fbpx

Author Archives: admin

โรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร

โรคกระดูกพรุน

          โรคกระดูกพรุน เป็นโรคกระดูกชนิดหนึ่งที่กระดูกเริ่มเสื่อมสภาพลง เนื่องจากการขาดแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูก โดยโรคนี้จะไม่ทำให้เจ็บปวดนอกจากกระดูกแตกหรือหักเท่านั้น จะพบได้บ่อยที่บริเวณกระดูกสันหลัง, สะโพก หรือที่บริเวณข้อมือ รวมทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกบริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่มีความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม, เปราะบาง, ผิดรูป และมีโอกาสที่จะแตกหักได้ง่าย ผู้ป่วยบางท่านกระดูกพรุนมีผลทำให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากว่ามวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุน คือจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูของเราสามารถรับน้ำหนัก, แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง สาเหตุกระดูกพรุนเกิดจากอะไร           โรคกระดูกพรุนเกิดมาจากการทำงานที่ไม่สมดุลของเซลล์กระดูกทั้ง 2 ชนิด จึงทำให้กระดูกมีการสลายมากกว่าที่จะสร้างกระดูกเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณแคลเซียมในร่างกายมีไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูก หรืออาจจะมีความผิดปกติของเซลล์กระดูก และโรคกระดูกพรุนส่วนมากที่พบบ่อยที่สุดเกิดมาจากการสูญเสียฮอร์โมนของเพศหญิง  เนื่องจากหมดประจำเดือน โดยจะพบว่า 25% ของผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเป็นโรคกระดูกพรุน รวมไปถึงผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็ว หรือได้ผ่านการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี ก็จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากที่สุด นอกจากนี้ก็พบว่าอายุก็มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน โดยประมาณหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว กระดูกของเราก็จะบางลงทุกปี  นอกจากนี้แล้วก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ อย่างเช่น คนที่มีประวัติของครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน ร่างกายขาดวิตามินดีหรือว่าขาดแคลเซียม, การดื่มสุรา, […]

โรคเก๊าท์ สามารถหายขาดได้ไหม

โรคเก๊าท์

       โรคเก๊าท์ เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม? เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะภาพลักษณ์ของโรคนี้ คือ ใครเป็นแล้วจะต้องทุกข์ทรมาน ต้องอยู่กับอาการปวดๆ หายๆ ไปตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์พัฒนาไปไกลมากแล้ว สามารถครอบคลุมถึงการรักษาโรคเก๊าท์หรือไม่  มาดูกัน ระยะของโรคเก๊าท์ อาการของโรคเก๊าท์นั้น แม้ว่ากว่าจะรู้จะมีอาการปวดข้อแบบฉับพลัน แต่อาการโดยรวมก็ยังมีระยะเติบโตของโรค ซึ่งแบ่งเป็นระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็น ต้องตรวจเลือดเท่านั้น จึงจะรู้ว่ามีกรดยูริคในเลือดสูงเกินมาตรฐานแล้ว นั่นคือเบื้องต้นของโรคเก๊าท์ ซึ่งโอกาสมักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ระยะที่ 2 เริ่มเห็นอาการโรคเก๊าท์แสดงออกชัดเจน เพราะข้อจะบวมและปวดรุนแรงจากการอักเสบเฉียบพลัน ในระยะนี้ สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ใช้เวลาเพียง 1-3 วันเท่านั้น แม้ปล่อยให้หายเองก็เป็นได้เช่นกัน แต่ต้องรอถึง 4-6 วัน ระยะที่ 3 คือ แม้เคยรักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว แต่ไม่ได้หายขาด มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก บางคนเป็นๆ หายๆ อาจมีอาการกำเริบทุกปี ปีละครั้งหรือสองครั้ง และอาจมีอาการกลับมาถี่มากขึ้น เป็นปีละ 4-5 ครั้ง ระยะที่ 4 […]

