fbpx

ออฟฟิศซินโดรมอันตรายหรือไม่ควรรักษาอย่างไร

ในปัจจุบันนี้คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม ” เป็นที่รู้จักกันป็นอย่างมากโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมสูงมาก และกลุ่มอาการที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด คือเกิดขึ้นกับกลุ่มของคนวัยทำงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือว่าทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน หรือว่าอยู่ในท่าทางการทำงานไม่เหมาะสมต่อเนื่องนาน ๆ ทั้งในขณะที่นั่ง, ยืน, เดิน และทำงาน อาทิ เช่น การนั่งหรือการยืนหลังค่อม, ยืนห่อไหล่, การยกไหล่ หรือว่าการก้มคอมากจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย หรือชาตามบริเวณต่าง ๆ และอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อตามมาได้ อย่างเช่น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง, เอ็นรัดข้อมืออักเสบกดทับเส้นประสาท, ความผิดปกติของความตึงตัวของเส้นประสาท, กล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอกอักเสบ, เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบ, นิ้วล็อก, ปวดหลังจากท่าทางผิดปกติ และหลังยึดติดในท่าแอ่น
ออฟฟิศซินโดรมอันตรายหรือไม่

โรคออฟฟิศซินโดรม คือ อาการที่ไม่ได้เสี่ยงถึงชีวิต แต่ก็สามารถสร้างความรำคาญและลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อ หรือว่ากระดูกที่ส่วนอื่น ๆ ได้ เรียกได้ว่า ถ้าเป็นแล้วและยิ่งปล่อยไว้ จะทำให้ยิ่งทรมาน จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการใช้ชีวิต รวมไปถึงสภาพของจิตใจได้มากที่เดียว

 

ควรรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

ในแนวทางของการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมที่ดีที่สุดและเหมาะสมก็คือการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ สามารถเริ่มได้ที่ตัวของเราเอง โดยวิธีการที่ดีที่สามารถจะป้องกันอาการจาก “โรคออฟฟิศซินโดรม” ได้นั้นจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน จัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ต้องหาวิธีลดความตึงเครียด หรือว่าลดการทำงานหนัก  ซึ่งจะเป็นแนวทางในการช่วยป้องกันที่ยั่งยืนที่สุดเพียงเท่านี้ก็จะทำให้สุขภาพของร่างกายดีขึ้น ช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการทำงานและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างถาวร

นอกจากการรักษาหรือว่าป้องกันด้วยตัวเองแล้ว ถ้าหากมีอาการมากจริง ๆ ควรจะเข้ารับการรักษาให้ถูกวิธีที่คลินิกที่มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญโดยตรง โดยทางผู้เขียนบทความขอแนะนำ “คลินิกโรคกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์” เนื่องจากคุณหมอเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมากด้วยประสบการณ์จะให้คำปรึกษา, วินิจฉัย และทำการรักษาโรคออฟฟิสซินโดรม, กระดูกทับเส้นประสาท, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, ไหล่ติด ตั้งแต่การรักษาที่เน้นให้อาการทุเลาลงในแบบระยะสั้น ไปจนถึงการรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการทำกายภาพบำบัด รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ต่าง ๆ เข้ามาช่วย

 

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์