fbpx

Author Archives: drsutt

ยารักษาโรคเกาต์มีผลข้างเคียงหรือไม่

ยารักษาโรคเกาต์

  โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดมาจากร่างกายที่มีการสะสมของกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงมากและสะสมมาเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดตกตะกอนจนกลายเป็นผลึกเกลือยูเรตที่บริเวณเนื้อเยื่อของข้อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณข้อ และรอบ ๆ ข้อ เมื่อมีสาเหตุบางอย่างมากระตุ้นจะทำให้ข้ออักเสบอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ อายุมากขึ้นและการทำงานของไตลดลง หรือเกิดจากการที่เราใช้ยาบางชนิดรวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสำหรับการรักษาโรคเกาต์ แพทย์จะให้ยา เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบและช่วยลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำ  เช่น ยาโคลซิซิน (Colchicine) เป็นยาที่เจาะจงในการใช้ โดยหลัก ๆ แล้ว เป็นการนำมาใช้ในการรักษาการอักเสบกับคนป่วยโรคเกาต์ ทั้งการรักษาในขณะที่อาการกำเริบอย่างเฉียบพลัน และใช้เป็นยาป้องกันอาการในระยะยาวด้วย วิธีการใช้ยาColchicine Colchicine สามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ ทานยาเมื่อมีอาการแบบฉับพลัน ยาโคลซิซิน จะทำให้อาการข้ออักเสบหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนกรณีที่ใช้เพื่อเป็นการป้องกัน ควรจะทานยาอย่างสม่ำเสมอและต้องตรงเวลา ยา Colchicine ให้ใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากว่าผลข้างเคียงรุนแรงหากมีการใช้ยาเกินขนาดหรือใช้ยาร่วมกับยาบางชนิด อีกทั้งยังมีกลุ่มคนป่วยบางโรคที่ไม่สามารถใช้ยาชนิดนี้ได้อย่างเช่น โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร, หัวใจ, ไต และตับ รวมไปถึงหญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาโคลชิซิน  คือ ยาช่วยลดอาการอักเสบข้อจากโรคเกาต์  ทั้งแบบชนิดฉับพลันและใช้ในระยะยาว เพื่อเป็นการป้องกันอาการดังกล่าวด้วย แต่ยาชนิดนี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับอาการปวด เมื่อเริ่มมีอาการให้ใช้ยาทันทีฤทธิ์ยาจะออกได้ดีมาก ตัวยาจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ค่อนข้างจะรุนแรง ก่อนใช้ยาจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อน […]

อาการเส้นเอ็นอักเสบ เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการเส้นเอ็นอักเสบ

  เส้นเอ็นในร่างกายในส่วนที่ช่วยยึดระหว่างข้อต่อต่างๆ กับกล้ามเนื้อ จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้การเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถของมนุษย์มีความยืดหยุ่น แต่ถ้ามีอาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดขึ้น ย่อมกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหากเกิดกับเส้นเอ็นข้อต่อสำคัญเช่น ข้อเท้า ข้อเข่า อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากอะไรได้บ้าง เรามาดูกัน อาการเส้นเอ็นอักเสบเป็นอย่างไร อาการของเอ็นอักเสบนั้น จะแสดงออกจากอาการปวดหรือเจ็บในบริเวณอวัยวะที่มีข้อต่อต่างๆ เมื่อเราเคลื่อนไหว ยิ่งเมื่อใช้งานซ้ำทั้งที่เจ็บ จะเกิดอาการบวมนูน มีสีแดงในบริเวณที่เอ็นอักเสบ เนื่องจากเส้นเอ็นอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมกระดูกข้อต่อกับกล้ามเนื้อ ยืดหยุ่นไปตามจังหวะการเคลื่อนไหว อาการเส้นเอ็นอักเสบ จึงมักเกิดที่ หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ สะโพก หัวเข่า และข้อเท้า ถ้าไม่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นฉับพลันอย่างเช่น นักกีฬา ก็จะมีลำดับอาการดังนี้ รู้สึกขัดๆ เคลื่อนไหวไม่คล่องตัวเหมือนที่เคยเป็นมาตลอด อาจเริ่มมีอาการปวดนิดๆ เวลาเคลื่อนไหวก็ได้ มีอาการบวมแดง เหมือนฟกช้ำ อาการอักเสบจนรู้สึกอุ่น ๆ บริเวณนั้นๆ มีอาการบวมมากขึ้นจนเหมือนเป็นก้อนบวมตามเอ็นกล้ามเนื้อ    อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากอะไรได้บ้าง เกิดจากการใช้งานร่างกายที่มากเกินไป ระดับของความมากเกินไปนั้น ตั้งแต่การสะสมการใช้งานนานๆ แบบผิดท่า เช่น ยกของหนัก การเอื้อมยกของ การออกแรงเหวี่ยงผิดท่า บางทีเกิดจากการใช้งานแบบหักโหม โดยเฉพาะการเล่นกีฬาโดยวอร์มร่างกายไม่พอ หรือเล่นหนักเกินไป หรืออุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬา เกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็นจากการใช้งานมานาน […]

ทานยาลดกรดยูริคอยู่ แต่มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร

ยาลดกรดยูริค

          กรดยูริคในร่างกายนั้น มีทั้งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองและเกิดจากโรคภัยไข้เจ็บ โรคต่างๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายขับกรดยูริคได้ไม่หมด จนเกิดกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น เช่น โรคเก๊าท์ โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง ในการรักษาเช่น โรคเก๊าท์นั้น การทานยาลดกรดยูริคเป็นวิธีหนึ่ง แต่ถ้ารับประทานแล้ว มีอาการปวดกำเริบควรทำอย่างไร ลองมาดูกัน ยาลดกรดยูริคของคนเป็นโรคเก๊าท์         ยาลดกรดยูริคช่วยควบคุมอาการของโรคเก๊าท์ในระยะยาว ต้องทานตามคำแนะนำของแพทย์ ในปริมาณยาที่เหมาะสม ไม่เพิ่มปริมาณยาเองโดยพลการ แม้ว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งของการรักษาแต่ก็อาจทำให้มีอาการปวดกำเริบขึ้นได้ ผลข้างเคียงของการใช้ยาลดกรดยูริค         แม้ว่ายาลดกรดยูริค จะเป็นยาที่ช่วยในการควบคุมอาการของโรค แต่อาจจะส่งผลข้างเคียงบางประการ ซึ่งแต่ละอย่าง มีทั้งที่เป็นผลข้างเคียงทั่วไป และผลข้างเคียงที่ต้องดูเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอันตรายแก่คนไข้ได้ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้ยาลดกรดยูริค ได้แก่ ปวดตามบริเวณข้อต่อ ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีกรดยูริคสะสมอยู่ บางครั้งไม่ถึงกับปวดแต่จะมีอาการข้อยึด ตึง หรือข้อบวม มีอาการบวมบริเวณหน้า ริมฝีปาก เปลือกตา และมีอาการลมพิษ มีอาการข้างเคียงทางผิวหนัง คัน ผื่น หนังลอก มีตุ่มพอง มีอาการไข้ขึ้น และอาการข้างเคียงที่เป็นเบื้องต้นเช่น ปวดหัว […]

นิ้วโป้งบวม มียูริคสูง ควรทำอย่างไร

นิ้วโป้งบวม

มีอาการนิ้วโป้งบวม มียูริคสูง ควรทำอย่างไร             นิ้วโป้งบวมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การสะสมของยูริคอันเนื่องมาจากโรคเก๊าท์ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการดังกล่าว เราควรทำอย่างไร ถ้ามีอาการนิ้วโป้งบวมจากกรดยูริคสูง มาดูกัน ยูริคสูงทำให้มีอาการนิ้วโป้งบวม             เมื่อร่างกายมียูริคสูงเกินไปจนร่างกายขับออกทางปัสสาวะตามธรรมชาติไม่ทัน ซึ่งทุกคนมีโอกาสจะเกิดภาวะดังกล่าว เนื่องจากปกติกรดยูริคเป็นสิ่งที่ร่างกายจะผลิตขึ้นเองถึง 80% และเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงอีก 20% ดังนั้น หากร่างกายขับยูริคไม่หมด กรดยูริคเหล่านั้นจะถูกสะสมเอาไว้ และมีการตกผลึกเกาะอยู่ตามอวัยวะส่วนต่างๆ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นข้อ ซึ่งข้อที่ผลึกยูริคจะเกาะก่อนข้ออื่นๆ คือ ข้อที่อวัยวะส่วนล่างสุดคือ ข้อที่โคนนิ้วโป้งเท้า รวมถึงนิ้วอื่นๆ และจะเพิ่มการสะสมไปยังข้อต่างๆ มากขึ้นๆ คนที่มีอาการนิ้วโป้งเท้าบวม จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน จากอาการอักเสบ และอาจมีอาการข้อนิ้วปูดโปนขึ้นมา   ข้อสังเกตกรณีนิ้วโป้งบวมจากยูริคสูง         อาการนิ้วโป้งบวมนั้น อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น รูมาตอยด์ อาการจะใกล้เคียง ต่างกันที่ถ้าเกิดจากโรคเก๊าท์ที่มีสาเหตุมาจจากยูริคสูงอาการปวดบวมจะค่อยๆ บวมเป็นจุดๆ ปวดทีละข้าง เน้นเป็นที่ข้อ […]

ปวดบวมที่ข้อเท้าเสี่ยงเป็นโรคเก๊าท์หรือไม่?

