fbpx

พฤติกรรมแบบไหนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น

หลายท่านอาจจะคิดว่าโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น เกิดมาจากพฤติกรรมในการนั่งนาน ๆ, ก้ม ๆ, เงย ๆ, ก้มยกของ หรือว่าการแบกของหนักเป็นเวลานาน ๆ ซ้ำไปซ้ำมา และการประสบอุบัติเหตุเพียงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วพฤติกรรมการไอ หรือ จามแรง ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับผู้ที่มีหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทได้ ทำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาร่วมกับอาการชาเกิดขึ้นได้

ทำไมแค่ไอ หรือจาม แล้วหมอนรองกระดูกปลิ้นได้

การไอหรือว่าการจามแรง ๆ ในแต่ละครั้ง ก็จะทำให้เกิดแรงดันในช่องปอด และช่องท้องเพิ่มมากขึ้นจากการหดตัวกันอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณรอบ ๆ ลำตัวของเรา จึงทำให้หมอนรองกระดูกที่มีหน้าที่คอยรับแรงกระแทกต้องทำงานหนักมากขึ้น และทำให้เกิดแรงดันที่หมอนรองกระดูกแบบเฉียบพลัน รวมไปถึงทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบขึ้นได้ในคนที่มีกล้ามเนื้อที่แกนกลางลำตัวที่ไม่แข็งแรง โดยเฉพาะในคนที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมอยู่แล้ว และความดันที่เพิ่มขึ้นก็จะไปดันให้หมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาจากรอยแยกของเปลือกหุ้มหมอนกระดูกไปกระทบกับเส้นประสาทได้

พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น

มีหลายพฤติกรรมที่เราทำเป็นประจำ อาจจะก่อให้เกิดอาการโรคหมอนรองกระดูกทับปลิ้นได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังต่อไปนี้

  1. แบกของที่มีน้ำหนักมากเกินไปเพราะว่าการแบกสิ่งของที่มีน้ำหนักมากเกินไป โดยเฉพาะการแบกสิ่งของที่ผิดท่าอาจจะทำให้เราใช้กล้ามเนื้อหลังจนมากเกินไป จนทำให้เกิดการบาดเจ็บและส่งผลกระทบต่อหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง
  2. การก้มเงยบ่อยหรือว่านั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ การทำกิจกรรมก้ม ๆ เงย ๆ เป็นประจำอย่าง เช่น การกวาดบ้าน, ถูบ้าน, ขัดห้องน้ำ, เล่นสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการนั่งในท่าเดิม ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ หรือการนั่งผิดท่า เช่น นั่งงอหลัง, ก้มคอ โดยเฉพาะพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศ หรือว่าผู้ที่ต้องทำงานที่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องแบกรับน้ำหนักมากเกินไป และอาจจะส่งผลกระทบต่อแนวกระดูกสันหลังด้วย
  3. นอนผิดท่าเช่น การนอนคว่ำหน้าอ่านหนังสือ หรือว่าการนอนงอตัวเป็นประจำ อาจจะส่งผลทำให้กระดูกสันหลังเกิดการผิดรูป หรือทำให้กระดูกเสื่อมได้ง่าย
  4. น้ำหนักตัวมากเกินไปคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรือว่าอยู่ในภาวะอ้วน กล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังจะต้องแบกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ง่าย และอาจจะมีภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมมากกว่าคนปกติทั่วไป

ดังนั้นใครมีพฤติกรรมดังกล่าวควรจะไปพบแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา และทำการตรวจวินิจฉัยอาการว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นหรือไม่ เพื่อจะได้ให้แพทย์ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล ถ้าหากท่านไม่ทราบว่าจะไปพบแพทย์ที่ไหนดีเราขอแนะนำ “คลินิกโรคกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์” คุณหมอจะให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และรักษากระดูกทับเส้นประสาท, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, ไหล่ติด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมากด้วยประสบการณ์

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *