เป็นที่รู้ ๆ กันดีอยู่แล้วว่าเมื่อคนเรามีอายุเพิ่มมากขึ้นก็มักจะพบกับปัญหาเรื่องของสุขภาพที่หลาย ๆ อย่างเช่น ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับกระดูกพรุนและกระดูกเสื่อมซึ่งปัญหาทั้ง 2 โรคนี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยที่อายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและในผู้หญิงที่วัยหมดประจำเดือนจะมีภาวะโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนอื่นและอาการจะแสดงเร็วกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า แต่ทั้งนี้หากคนในช่วงวัยนี้เกิดประสบอุบัติเหตุขึ้นมาแน่นอนว่าจะต้องมีอันตราย เพราะว่ามีปัญหาเรื่องของกระดูกพรุนอยู่ก่อนแล้วอาจจะทำให้กระดูกได้รับความเสียหายหรือแตกหักได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น ๆ และการซ่อมแซมสามารถทำได้ยากมาก เพราะฉะนั้นวิธีการดูแลกระดูกให้แข็งแรงเป็นวิธีที่ดีที่สุดควรจะทานแคลเซียมสูง วิตามินสูง เพื่อเป็นการช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะของโรคกระดูกพรุนและเป็นการบำรุงรักษากระดูกให้แข็งแรงดังนี้ การทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง และทานแคลเซียมเสริม อย่างเช่นคนที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี ร่างกายต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม คนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ร่างกายต้องการแคลเซียมวันละ 1,200 มิลลิกรัม เราสามารถรับได้จากการทานอาหาร เช่น นม โยเกิร์ต ชีส ปลาตัวเล็กทอด กุ้งแห้ง กะปิ ผักคะน้า ใบยอ ดอกแค เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง และงาดำ โดยทั่วไปการทานอาหารไทยจะได้รับแคลเซียมประมาณ 400 – 500 มิลลิกรัมต่อวัน หรืออาจจะน้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่ร่างกายควรที่จะได้รับ จึงขอแนะนำให้ทานแคลเซียมชนิดเม็ดเสริมด้วย การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ๆ ละ 30 นาที โดยเฉพาะผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนจะต้องเน้นการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก อย่างเช่น การเดินไกล การวิ่งเหยาะ ๆ การรำมวยจีน หรือเต้นรำ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียกระดูก การออกกำลังกายชนิดนี้จะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมคาเฟอีนเช่น ชา กาแฟ เพราะจะทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง ระวังการใช้ยาที่ส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ […]
Author Archives: admin
เกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย เพราะเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนและโปรตีนเข้าไปในปริมาณมาก สาร“พิวรีน” เป็นสารที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต จะพบอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เจริญเติบโตได้ไว เช่น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา สัตว์ตัวเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครื่องในสัตว์ รวมไปถึงในพืชที่กำลังเติบโต อย่างเช่น ยอดผัก และถั่ว ถ้าหากคนที่เป็นโรคเกาต์โดยพันธุ์กรรมอยู่ก่อนแล้วก็สามารถที่จะรับประทานอาหาร และผักที่คนป่วยโรคเกาต์สามารถทานได้ แต่ควรทานอย่างรู้ปริมาณที่พอเหมาะ คือผักที่มีสารพิวรีนต่ำมีอยู่ 3 กลุ่มผักดังต่อไปนี้ กลุ่มผักที่มีสารพิวรีนต่ำ ผักในกลุ่มที่สารพิวรีนต่ำ ได้แก่ บีทรูท, แตงกวา, ผักกาดหอม, มันฝรั่ง และพืชตระกูลน้ำเต้า เป็นต้น ผักเหล่านี้จะสามารถช่วยทำให้กรดยูริกลดลงได้ประมาณ 50 มิลลิกรัมต่อผัก 100 กรัม กลุ่มผักที่มีสารพิวรีนต่ำและมีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระสูง ผักในกลุ่มนี้ก็จะมี กะหล่ำปลีม่วง และพริกแดง มีสารพิวรีนต่ำ และยังมีช่วยสารต้านอนุมูลอิสระสูง คือ สารไลโคปีน, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน สารเหล่านี้จะไปทำลายสารอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่เป็นตัวทำลายเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราส่งผลทำให้เป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ ฉะนั้นผักกลุ่มนี้นอกจากจะไม่ทำให้เกิดโรคเกาต์แล้ว ยังจะเป็นการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันไปพร้อม ๆ […]
สาเหตุส่วนมากของการเกิดภาวะกรดยูริกในเลือดที่มีปริมาณสูง เกิดมาจาก 2 สาเหตุหลัก ๆ ที่สำคัญ นั่นก็คือ การที่ร่างกายเราสร้างกรดยูริกเพิ่มปริมาณมากขึ้นจากปกติ การขับกรดยูริกออกทางไตในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่ง 2 สาเหตุนี้อาจจะเกิดมาจากความบกพร่องของกลุ่มโปรตีนที่ขนส่งยูเรตหลาย ๆ ชนิด ซึ่งจะทำหน้าที่ในการควบคุมการดูดซึมกลับร่วมทั้งการขับออกของยูเรตที่ไต หรือการที่ร่างกายได้รับยาบางชนิดซึ่งจะมีผลในการยับยั้งการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ตัวอย่างเช่น ยาแอสไพริน, ยาขับปัสสาวะบางชนิด เช่น loop diuretics เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุทั้งสองปัจจัยร่วมกัน โดยส่วนใหญ่เกิดมาจากร่างกายสร้างขึ้นเองจะคิดเป็นร้อยละ 90 และร้อยละ 10 เกิดมาจากร่างกายที่มีการสร้างกรดยูริกมากกว่าปกติ ประมาณ 80% ส่วนที่เหลืออีก 20% มาจากการรับประทานอาหารที่มีสาร “พิวรีน”สูง เมื่อเราทานเข้าไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นกรดยูริกได้ เช่น เครื่องในสัตว์, ปลาดุก, กุ้ง, ไก่, ชะอม, กระถิน, อาหารทะเล, เนื้อแดง, สัตว์ปีก และยีสต์ เป็นต้น ซึ่งสารพิวรีนนี้จะเปลี่ยนไปกลายเป็นกรดยูริกในเลือดแทน ทำให้มีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะการที่ร่างกายของคนเรามีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงมากกว่าปกติทั่วไปนั้น เกิดจากการสะสมมานานจนทำให้กรดยูริกที่อยู่ในเลือดเกิดการตกตระกอนอยู่ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ […]
ชาปลายนิ้วมือ คืออาการที่สามารถพบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่ใช้มือและแขนในการทำงานอย่างหนัก โดยจะรู้เจ็บแปล๊บที่บริเวณปลายนิ้ว คล้ายถูกเข็มแทง ปวดแสบปวดร้อนที่ปลายนิ้ว หรือเหมือถูกไฟฟ้าช็อต ทำให้คนป่วยไม่มีความรู้สึก อาจจะทำให้นิ้วมือ และมือไม่มีแรงที่จะหยิบจับสิ่งของได้ อาการนี้สามารถเกิดขึ้นกับมือเพียงข้างเดียวหรือว่าทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยอาการเหล่านี้อาจจะเกิดมาจากภาวะเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดที่คอยหล่อเลี้ยงมือ หรือว่าเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากสมองเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงาน และการรับความรู้สึกของมือและนิ้วมือ อาการชาที่ปลายนิ้วมือเกิดมาจากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุของอาการชาปลายนิ้วมือ อาการชาปลายนิ้วมือเกิดมาจากเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณมือ หรือว่าเส้นประสาทที่ทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณจากสมองเพื่อไปควบคุมการทำงานและการรับความรู้สึกของบริเวณมือและนิ้วมือได้ถูกกดทับไว้ ทำให้ได้รับการกระทบกระเทือน จนทำเกิดความเสียหาย หรืออาจจะเป็นเหตุมาจากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคและภาวะต่าง ๆ อย่างเช่น โรคที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือ คือเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณมือถูกกดทับหรือว่าเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดอาการชาโดยเฉพาะตรงบริเวณนิ้วหัวแม่มือ, นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เกิดจากภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบริเวณต้นคออักเสบหรือทำให้ถูกกดทับ จนส่งผลทำให้เกิดอาการชาคล้ายกันกับโรคการกดทับเส้นประสาทที่บริเวณข้อมือ การกดทับเส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve Entrapment) เกิดจากการกดทับตรงบริเวณเส้นประสาทอัลนาร์ที่ทำหน้าที่คอยหล่อเลี้ยงและควบคุมการทำงานของนิ้วนางและนิ้วก้อย จึงทำให้เกิดอาการชาที่บริเวณปลายนิ้ว โรคเรย์นอด (Raynaud’s Disease) คืออาการป่วยที่หลอดเลือดแดงเล็กที่อยู่ในนิ้วเกิดการหดตัวอย่างฉับพลัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงที่บริเวณปลายนิ้วได้ จึงทำให้เกิดอาการชาและอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบการไหลเวียนของโลหิตด้วย โรคเบาหวาน คือภาวะอาการเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) ของคนป่วยโรคเบาหวาน อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เส้นประสาทตรงบริเวณมือและเท้า ซึ่งจะนำไปสู่อาการชาที่ปลายนิ้ว, บริเวณนิ้วมือ หรือนิ้วเท้าได้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) […]
ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุเท่านั้น ความจริงสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน หากมีลางบอกเหตุก่อน เมื่อเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ การเตรียมความพร้อมเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ มองหาคลินิกกระดูกและข้อที่อยู่ไม่ไกล สะดวกที่จะไปปรึกษาหารือ จึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ให้ความสะดวกเพียงแค่ serch คำว่า คลินิกกระดูกและข้อ แล้วตามด้วยบริเวณที่อยู่อาศัยของตนเอง เช่น ราม2 สาทร พระราม6 แค่นี้ ก็จะได้คลินิก “ใกล้ฉัน” ไว้ในใจแล้ว อาการบ่งชี้ว่าถึงเวลาของ “คลินิกกระดูกและข้อ ใกล้ฉัน” หากคุณมีอาการต่อไปนี้ อย่าดูเบาคิดว่า คงไม่เป็นอะไรมากโดยเด็ดขาด เพราะอาการเหล่านี้บ่งชี้ว่า คุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อ 1. อาการเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ในข้อนี้นอกจากดูแลตัวเองแล้ว ยังต้องสังเกตลูกหลาน เพราะเด็กๆ บอกคุณเองไม่ได้ มีบ่อยครั้งที่เด็กๆ มีอาการขาโก่ง ข้อศอกเคลื่อน แม้แต่เด็กๆ ที่แบกกระเป๋านักเรียนหนักเกินตัวก็อาจจะเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกได้ สำหรับตัวคุณนั้น หากมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ อาการปวดตามข้อหรือเจ็บผิดปกติ อาการเกี่ยวกับข้อมือ ข้อเท้า เหมือนกระดูกลั่นเวลาก้าวเดิน อาการปวดขึ้นมาเฉยๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรหนักๆ มา อาจเกิดจากข้อเสื่อม อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ […]
โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าคนที่จะเป็นโรคเกาต์ คือจะต้องเป็นคนที่กินไก่เยอะมาก ๆ แน่นอนเลย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสาเหตุของการเกิดโรคเกาต์ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากกระบวนการของร่างกายที่เกิดความผิดปกตินั่นเอง โรคเกาต์มีต้นเหตุมาจากการที่ร่างกายมีสารพิวรีน ที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายของเราสลายตัวต่ออีกทีได้กรดยูริก ซึ่งปกติแล้วกรดยูริกนี้ 2 ใน 3 จะถูกขับออกผ่านทางไต และ 1 ใน 3 ก็จะถูกสลายด้วยแบคทีเรียในลำไส้นั่นก็แสดงว่าถ้าหากไตของเราไม่มีปัญหาร่างกายของเราก็สามารถที่จะขับกรดยูริกออกได้ตามปกติ จึงไม่มีการสะสมของกรดยูริกที่บริเวณไขข้อ แต่ถ้าคนไหนที่มีภาวะไตเสื่อม หรือว่าอาจจะได้รับผลข้างเคียงจากยาบางชนิด กรดยูริกก็จะถูกขับออกทางไตได้น้อยลง ทำให้กรดยูริกสะสมในเลือดสูงขึ้น และทำให้เกิดการสะสมที่บริเวณข้อ จนกายเป็นโรคเกาต์ในที่สุด แต่ทั้งนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมก็ยังมีส่วนเร่งทำให้เกิดโรคเกาต์ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงการกินไก่ ที่ตกเป็นจำเลยทางสังคมมานมนาน ก็ต้องขอบอกเลยว่า “ไม่จริง!” การกินไก่ไม่ได้ทำให้เป็นโรคเกาต์เสมอไป แล้วถ้าหากจะบอกว่าการกินอาหารที่มีค่าพิวรีนสูงทำให้เป็นโรคเกาต์ ก็ควรที่จะพิจารณาปริมาณของค่าพิวรีนในเนื้อไก่ก่อนว่ามันมีอยู่เท่าไหร่ สูงมากแค่ไหน ก็จะพบว่าเนื้อไก่จัดอยู่ในกลุ่ม moderate หรือมีค่าพิวรีนระดับปานกลาง แต่กลุ่มที่ค่าพิวรีนสูง คือ พวกที่มีแอลกอฮอลล์ อย่างเช่น เหล้า เบียร์ สารที่ให้ความหวาน ที่อยู่ในน้ำอัดลม รวมไปถึงน้ำตาลทรายขาว และพวกเครื่องในสัตว์ เช่น […]
เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis) เอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่สำคัญที่สุดในร่างกาย เนื่องจากเชื่อมต่อระหว่ากล้ามเนื้อน่องและส้นเท้า ทำให้เราสามารถเดิน วิ่ง และกระโดดได้ ถ้าหากเส้นเอ็นเกิดตึงมาก ๆ จะเกิดการอักเสบได้ โดยส่วนมากเกิดจากการเล่นกีฬาที่ผิดท่า หรือการใช้งานเอ็นข้อเท้าอย่างหนักซ้ำ ๆ เช่น วิ่งมากเกินไป, การกระโดด, หรือแม้แต่การเดินสามารถทำให้ข้อเท้าพลิก เป็นต้น โดยเกิดขึ้นได้บ่อยกับคนที่เล่นกีฬา และทุกเพศ ทุกวัย ถ้าหากอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน แต่ถ้าหากบางกรณีที่อาการรุนแรงมากขึ้นก็ต้องไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเอ็นข้อเท้าอักเสบมากที่สุด คือกลุ่มที่ชอบออกกำลังกาย นักกีฬา ใส่รองเท้าที่รัดแน่นนจนเกินไป และสุภาพสตรีที่ชอบใส่รองเท้าสั้นสูงเดินหรือวิ่งในบางครั้ง อาจเกิดเอ็นข้อเท้าอักเสบได้ ทั้งนี้เราสามารถรักษาเองเบื้องต้นได้ หรือท่านที่กำลังเป็นโรคเอ็นอักสบอยู่แต่ยังไม่ทราบวิธีการดูแลรักษาอาการเบื้องต้น สาเหตุการเกิดเอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุเหมือนกัน อาทิ เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างฉับพลัน การที่เราออกกำลังกายที่เน้นตรงบริเวณข้อเท้าซ้ำ ๆ กันโดยที่ไม่มีการยืด หรือ เหยียด กล้ามเนื้อที่เหมาะสมก่อนการออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณเส้นเอ็นตรงข้อเท้า […]