โรคเก๊าท์

อาการปวดบวมที่ข้อเท้า เกิดจากหลายสาเหตุ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องเร่งหาสาเหตุและแก้ไขแบบด่วน เพื่อไม่ให้อาการรุกลามมากขึ้น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะหากเกิดจากโรคเก๊าท์ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดบวมที่ข้อเท้าที่เป็นอยู่นั้นมาจากโรคเก๊าท์หรือไม่ ลองมาดูกัน อาการปวดข้อเท้าโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร อาการปวดข้อเท้าที่เกิดจากโรคเก๊าท์นั้น เป็นอาการข้ออักเสบอย่างหนึ่ง หากเป็นการอักเสบที่มาเกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดมากเกินไป การสะสมของยูริกต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้น ทำให้เกิดผลึกเกาะอยู่ตามข้อต่อ ผลึกที่สะสมนั่นเองคือต้นเหตุทำให้เกิดอักเสบ บวมแดง แต่ต้องทราบก่อนว่า การเกิดขึ้นของยูริกในร่างกายเรานั้น เกิดขึ้นจาก ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง กล่าวคือ ยูริกประมาณ80 % ที่มีนั้นเกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง การรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เป็นอีก20 % ที่ทำให้มียูริกสะสมในร่างกายมากจนร่างกายขับออกไม่หมด ก่อให้เกิดสะสมบริเวณกระดูกและข้อต่างๆ เมื่อสะสมจนเกิดเป็นผลึกเกาะตามข้อ บวมอักเสบ เป็นเหตุของโรคเก๊าท์ดังกล่าว อาการปวดบวมที่ข้อเท้าสงสัยว่าเป็นโรคเก๊าท์หรือไม่ หากมีอาการปวดบวมที่ข้อเท้า ต้องดูก่อนว่า มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่ เกิดอุบัติเหตุที่กระทบกับข้อเท้าก่อนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่ใช่โรคเก๊าท์ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือไม่ ถ้าใช่ ก็มีแนวโน้มว่า อาการปวดบวมข้อเท้านั้น อาจเกิดจากโรคเก๊าท์ พิจารณาจากอาการปวด เพราะปวดเก๊าท์จะมีอาการคือ ปวดบวม ปวดร้อน และอักเสบจนมีสีแดง เป็นการปวดแบบฉับพลัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า มีอาการรุนแรง ภายใน 24 ชั่วโมง   […]

พาร์กินสัน โรคร้ายทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่นเกร็งของกล้ามเนื้อ

โรคพาร์กินสัน

  โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากสมองเสื่อมสภาพที่นอกเหนือจากโรคอัลไซเมอร์ และยังมีโรคอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมองที่ส่งผลกับร่างกายทำให้มีอาการสั่นเกร็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อีกทั้งมีผลต่อการเคลื่อนไหว นั่นก็คือ โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์สมองในส่วนของบริเวณก้านสมองส่วนกลาง ถูกทำลายไปทีละน้อย จนทำให้เกิดความเสียหาย โรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ และจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยที่ครอบครัวผู้สูงอายุควรจะต้องมีความรู้ และทำความเข้าใจกับโรคนี้ เพราะว่าโรคนี้ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด อาการของโรคพาร์กินสัน โรคพาร์กินสันโดยทั่วไปแล้วโรคนี้จะแสดงอาการออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันออกไป  ต้องขึ้นอยู่กับสาตุหลาย ๆ อย่าง แต่ที่อาการเป็นเหมือนกัน ก็คือ โรคพาร์กินสันนี้จะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป  จะไม่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเหมือนโรคทางสมองชนิดอื่น ๆ และอาการนี้จะเป็นมากขึ้นไปด้วยถ้าหากว่าปล่อยไว้นานเกินไป โดยอาการที่จะแสดงออกมีอาการดังต่อไปนี้ อาการสั่นเกร็ง จะมีอาการที่นิ้วมือ, แขน และขา ถ้าหากไม่ได้เคลื่อนไหวจะเกิดอาการสั่น และจะไม่สามารถควบคุมอาการได้ เมื่อเริ่มทำกิจกรรมอาการสั่นก็จะลดลง หรืออาจจะหายไป และอาจจะปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย เคลื่อนไหวช้า ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะใช้เวลานานในการเคลื่อนไหว หรือช้ากว่าคนปกติทั่วไป ทำให้ลำบากในการชีวิตประจำวัน และอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมา การแสดงสีหน้าเหมือนใส่หน้ากาก คนป่วยจะมีสีหน้าที่เฉยเมยเวลาพูดคุยมุมปากก็จะยกขึ้นเพียงเล็กน้อยทำเหมือนคนไม่มีอารมณ์ร่วมด้วย ท่าเดินผิดปกติ คนป่วยจะก้าวเดินได้เพียงก้าวสั้น ๆ ในช่วงระยะแรก และจะค่อย ๆ ก้าวยาวขึ้น […]

