โรคข้อเข่าเสื่อม
สัญญาเตือน มีอะไรบ้าง
เพราะ “โรคข้อเข่าเสื่อม” เป็นหนึ่งในโรคความถดถอยของร่างกายมนุษย์ แต่ด้วยพฤติกรรมหลายๆ อย่างของสังคมในปัจจุบันก็ทำให้มีอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานใช้ร่างกายในรูปแบบซ้ำๆ อาทิ ยืนทั้งวัน, นั่งพับเพียบทั้งวัน หรือแม้แต่การออกกำลังกายที่หนักเกินไปก็ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อป้องกันอาการข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยที่อาจกำลังเกิดขึ้น
ลักษณะอาการของโรค
โรคข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ในระยะแรกจะปวดเข่า เมื่อเดินมากๆ ขึ้นลงบันได หรือนั่งงอเข่าในท่าพับเพียบ ขัดสมาธิเป็นเวลานาน แต่อาการจะหายได้เองเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถหรือพักการใช้เข่า แต่หากปล่อยไว้นานไม่รักษา อาการเข่าเสื่อมจะลุกลามจนเข่าปวดรุนแรงแม้ว่าจะไม่ได้เดิน ปวดตอนนอนหลับและอาจจะเดินได้ลำบาก ยืดขาได้ไม่สุด หรือไม่สามารถยืดเข่าได้ ขาบิดเบี้ยวผิดรูป เดินลำบากและยังปวดฟัวเข่าตลอดเวลาด้วย
สัญญาณเตือนโรคเข่าเสื่อม
1. มีเสียงดังกรอบแกรบในหัวเข่า
เป็นอาการระยะแรกๆ ที่คนไข้สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง เพราะปกติแล้วบริเวณกระดูกต้นขากับกระดูกหน้าแข็งจะมีหมอนรองกระดูกรองรัยซับน้ำหนักและกระจายน้ำหนักเพื่อไม่ให้กระดูกชนกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีพฤติกรรมการใช้หัวเข่าที่ผิด หมอนรองกระดูกจะเสื่อมและค่อยๆ สึกกร่อนบางลง ทำให้เมื่อขยับหัวเข่าจะเกิดเสียงดังกรอบแกรบเพราะผิวของกระดูกเสียดสีกัน
2. มีอาการปวดภายในหัวเข่า
เมื่อรู้สึกปวดหรือเสียวภายในหัวเข่าเป็นอีกหนึ่งอาการที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งสาเหตุการปวดในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
– กล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่ามีความตึง จนทำให้เมื่อมีการใช้งานนานๆ หรือเกร็งเป็นเวลานาน ก็ทำให้กล้ามเนื้อที่เกร็ดข้างจนมีอาการปวด
– การเสียดสีกันของกระดูก ซึ่งภายในของกระดูกนั้นยังมีเส้นประสาทรับรู้ความรู้สึก จึงทำมีอาการปวดได้
– เมื่อกระดูกเสียดสีกันตลอด ร่ายกายจะกระตุ้นให้เกิดสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ ซึ่งกระดูกที่สร้างขึ้นมาใหม่จะทิ้งเนื้อเยื่อโดยรอบ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าเมื่อมีการขยับ
– ปวดเข่าเมื่อใช้งานเข่าหนักๆ อาทิการ ขึ้นลงบันได, การเดิน, การนั่งพับหัวเข่าเป็นเวลานาน แต่อาการเหล่านี้มักจะหายได้เองเมื่อพักการใช้งานเข่า
3. ข้อเข่าฝืดยืดตัวได้ยาก
เป็นลักษณะอาการที่คนไข้สามารถสังเกตได้เองและไม่ควรรอช้าที่จะมาพบแพทย์ โดยอาการข้อเข่าฝืดจะเกิดขึ้นในตอนเช้าเมื่อตื่นนอน หรือเมื่อคนไข้นั่งทับขาเป็นนานๆ แล้วเมื่อจะเปลี่ยนอิริยาบถแล้วรู้สึกว่าเหยียดเข่าได้ลำบาก ต้องนั่งพักให้เข่าได้คล้ายตัวก่อน ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากที่น้ำหล่อเลี้ยงให้ข้อเข่าลดลง ทำให้มีความฝืดยืดเข่าได้ยาก หรือถ้าขยับได้ก็จะมีอาการปวดร่วมด้วย
4. ข้อเข่าติด
ตามปกติแล้วข่อเข่าของเราจะงอได้สุดหรือเมื่อพับก็พับได้สุด แต่สำหรับผู้ที่มาอาการเข่าเสื่อมจะสามารถงอได้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น แม้จะพยายามใช้มือกดให้งอก็ไม่สามารถทำได้และยังมีอาการเจ็บจี๊ดภายในหัวเข่า หรือเวลาง้อเข่าจะรู้สึกติดๆ ขัดๆ อยู่ภายในหัวเข่า จนเดินได้ลำบาก
5. ตึงน่อง เข่าบวม
เป็นอาการที่เมื่อใช้งานข้อเข่าเยอะๆ ไม่ว่าจะเป็น การเดินเป็นเวลานานๆ การนั่งขัดสมาธิ การนั่งพับเพียบ การยืน การออกกำลังกายที่ใช้หัวเข่าหนักๆ และเล่นท่าเดิมๆ ซ้ำๆ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถจะไม่สามารถเปลี่ยนได้ทันทีทันใด และจะมีอาการปวดบริเวณน่อง บวมที่หัวเข่า จนทำให้คนไข้เดินได้ไม่สะดวกมากนัก
การป้องกันและรักษาโรคเข่าเสื่อม
หากรู้สึกถึงสัญญาณเตือนโรคเข่าเสื่อมควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เนินๆ หรือในระยะแรก เพราะจะรักษาได้ง่ายกว่าเป็นหนักแล้ว ซึ่งการรักษามีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา , การฉีดยา , การทายา และการผ่าตัด รวมทั้งการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการโรคเข่าเสื่อม
ส่วนวิธีการป้องกันโรคเข่าเสื่อมไม่ให้เป็นก่อนวัยอันควร ทุกท่านสามารถเริ่มได้ตั้งแต่วันนี้ด้วยการฝึกนั่ง ยืน ในท่าที่เหมาะสม อย่างนั่งขัดสมาธิหรือพับหัวเข่าเป็นเวลานานๆ อย่ายืนทิ้งน้ำหนักลงไปที่เข่าข้างใดข้างหนึ่งนานๆ รวมทั้งควรเลือกออกกำลังกายที่ลดการทำงานของเข่าที่หนักเกินไปหรือเลือกการออกกำลังกายหลายๆ ชนิดอย่างทำซ้ำแต่ท่าทางเดิมๆ เพื่อให้ร่างกายได้ออกกำลังหลายๆ ส่วน และช่วยลดการทำงานของข้อเข่าด้วย สำหรับในคนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ควบลดหรือควบคุมน้ำหนัก เพราะยิ่งน้ำหนักตัวมากเท่าไร ข้อเข่าที่ต้องทำหน้าที่แบกน้ำหนักเอาไว้ตลอดเวลาอยู่แล้ว ก็ยิ่งทำงานหนักขึ้น จนเร่งให้เกิดอาการเข่าเสื่อมได้ก่อนเวลาอันสมควร
จะเห็นได้ว่าสัญญาณเตือนโรคเข่าเสื่อม เป็นอาการที่คนไข้สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง แต่หลายคนมองข้ามอาการเหล่านี้ ปล่อยเวลาล้วงเลยจนกระทั้งเป็นโรคเข่าเสื่อมในระยะรุนแรง ลุกลาม ซึ่งการรักษาจะซับซ้อนและยุ่งยากกว่าในระยะแรกอย่างแน่นอน ดังนั้นหากเห็นถึงสัญญาณเตือนก็อย่ารอช้าที่พบแพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ เพื่อชะลอความเสื่อมของข้อเข่ากันนะครับ