โรคเกาต์ เป็น โรคที่เกิดมาจากการสะสมของกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จึงทำให้ผลึกยูเรตตกตะกอนตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อ, ไต และบริเวณผิวหนัง ซึ่งเมื่อผลึกยูเรตมีการตกตะกอนตามบริเวณข้อ ก็สามารถจะทำให้เกิดภาวะข้ออักเสบได้อย่างฉับพลัน คนไข้จะมีอาการปวด, บวม, แดงร้อนที่บริเวณข้อ สาเหตุเกิดมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณที่มากกว่าในการขับออก กรดยูริกเป็นผลจากการสลายของสารพิวรีนที่มีสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นสารที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรมที่ทางการแพทย์จะเรียกว่า กรดนิวคลีอิก โดยที่กรดยูริกในร่างกายส่วนใหญ่นั้นจะเกิดมาจากกระบวนการนี้ โดยที่ร่างกายของเรามีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการในการย่อยสลายของสารพิวรีนทำงานเกิดความผิดปกติขึ้น จึงทำให้เกิดเป็นกรดยูริกที่สูงตามมา โรคเกาต์จะมีอาการปวด, บวมแดง และร้อนตรงบริเวณข้ออย่างเฉียบพลันทันทีทันใด โดยมักจะเริ่มจากข้อตรงบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า อาการเกาต์สามารถเกิดขึ้นกับข้ออื่น ๆ ได้ อย่างเช่น บริเวณข้อเท้า, ข้อเข่า และข้อมือ ซึ่งอาการที่เป็นก็จะเป็น ๆ หาย ๆ ในช่วงระยะแรก โรคเกาต์ที่ไม่ได้รับการรักษาโดยแพทย์ หรือดูแลได้อย่างถูกต้อง ยิ่งจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงมากขึ้นทำให้คนป่วยมีอาการปวดถี่ขึ้นเรื่อย ๆ และจะนานมากขึ้นจนอาจจะกลายเป็นโรคข้ออักเสบชนิดเรื้อรัง รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายก็ไม่สะดวกจากที่ภาวะข้อติด ซึ่งนั่นหมายถึงสัญญาณบ่งบอกว่าอาการของโรคมีความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง อาจจะนำไปสู่อาการปวดที่เรื้อรังและสามารถสร้างความเสียหายให้กับข้อต่อได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น […]
โรคเกาต์ เป็นหนึ่งในโรคกระดูก และโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยกับผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดมาจากการที่กินโปรตีนบางชนิดมากจนเกินไป ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะย่อยสลายไปเป็นกรดยูริกและไปตกตะกอนบริเวณข้อ ทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันการเกิดโรคเกาต์คนป่วยมักจะมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากว่าระดับของกรดยูริกยิ่งสูง อัตราของการเกิดโรคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจะเกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในผู้ชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าผู้หญิงอยู่ประมาณ 10 เท่า แต่หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว ผู้หญิงจะพบโรคเกาต์สูงขึ้นถ้าเทียบกับผู้ชาย ข้อที่ควรระวังโรคเกาต์ในผู้สูงอายุ โรคเกาต์ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อย เนื่องจากผลึกยูเรตมีการสะสมทีละนิดในข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ มาเป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากรดยูริกที่มีในเลือดอยู่มีมากน้อยแค่ไหนจนกว่าอาการของโรคจะแสดงออกมา และสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกมีเพิ่มขึ้นก็มาจากหลายสาเหตุและยังไม่สามรถสรุปได้ชัดเจน ข้อควรระวัง จึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวกับการปฏิบัติตัวของคนป่วยที่เป็นโรคเกาต์ เพื่อจะได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ลง เช่น ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยเฉพาะ พวกอาหารทะเล แต่สามารถทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนต่ำได้โดยไม่จำกัด เช่น นม ไข่ ธัญพืช ต่าง ๆ ผักสดต่าง ๆ และผลไม้ ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อช่วยทำให้ร่างกายได้ขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และจะไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจจะนำไปสู่การเป็นนิ่วในไต ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ห้ามอดอาหารหรือว่าลดน้ำหนักอย่างหักโหม ต้องค่อย ๆ ลดลงจะเป็นการดีต่อสุขภาพที่สุด ควรงดดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่ให้ความหวานมากเกินไป งดกินถั่วต่างๆ […]
โรคเกาต์ คือโรคข้ออักเสบ ที่เกิดจากร่างกายที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดมีปริมาณสูงมาก และเกิดการสะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนกรดยูริกเกิดการตกตระกอนอยู่ตามบริเวณข้อต่าง ๆ ของร่างกาย การสะสมองกรดยูริกอาจจะใช้เวลาในการสะสมนานถึง 10 ปี กว่าอาการข้ออักเสบจะแสดงออกมา ทำให้ปวด, แดง และร้อนที่บริเวณข้อ อาการของโรคเกาต์กำเริบทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดจนทำให้เราต้องตื่นขึ้นมากลางดึก โรคเกาต์เกิดจากการสะสมของผลึกยูเรตที่บริเวณข้อต่อหรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยส่วนมากมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า แต่ในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นที่ข้อต่อบริเวณอื่น ๆ บนเท้าและมือก็ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการเจ็บปวดและเกิดการอักเสบขึ้นได้ คนไข้สามารถทำการรักษาได้ด้วยวิธีการรักษาด้วยตัวเองที่บ้าน วิธีการบรรเทาอาการปวดด้วยตัวเอง ให้ยกส่วนที่มีอาการบวมให้สูงขึ้น วิธีนี้จะเป็นการช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดีขึ้น หากอาการเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเท้า ให้คนไข้เอนตัวลงนอนบนเตียง และให้ใช้หมอนหนุนเพื่อเป็นการพยุงเท้าขึ้นมา เพราะถ้าหากเกิดการอักเสบมาก อาจจะส่งผลทำให้เราเจ็บปวดมากจนไม่สามารถที่จะนอนหลับได้ ให้บรรเทาอาการปวดที่บริเวณข้อต่อด้วยการประคบเย็น วิธีนี้จะเป็นการช่วยทำให้ลดการอักเสบและอาการปวดได้ โดยการเอาน้ำแข็งห่อใส่ผ่ามาประคบไว้ประมาณ 20 นาที แล้วปล่อยเอาไว้สักพักจะช่วยทำให้ผิวหนังอุ่นขึ้น ให้ทานยาต้านการอักเสบที่ไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ยาต้านการอักเสบ จะช่วยทำให้ลดการอักเสบและความเจ็บปวดได้ดี ยาต้านอักเสบที่แพทย์แนะนำให้ทาน ได้แก่ ไอบูโพรเฟน และนาพรอกเซนโซเดียม โดยจะต้องทานยาทันทีถ้าหากเกิดอาการกำเริบขึ้น และสามารถทานยาซ้ำได้อีกครั้งหลังจากที่ผ่านไป 2 วัน ยาต้านอักเสบเหล่านี้แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้กับคนที่มีแผลหรือว่ามีเลือดออกในกระเพาะอาหาร, มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือว่ามีความดันโลหิตสูง ไม่ควรที่จะทานยาแอสไพริน เพราะว่าจะทำให้ระดับของกรดยูริกเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่ออาการของโรคเกาต์เกิดการเจ็บปวดกำเริบในช่วงเวลากลางคืน […]