ความอ้วน ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นข้อเข่าเสื่อม
เมื่อมีปัญหาเรื่องความอ้วน สิ่งหนึ่งที่ต้องรับน้ำหนักมากขึ้นก็คือข้อเข่า สะโพก และหลัง ซึ่งเป็นสามส่วนที่แบกรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย หลายครั้งเราจึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนอ้วนถึงได้มีอาการปวดเข่า ปวดหลัง แม้ว่าจะอายุยังน้อย เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นข่อเข่าเสื่อมและเร่งให้เป็นขอเข่าเสื่อมเร็วมากขึ้น
ลักษณะของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรคข้อเข่าเสื่อ เป็นภาวะที่ร่างกายถดถอยตามวัย แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวเร่งให้มีอาการเร็วขึ้นได้มากมาย โดยเฉพาะความอ้วน โดยโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากผิวข้อกระดูกเกิดการสึกหรอ ทำให้ผิวของกระดูกอ่อนไม่เรียบเนียน เมื่อขยับจึงมีอาการฝืดและมีเสียงดัง ทำให้มีอาการปวดและสามารถรุนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้ พบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป แต่จะพบมาให้ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินยิ่งทำให้มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมเร็วและอาการรุนแรง
อาการของโรคข่อเข่าเสื่อม
– ระยะแรก มีอาการปวดเข่าเมื่อเคลื่อนไหวหัวเข่า แต่อาการจะหายไปเองได้หากพักการใช้เข่า ความฝืดของหัวเข่าจะเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยเสียงการเสียงสีของกระดูกเมื่อมีการขยับหัวเข่า
– ระยะรุนแรง หากปล่อยอาการไว้นานไม่ทำการรักษาคนไข้จะเริ่มเจ็บหัวเข่าอย่างรุนแรงแม้ว่าจะไม่ได้ขยับ หรืออาจปวดเข่าให้ช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังมีอาการอักเสบ บวมแดงร้อน สามารถพบน้ำในช่องข้อ ซึ่งหากยังไม่ทำการรักษาทำให้มีอาการงอเข่าได้ไม่สุด ข้อเข่าโก่งตัวเบี้ยว ทำให้เดินได้ลำบากหรือมีอาการปวดตลอดเวลาเดิน
สาเหตุของอาการข่อเข่าเสื่อม
โรคข่อเข่าเสื่อมเป็นความเสื่อมของร่ายกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามวัย ข้อเข่าเมื่อใช้งานมากๆ ก็จะเสื่อมและถดถอยลง แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่เร่งให้มีอาการข่อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น ดังต่อไปนี้
1. ความอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเข่าเสื่อมเป็นอย่างมาก เพราะในผู้ที่มีน้ำหนักเกินทุกๆ ครึ่งกิโลกรัม จะมีผลทำให้น้ำหนักลงไปที่เข่าเพิ่มขึ้นถึง 1-1.5 กิโลกรัมเลยทีเดียว เพราะเวลาเราเกิดขาข้างที่เหยียบพื้นจะรับน้ำหนักและแรงกดของกล้ามเนื้อจะลงไปที่เข่า จึงทำให้เกิดอาการเข่าเสื่อมได้ง่ายในผู้ที่มีน้ำหนักมากๆ ซึ่งหากลดน้ำหนักให้สมส่วนอาการจะดีขึ้นได้
2. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย ซึ่งคาดว่าเกิดจากฮอร์โมนเพศที่ลดลง
3. ท่านั่ง ผู้ที่ต้องทำงานในลักษณะที่นั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ นั่งยองๆ ยืนนานๆ หรือทำงานที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ จะมีโอกาสเสี่ยงเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าผู้ที่ทำงานเบาๆ
4. ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุบริเวณหัวเข่าหรือได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง รวมทั้งการเล่นกีฬาที่ข้องใช้เข่าหนักๆ ด้วย เพราะนักกีฬามักจะเกิดการบาดเจ็บสะสมที่หัวเข่า
5. ผู้ที่มีขาโก่ง หรือ เข่าชิดมากกว่าปกติ มักจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อมได้มากกว่าคนปกติ
6. พันธุกรรม เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเข่าเสื่อมได้
วิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
การรักษาโรคข่อเข่าเสื่อมสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนักหากเป็นผู้ที่มีภาวะอ้วน, ประคบร้อน, การปรับเปลี่ยนท่านั่งท่ายืนให้ถูกต้องเหมาะสม, ออกกำลังกายอย่างถูกต้องไม่ทิ้งน้ำหนักลงบนเข่ามากเกินไป นอกจากนี้ยังมีการรักษาด้วยการใช้ยา การฉีดยา และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งการผ่าตัดจะได้ผลค่อนข้างไว เพราะคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ เดินได้โดยไม่มีอาการปวด แต่สำหรับผู้ที่เป็นในระยะเริ่มแรกการใช้ยาทา ยาต้านการอักเสบ ก็ให้ผลการรักษาที่ดีไม่น้อย
วิธีการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม
1. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ ลดน้ำหนักให้ลงมาให้มากที่สุด ในกรณีที่ไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้แล้ว ให้ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้นไปอีกในแต่ละปี
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่ง อย่านั่งงอเข่าเป็นเวลานาน โดยท่านั่งที่ทำให้มีแรงกดที่หัวเข่าเยอะได้แก่ นั่งพับเพียบ, นั่งขัดสมาธิ, นั่งคุกเข่า, นั่งยองๆ ควงฝึกและจัดท่านั่งให้ถูกสุขลักษณะ
3. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือเวลายกของหนักระวังอย่าให้เข่าบิด เพราะจะยิ่งทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้น
4. ออกกำลังกายบริเวณกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่าเป็นประจำ รวมทั้งกล้ามเนื้อด้านหน้าต้นขา
5. ในผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย ไม่ควรหักโหมหรือมีการปะทะที่หัวเข่าแรงๆ
6. เมื่อต้องเดินไกลๆ ควรหาไม้เท้าพยุงช่วยลดน้ำหนักที่จะกดลงที่หัวเข่า โดยเฉพาะทางขึ้นเขาหรือทางที่ไม่เรียบ
แม้โรคข่อเข่าเสื่อมจะเป็นความเสื่อมถอยของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะอายุที่มากขึ้น แต่ ความอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เร่งอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมให้เกิดเร็วขึ้น รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราด้วย
ดังนั้นหากอยากเดินได้อย่างมีความสุขและสนุกกับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณจำเป็นต้องปรับการใช้ชีวิต ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและยังต้องออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นและและกล้ามเนื้อรอบๆ หัวเข่าบ่อยๆ ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงของโรคข้อเข่าหรือชะลอให้เกิดขึ้นช้าที่สุด