โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนในร่างกาย อาการที่จะแสดงออกมาก็มีตั้งแต่ส่วนบนเริ่มจากใบหน้า ไปจนถึงขา อาการที่เกิดขึ้นจะมีอาการดังต่อไปนี้
-
- บริเวณหนังตาตก, จะมองไม่ชัด และจะมองเห็นเกิดเป็นภาพซ้อน
- กลืนลำบาก, สำลักบ่อย, ลิ้นอ่อนแรง, หายใจได้ไม่สะดวก, พูดไม่ค่อยชัด และออกเสียงไม่ได้
- บริเวณแขน ขาจะไม่มีแรง, ไม่สามารถยกแขนขึ้นได้, เดินสะดุด และเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ตามปกติ
- กล้ามเนื้อบางในส่วนเกิดการกระตุกหรืออาจจะเป็นตะคริวบ่อย โดยเฉพาะตรงบริเวณมือ และเท้า
- ในกรณีบางรายโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้หายใจตื้น หายใจไม่สะดวก นั่นคือสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
-
- ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ, ไม่เครียด และไม่หดหู่
- ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือแบบอัตโนมัติ เพื่อเป็นการช่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ดำเนินไปได้สะดวกขึ้น และเพื่อเป็นการผ่อนคลายความเหนื่อยล้าได้ อย่างเช่น การแปรงสีฟันด้วยไฟฟ้า
- การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรจะเน้นอาหารเป็นชนิดอ่อน ๆ เพื่อให้เคี้ยวง่าย
- ทำการฝึกฝนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างราบรื่น อาทิเช่น การฝึกเดิน, ฝึกพูด และฝึกการกลืนอาหาร
- คอยสังเกตอาการของตัวเองจากอาการเริ่มแรกที่เป็น ว่ามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้นหรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกับอาการที่ผ่านมาและต้องศึกษาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง ว่าอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน หรือว่าอยู่ในระดับใด ต้องพยายามวิเคราะห์อาการของตัวเองอยู่เสมอ เมื่อไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการ แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยได้อย่างตรงจุด และทำให้สุขภาพดีขึ้น ทำให้อาการรุนแรงน้อยลง
- ต้องทานยาและปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนในการเกิดโรค และปัจจุบันนี้ก็ยังไม่สามารถป้องกันได้เต็มที่ แต่สามารถหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเสี่ยงเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
-
- การป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขภาพที่ดี และต้องหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
- ถ้าหากว่าเกิดการติดเชื้อ หรือมีอาการป่วย ควรจะรีบไปรักษาให้ถูกวิธีทันที
- ไม่ควรจะทำให้ร่างกายเกิดความร้อน หรือหนาวมากจนเกินไป
- ควรจะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป
- หมั่นควบคุมความเครียด และไม่ทำให้ตัวเองมีอาการหดหู่
ช่องทางติดต่อ
“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”
โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์