fbpx

เมื่อรักษาโรคเก๊าท์หายแล้วต้องกินยาต่อเนื่องหรือไม่

เมื่อรักษาโรคเก๊าท์หายแล้วต้องกินยาต่อเนื่องหรือไม่


          โรคเก๊าท์ แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้สามารถควบคุมโรคได้ ด้วยการปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตและการเลือกรับประทานอาหาร ส่วนจะต้องรับประทานยาต่อเนื่องหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

          โรคเก๊าท์สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในขณะที่การรักษาด้วยยา ก็เป็นทางเลือกในการลดระดับกรดยูริกในร่างกาย อีกทั้งการรักษาด้วยการรับประทานยาในระยะยาวก็เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบบ่อย หรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
โรคเก๊าท์ เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับกรดยูริคสูงมากเกินไป หากระดับกรดยูริคในเลือดสูงกว่าปกต กรดยูริคนั้นจะกลายเป็นผลึก แล้วไปจับตัวอยู่ที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดการอักเสบ และมีอาการปวด หากปล่อยไว้นานเป็นปีข้อต่อจะเกิดความเสียหาย

          อาการของโรคเก๊าท์ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจจะกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย ดังนั้น การรักษาด้วยยาเพื่อลดระดับกรดยูริคในร่างกายลง จึงอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ตามสถานการณ์ของคนไข้แต่ละรายว่าจะเริ่มให้ยาเมื่อไหร่ และต้องใช้ยาต่อเนื่องไปนานแค่ไหน เพราะยาอาจจะมีผลข้างเคียง หากมีการใช้ต่อเนื่องยาวนานหลายปี

เมื่อต้องใช้ยาในการรักษาอาการผู้ป่วยโรคเก๊าท์


          โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะต้องได้รับการรักษาด้วยยา ในกรณีต่อไปนี้
– เมื่อมีอาการของโรคกำเริบบ่อย หรือมีอาการกำเริบรุนแรง
– เมื่อเอ็กซเรย์พบความเสียหายที่ข้อต่อ
– เมื่อยูริกก่อตัวเป็นก้อนผลึกแล้ว
– เมื่อระดับกรดยูริกเพิ่มขึ้นจนเป็นสาเหตุให้เกิดนิ่วในไต
          นอกจากนี้ หากผู้ป่วยได้มีการปรับการรับประทานอาหารแล้ว แต่ระดับกรดยูริกในร่างกายก็ยังไม่ลดลงมาอยู่ในรดับที่น่าพอใจ หรือยังคงสูงอยู่ ก็อาจจะต้องมีการใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย
          เราจะทราบได้อย่างไรว่า อาการที่กำเริบนั้นมีความถี่มากแค่ไหน จึงจะเรียกได้ว่าอาการกำเริบบ่อย จนต้องใช้ยา โดยทั่วไปแล้วคำดว่าโรคเก๊าท์กำเริบบ่อย จะหมายถึง มีการกำเริบมากกว่าปีละ 1-2 ครั้ง

          สำหรับยาที่มักจะใช้ในการรักษาโรคเก๊าท์ คือยา allopurinol เป็นยาลดระดับกรดยูริกในเลือด จะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่จะไปสร้างกรดยูริค ช่วยป้องกันไม่ให้อาการของโรคแย่ลง ลดความเสี่ยงของการกำเริบ แต่ก็อาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ความดันโลหิตสูง หรืออาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนกับผู้ใช้ยาที่มีปัญหาโรคได้