โรคเก๊าท์ คลินิกหมอสุทธิ์ ราม2
โรคเก๊าท์เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายใกล้ตัวที่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นให้ผู้สูงอายุ สำหรับ โรคเก๊าท์ ซึ่งเป็นโรคที่เกิดการอักเสบบวมของข้อต่างๆ ในร่างกายแบบเฉียบพลัน สามารถเป็นได้เพียงข้อจุดเดียวหรือหลายๆ จุดพร้อมๆ กัน ซึ่งโรคนี้จะทำให้มีอาการปวดและบวมตามข้อต่างๆ โดยมีสาเหตุมาจากกรดยูริกในเลือดสูงและตกผลึกอยู่ภายในข้อต่อทั่วร่างกาย ซึ่งไม่ได้ส่งผลเฉพาะต่อข้ออย่างเดียวยังสร้างปัญหาให้กับส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ด้วย
คุณหมอสุทธิ์ เฉพาะทางรักษาโรคเก๊าท์ ด้วยประสบการณ์การรักษามากกว่า 20 ปี
ความหมายของโรคเก๊าท์
เก๊าท์ (Gout) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นที่ข้อต่อต่างๆ ตามร่างกาย มีสาเหตุมาจากที่ร่างกายขจัดกรดยูริกออกไปไม่หมด เมื่อกรดยูริกเหลืออยู่ในร่างกายสูงกว่าปกติ ทำให้เกิดการสะสมและเกิดอักเสบขึ้นตามข้อต่างๆ ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น นิ้วหัวแม่เท้า ข้อศอก ข้อเข่า ข้อมือ ฯลฯ ซึ่งโรคเก๊าท์จะพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึงประมาณ 5 เท่า และส่วนใหญ่ในผู้ชายจะเป็นได้ตั้งแต่อายุ 40-50 ปี ขึ้นไป ส่วนผู้หญิงมักจะพบได้มากตอนอายุ 60 ปี นอกจากนี้ความอ้วนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาการโรคเก๊าท์แย่ลง เพราะส่วนใหญ่แล้วคนที่มีน้ำหนักตัวเกินมากๆ จะเป็นโรคเก๊าท์
สาเหตุของโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์เป็นผลมาจากที่ร่ายกายกำจัดกรดยูริกออกไปไม่หมด จนทำให้เกิดการสะสมตกผลึกอยู่ตามข้อต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งทำให้มีอาการข้อปวดบวมและอาการอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย ซึ่ง กรดยูริก นั้นเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราจะได้รับตอนรับประทานอาหาร แต่โดยปกติแล้วร่างกายจะขับกรดยูริกออกในรูปแบบของปัสสาวะและอุจจาระผ่านการกรองของไตอย่างสมดุล แต่หากร่างกายมีการสะสมของกรดยูริกมากเกินไปการเหลือค้างของกรดยูริกจะทำให้เกิดการสะสมและตกผลึกอยู่ตามข้อต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดโรคเก๊าท์ยังสัมพันธ์กับพฤติกรรมเหล่านี้ อาทิ การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนมากๆ เพราะกรดยูริกเป็นสารเคมีที่ได้มาจากการย่อยสลายของสารพิวรีน ในอาหารที่รับเราประทานเข้าไป อาทิ สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, กะปิ, หอยแมลงภู, ยอดผัก เป็นต้น, การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นประจำ, ร่างกายขาดวิตามินซี, การรับประทานยาบางประเภทที่ส่งผลต่อระดับกรดยูริก รวมทั้งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่างๆ อาทิ โรคอ้วน, ไขมันในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคไต เป็นต้น นอกจากนี้โรคเก๊าท์ยังสามาระส่งต่อทางพันธุ์กรรมได้อีกด้วย
ลักษณะอาการของโรคเก๊าท์
