โรคเกี่ยวกับกระดูกนั่นมีมากมายหลายโรค ซึ่งแต่ละโณคนั้นก็มีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันออกไป แต่หลาย ๆ คนกลับมองข้ามการดูแลเกี่ยวกับอวัยวะส่วนนี้ เพราะอาจจะคิดว่ากระดูกเป็นอะไรที่แข็งแรงอยู่แล้ว แต่ด้วยความคิดแบบนี้ทำให้การรักษาโรคกระดูกในผู้ป่วยชาวไทยนั้นค่อนข้างที่จะยากและต้องใช้เวลานาน
ในวันนี้เราจะมาพูดถึงอีกหนึ่งโรคทางกระดูกที่สำคัญและคนไทยเป็นกันเยอะมาก ๆ แถมยังเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีอาการค่อนข้างที่จะร้ายแรงและอันตราย นั่นก็คือ โรคหมอนรองกระดูก
โรคหมอนรองกระดูก คืออะไร
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือที่เรามักจะเรียกว่าโรคหมอนรองกระดูก เป็นโรคที่เกิดจากส่วนของหมอนรองกระดูกนั้นเคลื่อนที่ ทั้งการขยับตัวของกระดูกส่วนนั้น หรือการแตกร้าวที่ทำให้หมอนรองกระดูกไม่ได้อยู่ในที่ตามปกติ สำหรับผู้ป่วยทั่วไปอาจจะมีอาการปวดเมื่อยบริเวณคอ หลัง ไหล่ แต่ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้นจะมีอาการอ่อนแรง ปวดขา ชา ขยับลำบาก ซึ่งเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกขยับไปทับบริเวณเส้นประสาท และทำให้เส้นประสาทไม่สามารถทำงานตามปกติได้ อย่างไรก็ดี อาการแทรกซ้อนของโรคนี้นั้นมีหลายอย่าง บางรายอาการหนักมากอาจจะมีโอกาสสเป็นอัมพาตครึ่งซีกเลยก็มี
หมอนรองกระดูกคืออะไร
หมอนรองกระดูกนั้นคืออวัยวะส่วนนึงที่คั่นอยู่ระหว่างปล้องแต่ละปล้องของกระดูกสันหลังของเรา โดยมีลักษณะนิ่ม เล็ก ซึ่งตัวหมอนรองกระดูกนี้มีหน้าที่ทำให้หลังของเรานั้นสามารถขยับไปมา ก้มหน้า ก้มหลัง เอี้ยวตัวไปมาได้
อาการของโรคหมอนรองกระดูก
สำหรับผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่รู้ตัว เพราะมีอาการที่เหมือนคนปวดเมื่อยตามตัวทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มักจะคิดว่าการปวดเมื่อยตามตัวในวัยชราเป็นเรื่องปกติ ทำให้หลาย ๆ คนมีอาการที่หนักกว่าเดิม โดยอาการของโรคหมอนรองกระดูกนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง ปวดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ซึ่งจะอยู่บริเวณกลางหลัง หรือบริเวณเอว และมีอาการเจ็บข้างในเวลากดตามหลังหรือบริเวณเอว นอกจากนี้อาจจะมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ขยับตัวลำบาก ขยับตัวแล้วเหนื่อย รู้สึกเจ็บปวดบริเวณหลังเวลาไอหรือจาม
โดยอาการเหล่านี้เป็นเพียงอาการที่ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนเท่านั้น เพราะเป็นอาการพื้นฐานของภาวะปวดเมื่อยทั่วไป แต่ทางที่ดีควรพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นเกี่ยวกับร่างกาย เพื่อไม่ให้อาการนั้นกลายเป็นโรคร้ายแรง จนอาจจะมีอันตรายอย่างอื่น เช่น อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูก
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่ค่อนข้างร้ายแรง เพราะอาการของโรคนั้นดูออกได้ยาก และมีโอกาสที่จะนำไปสู่โรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงมากกว่าเดิม โดยโรคนี้เป็นโณคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ใช่โรคทางพันธุกรรมหรือโรคที่เกิดจากความพิการของร่างกาย โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นมักจะเกิดจากการใช้งานร่างกายที่หนักเกินไป หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยดีนัก เช่น การยกของหนักมาก ๆ ด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรือคนที่มีน้ำหนักตัวมากก็มีโอกาสเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือคนที่นั่งทำงานเป็นเวลานานก็อาจจะเกิดโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
โดยผู้ป่วยหลาย ๆ คนมักจะเกิดโรคนี้เพราะการใช้งานร่างกายที่หนักสวนทางกับการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้นสำหรับคนที่อายุยังน้อยแนะนำให้เริ่มดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ ทั้งการกินอาหารและการออกกำลังกายก็สำคัญ นอกจากนี้ควรระมัดระวังการใช้งานร่างกายไม่ให้หนักเกินไป
วิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังหรืออาการร้ายแรงแล้ว แพทย์จะเริ่มวินัจฉัยและให้ผ่าตัดในทันที เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนได้ ทั้ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมไปถึงอาการอัมพาต เมื่อได้รับการผ่าตัดแล้วก็อาจจะมีการกายภาพบำบัดเพื่อให้ร่างกายกลับมาใช้งานได้ปกติ โดยขั้นตอนในการรักษาค่อนข้างยุ่งยากเลยทีเดียว
สำหรับผู้ป่วยที่อาจจะยังมีอาการที่ไม่ร้ายแรงมาก แพทย์อาจจะให้ยาแก้อักเสบ หรือยาแก้ปวดไปรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดก่อนซักระยะนึงเพื่อดูอาการ เมื่อพบว่าอาการหายไปเองตามธรรมชาติแสดงว่ากระดูกยังไม่ได้รับความเสียหายมาก แต่หากทานยาแล้วก็ยังไม่หายก็จะเริ่มเข้าสู่การกายภาพบำบัด เพื่อให้กระดูกเข้าที่เข้าทาง และเพื่อให้ร่างกายนั้นสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอื่น ๆ อีก เช่น การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปภายในโพรงประสาท
วิธีการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
เมื่อเรารู้อาการและสาเหตุแล้ว เราควรจะที่จะเริ่มดูแลตัวเองให้ถูกวิธีเพื่อที่จะสามารถป้องกันโรคนี้ได้ด้วย โดยเราขอแนะนำให้เริ่มจากการออกกำลังกายเพื่อเสิรมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นให้กับกระดูก การทานแคลเซียมเยอะ ๆ รวมไปถึงการใช้งานร่างกายให้พอดี เพราะบางคนอาจจะใช้งานร่างกายหนักจนร่างกายรับไม่ไหว เริ่มจากการเลิกยกของที่หนักเกินไป หรือยกของโดยท่าที่ผิด สำหรับคนที่จำเป็นต้องยกของเราขอแนะนำให้ศึกษาวิธีการยกที่ถูกต้องได้จากทั้งกูเกิ้ลและยูทูป