โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดทุกข์ทรมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโรคแสดงอาการออกมา แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่า เมื่ออาการของโรคสงบ แปลว่าโรคนั้นได้หายไปแล้ว ตรงกันข้าม โรคยังคงอยู่ แต่ไม่แสดงอาการเท่านั้น ผู้ป่วยโรคนี้ จึงต้องดูแลสุขภาพ เพื่อควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ ทั้งการรับประทานยา การดำเนินชีวิต และการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยได้มีการศึกษาพบว่า การปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะการรับเลือกประทานอาหาร สามารถช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ดีขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เกิดจากมีระดับของกรดยูริคในเลือกมากเกินไป ยูริกที่มากเกินไปนี้จะไปจะไปก่อตัวที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย แล้วทำให้เกิดอาการอักเสบ ดังนั้น การลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริค จึงเป็นสิ่งสำคัญ
อาหารที่มีปริมาณกรดยูริคสูง ได้แก่
- สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์
- อาหารทะเลอย่างเช่นปลา ปู หอย
- เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก
- แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเหล้า เบียร์
- อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่นน้ำอัดลม
อาหารที่มีกรดยูริคสูงเหล่านี้ ไม่ถึงกับห้ามรับประทาน แต่จะเป็นการดีหากสามารถจำกัดปริมาณได้ อีกทั้งอาหารบางอย่าง ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้ป่วยบางคนรับประทานเข้าไป ทำให้อาการกำเริบ แต่ผู้ป่วยบางรายแม้รับประทานเข้าไปก็ไม่ได้แสดงอาการนัก ผู้ป่วยบางราย รับประทานเนื้อสัตว์ สัตว์ปีกได้ แต่รับประทานหอย ปู ไม่ได้ บางรายการสามารถดื่มเบียร์ได้ โดยไม่ทำให้อาการของโรคกำเริบ ผู้ที่เป็นโรคนี้ จึงต้องสังเกตอาการ ที่เกิดจากการรับประทานอาหารเหล่านี้ เพื่อควบคุม โรคของตนเองว่า อาหารชนิดใดบ้าง ที่ควรจะต้องลดปริมาณการบริโภคลง
การลดการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริคสูงนั้น ไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เพราะผู้ป่วยต้องการอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เลือกรับประทานผัก และเนื้อสัตว์ที่มียูริกมาก รวมทั้งที่ผ่านผ่านการขัดสี และผ่านกระบวนการแปรรูป
สำหรับโปรตีน สามารถเลือกรับประทานโปรตีนที่ไม่ส่งผลเสียต่อโรคเก๊าท์ ได้แก่
- นมไขมันต่ำ นมพร่องมันเนย ชีส โยเกิร์ต
- ถั่วต่าง ๆ ถั่วเหลือง หรือโปรตีนจากพืชอื่น ๆ
ส่วนอาหารที่อาจจะช่วยลดปริมาณกรดยูริค และลดการอักเสบ ก็สามารถจะรับประทานได้ เช่น เชอรี่ กาแฟ และอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี
นอกจากการเลือกรับประทานอาหารให้เหาะสมแล้ว ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ที่ต้องการจะลดน้ำหนัก ไม่ควรลดด้วยวิธีที่เรียกว่า Fad Diet หรือการลดน้ำหนักด้วยการใช้สูตรการรับประทานอาหารที่ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะอาหารบางอย่างในเมนูเหล่านั้น มียูริคมาก จึงจำเป็นต้องหาข้อมูลให้ละเอียดก่อน และการที่น้ำหนักเพิ่ม หรือลด อย่างรวดเร็วเกินไป ก็ไม่ส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องนึกถึงเสมอก็คือ เมื่อระดับกรดยูริคในเลือดเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ ปวดร้อน ที่บริเวณข้อต่อได้
การดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การออกกำลังกายเป็นประจำ การควบคุมน้ำหนัก หากเป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักมากเกินไป ร่างกายจะมีระดับยูริคมาก การที่น้ำหนักลดลง ปริมาณของยูริคก็ลดลงด้วย
นอกจากนี้โรคเก๊าท์ ยังมีความเกี่ยวพันธ์กับความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจ และโรคไต หากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ มีโรคเหล่านี้ร่วมด้วย จะส่งผลต่อการรักษา ทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ การดื่มน้ำ ผู้ปวยโรคเก๊าท์ ควรจะดื่มน้้ำมาก ๆ หากผู้ป่วยดื่มของเหลววันละ 8 แก้ว ปริมาณครึ่งหนึ่งของของเหลวที่ดื่มเข้าไปนั้น ควรจะเป็นน้ำเปล่า