อาการของโรคเก๊าท์มักจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ในระยะแรกอาจจะหายไปได้เองจนผู้ป่วยเกิดความชะล่าใจ แต่อยู่ๆ อาการปวดจะเกิดขึ้นมาอีก เป็นๆ หายๆ จนกว่าจะได้รับการรักษาจากแพทย์ โดยอาการปวดนั้นจะเกิดขึ้นตามข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อเท้า, ข้อต่อกระดูกนิ้วเท้านิ้วมือ, ข้อเข่า, ข่อต่อกระดูกมือ และข้อต่อทั่วร่างกาย ซึ่งในระยะแรกจะมีอาการปวดรุนแรง 4-12 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในบางรายก็อาจจะปวดต่อเนื่องได้นานหลายสัปดาห์ ซึ่งนอกจากอาการปวดมากแล้ว ยังมีอาการการเคลื่อนไหวร่างกายที่ติดขัดไม่สะดวก, ข้อต่อเกิดการอักเสบบวมแดงแสบร้อนและยังมักจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืนได้บ่อยกว่าตอนกลางวันอีกด้วย
วิธีการรักษาโรคเก๊า
การรักษาโรคเก๊าท์สามารถทำได้ด้วยการใช้ยา ซึ่งแพทย์จะต้องซักถามประวัติและพิจารณาจากอาการและระยะของโรค หากผู้ป่วยมารักษาตอนที่สะสมอาการป่วยมานานแล้ว การใช้ยาอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ผล ต้องผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการปวดและป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปตามข้ออื่นๆ ในร่างกาย ดังนั้นหากพบว่ามีอาการปวดข้อ อักเสบบวมแดง ไม่ควรรอช้าให้รีบมาพบแพทย์เพื่อเช็ดอาการ หากปล่อยให้เป็นมาในระยะลุกลามจะทำให้การรักษาซับซ้อนเป็นอย่างมากและยังทำให้ไตต้องทำงานหนักตลอดเวลาเพื่อขับกรดยูริก ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อมตามมา
การป้องกันโรคเก๊าท์
เพราะโรคเก๊าท์เป็นโรคที่อาจจะไม่สามารถป้องกันได้โดยตรง เพราะการสะสมของผลึกยูริกจะเกิดขึ้นภายในข้อทีละน้อยแต่ใช้เวลาหลายปี ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณของผลึกยูริกในข้อได้ ซึ่งจะสามารถรู้ว่าเป็นโรคก็ต่อเมื่อมีอาการของโรคเกิดขึ้นแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ร่างการรับกรดยูริกเข้ามามากเกินไปก็มีอยู่หลายพฤติกรรม ซึ่งคนไข้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเก๊าท์ในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็น หลีกเลี่ยงการรับประทานอาการที่มีสารพิวรีนเป็นประจำ อาทิ สัตว์ปีก, เครื่องในสัตว์, อาหารทะเล ไม่ดื่มเครื่องแอลกอฮอล์บ่อยเกินไป หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมหรือน้ำที่มีส่วนผสมของน้ำตาลฟรุกโตส ในผู้ที่มีภาวะอ้วนควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังควรดื่มน้ำให้เพียงพออีกด้วย
จะเห็นได้ว่า โรคเก๊าท์ เป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่น่ากลัวเป็นอย่างมาก เพราะหากเป็นแล้วอาการจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดและไม่สามารถตรวจหาได้ตั้งแต่เนินๆ ดังนั้นหากพบว่าเริ่มปวดข้อ บวมแดง หรืออักเสบบริเวณข้อ ไม่ควรปล่อยปละละเลยหรือรับประทานยาแก้ปวดเท่านั้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะอาการของโรคเก๊าท์และโรคเกี่ยวกับข้อต่างๆ ในระยะแรกจะสามารถรักษาได้ง่ายด้วยการใช้ยา แต่หากปล่อยเอาไว้นานจะยิ่งทำให้การรักษายุ่งยากซับซ้อน ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อมตามมาและอาจจะไม่หายขาดอีกด้วย