โรคเกาต์ (gout) เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับการตกผลึกของกรดยูริกในข้อหรือเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ ข้อทำให้เกิดการอักเสบอย่างฉับพลันของข้อหรือว่าเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ การเกิดของโรคเกาต์ที่มักจะพบต้องมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงสะสมมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากระดับของกรดยูริกยิ่งสูง โอกาสในการเป็นโรคเกาต์ก็จะยิ่งสูงเพิ่มมากขึ้น และอาการจะเกิดได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าเพศหญิงอยู่ประมาณ 2 เท่า แต่หลังหมดประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะมีความชุกของโรคเกาต์สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย
อาการของโรคเกาต์
เริ่มจากร่างกายมีระดับของกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงและเกิดการสะสมมาเป็นเวลานานก่อน โดยจะเฉลี่ยมักไม่น้อยกว่า 10 ปี การอักเสบของข้อพบในครั้งแรกเป็นผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักจะพบหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 5-10 ปี ข้ออักเสบในระยะเริ่มแรกมักจะเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงชนิดเฉียบพลัน จากระยะแรกเริ่มปวดจนถึงอักเสบแบบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง มักจะเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า, ข้อเท้า, หรือว่าข้อเข่า อาการจะเป็นในเวลากลางคืนหรือขณะที่หลับบ่อยครั้ง ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นอยู่ไม่นาน 2-3 วันก็หาย แต่บางรายอาจจะมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจจะมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อม ๆ กันโดยเฉพาะที่ข้อนิ้วมือทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรค ซึ่งประวัติอาจจะได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนมากมักจะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี ถ้าหากไม่ได้การรักษาหรือว่ารักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบก็จะเพิ่มมากขึ้น
การรักษาโรคเกาต์
การรักษาควรพักการใช้งานตรงบริเวณข้อนั้น ๆ ให้หลีกเลี่ยงการบีบนวดข้อ, การประคบข้อ และต้องรักษาโดยเร็วโดยการใช้ยาลดการอักเสบของข้อ โดยใช้ยาโคลชิซิน (colchicine) และยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ให้ทานยา 3-7 วัน หรือจนกว่าการอักเสบของข้อจะหายดี ผลข้างเคียงของยาคือท้องเดินหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้าหากมีอาการดังกล่าวให้หยุดทายยาทันที สำหรับยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) สามารถให้ได้เช่นกัน ข้อห้ามในการใช้ยาต้านการอักเสบก็คือคนป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหาร การทำงานของไตบกพร่อง หรือว่ามีโรคตับเป็นต้น แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้ เราจำเป็นจะต้องประเมินปัจจัยในความเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และนอกจากนี้ไม่ควรให้ดูการเปลี่ยนแปลงระดับของกรดยูริกในระยะนี้ เช่น ผู้ป่วยที่ทานยาลดกรดยูริกในเลือดไม่ควรให้หยุดยา หรือทำการปรับเปลี่ยนขนาดของยา หรือว่ายังไม่ได้รับยาลดกรดยูริกมาก่อนแพทย์จึงไม่ควรเริ่มยาลดกรดยูริกในช่วงนี้
ตามข้อมูลการรักษาโรคเกาต์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็สามารถจะสรุปได้แล้วว่า “โรคเกาต์” ไม่สามารถจะทำการรักษาได้โดยการผ่าตัด ฉะนั้นโรคเกาต์จึงต้องรักษาด้วยการทานยาตามแพทย์สั่ง และให้งด หรือหลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีสารพิวรีนสูงท่านั้น