รู้ไว้ก่อนร่างพัง ฟิตเนส เล่นอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว ไม่ใช่เรื่องน่าสนุกเลยหากเกิดการบาดเจ็บระหว่างออกกำลังกาย เพราะนอกจากจะทำให้ไม่สามารถออกกำลังกายต่อได้แล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันด้วย แม้ว่าหลายคนจะออกกำลังกายในฟิตเนสและมีเทรนเนอร์ดูแล แต่ก็ยังสามารถเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นได้ ดังนั้นเราจึงควรมาเรียนรู้กันว่า ฟิตเนส เล่นอย่างไรไม่ให้เจ็บตัว ลักษณะอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย การออกกำลังกายในฟิตเนสมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้บริการ ซึ่งในแต่ละประเภทของการออกกำลังกายหากหักโหมหรือทำผิดวิธีก็สามารถทำให้เกิดอาการบาดเจ็บในลักษณะที่เบาหรือหนักจนกระดูกหักได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่แล้วมันจะเกิดกับส่วนต่างๆ ของร่างกายดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อ เมื่อมีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนต่างมีการทำงานหนักซึ่งหากหักโหมหรือมีการผิดพลาดจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือฉีดขาดได้ เส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย โดยเป็นการอักเสบของเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เส้นเอ็นยึดข้อ เป็นลักษณะที่เกิดการอักเสบหรือฉีกขาดของเส้นเอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกและกระดูก กระดูกมีรอยร้าวหรือได้รับแรงกระแทกซ้ำๆ มากเกินไป เมื่อบาดเจ็บแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร อาการบาดเจ็บระหว่างที่กำลังฟิตเนสไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่หากมันเกิดขึ้นแล้วคุณควรจะปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องเหมาะสมเพราะหากยิ่งฝืนในจุดที่มีอาการบาดเจ็บจะยิ่งทำให้อาการลุกลามและหายช้ากว่าเดิม โดยหากมีอาการบาดเจ็บควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ หากเกิดอาการบาดเจ็บให้หยุดการออกกำลังกายทั้งหมดเอาไว้ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนอื่นๆ บาดเจ็บไปด้วย รวมทั้งหากยังฝืนเล่นจะยิ่งทำให้อาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ไม่ได้ออกกำลังกายมาเป็นเวลานานแล้วมีอาการปวดเมื่อยหลังการออกกำลังกาย อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่การบาดเจ็บเพราะการออกกำลังกาย แต่เป็นเพราะกล้ามเนื้อที่ไม่ได้ออกกำลังกายมานานเกิดความช้ำและไม่เคยชินเท่านั้น โดยอาการนี้จะหายไปเองได้ภายใน 2-3 วัน ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา อาการบาดเจ็บที่มีอาการบวม สามารถประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการบาดเจ็บ และควรยกสวนที่บาดเจ็บให้สูงขึ้นเพราะจะช่วยลดอาการบวมได้ ในกรณีที่มีอาการเจ็บมาก บาดเจ็บอย่างรุนแรงให้รีบไปพบแพทย์และต้องเคลื่อนอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บเกี่ยวกับกระดูกร้าวหัก เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำมากกว่าเดิม หากมีอาการบาดเจ็บเพราะกิจกรรมการออกกำลังกายใด ไม่ควรทำกิจกรรมนั้นซ้ำ […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
วิธีป้องกันโรคนิ้วล็อค ภัยเงียบใกล้ตัวของสังคมก้มหน้า เป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่หลายคนอาจกำลังเผชิญอยู่แต่ไม่รู้ว่าเป็นภัยร้ายกว่าที่คิด สำหรับ โรคนิ้วล็อค เพราะด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของสังคมเมืองที่มักจะก้มหน้าใช้นิ้วเล่นสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการนิ้วล็อคขึ้นได้ง่ายๆ ดังนั้นก่อนที่จะมีอาการถึงขั้นรุนแรงเราควรเรียนรู้วิธีป้องกันโรคนิ้วล็อคไว้ก่อนที่จะสาย อาการโรคนิ้วล็อค อาการของโรคนิ้วล็อคสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ส่วนใหญ่แล้วคนไข้จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการตั้งแต่ในระยะแรก เพราะเมื่อมีอาการมักจะไม่สามารถหายเองได้ โดยระยะของโรคมีดังต่อไปนี้ 1 ปวดหรือเจ็บที่บริเวณฝ่ามือ แต่ยังสามารถขยับนิ้วได้ตามปกติ 2 เริ่มมีอาการเคลื่อนไหวได้ยากขึ้น สะดุดเมื่อขยับ ง้อ เหยียดนิ้ว เพราะปลอกเส้นเอ็นตีบแคบลง แต่ยังสามารถใช้งานได้ 3 มีอาการกำมือแล้วจะกำค้างไม่สามารถก้างนิ้วออกเองได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยคลายนิ้วออก 4 ในระยะนี้จะสามารถเป็นได้หลายอาการ ไม่ว่าจะเป็น กำมือแล้วคลายมือออกไม่ได้ แม้จะใช้มืออีกข้างมาช่วยคลายก็ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ หรือไม่สามารถกำมือลงได้ เจ็บฝ่ามือและอักเสบบวม สาเหตุของโรคนิ้วล็อค ต้นเหตุของโรคนิ้วล็อคเกิดจากพฤติกรรมการใช้งานนิ้วที่หนักเกินไปหรือใช้งานในท่าซ้ำๆ เป็นเวลานาน การยกของหนักหรือแบกไว้เป็นเวลานานหรือทำซ้ำบ่อยๆ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่กระตุ้นให้เปลือกหุ้มเอ็นที่นิ้วเกิดการอักเสบ เมื่อมีอาการบวมอักเสบเกิดขึ้นความยืดหยุ่นของเอ็นนิ้วจะลดลงจนไม่สามารถยืดหรือว่าง้อนิ้วได้ตามปกติ ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าการใช้สมาร์ทโฟนระหว่างวันจะยิ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดโรคนี้หรือไม่ ความจริงแล้วหากเล่นสมาร์ทโฟนในลักษณะที่ไม่มีการเกร็งข้อมือและออกแรงกดหรือกำแน่นๆ เป็นเวลานาน ไม่ได้เร่งหรือสัมพันธ์กับการเกิดโรค แต่สำหรับผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนในลักษณะที่ต้องเกร็งข้อมือเป็นเวลานานๆ โดยที่ไม่ได้ผ่อนคลายฝ่ามือเลยสามารถทำให้มีอาการโรคนิ้วล็อคได้เช่นกัน กลุ่มเสี่ยงโรคนิ้วล็อค บุคคลที่มีความเสี่ยงโรคนิ้วล็อคสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท […]