อาการกล้ามเนื้ออักเสบเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ออกกำลังกายหนักเกินไป คนทำงานออฟฟิศที่นั่งนาน หรือผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมของกล้ามเนื้อ บ่อยครั้งเรามักได้ยินคำแนะนำจากคนรอบข้างว่า “ให้นวดแรงๆ เดี๋ยวก็หาย” แต่คำถามสำคัญคือ — จริงหรือไม่? ว่าการนวดแรงๆ จะช่วยให้อาการกล้ามเนื้ออักเสบดีขึ้นได้จริง หรืออาจยิ่งทำให้แย่ลง? บทความนี้จะอธิบายแบบเข้าใจง่าย ครอบคลุมทุกมิติของการดูแลกล้ามเนื้ออักเสบ พร้อมคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่คุณวางใจได้ สาเหตุและประเภทของกล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากอะไร? กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บหรืออักเสบ มักมีอาการปวด บวม และตึง อาจเกิดจาก: ใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป เช่น ยกของหนัก ออกกำลังกายเกินขนาด การบาดเจ็บ เช่น กล้ามเนื้อฉีกขาดเล็กน้อยจากการเคลื่อนไหวผิดท่า การติดเชื้อไวรัส หรือระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ (พบได้น้อย) ความเสื่อมตามอายุ หรืออิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งทำงานนานโดยไม่เปลี่ยนท่า ประเภทของกล้ามเนื้ออักเสบที่พบบ่อย กล้ามเนื้ออักเสบเฉียบพลัน: เกิดขึ้นทันทีหลังจากใช้งานหนัก มักดีขึ้นภายในไม่กี่วันถึงสัปดาห์ กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง: เกิดจากการใช้งานซ้ำๆ หรือการดูแลไม่เหมาะสม อาจเป็นนานหลายสัปดาห์ถึงเดือน […]
Category Archives: บทความเกี่ยวกับกระดูกและข้อ
“ข้อเข่าเสื่อม” ไม่ได้แปลว่าคุณต้องหยุดขยับหรือเลิกออกกำลังกายไปตลอด การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเหมาะสมกลับเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่า เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า และช่วยให้ชีวิตประจำวันกลับมาคล่องตัวขึ้น แต่คำถามคือ…ออกกำลังกายแบบไหน “เหมาะ” กับคนที่เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับสาเหตุ อาการ แนวทางออกกำลังกายที่ปลอดภัย รวมถึงคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ “คลินิกหมอสุทธิ์” สาเหตุและประเภทของข้อเข่าเสื่อม ประเภทของข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ: เกิดจากการเสื่อมตามอายุโดยไม่มีสาเหตุอื่นร่วม ข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ: เกิดจากการใช้งานผิดวิธี การบาดเจ็บ หรือโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง อาการและสัญญาณเตือนที่คุณควรรู้ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก: การวินิจฉัยและการตรวจเบื้องต้น หากสงสัยว่าตนเองมีข้อเข่าเสื่อม ควรเข้ารับการตรวจเบื้องต้นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการประเมินจะเริ่มจาก: แนวทางการรักษา ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อสุขภาพข้อที่ดี การรักษาแบบไม่ผ่าตัด การรักษาแบบผ่าตัด (กรณีจำเป็น) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น การดูแลตัวเองและการป้องกันในชีวิตประจำวัน หากคุณเริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกายยังคงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องเลือกกิจกรรมที่ลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า เช่น: ✅ เดินช้าในน้ำ (Water Walking) ✅ ปั่นจักรยานช้า (Stationary Bike) ✅ โยคะท่าง่าย ๆ (ไม่งอเข่าเกิน 90 องศา) […]
“ข้อเข่าเสื่อม” ไม่ใช่เรื่องของผู้สูงวัยเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ในปัจจุบัน คนวัยทำงาน หรือแม้แต่นักกีฬา ก็สามารถเผชิญปัญหานี้ได้หากใช้ข้อเข่าอย่างผิดวิธีเป็นเวลานาน ความเข้าใจผิดและการมองข้ามอาการเริ่มต้นของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจนำไปสู่ภาวะเรื้อรังที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจต้องถึงขั้นผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าบทความนี้จึงจะพาคุณไปรู้จักกับ “5 สัญญาณอันตรายของข้อเข่าเสื่อม” ที่ควรระวัง พร้อมแนวทางการดูแล รักษา และป้องกันอย่างเหมาะสม สาเหตุและประเภทของโรคข้อเข่าเสื่อม สาเหตุหลักของโรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนในข้อเข่า ซึ่งมีหน้าที่ช่วยลดแรงเสียดทานเมื่อเราเคลื่อนไหว เมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมลง กระดูกจะเสียดสีกันโดยตรง ทำให้เกิดอาการปวด ขัด ฝืด และบวม ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อม ได้แก่: อายุที่มากขึ้น น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน การใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก เช่น ยืน เดิน หรือยกของเป็นเวลานาน การบาดเจ็บบริเวณเข่า พันธุกรรม และโรคข้ออักเสบอื่นๆ ประเภทของข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมปฐมภูมิ (Primary OA): เกิดจากอายุที่มากขึ้นโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ข้อเข่าเสื่อมทุติยภูมิ (Secondary OA): เกิดจากปัจจัยอื่น เช่น การบาดเจ็บ โรคข้ออักเสบ […]
เมื่อมีอาการปวดคอ ปวดหลัง และอีกหลาย ๆ อาการที่ปวดตามร่างกาย ไม่ว่าจากการก้มหน้าเล่นสมาร์ทโฟน หรือการนั่งทำงานที่ต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน หรือว่ายกของหนัก อาจจะเป็นอาการปวดธรรมดาทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากมีอาการปวดที่บริเวณต้นคอ, ปวดหลัง และร้าวลงแขน, มือ, ขา หรือว่าเท้า ร่วมกับมีอาการชาและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง นั่นอาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึง โรคหมอนรองกระดูทับเส้นประสาท ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุและมีความรุนแรงหลายระดับ รวมไปถึงการแสดงออกของอาการโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อกระดูกสันหลังที่มีอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทคืออะไร หมอนรองกระดูก เป็นกระดูกอ่อนชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นเมือกใสคล้าย ๆ เจล จะมีความยืดหยุ่นสูงคั่นกลางระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น หมอนรองกระดูก จะทำหน้าที่สองอย่างก็คือ ทำหน้าที่รับน้ำหนักที่ผ่านกระดูกสันหลังลงมา ซึ่งถ้าหากหมอนรองกระดูกเกิดการกระทบกระเทือนจนทำให้ฉีกขาดจนทำให้ส่วนชั้นในที่เป็นเมือกใส ๆ มีการเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทก็จะทำให้เกิดอาการปวดหลังเกิดขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีหลายคนที่อาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ในขณะที่บางรายก็พอจะได้ยิน และทราบถึงอันตรายของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไปบ้างแล้ว และวันนี้เราจะมาย้ำให้ได้รับทราบกันอีกทีว่าโรคดังกล่าวเป็นโรคที่ใกล้ตัวของเรามากที่สุด เพราะคนในสังคมปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะคนทำงานที่นั่งอยู่กับที่นาน ๆ ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายไปไหน สัญญาณเตือน “โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท” ที่คุณ ๆ สามารถสังเกตได้ในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ จะมีอาการปวดหลัง และปวดบริเวณเอว จะเป็น ๆ หาย […]
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain) คืออาการปวดเริ่มต้นตรงบริเวณช่วงเอวหรือตรงสะโพก และจะมีอาการปวดร้าวไปจนถึงช่วงขาด้านหลัง ในบางท่านอาจจะร้าวไปจนถึงน่องหรือปลายเท้า ซึ่งอาการเหล่านี้วินิจฉัยได้เลยว่ามีความเกี่ยวข้องกับการถูกกดทับที่บริเวณเส้นประสาท โดยอาจจะเป็นเรื่องของหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับ หรืออาจจะเป็นลักษณะของกระดูกเสื่อมกดทับเส้นประสาทในผู้สูงอายุ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือจากสาเหตุอื่น ๆ และอีกหลายพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ที่อาจจะก่อให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica Pain)ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนี้ 1. การยกสิ่งของหนัก ๆ การยกสิ่งของหนักมาก ๆ การยกของผิดท่าอาจจะทำให้เราใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บจึงส่งผลกระทบต่อกระดูกและข้อต่อกระดูกสันหลัง 2. การก้ม ๆ เงย ๆ บ่อย หรือการนั่งในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน อย่างเช่น การกวาดบ้าน, ถูบ้าน, ขัดห้องน้ำ และการนั่งในท่าเดิม ๆ โดยที่ไม่ปรับเปลี่ยนท่านั่ง อาทิเช่น การนั่งงอหลัง หรือแม้แต่การนั่งก้มคอ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานออฟฟิศหรือผู้ที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องคอยแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป ทำให้ส่งผลกระทบต่อแนวกระดูกสันหลังได้อีกด้วย 3. การนอนผิดท่า […]
อาการปวดหลังร้าวลงขา เป็นอาการปวดหลังบริเวณเอวร้าวลงมาตรงบริเวณสะโพก และจะปวดร้าวลงมาที่ขา ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายจากกระดูกสันหลัง อย่างเช่น การเกิดโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท, ข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ, กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือว่าการเกิดอุบัติเหตุที่บริเวณกระดูกสันหลัง อีกทั้งการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การก้ม, การบิดเอว และการยกของที่หนัก ๆ เป็นต้น คนป่วยที่มีอาการปวดหลังร้าวลงมาที่ขา ก็มักจะเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน และผู้สูงอายุ ถ้าหากมีอาการแบบนี้แล้ว คนไข้ไม่ควรปล่อยให้เกิดอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท เป็นอาการที่จะพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มของผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา เพราะว่ากระดูกสันหลังบริเวณนี้จะรับน้ำหนักมาก และทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่น ๆ จึงทำให้หมอนรองกระดูกอาจจะเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนไปกดเบียดเส้นประสาท โดยจะมีอาการปวดที่บริเวณหลังช่วงเอวต่อกันกับสะโพก ร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเป็นที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะมีอาการชาหรือว่าอ่อนแรงร่วมของขา หรือว่าบริเวณปลายเท้าร่วมด้วยได้ โรคนี้มักจะพบในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 20-50 ปี โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ก็คือการทำงานที่ต้องยกของหนัก,คนที่มีน้ำหนักตัวมาก, การสูบบุหรี่, การบิดตัวหรือก้มหลังอย่างรวดเร็ว และรุนแรง เป็นต้น 2. โรคกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือโรคช่องโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ในกรณีนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในผู้สูงอายุ หรือที่เราเรียกกันว่า ‘กระดูกทับเส้นประสาท’ โดยอาจจะมากับอาการปวดหลังร้าวลงที่บริเวณขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือจะอาจเป็นทั้งสองข้างก็เป็นได้ ร่วมกันกับมีอาการชาหรือว่าอ่อนแรงที่ขา โดยจะมีอาการมากขึ้นในเวลาที่ยืนหรือว่าเดินไปสักระยะหนึ่ง […]
หมอนรองกระดูกปลิ้น เป็นอาการปวดด้านหลังร้าวลงไปที่ขา หรือร้าวลงไปจนถึงปลายเท้า หรืออาจจะมีอาการชาและอ่อนแรงร่วมด้วย เป็นอาการที่อาจจะบ่งชี้ของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ซึ่งจะไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น แต่คนที่อายุน้อยก็สามารถที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นนี้ได้เช่นกัน หมอนรองกระดูก เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างข้อของกระดูกสันหลัง โดยปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย และเป็นตัวให้ความยืดหยุ่น ในขณะที่มีการก้มเงย บิดตัว ของตัวกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของมันค่อนข้างมีความสำคัญและมันต้องทำงานทุกวันแบบไม่มีเวลาพักนั่นเอง พอมันทำงานทุกวัน ก็เลยเกิดความเสื่อมขึ้น ประจวบกับกิจกรรมเสี่ยงที่ทำอยู่ ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นได้ในที่สุดหมอนรองกระดูกโดยปกติทำหน้าที่รับน้ำหนักของร่างกาย และเป็นตัวให้ความยืดหยุ่น ในขณะที่มีการก้มเงย บิดตัว ของตัวกระดูกสันหลัง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของมันค่อนข้างมีความสำคัญและมันต้องทำงานทุกวันแบบไม่มีเวลาพักนั่นเอง พอมันทำงานทุกวัน ก็เลยเกิดความเสื่อมขึ้น ประจวบกับกิจกรรมเสี่ยงที่ทำอยู่ ทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นได้ในที่สุด ฉะนั้นเมื่อคนเรามีอายุที่มากขึ้นหมอนรองกระดูกก็จะเริ่มเสื่อมและอาจจะทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น และนอกจากนี้ในคนที่มีอายุน้อยก็สามารถที่จะเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ถ้าหากได้รับอุบัติเหตุท่ามารถส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังโดยตรง หรือแม้แต่เกิดการลื่นล้ม ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนหรือปลิ้นไปทับเส้นประสาทได้ การรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น ก็จะมีตั้งแต่การทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าไปในโพรงเส้นประสาทสันหลังเพื่อช่วยลดอาการปวดร้าวลงขา และการผ่าตัด แต่ต้องขึ้นอยู่กับความรุนแรงอาการที่หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมา สำหรับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกปลิ้นนั้น ก็มักจะเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ๆ ด้วยกล้อง Endoscope ช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ, ช่วยลดอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด, ช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และยีงสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ ถ้าหากมีอาการปวดหลังมากผิดปกติ จนชาลงขาและเกิดการอ่อนแรงจนไม่สามารถจะทำกิจวัตรประจำวันได้ คนไข้ควรจะรีบไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนในการรักษาอาการที่เหมาะสมต่อไป ดังนั้นท่านที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ควรจะไปปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการตรวจและวินิจฉัยอาการว่ามีรุ่นแรงแค่ไหน มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกหรือไม่ เพื่อจะได้ให้แพทย์ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล […]
หลายท่านอาจจะคิดว่าโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น เกิดมาจากพฤติกรรมในการนั่งนาน ๆ, ก้ม ๆ, เงย ๆ, ก้มยกของ หรือว่าการแบกของหนักเป็นเวลานาน ๆ ซ้ำไปซ้ำมา และการประสบอุบัติเหตุเพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพฤติกรรมการไอ หรือ จามแรง ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาเกิดขึ้นได้ ทำไมแค่ไอ หรือจาม แล้วหมอนรองกระดูกปลิ้นได้ การไอหรือว่าการจามแรง ๆ ในแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอด และช่องท้องเพิ่มมากขึ้นจากการหดตัวกันอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ลำตัวของเรา จึงทำให้หมอนรองกระดูกที่มีหน้าที่คอยรับแรงกระแทกต้องทำงานหนักมากขึ้น และทำให้เกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบเฉียบพลัน รวมไปถึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบขึ้นได้ในคนที่มีกล้ามเนื้อที่แกนกลางลำตัวที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว และความดันที่เพิ่มขึ้นก็จะไปดันให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาจากรอยแยกของเปลือกหุ้มหมอนกระดูกไปกระทบกับเส้นประสาทได้ พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น มีหลายพฤติกรรมที่เราทำเป็นประจำ อาจจะก่อให้เกิดอาการโรคหมอนรองกระดูกทับปลิ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังต่อไปนี้ แบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไปเพราะว่าการแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป โดยเฉพาะการแบกสิ่งของที่ผิดท่าอาจจะทำให้เราใช้กล้ามเนื้อหลังจนมากเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง การก้มเงยบ่อยหรือว่านั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำอย่าง เช่น การกวาดบ้าน, ถูบ้าน, ขัดห้องน้ำ, เล่นสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการนั่งในท่าเดิม […]
โรคออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคของคนวัยทำงานที่เป็นกันมากที่สุดในขณะนี้ ซึ่งนับวันยิ่งจะมีจำนวนของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกันอย่างต่อเนื่องจนน่าตกใจ แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ใช่ว่าโรคออฟฟิศซินโดรมเป็นแล้วจะไม่หายเลย เพราะว่าทางการแพทย์สมัยนี้มีวิธีการรักษาที่หลากหลาย ให้ผู้ป่วยได้เลือกทำการรักษาตัวได้ตามความเหมาะสม อาทิเช่น การฝังเข็ม, การทานยา, การทำกายภาพบำบัด และวิธีอื่น ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กลายสภาพเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมชนิดเรื้อรังนั่นเอง แนวทางการรักษาออฟฟิศซินโดรม หลาย ๆ ท่านก็อาจจะลองค้นหาวิธีรักษา อาการโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเองกันมาบ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะก็พบว่า แนะนำให้เราเริ่มจากการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ตามมาด้วยการบริหารร่างกายด้วยท่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการป้องกันหรือช่วยทำให้ทุเลาอาการปวดลง แต่ถ้าหากอาการปวดไม่ดีขึ้นจริง ๆ จึงค่อยไปปรึกษาแพทย์ และสามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ก็จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ วิธีแก้โรคออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลในระยะสั้น ส่วนใหญ่และจะเป็นการรักษาหรือให้บริหารร่างกายอย่างง่าย ๆ จะช่วยให้อาการทุเลาลง ไม่เป็นหนักขึ้น มักจะใช้ในการช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ, บ่า,ไหล่, หน้าอก,สะบัก, แขน และหน้าท้อง เช่น การยืดกล้ามเนื้อในขณะทำงานทำเป็นระยะ ๆ เพื่อคลายกล้ามเนื้อส่วนบน และกล้ามเนื้อส่วนล่าง โดยจะเน้นบริเวณกล้ามเนื้อที่เกิดอาการปวดบ่อย ๆ การนวดเพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือใช้แผ่นเจลประคบ หรือทานยาแก้ปวด การออกกำลังการกายก็เป็นการรักษาอาการปวด การรักษาด้วยวิธีทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม […]
เมื่อคุณรู้สึกปวดเมื่อยที่คอ, บ่า และไหล่ เวลาเป็นมาก ๆ ก็มักจะถูกทักว่า สงสัยจะเป็น “โรคออฟฟิศซินโดรม” ซึ่งที่จริงแล้ว จะต้องมีอาการปวดขนาดไหน หรือว่ามีอาการที่สามารถบ่งบอกอย่างไรถึงจะแน่ใจได้ว่าเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม เรามาดูกันว่าถ้าหากคุณมีอาการเหล่านี้ นี่ก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคออฟฟิศซินโดรม เรามาสังเกตกันดูว่า คุณมีอาการเหมือนสัญญาณที่เตือนเหล่านี้หรือไม่ ปวดหัวเรื้อรัง หรือบางทีก็จะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดมาจากความเครียดในการทำงาน หรือว่าการที่เราใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน อย่างเช่น การจ้องอ่านเอกสาร การจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แสงที่บริเวณโต๊ะทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงานที่วุ่นวายก็สามารถทำให้คุณเกิดความเครียดสะสมโดยที่เราไม่รู้ตัว ตึงที่บริเวณต้นคอ, บ่า และไหล่แบบเรื้อรัง สาเหตุของอาการนี้เราสังเกตได้ง่าย ๆ ถ้าคุณเป็นคนที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง และอยู่กับเอกสารทั้งวัน แล้วเกิดอาการปวดตึงที่บริเวณต้นคอ, มีอาการปวดบ่าและปวดไหล่อยู่บ่อย ๆ หรือว่าบางทีก็ปวดจนหันคอลำบาก ก้มลงก็ปวด พอเงยขึ้นก็ร้องโอย นั่นแหละเป็นอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ปวดที่บริเวณด้านหลัง อาการปวดหลังนั้น คุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ เลย เพราะว่าเป็นอาการอันดับต้น ๆ ของโรคออฟิศซินโดรมเลยก็ว่าได้ สาเหตุของโรคนี้เกิดมาจากการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือว่าเป็นงานที่จะต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงเป็นประจำทุกวัน อาการของการปวดหลังนั้นไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้แน่นอน ปวดแขน, […]