โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกสะสมมากเกินไป จนทำให้ตกตะกอนเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะภายในข้อต่อและพังผืด รอบๆข้อและไต โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในข้อหนึ่งข้อหรืออาจจะมากกว่า มักจะส่งผลต่อหัวแม่เท้า แต่ยังพบในข้อต่อบริเวณอื่นๆ เช่น หัวเข่า ข้อเท้า เท้า มือ ข้อมือ และข้อศอก โรคเกาต์ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการทำงานและการพักผ่อน โชคดีที่ปัจจุบันนี้มีข้อมูลและโครงการโรคข้ออักเสบในการดูแลตัวเองมากมายที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเกาต์ได้ เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ ซึ่งรวมไปถึงอาหารที่มีค่าสารพิวรีนสูง (เช่น เนื้อแดง เครื่องใน และอาหารทะเล) และงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะเบียร์และสุรา) โครงการโรคข้ออักเสบของ CDC แนะนำวิธีการจัดการตนเอง 5 ประการสำหรับการดูแลโรคข้ออักเสบและอาการของโรค สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยในโรคเกาต์ได้เช่นกัน ดังนี้ เรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองเข้าร่วมเรียนวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและโรคเรื้อรังอื่น ๆ รวมไปถึงโรคเกาต์ ได้เข้าใจว่าโรคข้ออักเสบมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการควบคุมอาการและการใช้ชีวิตให้ดี การเคลื่อนไหวร่างกายจะมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ กิจกรรมทุกนาทีมีค่า และกิจกรรมใด ๆ ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย กิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำปานกลางที่แนะนำ ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับโรคเก๊าท์
โรคเกาต์ เป็นโรคเกี่ยวกับข้อและอาการปวดข้อที่หลากหลาย ข้อต่อบางชนิดสามารถทำให้ข้ออักเสบได้ แต่บางชนิดอาจไม่เป็นเช่นนั้น โรคเกาต์เป็นอาการทั่วไปของโรคข้ออักเสบ เกิดมาจากกรดยูริกที่สะสมเป็นเวลานานจนทำให้ตกผลึก โรคข้ออักเสบจะมีอาการเจ็บปวดมาก มักจะส่งผลกระทบต่อข้อต่อในแต่ละครั้ง (มักจะเป็นข้อต่อหัวแม่เท้า) มีบางครั้งที่อาการแย่ลงหรือที่เรียกว่าอาการวูบวาบ และหลายครั้งที่ไม่มีอาการหรือที่เรียกว่าบรรเทาลง โรคเกาต์ที่เกิดซ้ำๆ อาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบจากเกาต์ ซึ่งเป็นอาการของโรคข้ออักเสบที่เลวลง โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในข้อหนึ่งข้อหรือมากกว่า มักจะส่งผลต่อหัวแม่เท้า และยังพบได้ในข้อต่ออื่น ๆ เช่น บริเวณหัวเข่า, ข้อเท้า, เท้า, มือ, ข้อมือ และข้อศอก อาการของโรคเกาต์กำเริบบ่อยแค่ไหน การกำเริบของโรคเกาต์นั้นจะเจ็บปวดมากและสามารถเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน และบ่อยครั้งในเพียงชั่วข้ามคืน ในระหว่างที่อาการของโรคเกาต์กำเริบอย่างกะทันหันนั้น คนที่เป็นโรคเกาต์จะมีอาการปวด บวมแดง หรือร้อนตรงบริเวณข้อต่ออย่างฉับพลันทันทีทันใด อาการปวดร้อนเหล่านี้จะตามมาด้วยการบรรเทาอาการเป็นเวลานาน อย่างเช่น เป็นอาทิตย์, เป็นเดือน หรืออาจจะเป็นปี โดยจะไม่แสดงอาการก่อนที่จะเกิดอีก โรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นครั้งละหนึ่งข้อเท่านั้น มักพบในนิ้วหัวแม่เท้า นอกจากนิ้วหัวแม่เท้าแล้ว ข้อต่อที่จะได้รับผลกระทบทั่วไปก็คือข้อต่อ ข้อเท้า เข่า และข้อมือ ซึ่งอาการจะเป็น ๆ หาย ๆ ในระยะแรก โรคเกาต์หากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลได้อย่างถูกต้อง อาการข้ออักเสบก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนทำให้ผู้ป่วยปวดถี่ขึ้นและนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง และอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคไต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และไตวาย บางคนที่มีโรคเกาต์กำเริบบ่อยครั้ง หากไม่รักษาโรคเกาต์ อาการเจ็บปวดอาจเกิดบ่อยขึ้น และยาวนานขึ้น โรคเกาต์กำเริบอาจเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในข้อต่อเดียวกันหรืออาจจะส่งผลต่อบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เป็นต้น ดังนั้นคนที่ทานอาหารจำพวกโปรตีนหรือสารพิวรีนสูง […]
ในร่างกายของเราสามารถสร้างกรดยูริกในขบวนการย่อยสลายของสารพิวรีนที่สามารถพบได้ในอาหาร และเครื่องดื่มบางชนิด เป็นผลมาจากการที่กรดยูริกในเลือดได้มีการกรองผ่านไต และทำการขับออกทางไตผ่านการปัสสาวะ เมื่อร่างกายผลิตกรดยูริกมากเกินไป ทำให้ไตไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกได้ดี จึงทำให้ร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง และผลึกของกรดยูริกจะไปตกที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคเกาต์ตามมา แต่จะอย่างไรก็ตาม ก็มีอีกหลายคนที่มีรกรดยูริกในเลือดสูงไม่เคยเป็นโรคเกาต์ก็มี โรคเกาต์มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการทำงานและการพักผ่อน แต่เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเมื่อเป็นโรคเกาต์ได้ เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดโรคเกาต์ รวมถึงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง อย่างเช่น อาหารที่มีเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล และต้องลดปริมาณในการดื่มประเภทแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ และสุราเป็นต้น เรียนรู้การจัดการตนเอง ศึกษาข้อมูลในการจัดการตนเอง ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ และโรคเกาต์ เข้าใจว่าโรคข้ออักเสบจะส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างไรบ้าง การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การทำกิจกรรมทุกนาทีมีค่า และการทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย กิจกรรมที่เบาไม่ต้องออกแรงมากที่ขอแนะนำ ได้แก่ การเดิน, การว่ายน้ำ, การปั่นจักรยาน หรือกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำเหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำที่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ และอย่าบิดหรือทำให้ข้อต่อตึงมากจนเกินไป เพราะว่าการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานได้ พบแพทย์ คุณสามารถควบคุมโรคข้ออักเสบของคุณโดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี การลดน้ำหนัก สำหรับคนที่มีน้ำหนักมากเกิน หรือว่าเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักจะเป็นการช่วยลดแรงกดตรงบริเวณข้อต่อ โดยเฉพาะข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนัก อย่างเช่น สะโพกและหัวเข่า การเข้าถึงหรือรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถช่วยบรรเทาอาการปวด […]
”กินสัตว์ปีกเยอะระวังจะเป็นเกาต์นะ” ประโยคนี้ที่เราได้ยินกันจนชินจากคนรอบตัวเรา จนทำให้หลาย ๆ คนคิดมากทุกครั้งเวลาที่จะทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เพราะว่าอาการของโรคเกาต์น่ากลัวตั้งแต่อาการเริ่มปวดตามข้อต่าง ๆ บนร่างกายของเราและอาจจะไปจนถึงความพิการ หรือว่าอาจจะทำให้เกิดเป็นโรคไตวายแทรกซ้อนได้ โดยที่เราไม่ทราบว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคนี้เกิดมาจาก “กรดยูริก” ที่มีสะสมในร่างกายที่มากเกินไปหรือไม่ การรับประทานสัตว์ปีกในปริมาณที่มากไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์ แต่เพราะโรคนี้เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกในร่างกายที่มีในปริมาณมาก และแน่นอนว่ากรดยูริกชนิดนี้ไม่ใช่กรดที่จะสามารถพบได้มากเฉพาะแต่สัตว์ปีกเพียงเท่านั้น เนื่องจากว่าโรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดมาจากการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นต้น ดังนั้นถ้าหากจะแก้ไขปัญหาก็จะต้องแก้ที่ต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายเหตุอย่างเดียว เช่น การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนสูง ได้แก่ เห็ด,ไข่ปลา,ปลาดุก, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน, กุ้ง, ผักชะอม, ผักกระถิน, ผักสะเดา, กะปิ, น้ำต้มกระดูก และซุปก้อน แต่เนื่องจากว่ากรดยูริกจะถูกผลิตมาจากร่างกายของเราเอง ประกอบกับการรับประทานอาหารที่เราทานด้วยในส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้มีผลมากมายเท่ากับกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายแต่อย่างใด ถึงแม้ว่าการที่เราทานสัตว์ปีกจะไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรคเกาต์ แต่ถ้าสำหรับคนที่เป็นโรคเกาต์อยู่ก่อนแล้วการที่จะรับประทานสัตว์ หรือว่าอาหารจำพวกที่มีโปรตีน และกรดยูริกสูงก็อาจจะทำให้อาการกำเริบขึ้นมาได้ ทั้งนี้โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดมาจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของสาร พิวรีน ในร่างกายทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริกมากกว่าปกติ จนตกผลึกอยู่ในรูปของเกลือยูเรต หรือเรียกว่า Urate crystals ทำให้เกิดการสะสมตามบริเวณข้อต่าง ๆ แล้วเมื่อเกิดการแตกตัวออกก็จะเข้าไปแทงตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวม และเป็นโรคเกาต์ได้ในที่สุด ซึ่งจะพบมากในผู้ชาย 80-90% และจะเริ่มเป็นตั้งแต่อายุระหว่าง […]
โรคเกาต์ เป็นโรคที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมากและสะสมมานาน จนทำให้เกิดการตกตะกอนสะสมกลายเป็นผลึกเกลือยูเรตตามบริเวณเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อ และบริเวณรอบ ๆ ข้อ เมื่อมีสาเหตุบางอย่างมากระตุ้นจะทำให้ข้ออักเสบอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ อายุมากขึ้นและการทำงานของไตลดลง หรือเกิดจากการที่เราใช้ยาบางชนิดรวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และสำหรับการรักษาโรคเกาต์ แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาอาการข้ออักเสบและช่วยลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำกว่า 5 – 6 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เช่น การใช้ยาโคลชิซิน (Colchicine) ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันและใช้ในการป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบซ้ำจากโรคเกาต์ ผลข้างเคียงของยาที่สำคัญก็คือ ทำให้การขับถ่ายเหลวหรือทำให้ท้องร่วง ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดในคนป่วยที่สูงอายุ สำหรับคนป่วยที่การทำงานของไตเกิดบกพร่องควรจะต้องมีการปรับขนาดยา เพื่อเป็นการป้องกันผลข้างเคียงจากยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ยาสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ ใช้ในการรักษาสภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันโดยเฉพาะคนป่วยที่มีข้อห้ามในการใช้ยาโคลชิซินหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แพทย์อาจจะพิจารณาให้เป็นยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานหรือว่าฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ หรือกับคนป่วยบางรายแพทย์อาจจะฉีดเข้าบริเวณข้อโดยตรงในกรณีที่มีข้ออักเสบฉับพลันจากเกาต์ที่เป็นข้อใหญ่ 1-2 ข้อ ผลข้างเคียงที่พบก็คือ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดก็เพิ่มขึ้นด้วย ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถยับยั้งการอักเสบชนิดฉับพลันได้ดี ยากลุ่มนี้มีหลากหลายชนิดและสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป จึงเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาภาวะข้ออักเสบชนิดฉับพลันจากโรคเกาต์ ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาก็คือ ทำให้ระคายเคืองหรือทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร คนป่วยบางรายอาจจะมีเลือดออกที่ทางเดินอาหารได้ และยาอาจจะทำให้เกิดไตวายอย่างเฉียบพลันในคนป่วยบางรายโดยเฉพาะคนป่วยสูงอายุ ซึ่งจะเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดข้ออักเสบให้กำเริบซ้ำอีก ปุ่มและก้อนโทฟัสก็จะค่อย ๆ มีเล็กลง คนป่วยเกือบจะทุกรายที่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็จะไม่มีอาการปวดข้ออีก แต่คนป่วยโรคเกาต์อีกหลายคนที่เลือกซื้อยามาทานเอง ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีอาการกำเริบอยู่บ่อย ๆ และโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามีมากที่สุด อย่างเช่น […]
โรคเกาต์ คือโรคปวดตามข้อชนิดหนึ่ง สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าเรากำลังเป็นโรคเกาต์หรือไม่ โดยให้ดูจากที่อยู่ดี ๆ ก็เกิดอาการปวด ร้อนที่บริเวณข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า หรือบริเวณข้อเข่าอย่างฉับพลันและเจ็บมากขึ้นจนไม่สามารถเดินได้ และจะปวดที่บริเวณข้ออื่น ๆ ตามมา อาจจะมีอาการไข้หนาวสั่นร่วมด้วย และมักจะเป็นช่วงเวลากลางคืน แต่อาการก็อาจจะดีขึ้นเองภายใน 2-3 วัน ถ้าหากใครที่มีอาการตามนี้ก็คงไม่ต้องสงสัยเลยคุณเป็นโรคเกาต์แน่นอน และในทุกวันนี้คนส่วนมากก็หันมาใส่ใจในเรื่องของการทานอาหารกันมากขึ้น เพราะว่าการทานอาหารไม่ดีก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างการทานอาหารอย่างไรไม่ให้โรคเกาต์กำเริบ และวันนี้เราได้นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เมื่อเป็นโรคเกาต์จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร คนที่เป็นโรคเกาต์เป็นเพราะว่ามีกรดยูริกเกิดการสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นการที่จะระวังไม่ให้มีกรดยูริกเกิดการสะสมในร่างกายมากจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ถูกต้อง ซึ่งเราสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการเลือกทานอาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ หรือสารพิวรีนปานกลางก็จะทำให้ร่างกายได้รับกรดยูริกได้น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดี หรือคนที่มีอาการปวดข้ออย่างรุนแรง ควรจะงดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงโดยเด็ดขาด เช่น กลุ่มที่มีสารพิวรีนสูง คนป่วยโรคเกาต์ในระยะที่โรคกำเริบควรจะงดอย่างเด็ดขาด เช่น เนื้อไก่ หัวใจไก่ ปลาอินทรีย์ มันสมองวัว ตับไก่ กึ่นไก่ ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน เซ่งจี๊หมู ตับหมู กุ้งชีแฮ้ หอย ไข่ปลา หัวใจ […]
เกาต์ หรือ เก๊าท์ เป็นโรคปวดบริเวณข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่จะพบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง จัดว่าเป็นโรคของคนในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยอายุ 30-60 ปี จะพบโรคข้ออักเสบนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สามารถสังเกตได้ว่าคนที่อายุมากขึ้นยิ่งจะมีโอกาสจะเป็นโรคข้ออักเสบก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนผู้หญิงก็จะสามารถพบได้น้อย หรือถ้าหากพบก็มักจะพบหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว โดยทั่วไปมักจะเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว หรือในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ข้อพร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุดก็คือ นิ้วหัวแม่เท้า สาเหตุของโรคเกาต์ โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรต ตามบริเวณส่วนต่าง ๆของเนื้อเยื่อ เช่น ตรงบริเวณข้อ จะทำให้เกิดข้ออักเสบ บริเวณไต จะทำให้เกิดนิ่วในไต และไตวายได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกที่มีในเลือดสูงนั้น ก็เนื่องมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปริมาณที่ขับออกจากร่างกาย นอกจากนี้การที่กรดยูริกอยู่ในเลือดสูงก็เป็นผลมาจากที่ร่างกายขาดยีนในการที่จะช่วยสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบอีกว่าอาจจะเป็นผลมาจากอาหารที่เราทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกที่มีสารพิวรีนสูง และขบวนการของการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนแต่ได้ สารพิวรีนออกมา ซึ่งกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากกระบวนการนี้ หรืออาจจะเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณในการขับออกจากร่างกายนั้นมีน้อยกว่า กรดยูริกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะมีการขับออกจากร่างกายโดยการขับออกระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะสามารถขับออกมาได้ประมาณ 1 […]
โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุดในคนไทย ซึ่งจะทำให้ส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ทั้งนี้โรคเกาต์เกิดมาจากร่างกายมีการสะสมกรดยูริกในปริมาณมากเกินไป และไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกที่เป็นส่วนเกินออกได้ จึงทำให้ตกผลึกตามบริเวณข้อและอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เจ็บปวดส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, นิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า อาการปวดจะปวดแค่ข้อเดียวไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ จะปวดข้างใดข้างหนึ่ง และถ้ามีปุ่มกระดูกปรากฏที่ข้อ หากเกิดอาการข้ออักเสบอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อนเพราะจะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการจะปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ อาการปวดบริเวณข้อนี้อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ เราควรสังเกตตนเอง ถ้าหากอาการปวดเริ่มรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ผู้ที่ชำนาญการเพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งแนวทางในการรักษาก็มีทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่าตัด เพื่อที่จะได้กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติดังเดิม อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์ อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์ จะเริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงที่สะสมเป็นระยะเวลา 10 ปี การอักเสบของข้อในครั้งแรกมักจะพบในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40-60 ปี แต่ผู้หญิงมักจะพบหลังจากวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ และจะมีการอักเสบรุนแรงอย่างเฉียบพลัน จากระยะที่ค่อย ๆ เริ่มปวดจนถึงระยะอักเสบเต็มที่ภายใน 24 […]
เกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนและโปรตีนเข้าไปในปริมาณมาก สาร“พิวรีน” เป็นสารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต จะพบอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ไว เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา สัตว์ตัวเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องในสัตว์ รวมไปถึงในพืชที่กำลังเติบโต อย่างเช่น ยอดผัก และถั่ว ถ้าหากคนที่เป็นโรคเกาต์โดยพันธุ์กรรมอยู่ก่อนแล้วก็สามารถที่จะรับประทานอาหาร และผักที่คนป่วยโรคเกาต์สามารถทานได้ แต่ควรทานอย่างรู้ปริมาณที่พอเหมาะ คือผักที่มีสารพิวรีนต่ำมีอยู่ 3 กลุ่มผักดังต่อไปนี้ กลุ่มผักที่มีสารพิวรีนต่ำ ผักในกลุ่มที่สารพิวรีนต่ำ ได้แก่ บีทรูท, แตงกวา, ผักกาดหอม, มันฝรั่ง และพืชตระกูลน้ำเต้า เป็นต้น ผักเหล่านี้จะสามารถช่วยทำให้กรดยูริกลดลงได้ประมาณ 50 มิลลิกรัมต่อผัก 100 กรัม กลุ่มผักที่มีสารพิวรีนต่ำและมีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง ผักในกลุ่มนี้ก็จะมี กะหล่ำปลีม่วง และพริกแดง มีสารพิวรีนต่ำ และยังมีช่วยสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สารไลโคปีน, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน สารเหล่านี้จะไปทำลายสารอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่เป็นตัวทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราส่งผลทำให้เป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ ฉะนั้นผักกลุ่มนี้นอกจากจะไม่ทำให้เกิดโรคเกาต์แล้ว ยังจะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันไปพร้อม ๆ […]
โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าคนที่จะเป็นโรคเกาต์ คือจะต้องเป็นคนที่กินไก่เยอะมาก ๆ แน่นอนเลย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากกระบวนการของร่างกายที่เกิดความผิดปกตินั่นเอง โรคเกาต์มีต้นเหตุมาจากการที่ร่างกายมีสารพิวรีน ที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราสลายตัวต่ออีกทีได้กรดยูริก ซึ่งปกติแล้วกรดยูริกนี้ 2 ใน 3 จะถูกขับออกผ่านทางไต และ 1 ใน 3 ก็จะถูกสลายด้วยแบคทีเรียในลำไส้นั่นก็แสดงว่าถ้าหากไตของเราไม่มีปัญหาร่างกายของเราก็สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้ตามปกติ จึงไม่มีการสะสมของกรดยูริกที่บริเวณไขข้อ แต่ถ้าคนไหนที่มีภาวะไตเสื่อม หรือว่าอาจจะได้รับผลข้างเคียงจากยาบางชนิด กรดยูริกก็จะถูกขับออกทางไตได้น้อยลง ทำให้กรดยูริกสะสมในเลือดสูงขึ้น และทำให้เกิดการสะสมที่บริเวณข้อ จนกายเป็นโรคเกาต์ในที่สุด แต่ทั้งนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมก็ยังมีส่วนเร่งทำให้เกิดโรคเกาต์ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงการกินไก่ ที่ตกเป็นจำเลยทางสังคมมานมนาน ก็ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จริง!” การกินไก่ไม่ได้ทำให้เป็นโรคเกาต์เสมอไป แล้วถ้าหากจะบอกว่าการกินอาหารที่มีค่าพิวรีนสูงทำให้เป็นโรคเกาต์ ก็ควรที่จะพิจารณาปริมาณของค่าพิวรีนในเนื้อไก่ก่อนว่ามันมีอยู่เท่าไหร่ สูงมากแค่ไหน ก็จะพบว่าเนื้อไก่จัดอยู่ในกลุ่ม moderate หรือมีค่าพิวรีนระดับปานกลาง แต่กลุ่มที่ค่าพิวรีนสูง คือ พวกที่มีแอลกอฮอลล์ อย่างเช่น เหล้า เบียร์ สารที่ให้ความหวาน ที่อยู่ในน้ำอัดลม รวมไปถึงน้ำตาลทรายขาว และพวกเครื่องในสัตว์ เช่น […]