ความเครียดมีผลต่อภาวะปวดกล้ามเนื้อและระบบกระดูก

ความเครียดมีผลต่อภาวะปวดกล้ามเนื้อและระบบกระดูก

คนเราเมื่อรู้สึกวิตกกังวล ร่างกายของเราก็จะตกอยู่ในสภาวะที่มีความตึงเครียดขึ้นมาทันที ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองโดยอัตโนมัติ เช่น อัตราของการเต้นหัวใจจะเพิ่มขึ้น การหายใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และเลือดจะไปหล่อเลี้ยงที่กล้ามเนื้อมากขึ้น รวมไปถึงกล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว เป็นต้น การตอบสนองเช่นนี้เกิดจากการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติซิมพาเทติก เป็นการตอบสนองทางร่างกายที่ จะสู้หรือจะหนี เพื่อต้องการให้ร่างกายเอาชนะหรือมีชีวิตรอดต่อสภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ได้ ซึ่งเมื่อเกิดความเครียดผ่านพ้นไป อาการตอบสนองเหล่านี้ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ของความเครียดกับร่างกาย คนเราเมื่อเผชิญกับความเครียด ความวิตกกังวล รวมไปถึงอารมณ์ในด้านลบ ก็มักจะแสดงออกมาในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน นั่นก็คือ กอดอก, ห่อไหล่, ทำหลังค่อม และในบางรายอาจมีการกัดฟันร่วมด้วย โดยท่าทางเหล่านี้อาจจะเป็นที่สัญชาตญาณของร่างกายที่ปกป้องตัวเองให้ปลอดภัย โดยลักษณะของร่างกายที่ปรากฏนั้น ถ้าเป็นนาน ๆ อาจจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ, หลัง และรอบ ๆ ข้อไหล่ เกิดการทำงานที่ไม่สมดุลกัน อีกทั้งการกอดอกและทำไหล่ห่อจะต้องอาศัยการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณที่หน้าอกและกล้ามเนื้อบ่า และการที่อยู่ในท่าทางเหล่านั้นเป็นเวลานานจะทำให้หลังค่อมและคอยื่น การที่คอยื่นส่งผลทำให้กล้ามเนื้อด้านข้างลำคอที่เกาะในแนวของกกหูไปยังไหปลาร้าเกิดการหดตัวเกร็งค้าง และกล้ามเนื้อคอจะมัดลึกตรงบริเวณท้ายทอยก็หดตัวเกร็งค้างเช่นกัน เพื่อดึงศีรษะของเราขึ้นมาไม่ให้ตกลง และเพื่อปรับระดับของสายตาให้อยู่ในแนวระนาบทำให้สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนนั่นเอง นี่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เกิดขึ้นเมื่อคนเราตกอยู่ในภาวะความเครียด สาเหตุการปวดกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งเป็นเวลานาน ๆ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ถ้าหากพิจารณาตามลักษณะและโครงสร้างของกล้ามเนื้อ จะพบว่าบริเวณรอบ ๆ และในกล้ามเนื้อก็จะมีเส้นเลือดวางตัวอยู่ […]

โรคเกาต์ป้องกันได้หรือไม่

              โรคเกาต์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกสะสมมากเกินไป จนทำให้ตกตะกอนเป็นผลึกยูเรทตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายโดยเฉพาะภายในข้อต่อและพังผืด รอบๆข้อและไต โรคเกาต์ทำให้เกิดอาการปวดและบวมในข้อหนึ่งข้อหรืออาจจะมากกว่า มักจะส่งผลต่อหัวแม่เท้า แต่ยังพบในข้อต่อบริเวณอื่นๆ เช่น หัวเข่า ข้อเท้า เท้า มือ ข้อมือ และข้อศอก โรคเกาต์ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้าน รวมไปถึงการทำงานและการพักผ่อน โชคดีที่ปัจจุบันนี้มีข้อมูลและโครงการโรคข้ออักเสบในการดูแลตัวเองมากมายที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถปรับเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคเกาต์ได้ เช่น การทานอาหารเพื่อสุขภาพ  เป็นการหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ ซึ่งรวมไปถึงอาหารที่มีค่าสารพิวรีนสูง (เช่น เนื้อแดง เครื่องใน และอาหารทะเล) และงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (โดยเฉพาะเบียร์และสุรา)             โครงการโรคข้ออักเสบของ CDC แนะนำวิธีการจัดการตนเอง 5 ประการสำหรับการดูแลโรคข้ออักเสบและอาการของโรค สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยในโรคเกาต์ได้เช่นกัน ดังนี้ เรียนรู้วิธีการดูแลตัวเองเข้าร่วมเรียนวิธีการดูแลตัวเอง ซึ่งช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบและโรคเรื้อรังอื่น ๆ รวมไปถึงโรคเกาต์ ได้เข้าใจว่าโรคข้ออักเสบมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการควบคุมอาการและการใช้ชีวิตให้ดี  การเคลื่อนไหวร่างกายจะมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างน้อย 2 ชั่วโมงครึ่งต่อสัปดาห์ กิจกรรมทุกนาทีมีค่า และกิจกรรมใด ๆ ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย กิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำปานกลางที่แนะนำ ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน การออกกำลังกายเป็นประจำยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น […]

