ข้อไหล่ เป็นข้อที่สำคัญของร่างกายไม่ต่างกับข้อเข่าเลย เพราะว่าเป็นข้อที่สามารถทำให้การเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง และคล่องตัวอย่างมาก มีการทำงานร่วมกันกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกายทำให้เราสามารถเคลื่อนไหว หรือใช้งานแขนของเราในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ หากข้อไหล่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่สามารถที่จะใช้งานได้ อาจจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาการปวดไหล่เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดและบ่อยมากขึ้น โดยอาการอาจจะเกิดเป็นครั้งคราวหรือเรื้อรัง ถ้าหากมีอาการปวดไหล่ในระหว่างกำลังเอื้อมมือไปหยิบของจากที่สูง, เอื้อมมือไปรูดซิบด้านหลังเสื้อก็ไม่ได้, เอื้อมมือไปล้วงกระเป๋ากางเกงที่ด้านหลังได้ลำบาก, ยกแขนเพื่อสวมเสื้อไม่ได้ หรือแม้แต่ยกแขนขึ้นเพื่อสระผมตัวเองก็ทำลำบาก นั่นเป็นสัญญาณอันตรายเสี่ยงภาวะไหล่ติด
ปวดไหล่ เกิดจากสาเหตุใดบ้าง
-
- การได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ จะทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด, เส้นเอ็นฉีกขาด, กระดูกหัก หรือทำให้ข้อเคลื่อน
- การใช้ข้อไหล่ที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและบริเวณกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อข้อไหล่เกิดการฉีกขาด
- การเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติของกระดูก, กล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งจะพบกับผู้สูงอายุมากที่สุดทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย
- การติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อวัณโรค
- โรคข้ออักเสบที่มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วยได้ อย่างเช่น โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์ เป็นต้น
- เส้นเอ็นอักเสบ และมีแคลเซียมมาเกาะ เมื่อทำการเอ็กซเรย์จะเห็นว่ามีหินปูนสีขาวเกาะอยู่บริเวณรอบ ๆ ข้อไหล่
- ถุงน้ำที่ข้อไหล่เกิดการอักเสบ
- อาการปวดไหล่เป็นผลมาจากอาการปวดร้าวจากบริเวณอื่น หรือเกิดการอักเสบที่บริเวณใกล้เคียง อย่างเช่น กระดูกคอเสื่อม, กล้ามเนื้อหลังอักเสบ, เส้นประสารทเบรเคียลเกิดการอักเสบ, ถุงน้ำดีอักเสบ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคตับ และโรคมะเร็ง เป็นต้น
- ข้อไหล่ติดแข็ง จะพบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เมื่อมีอาการปวดไหล่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ผู้ป่วยก็มักจะไม่เคลื่อนไหวข้อไหล่ เมื่อข้อไหล่ไม่ได้เคลื่อนไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็จะทำให้เกิดพังผืดแทรกในบริเวณข้อและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อไหล่ได้ นอกจากนี้ก็จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และลีบเล็กลงทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบากมากขึ้น
สาเหตุของไหล่ติด
สาเหตุที่ไหล่ติดเกิดจากเส้นเอ็นที่หุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบ, เกิดการบวมและหนาตัวขึ้น เมื่อเรายกแขนหรือว่าไขว้มือด้านหลังก็จะทำให้เส้นเอ็นถูกยืดและไปกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดจนเราไม่กล้าที่จะยกแขนขึ้นเหนือศีรษะ หรือเคลื่อนไหวหัวไหล่ หากหลีกเลี่ยงก็จะยิ่งทำให้เอ็นรอบ ๆ ข้อไหล่หนาตัวมากขึ้นทำให้องศาการเคลื่อนไหวได้น้อยลงและถ้าหากไม่ใช้แขนข้างที่เป็นไหล่ติดเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อแขนข้างนั้นฝ่อลีบลง อาการของภาวะไหล่ติด สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ ก็คือ
- ระยะที่ 1 จะมีอาการเจ็บหรือปวดในขณะเคลื่อนไหวบริเวณหัวไหล่และจะปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อพยายามที่จะยกแขนขึ้นเหนือศีรษะแต่ยังไม่รู้สึกถึงภาวะข้อไหล่ติด โดยอาการเจ็บปวดจะแสดงออกในเวลากลางคืนและเวลาที่เราล้มตัวลงนอน
- ระยะที่ 2 อาการเจ็บปวดจะค่อย ๆ ลดลง ข้อไหล่ติดแข็ง, การเคลื่อนไหวของหัวไหล่จะลำบาก และจะรู้สึกตึงรั้งกล้ามเนื้อที่บริเวณรอบ ๆ หัวไหล่ไปถึงต้นคอ
- ระยะที่ 3 การเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะน้อยลง จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่เมื่อถึงระยะที่ไหล่ติดมาก ๆ ร่างกายก็จะเริ่มฟื้นฟูอาการไหล่ติดก็จะค่อย ๆ ลดลง
ดังนั้นหากว่าคุณมีอาการเจ็บหรือปวดที่ข้อไหล่เกิดขึ้น ให้คุณรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งเอาไว้ให้เรื้อรัง เพราะหากเราปล่อยให้ไหล่ติดเป็นเวลานานจะทำให้กล้ามเนื้อแขนข้างนั้นฝ่อลีบลงและอาจจะเป็นอัมพาตได้
ช่องทางติดต่อ
“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”
โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์