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงต้องดูแลตัวเองอย่างไร

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

              โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย  อาการที่จะแสดงออกมาก็มีตั้งแต่ส่วนบนเริ่มจากใบหน้า ไปจนถึงขา อาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการดังต่อไปนี้ บริเวณหนังตาตก, จะมองไม่ชัด และจะมองเห็นเกิดเป็นภาพซ้อน กลืนลำบาก, สำลักบ่อย, ลิ้นอ่อนแรง, หายใจได้ไม่สะดวก, พูดไม่ค่อยชัด และออกเสียงไม่ได้ บริเวณแขน ขาจะไม่มีแรง, ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้, เดินสะดุด และเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ กล้ามเนื้อบางในส่วนเกิดการกระตุกหรืออาจจะเป็นตะคริวบ่อย โดยเฉพาะตรงบริเวณมือ และเท้า ในกรณีบางรายโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้หายใจตื้น หายใจไม่สะดวก นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้   การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ, ไม่เครียด และไม่หดหู่ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นการช่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ดำเนินไปได้สะดวกขึ้น และเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าได้ อย่างเช่น การแปรงสีฟันด้วยไฟฟ้า การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรจะเน้นอาหารเป็นชนิดอ่อน ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย ทำการฝึกฝนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างราบรื่น อาทิเช่น การฝึกเดิน, ฝึกพูด และฝึกการกลืนอาหาร คอยสังเกตอาการของตัวเองจากอาการเริ่มแรกที่เป็น ว่ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับอาการที่ผ่านมาและต้องศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ว่าอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน หรือว่าอยู่ในระดับใด […]

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร อันตรายหรือไม่

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

        โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงแล้ว โรคนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบประสาทที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยโรคนี้จะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ จนตัวเราไม่อาจจะรู้ตัว และอาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง        โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดจากเซลล์ประสาทที่เสื่อมสภาพลงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงไปด้วย ซึ่งเซลล์ประสาทของส่วนนี้จะคอยทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคนี้เกิดมาจากหลาย ๆ สาเหตุจนก่อให้เกิดโรคร่วมกัน อาทิเช่น ทางพันธุกรรม ทางสิ่งแวดล้อม โดยคนป่วยอาจจะมีประวัติสัมผัสกับโลหะ หรือว่าสารเคมีบางชนิดที่สามารถทำให้ส่วนประสาทนำคำสั่งทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ   อันตรายของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง        โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตัวอันตรายเงียบ ๆ คือตัวคนป่วยยังคงทำกิจวัตรประจำวัน หรือใช้ชีวิตต่าง ๆ ได้เป็นปกติในช่วงระยะแรก ๆ ของวัน แต่หลังจากนั้นก็จะค่อย ๆ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงก็จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งถ้าหากคนป่วยได้หยุดผักการใช้กล้ามเนื้อตรงบริเวณนั้นไปชั่วขณะ ก็จะสามารถช่วยฟื้นฟูให้กล้ามเนื้อกลับมาใช้งานได้ตามปกติเช่นเดียวกัน แต่จะดีกว่าถ้าหากว่าคนป่วยไม่ปล่อยให้อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ชนิดเรื้อรัง เพราะความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น […]