เวลาเดิน ลุกหรือนั่งแล้วเจ็บเข่าควรทำอย่างไร

วิธีป้องกันอาการเจ็บหัวเข่าเวลาลุก-นั่ง

           ข้อเข่า เป็นอวัยวะหลักที่เราใช้ในการเคลื่อนไหวในทุก ๆ วัน อย่างเช่น การเดิน, วิ่ง, การลุก-นั่ง, การก้าวขึ้น-ลง หรือทุกการขยับตัวของเรานั่นเอง โดยกระดูกตรงบริเวณข้อเข่า จะมีกระดูกอ่อนที่ห่อหุ้มไว้ เรียกว่า “กระดูกอ่อนข้อต่อ หรือ กระดูกอ่อนในข้อ” จะ มีลักษณะลื่น ๆ มีสีขาวใส คอยทำหน้าที่ลดการเสียดสีของกระดูกในขณะที่ทำการเคลื่อนไหว แข็งแรงพอที่จะรองรับน้ำหนักและรับแรงกระแทกได้สูง แต่ถ้าหากกระดูกอ่อนเกิดการเสื่อม ก็จะทำให้รู้สึกเจ็บทุกครั้งที่งอเข่า หรือว่าเจ็บหัวเข่าเวลาลุก หรือนั่งนั่นเอง เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากระดูกในข้อเสื่อม?             เมื่อกระดูกอ่อนในข้อเกิดการเสื่อมสภาพ ตรงบริเวณผิวนอกที่เรียบ ก็จะเริ่มแตกเป็นเส้นใยฝอย ๆ เล็ก ๆ เป็นการแตกที่เรามองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ถ้าหากเราปล่อยไว้ไม่รีบดูแล อาจจะแตกเป็นร่องลึก ผิวข้อก็จะเริ่มขรุขระและลึกลงไปจนถึงชั้นกระดูก และจะยิ่งทำให้บางลงเรื่อย ๆ ไปจนหมด เหลือไว้แต่กระดูกแข็ง จะส่งผลทำให้รู้สึกเจ็บขณะที่เคลื่อนไหวหรือว่าเจ็บหัวเข่าเวลาที่ลุกหรือนั่ง  เนื่องจากบริเวณข้อเข่าเหลือแต่กระดูกแข็ง ไม่มีกระดูกอ่อนคอยรองรับน้ำหนักหรือรับการกระแทก กระดูกจึงเกิดการเสียดสีกัน ส่งผลทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ อาการข้อเข่าเสื่อมมี 2 ระยะดังนี้ อาการจะเริ่มปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้น – ลงบันได […]

เส้นเอ็นอักเสบเกิดจากอะไรบ้าง

เส้นเอ็นอักเสบ

             เส้นเอ็นอักเสบ คือการอักเสบของเส้นเอ็น ที่ทำให้คนป่วยรู้สึกตึงและปวดตรงบริเวณเส้นเอ็นอย่างต่อเนื่อง อาการจะมีตั้งแต่การเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ และลามไปจนถึงขั้นรุนแรง อาการปวดมักจะเกิดขึ้นเวลาตื่นนอนในตอนเช้าเพราะว่าอากาศเย็น และจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อตรงบริเวณกล้ามเนื้ออุ่นตัวขึ้น สาเหตุที่กล้ามเนื้อตรงเส้นเอ็นเกิดการอักเสบอย่างเรื้อรัง เกิดมาจากการที่เราทำกิจกรรมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้มีอาการปวดหรือเจ็บรอบ ๆ ข้อต่อ เพราะว่าแรงกระแทกบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ หรือว่าเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงอายุที่มากขึ้นด้วย  ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณเส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้กับทุกเส้นเอ็น แต่ที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุด ก็คือบริเวณไหล่, ข้อเท้า, ข้อศอก และเท้า แต่ก็ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เส้นเอ็นเกิดการอักเสบได้เช่นกัน ดังนี้ สาเหตุของเส้นเอ็นอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบอาจจะเกิดขึ้นตอนที่เราได้รับบาดเจ็บอย่างฉับพลัน หรือเกิดจากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน ๆ โดยส่วนมากแล้วมักจะเกิดขึ้นจากสาเหตุข้อหลังมากกว่า โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพ หรือทำงานอดิเรกที่ต้องมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อเอ็นซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เอ็นบริเวณที่ถูกใช้งานตึงขึ้นเรื่อย ๆ หรือกิจกรรมกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบริเวณเดิมบ่อย ๆ อย่างเช่น เทนนิส กอล์ฟ ว่ายน้ำ เตะฟุตบอลเป็นต้น จึงควรที่จะมีเทคนิคที่เหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อเอ็นมากจนเกินไป คนที่อยู่ในสภาวะต่อไปนี้อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเอ็นอักเสบได้มากกว่าคนปกติ คนที่มีอายุมากจะมีโอกาสเกิดภาวะเส้นเอ็นอักเสบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ […]

สาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อมเกิดจากอะไรบ้าง

โรคข้อเสื่อม

  โรคข้อเสื่อม เป็นโรคข้อเรื้อรังอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยมาก ในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย และมักจะพบได้กับคนอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อนที่บุบริเวณปลายกระดูกข้อ จึงเป็นต้นเหตุให้ผิวของกระดูกอ่อนเปลี่ยนสภาพจากผิวเรียบมันกลายเป็นผิวที่ขรุขระ ส่งผลทำให้ข้อเกิดการติดขัดเวลาที่เคลื่อนไหวของร่างกายทำให้เกิดความเจ็บปวด อีกทั้งยังมีความผิดปกติที่หลากหลายที่สามารถพบได้จากพยาธิสภาพ และจากการฉายภาพเอกซเรย์ เริ่มต้นจากการสึกกร่อนของกระดูกข้อต่อ ทำให้ช่องว่างที่บริเวณข้อต่อเริ่มแคบลง ทำให้ขนาดของกระดูกข้อต่อใหญ่ขึ้น หรืออาจจะมีกระดูกงอกออกมา ร่วมกับมีการยืด หรือหย่อนยานของเอ็น และกล้ามเนื้อบริเวณรอบ ๆ ข้อจนส่งผลทำให้ระยะสุดท้ายเกิดการผิดรูปของข้อต่อและเกิดการคดงอ หรือ ข้อโก่งได้ สาเหตุของโรคข้อเสื่อม โดยทั่วไปภายในข้อจะประกอบไปด้วยเยื่อบุข้อ, น้ำไขข้อ และกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อมีหน้าที่เป็นเหมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และเป็นการป้องกันไม่ให้กระดูกที่อยู่ภายใต้ของกระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกของอีกฝั่ง ถ้าหากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามน้ำหนักหรือว่าแรงกดที่ข้อ ก็จะส่งผลทำให้กระดูกใต้ต่อกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดการสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณรอบ ๆ ข้อถูกยืดเป็นเหตุทำให้เกิดอาการปวดตามมา ในปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบว่าการที่ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายเกิดมาจากสาเหตุใด และบุคคลที่มีความเสี่ยงได้แก่ คนที่มีน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งมักจะพบว่าคนอ้วนกับโรคข้อเสื่อมมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ซึ่งอาการของโรคข้อเสื่อมจะดีขึ้นเมื่อน้ำหนักลดลง ความหนาแน่นของกระดูก จะพบว่าในผู้หญิงที่มีข้อเสื่อม มักจะมีความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้หญิง ที่ไม่มีข้อเสื่อม อาจจะเกิดจากกระดูกใต้กระดูกอ่อนที่หุ้มอยู่เกิดการแข็งตัวมากทำให้ไม่สามารถดูดซับแรงกระแทกของกระดูกอ่อนได้ดี จึงทำให้เกิดการสึกหรอได้ง่าย เกิดความผิดปกติของข้อบางชนิด ซึ่งจะส่งผลทำให้ผิวของข้อไม่เรียบ หรือมีข้อต่อเคลื่อนไปจากที่เดิม จึงทำให้เกิดความเสื่อมได้ เกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อผิวข้อได้โดยตรง ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ หรือไม่เข้าที่ การประกอบอาชีพ จะพบว่าในอาชีพที่ต้องงอเข่าบ่อย ๆ หรือว่านักกีฬาบางประเภทอย่าง […]

