลำบาก หรืออาจจะเดินได้ไม่ไกลเท่าไหร่   หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร สาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทหลัก ๆ ก็มาจากความเสื่อมของหมอนรองกระดูก  และจากการใช้งานที่มีผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรงเป็นเวลานานซ้ำ ๆ กัน อย่างเช่น การก้มหลังยกของที่หนักเกินไป, การขับรถเป็นเวลานาน, การทำกิจกรรมที่จะต้องก้ม ๆ เงย ๆ หลังเป็นประจำ, ได้รับอุบัติเหตุที่ไปกระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง, การชอบก้มหลังพร้อมกับการบิดตัว หรือแม้แต่เสื่อมไปตามอายุ จนทำให้เกิดการฉีกขาดของเส้นใยของหมอนรองกระดูกสันหลัง และจะค่อย ๆ ดันตัวจนปลิ้นออกมาทำให้ไปกดเบียดเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง   พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ไม่ควรมองข้าม การก้ม ๆ […]

ท่าบริหารแก้ไหล่ติด ง่ายๆที่คุณทำได้เองที่บ้าน

  ข้อไหล่ติด เป็นอาการที่เกิดจากเนื้อเยื่อถุงหุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบหรือเกิดความผิดปกติ จนทำให้มีอาการปวดไหล่และขยับข้อไหล่ไม่ได้เลย ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาการปวดจะกลายเป็นเรื้อรังหลายปี ข้อไหล่ไม่สามารถที่จะฟื้นตัวและกลับมาใช้งานได้ตามปกติ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย ฉะนั้นขอแนะนำให้ออกกำลังกายในท่าบริหารร่างกายที่สามารถทำเองง่าย ๆ ได้ที่บ้านเป็นท่าที่เน้นเฉพาะข้อไหล่ มีดังต่อไปนี้   การบริหารข้อไหล่ (กรณีข้อไหล่ติด) ท่าหมุนข้อไหล่ คือการยืนก้มหลังลงเล็กน้อย  หรือว่านอนคว่ำอยู่บนเตียงแล้วก็ปล่อยแขนห้อยลงไปตรง ๆ ค่อย ๆ หมุนแขนเป็นวงกลม โดยหมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ หมุน 10 รอบแล้วก็พักและทำซ้ำ 10 รอบ ท่าเคลื่อนไหวไหล่ทุกทิศทาง ให้ยกแขนไปด้านหน้า ให้ข้อศอกเหยียดตรง และยกสูงจนเสมอกันกับหัวไหล่ แล้วค้างไว้นับ 1-10 และทำซ้ำ 10 รอบ ให้ยกแขนไปด้านหลัง ข้อศอกต้องเหยียดตรง ยกให้สูงมากที่สุด ค้างไว้นับ 1-10 ทำซ้ำ 10 รอบ ยกแขนไปด้านข้าง ข้อศอกต้องเหยียดตรง กางแขนให้ได้มากที่สุดจนเสมอกันกับไหล่ และค้างไว้นับ 1-10 แล้วหุบแขนลงแนบกับลำตัวและทำซ้ำอีก 10 รอบ หุบแขนแนบกับลำตัว งอข้อศอกตั้งฉากให้มือชี้ตรงไปด้านหน้า […]

กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ปล่อยไวอันตรายแค่ไหน

            กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) คือภาวะอักเสบที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และล้ามากหลังจากเดินหรือว่ายืนเป็นเวลานาน ๆ อาการเจ็บและบวมที่บริเวณกล้ามเนื้อ โดยอาจจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ หรือกลายเป็นอาการเรื้อรัง แต่ทั้งนี้สาเหตุอาจจะเกิดมาจากการติดเชื้อ, เกิดจากการบาดเจ็บ, โรคภูมิคุ้มกันตัวเองบกพร่อง หรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงจากการที่ใช้ยาก็ได้ และในปัจจุบันนี้ก็มีหลายคนที่มีปัญหาในเรื่องของอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศ สาเหตุก็มาจากท่านั่งทำงาน ที่ส่งผลทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า Trigger Point หรือจุดกดเจ็บที่ซ่อนอยู่บริเวณของกล้ามเนื้อหรือเยื่อพังผืด     อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง อาการแรกเริ่มของโรคกล้ามเนื้ออักเสบจะเหมือนกับอาการของไข้หวัดใหญ่ คือจะมีไข้, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ท้องเสีย, อาเจียน, อ่อนเพลีย, เจ็บหน้าอก, หัวใจจะเต้นช้า  และผู้ป่วยบางคนถึงกับหายใจลำบากจนหมดสติเลยก็ได้ หรือคนที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง ก็จะสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ว่า ถ้ามีอาการปวดที่บริเวณกล้ามเนื้อ, ปวดร้าวลึก ๆ ที่บริเวณกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย, อาจจะปวดอยู่ตลอดเวลา หรือว่าปวดเฉพาะเวลาที่เอามือกดแล้วรู้สึกเจ็บ ความรุนแรงของอาการปวด จะเริ่มตั้งแต่ทำให้เรารำคาญไปจนถึงทำให้ทรมานจนเราไม่สามารถที่จะขยับบริเวณนั้นได้เลย ในบางรายอาจจะมีอาการมือชา, เท้าชา, ขาชาร่วมด้วย และในบางรายก็อาจจะมีอาการจนทำให้นอนหลับได้ยาก หรืออาจจะถึงขั้นนอนไม่หลับ  และขั้นที่เลวร้ายที่สุดอาจจะลามไปถึงโรคที่เกี่ยวกับกระดูกได้เลยทีเดียว  ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจจะทำให้เสียชีวิตในฉับพลันได้   โรคแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออักเสบ ผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบในบางรายก็อาจจะมีการตอบสนองต่อการรักษาได้ไม่ดีเท่าไหร่ และมีผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันจากกล้ามเนื้ออักเสบที่เป็น รวมไปถึงภาวะไตวาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้หากผู้ป่วยได้รับน้ำไม่เพียงพอ ทั้งนี้โรคกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดขึ้นหลายแห่งและชนิดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบร่วมกับผิวหนังอักเสบที่อาการรุนแรงอาจจะส่งผลต่อการหายใจและการกลืนอาหาร จนอาจจะต้องใช้การบำบัดในด้านการพูดและการใช้ภาษาหากอาการดังกล่าวจะทำให้มีผลต่อการสื่อสาร […]