โรคเกาต์กำเริบบ่อยแค่ไหน

โรคเกาต์กำเริบ

  โรคเกาต์ เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและอาการปวดข้อที่หลากหลาย ข้อต่อบางชนิดสามารถทำให้ข้ออักเสบได้ แต่บางชนิดอาจไม่เป็นเช่นนั้น โรคเกาต์เป็นอาการทั่วไปของโรคข้ออักเสบ เกิดมาจากกรดยูริกที่สะสมเป็นเวลานานจนทำให้ตกผลึก โรคข้ออักเสบจะมีอาการเจ็บปวดมาก มักจะส่งผลกระทบต่อข้อต่อในแต่ละครั้ง (มักจะเป็นข้อต่อหัวแม่เท้า) มีบางครั้งที่อาการแย่ลงหรือที่เรียกว่าอาการวูบวาบ และหลายครั้งที่ไม่มีอาการหรือที่เรียกว่าบรรเทาลง โรคเกาต์ที่เกิดซ้ำๆ อาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบจากเกาต์ ซึ่งเป็นอาการของโรคข้ออักเสบที่เลวลง โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในข้อหนึ่งข้อหรือมากกว่า มักจะส่งผลต่อหัวแม่เท้า และยังพบได้ในข้อต่ออื่น ๆ เช่น บริเวณหัวเข่า, ข้อเท้า, เท้า, มือ, ข้อมือ และข้อศอก อาการของโรคเกาต์กำเริบบ่อยแค่ไหน การกำเริบของโรคเกาต์นั้นจะเจ็บปวดมากและสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน และบ่อยครั้งในเพียงชั่วข้ามคืน ในระหว่างที่อาการของโรคเกาต์กำเริบอย่างกะทันหันนั้น คนที่เป็นโรคเกาต์จะมีอาการปวด บวมแดง หรือร้อนตรงบริเวณข้อต่ออย่างฉับพลันทันทีทันใด อาการปวดร้อนเหล่านี้จะตามมาด้วยการบรรเทาอาการเป็นเวลานาน อย่างเช่น เป็นอาทิตย์, เป็นเดือน หรืออาจจะเป็นปี โดยจะไม่แสดงอาการก่อนที่จะเกิดอีก โรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นครั้งละหนึ่งข้อเท่านั้น มักพบในนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากนิ้วหัวแม่เท้าแล้ว ข้อต่อที่จะได้รับผลกระทบทั่วไปก็คือข้อต่อ ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะแรก โรคเกาต์หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลได้อย่างถูกต้อง อาการข้ออักเสบก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยปวดถี่ขึ้นและนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง และอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวาย บางคนที่มีโรคเกาต์กำเริบบ่อยครั้ง หากไม่รักษาโรคเกาต์ อาการเจ็บปวดอาจเกิดบ่อยขึ้น และยาวนานขึ้น โรคเกาต์กำเริบอาจเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในข้อต่อเดียวกันหรืออาจจะส่งผลต่อบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เป็นต้น   ดังนั้นคนที่ทานอาหารจำพวกโปรตีนหรือสารพิวรีนสูง […]

เมื่อเป็นโรคเกาต์เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรในชีวิตประจำวัน

         ในร่างกายของเราสามารถสร้างกรดยูริกในขบวนการย่อยสลายของสารพิวรีนที่สามารถพบได้ในอาหาร และเครื่องดื่มบางชนิด เป็นผลมาจากการที่กรดยูริกในเลือดได้มีการกรองผ่านไต และทำการขับออกทางไตผ่านการปัสสาวะ เมื่อร่างกายผลิตกรดยูริกมากเกินไป ทำให้ไตไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกได้ดี  จึงทำให้ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง และผลึกของกรดยูริกจะไปตกที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคเกาต์ตามมา แต่จะอย่างไรก็ตาม ก็มีอีกหลายคนที่มีรกรดยูริกในเลือดสูงไม่เคยเป็นโรคเกาต์ก็มี โรคเกาต์มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการทำงานและการพักผ่อน  แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเมื่อเป็นโรคเกาต์ได้ เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ รวมถึงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อย่างเช่น อาหารที่มีเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล  และต้องลดปริมาณในการดื่มประเภทแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ และสุราเป็นต้น เรียนรู้การจัดการตนเอง ศึกษาข้อมูลในการจัดการตนเอง ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ และโรคเกาต์ เข้าใจว่าโรคข้ออักเสบจะส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างไรบ้าง การออกกำลังกาย  การออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การทำกิจกรรมทุกนาทีมีค่า และการทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย กิจกรรมที่เบาไม่ต้องออกแรงมากที่ขอแนะนำ ได้แก่ การเดิน, การว่ายน้ำ, การปั่นจักรยาน หรือกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ และอย่าบิดหรือทำให้ข้อต่อตึงมากจนเกินไป เพราะว่าการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานได้ พบแพทย์  คุณสามารถควบคุมโรคข้ออักเสบของคุณโดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี การลดน้ำหนัก สำหรับคนที่มีน้ำหนักมากเกิน หรือว่าเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักจะเป็นการช่วยลดแรงกดตรงบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนัก อย่างเช่น สะโพกและหัวเข่า การเข้าถึงหรือรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถช่วยบรรเทาอาการปวด […]