ข้อมืออักเสบเกิดจากสาเหตุใด

              ก่อนอื่นก็ต้องขอยอมรับก่อนว่าในยุคนี้อาการปวดตรงบริเวณข้อมือนั้นมีอุบัติการณ์ที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ แพทย์พบว่าคนป่วยมีอาการเจ็บที่บริเวณข้อมือที่แผนกผู้ป่วยนอกแทบจะทุกวัน โดยอาการนี้เป็นได้ตั้งแต่เด็ก, ผู้ใหญ่ ไปจนถึงผู้สูงอายุ ทั้ง ๆ ที่อาการเหล่านี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่กลับพบได้มากคล้ายกับจะเป็นโรคติดต่อเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อถามถึงสาเหตุก็พบว่าอาการเหล่านี้เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน และพบว่าโทรศัพท์ของคนป่วยบางรายมีขนาดที่ใหญ่กว่ามือ จึงทำให้ต้องเกร็งและการใช้งานบริเวณข้อมืออย่างผิดปกติส่งผลทำให้เกิดการอักเสบตามมาในที่สุด การที่ข้อมืออักเสบเกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น และเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือทางฝั่งนิ้วโป้งทำให้เกิดการกดทับของเส้นเอ็นบริเวณภายใน โดยส่วนมากแล้วจะพบกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 8 เท่า โรคข้อมืออักเสบที่พบได้มากที่สุด   โดยเฉพาะคนที่ใช้มือทำงานบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ คือ กลุ่มคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์  คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์  และหญิงตั้งครรภ์  เอ็นเป็นส่วนประกอบหลักที่ช่วยในการขยับข้อมือและนิ้วมือ โดยข้อมือถูกใช้งานอย่างหนักและต่อเนื่องกันในแต่ละวันนั้น จะทำให้อุณหภูมิของเอ็นข้อมือเพิ่มสูงขึ้นได้ถึง 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ทำให้เอ็นข้อมือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บได้โดยง่าย จึงไม่แปลกอะไรที่ในทุกวันนี้ มีคนป่วยที่เป็นโรคนิ้วล็อคตั้งแต่อายุยังน้อย และจะเห็นได้ว่าการเกิดข้อมืออักเสบนั้นไม่จำเป็นต้องยกของหนักหรือว่าได้เกิดประสบอุบัติเหตุเลย   เนื่องจากการใช้งานซ้ำไปซ้ำมาเป็นประจำก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบได้ และถ้าหากยังปล่อยเอาไว้นานเพียงเพราะว่าอาการเจ็บปวดที่เล็กน้อยก็อาจจะทำให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นจนเรื้อรังกลายเป็นโรคที่ทำให้เราต้องเจ็บปวดและทรมานได้ในอนาคต               ดังนั้นการที่ข้อมืออักเสบ เกิดมาจากการที่ข้อมือของเราไปกระแทกกับวัตถุหรือสิ่งของที่แข็ง แม้กระทั้งการใช้งานบริเวณข้อมือบ่อยมากจนเกินไปก็สามารถทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ ส่วนใหญ่และจะพบในกลุ่มคนที่ใช้งานบริเวณข้อมือในการทำงานต่าง ๆ อย่างหนัก […]

สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกาต์กำเริบ

สาเหตุโรคเกาต์

              เกาต์ หรือ เก๊าท์ เป็นโรคปวดบริเวณข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่จะพบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง จัดว่าเป็นโรคของคนในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยอายุ 30-60 ปี จะพบโรคข้ออักเสบนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สามารถสังเกตได้ว่าคนที่อายุมากขึ้นยิ่งจะมีโอกาสจะเป็นโรคข้ออักเสบก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนผู้หญิงก็จะสามารถพบได้น้อย หรือถ้าหากพบก็มักจะพบหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว โดยทั่วไปมักจะเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว หรือในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ข้อพร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุดก็คือ นิ้วหัวแม่เท้า สาเหตุของโรคเกาต์             โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรต ตามบริเวณส่วนต่าง ๆของเนื้อเยื่อ เช่น ตรงบริเวณข้อ จะทำให้เกิดข้ออักเสบ บริเวณไต จะทำให้เกิดนิ่วในไต และไตวายได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกที่มีในเลือดสูงนั้น ก็เนื่องมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปริมาณที่ขับออกจากร่างกาย  นอกจากนี้การที่กรดยูริกอยู่ในเลือดสูงก็เป็นผลมาจากที่ร่างกายขาดยีนในการที่จะช่วยสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบอีกว่าอาจจะเป็นผลมาจากอาหารที่เราทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกที่มีสารพิวรีนสูง และขบวนการของการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนแต่ได้   สารพิวรีนออกมา ซึ่งกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากกระบวนการนี้   หรืออาจจะเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณในการขับออกจากร่างกายนั้นมีน้อยกว่า  กรดยูริกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะมีการขับออกจากร่างกายโดยการขับออกระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะสามารถขับออกมาได้ประมาณ 1 […]

อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์สังเกตได้จากอะไรบ้าง

อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์

           โรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้มากที่สุดในคนไทย ซึ่งจะทำให้ส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ทั้งนี้โรคเกาต์เกิดมาจากร่างกายมีการสะสมกรดยูริกในปริมาณมากเกินไป และไม่สามารถที่จะขับกรดยูริกที่เป็นส่วนเกินออกได้ จึงทำให้ตกผลึกตามบริเวณข้อและอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เจ็บปวดส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บริเวณข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, นิ้วเท้า, ข้อเท้า และข้อเข่า อาการปวดจะปวดแค่ข้อเดียวไม่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันหลายข้อ จะปวดข้างใดข้างหนึ่ง และถ้ามีปุ่มกระดูกปรากฏที่ข้อ หากเกิดอาการข้ออักเสบอย่างรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อนเพราะจะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาการจะปวดแบบเป็น ๆ หาย ๆ อาการปวดบริเวณข้อนี้อาจจะส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ เราควรสังเกตตนเอง ถ้าหากอาการปวดเริ่มรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ผู้ที่ชำนาญการเพื่อจะได้ตรวจวินิจฉัยโรคและทำการรักษาโดยเร็วที่สุด  ซึ่งแนวทางในการรักษาก็มีทั้งการใช้ยา การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการผ่าตัด เพื่อที่จะได้กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติดังเดิม อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์ อาการเริ่มต้นของโรคเกาต์ จะเริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงที่สะสมเป็นระยะเวลา 10 ปี การอักเสบของข้อในครั้งแรกมักจะพบในผู้ชายอายุตั้งแต่ 40-60 ปี แต่ผู้หญิงมักจะพบหลังจากวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ และจะมีการอักเสบรุนแรงอย่างเฉียบพลัน จากระยะที่ค่อย ๆ เริ่มปวดจนถึงระยะอักเสบเต็มที่ภายใน 24 […]