รู้จักโรค หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน

กระดูกสันหลังของเราทุกคนจะมีเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างของกระดูกสันหลังทุกข้อตั้งแต่คอไปจนถึงเอว  กระดูกสันหลังจะทำหน้าที่คอยรองรับแรงกระแทก และยืดหยุ่นเวลาเราเคลื่อนไหวในทิศทางต่าง ๆ ถ้าหากไม่มีหมอนรองกระดูกสันหลัง การที่จะก้ม, เงย หรือการเคลื่อนไหวหลังก็จะไม่สะดวก โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Lumbar Disc Herniation) คือโรคที่พบได้บ่อยกับคนที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะว่าเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นหนึ่งของข้อต่อของกระดูกสันหลังก็จะเริ่มเสื่อมไปตามอายุ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเสื่อมที่อายุประมาณ 25-30 ปี ซึ่งในบางคนเมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ก็จะมีเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกเกิดการฉีกแยกจนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาและอาจจะไปกดทับเส้นประสาทส่วนมากแล้วจะเริ่มมีอาการปวดหลังนำมาก่อนแล้วถึงจะตามมาด้วยอาการปวดหลังร้าวลงไปที่ขา และอาจจะมีอาการชา, อ่อนแรง หรือการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยอาการส่วนมากมักจะสัมพันธ์กันกับการทำกิจกรรมและการใช้งานของหลังเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน เกิดจากการใช้งานและการทำกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ อย่างเช่น การยกของหนักผิดท่าบ่อย ๆ, การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน คนที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป เกิดจากการประสบอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกสันหลังเกิดการบาดเจ็บ แนวทางในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน กรณีที่คนป่วยที่เป็นคนอายุน้อย ซึ่งมีการปลิ้นของหมอนรองกระดูกที่ไม่มาก ในทางการรักษาของแพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ยาลดอาการปวด ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบของเส้นประสาท และให้ทำกายภาพเพื่อที่จะให้หมอนรองกระดูกหดกลับเข้าไปได้ แต่ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นเกิดกับคนที่อายุมาก ๆ ก็จะมีความเสื่อมเกิดขึ้นค่อนข้างมาก การให้ทำกายภาพเพื่อที่จะดึงหมอนรองกระดูกให้หดกลับเข้าไป หรือให้ยาเพื่อลดอาการปวดอาจจะส่งผลในทางรักษาให้ดีขึ้นได้ค่อนข้างน้อย เมื่อคนป่วยมีอาการตามที่ได้กล่าวมาแพทย์จะซักประวัติ  ถึงระดับความอาการปวด เมื่อทานยาแล้วอาการดีขึ้น หรือไม่ ถ้าอาการดีขึ้นแพทย์ก็ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด แต่ถ้าทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จนทำให้รู้สึกรำคาญกับอาการปวด หรืออาจจะปวดมากก็จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัด เพื่อนำหมอนรองกระดูกออก การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 คือ การผ่าตัดแบบแผลเปิด […]

ไหล่ติด ปวดไหล่ ทำให้เป็นอัมพาตได้หรือไม่

ข้อไหล่ เป็นข้อที่สำคัญของร่างกายไม่ต่างกับข้อเข่าเลย  เพราะว่าเป็นข้อที่สามารถทำให้การเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง และคล่องตัวอย่างมาก มีการทำงานร่วมกันกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เราสามารถเคลื่อนไหว หรือใช้งานแขนของเราในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ หากข้อไหล่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่สามารถที่จะใช้งานได้ อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดและบ่อยมากขึ้น โดยอาการอาจจะเกิดเป็นครั้งคราวหรือเรื้อรัง ถ้าหากมีอาการปวดไหล่ในระหว่างกำลังเอื้อมมือไปหยิบของจากที่สูง, เอื้อมมือไปรูดซิบด้านหลังเสื้อก็ไม่ได้, เอื้อมมือไปล้วงกระเป๋ากางเกงที่ด้านหลังได้ลำบาก, ยกแขนเพื่อสวมเสื้อไม่ได้ หรือแม้แต่ยกแขนขึ้นเพื่อสระผมตัวเองก็ทำลำบาก  นั่นเป็นสัญญาณอันตรายเสี่ยงภาวะไหล่ติด   ปวดไหล่ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง   การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด, เส้นเอ็นฉีกขาด, กระดูกหัก หรือทำให้ข้อเคลื่อน การใช้ข้อไหล่ที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและบริเวณกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อข้อไหล่เกิดการฉีกขาด การเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติของกระดูก, กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะพบกับผู้สูงอายุมากที่สุดทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย การติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อวัณโรค โรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ อย่างเช่น โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์ เป็นต้น เส้นเอ็นอักเสบ และมีแคลเซียมมาเกาะ เมื่อทำการเอ็กซเรย์จะเห็นว่ามีหินปูนสีขาวเกาะอยู่บริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่ ถุงน้ำที่ข้อไหล่เกิดการอักเสบ อาการปวดไหล่เป็นผลมาจากอาการปวดร้าวจากบริเวณอื่น หรือเกิดการอักเสบที่บริเวณใกล้เคียง อย่างเช่น กระดูกคอเสื่อม, กล้ามเนื้อหลังอักเสบ, เส้นประสารทเบรเคียลเกิดการอักเสบ, ถุงน้ำดีอักเสบ, […]