น้ำไขข้อ (Synovial fluid) เป็นของเหลวข้นใสเเละลื่นอยู่ในช่องของกระดูกไขทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเยื่อบุข้อต่อ ป้องกันการเสียดสีและกันกระเเทกต่อกระดูกอ่อนผิวข้อ รวมไปถึงทำหน้าที่หล่อลื่นข้อต่อเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก, ไม่เกิดการเจ็บปวด และไม่ฝืดขัด ซึ่งจะประกอบไปด้วยสารที่สำคัญ ก็คือ สารไฮยาลูโรเนท “Hyaluronate หรือ Hyaluronic Acid:HA” ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อม ที่เกิดมาจากกระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมสภาพไป มีการแตกร้าว และหลุดลอกออก ส่งผลทำให้น้ำไขข้อ มีปริมาณและคุณภาพที่ลดลง
น้ำไขข้อแห้งจะส่งผลอย่างไร
น้ำไขข้อ หรือว่าน้ำมันไขข้อ เป็นน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในข้อเข่า มีความเหนียว และลื่น มีลักษณะเหมือนไข่ขาว จะคอยทำหน้าที่ช่วยในการลดการเสียดสี และลดแรงกระแทกของส่วนต่าง ๆ ภายในหัวเข่า ทำให้การเคลื่อนไหวร่างกาย ได้สะดวก ซึ่งร่างกายของมนุษย์เราจะทำการผลิตน้ำไขข้อได้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวัง นั่นก็คือ ไม่ควรให้หัวเข่า ได้รับแรงกระแทก หรือว่าอุบัติเหตุใด ๆ ก็ตาม เพราะจะทำให้น้ำไขข้อแห้งได้ ซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อหัวเข่าของเรามากที่สุด ดังนั้นจึงไม่ควรจะปล่อยให้น้ำไขข้อแห้งเด็ดขาด เพราะบริเวณข้อต่าง ๆ ที่อยู่ภายในหัวเข่า จะเกิดการเสียดสีกันจนทำให้เกิดการอักเสบได้ เมื่อเราปล่อยให้เกิดอักเสบนาน ๆ ก็จะทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตามมานั่นเอง โดยที่เราสามารถสังเกตอาการน้ำไขข้อแห้งได้ดังนี้
- เมื่อมีอาการปวดหัวเข่า เช่น เมื่อเรางอเข่าแล้วเจ็บ, เวลาเดินแล้วเจ็บเข่า และเคลื่อนไหวเข่าได้ไม่สะดวก
- เวลาเคลื่อนไหวร่างกายมีเสียงดังกรอบแกรบ ภายในข้อเข่า
- เกิดอาการขัดที่บริเวณหัวเข่า และหัวเข่าตึง
- ที่บริเวณเข่าจะบวม และอาจจะมีรอยแดง หรือว่ารู้สึกร้อนร่วมด้วย
- บริเวณหัวเข่าเกิดการโก่งงอ
ดังนั้นหากว่าท่านใดที่มีอาการตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดสามารถสันนิษฐานได้เลยว่า คุณอาจจะเกิดภาวะน้ำไขข้อในหัวเข่าแห้ง และกำลังจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมนั่นเอง ซึ่งโดยธรรมชาติและร่างกายของเราจะผลิตน้ำไขข้อได้เองอยู่แล้ว เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้น้ำในข้อเข่าลดลงตามความเสื่อมของสภาพร่างกาย และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุเร่งให้น้ำในข้อเข่าแห้งเร็วขึ้น เช่นน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การเกิดอุบัติเหตุหรือแม้แต่ข้อเข่าเกิดการบาดเจ็บรุนแรงจะส่งผลต่อการผลิตน้ำในข้อเข่า ตลอดจนการใช้งานข้อเข่าที่ผิด ๆ อย่างเช่น การนั่งพับเพียบ หรือว่านั่งงอเข่าเป็นประจำ และมีโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง หรือโรคข้ออักเสบต่าง ๆ เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ เป็นต้น
ช่องทางติดต่อ
“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”
โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์