fbpx

เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬา

เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬา

           เอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬา อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้หลังจากการเล่นกีฬาทุกประเภท เช่น ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ตลอดเวลา อาทิ เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด ข้อเคลื่อน ข้อเท้าแพลง เอ็นเข่าฉีกขาด ข้อไหล่หลุด เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ ข้อเท้าเคล็ด เอ็นร้อยหวายอักเสบ ข้อเท้าหัก กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นข้อไหล่ฉีกขาด โรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท เจ็บบริเวณข้อศอก กระดูกไหปลาร้าหลุด นิ้วเคล็ด ข้อมือหัก เป็นต้นโดยแบ่งประเภทกีฬาออกเป็นลักษณะตามอาการที่ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ

           เส้นเอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬาหากเราไม่รู้จักระมัดระวังหรือเตรียมความพร้อมของร่างกายก่อนการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายให้ดี จะทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตึงเครียด ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ ดังนั้นก่อนการเล่นควรจะวอรม์ร่างกายให้พร้อมก่อนการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายทุกครั้ง และหากได้รับบาดเจ็บระหว่างทำกิจกรรมดังกล่าว แต่ยังไม่ทราบวิธีการดูแลรักษาอาการเบื้องต้น  เราจะมาทำความรู้จักเรื่องเอ็นอักเสบ ลักษณะอาการ วิธีการป้องกัน และวิธีการรักษาดูแลเบื้องต้นที่สามารถทำเองได้จากบทความนี้

สาเหตุการเกิดเอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬา

          ถึงแม้ว่าการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายจะช่วยทำให้สุขภาพดีก็ตาม ถ้าหากเราเล่นไม่ถูกวิธี หรือเล่นหนักจนเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน  อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะ “ตรงเอ็นอักเสบ” อาการเหล่านี้พบได้มากที่สุดในกลุ่มนักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายหนักๆ และนี่คือเอ็นอักเสบหลังการออกกำลังกายที่คนชื่นชอบการเล่นกีฬาไม่ควรละเลย  เส้นเอ็นอักเสบจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน หรืออาจจะเกิดจากการเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน โดยส่วนมากมักจะเกิดจากสาเหตุข้อหลังมากกว่า โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวบริเวณเดิม ๆ บ่อย ๆ จึงควรหาเทคนิคที่เหมาะสมมาใช้เพื่อป้องกันการใช้งานบริเวณกล้ามเนื้อและเอ็นมากจนเกินไป เช่น

  • อาการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากกีฬาแต่ละประเภทแต่ละชนิดมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ

แตกต่างกันไป โดยเฉพาะกีฬาประเภท มวย คาราเต้ ยูโด มีความเสี่ยงมาก เป็นต้น

– อาการบาดเจ็บเรื้อรัง หรือจากการใช้งานมากจนเกินไปซ้ำๆ ที่เดิมและสะสมมาเป็นเวลานาน เพราะ

กีฬาแต่ละประเภทจะมีโครงสร้างกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ทำให้การได้รับบาดเจ็บขึ้นอยู่กับประเภทของกีฬาแต่ละประเภทด้วย

ลักษณะของอาการเอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬา               

           เอ็นกล้ามเนื้อในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายสามารถเกิดการอักเสบขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่บริเวณที่พบบ่อยมากที่สุด และส่วนใหญ่จะเป็นอาการบาดเจ็บที่ส่วนขา หัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเข่า และข้อเท้า ซึ่งทำให้บริเวณดังกล่าวมีอาการ เนื่องจากการเล่นกีฬาส่วนมากต้องมีการเดิน การยืน หรือการวิ่ง อย่างกีฬาบางชนิดการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่เหมาะสมเป็นประจำ ก็อาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บและเรื้อรังได้ อย่างเช่น การเล่นเทนนิส การตีกอล์ฟ จะมีอาการดังนี้

    • จะรู้สึกเส้นตึงบริเวณกล้ามเนื้อ ปวดตื้อ ๆ ปวดบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ขยับแขน ขยับขาหรือแม้แต่ข้อต่อบริเวณนั้น ๆ
    • ทำให้การเคลื่อนไหวเอ็นกล้ามเนื้อได้ลำบาก
    • มีอาการฟกช้ำ เขียว หรือแดง
    • จะมีอาการบวม บางครั้งอาจรู้สึกอุ่น ๆ
    • มีก้อนบวมนูนตามเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ

การรักษาเบื้องต้น

           การรักษาเอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือปวดไม่มาก เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการหยุดพักกิจกรรมหรืองานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดบวม และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง

    • โดยวิธีประคบด้วยเจลเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งตรงบริเวณที่มีการอักเสบ  เวลาที่ใช้ประมาณ 20-25 นาที  ทำติดต่อกันทุก 5-6 ชั่วโมง
    • ทายาหม่องประเภทน้ำหรือขี้ผึ่งเพื่อบรรเทาอาการปวดตรงบริเวณที่ปวดบวม
    • ใช้ผ้าพันบริเวณรอบๆที่ปวดบวม เพื่อกันการกระแทกบริเวณที่ปวดบวม
    • ทานยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาใกล้บ้าน  (ตามคำแนะนำของเภสัชกร)
    • หาหมอนรองเพื่อยกส่วนที่อักเสบให้สูงเวลานั่งหรือนอน
    • โดยการยืดเส้นเอ็นเบา ๆ ช้า ๆก็ช่วยได้ ถือว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง
    • ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไวนานอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ 

 

วิธีการรักษาทางการแพทย์    

ทั้งนี้การรักษาทางการแพทย์ก็จะต่างกันไปขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์ที่รักษา เช่น

    • รักษาโดยการฉีดยาบรรเทาอาการเจ็บปวด
    • ทำกายภาพบำบัด
    • กินยารักษาอาการ
    • หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด  
        

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเอ็นอักเสบจากการเล่นกีฬา

ภาวะเอ็นอักเสบหลังการเล่นกีฬามีวิธีการป้องกันและให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดั้งนี้

          ก่อนการเล่นกีฬาควรวอร์มร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อทุกครั้ง จะเป็นการช่วยปรับอุณภูมิในร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของระบบเลือด เพื่อเตรียมความพร้อมในการเล่นกีฬาที่หนักขึ้น แต่การวอร์มร่างกายก็ควรทำในท่าที่ถูกต้องและครบทุกส่วนของร่างกาย เช่น ยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่, ยืดกล้ามเนื้อต้นแขน, บิดลำตัวยืดกล้ามเนื้อลำตัว, ยืดกล้ามเนื้อต้นขาและสะโพก, ยืดกล้ามเนื้อหน้าขา, ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและสะโพก,  ยืดกล้ามเนื้อขาและหลัง   เป็นต้น